ว่าด้วย ""สกทาคามี โหติ สกิเทว อิมํ โลกํ อาคนฺตฺวา"

สืบเนื่องจากกระทู้นี้
โลกของเทวดาคราวเดียว บาลีโคก
https://ppantip.com/topic/41292790

ที่เป็นปัญหาการแปลพระบาลี  จึงใคร่ เสนอข้อมูลให้ทุกท่านได้พิจารณา เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกันค่ะ

-------------------------------------------------------------

"สกทาคามี โหติ สกิเทว อิมํ โลกํ อาคนฺตฺวา"

ข้อความนี้มามีในหลายพระสูตรทีเดียว  ไปดูคลิปต้นทาง ก็ลบไปแล้ว จึงไม่ทราบว่าต้นทาง อ้างอิงมาจากพระสูตรใด
แต่ ทุกแห่งก็มีความหมายเหมือนกัน เราลองมาดูตามภาพนะคะ 


ข้อความว่า "สกทาคามี โหติ" (เส้นสีชมพู) แล้วก็ตัดประโยค จากนั้นก็มาที่ข้อความ  "สกิเทว อิมํ โลกํ อาคนฺตฺวา" (เส้นสีแดง)

มาดูข้อความที่เป็นปัญหา คือ สกิเทว    ซึ่งมาจาก สกึ (ครั้งเดียว, คราวเดียว)  มาสนธิกับ เอว (นั่นเอง, นั่นเทียว)


การออกเสียง ว่า    "สกึ"   ตามด้วย  "เอว"   ท่านสมาชิกลองออกเสียงดูว่า พูดออกเสียงได้ลื่นไหลหรือไม่ (สะ กิง เอ วะ)

เพื่อความลื่นไหลในการออกเสียงมากขึ้น ท่านจึงเชื่อมคำแบบสนธิ  โดยเปลียน "ตัวกลมๆ(นิคคหิต)" ที่อยู่บน "กิ"   ให้มาเป็น  "ท"
ก็จะได้เป็น   "สกิเทว"  ( สะ กิ เท วะ)

การเชื่อมคำที่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้ พบได้เป็นปกติ ไม่แปลกอะไร หากคุ้นเคยกับวิธีเชื่อมคำ ท่านก็จะมองออกไม่ยากว่า สกิเทว มาจากคำใด

อักษร "ท" มาจากการแปลง นิคฺคหิต เป็น "ท"  
คนละคำ กับคำว่า "เทว" ที่แปลว่า เทวดา อย่าสับสน 

สกิเทว        =  ครั้งเดียวเท่านั้น  / คราวเดียวนั่นเทียว 
อิมํ             = นี้
โลกํ           =  สู่โลก
อาคนฺตฺวา    =  มาแล้ว  (เป็นคำกิริยา    ,  ถ้าต้องการแปลว่า "ผู้มาเยือน" ต้องใช้คำว่า "อาคนฺตุก")

"สกิเทว อิมํ โลกํ อาคนฺตฺวา"    จึงแปลว่า    "มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว"

----------------------------------
ตามธรรมดาว่า พระสกทาคามี  นั้น ย่อมหมายถึง ท่านที่ทำกาละจากโลกนี้ไป โดยยังไม่บรรลุอรหันต์ 
(ถ้าท่านบรรลุอรหันต์ในชาตินี้ ก็ไม่ต้องไปเกิดหรือกลับมาอีก )
อรรถกถาท่านไข ให้เข้าใจดีทีเดียวค่ะ 
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=73&p=1&h=%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89#hl


อ่านอรรถกถาแล้ว ก็หายสงสัยแล้วว่า ที่ว่าโลกนี้คือโลกไหน
____________________

เพิ่มเติมความหมายจากหนังสือพุทธธรรมนะคะ


หวังว่าคงเป็นประโยชน์แก่เพื่อนสมาชิกค่ะ

สาธุ สาธุ สาธุ

-------------------------
เพิ่มเติม

ได้เพิ่มสูตรการทำตัวรูปที่น่าจะเกี่ยวข้องจาก สามคัมภีร์บาลีใหญ่ ใน คห ที่ 1-8 ค่ะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่