คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 14
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2565
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/511829397102056
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 26 ก.พ. 2565)
รวม 123,462,330 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 303,092 โดส
เข็มที่ 1 : 67,406 ราย
เข็มที่ 2 : 33,769 ราย
เข็มที่ 3 : 201,917 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 53,516,065 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 49,707,279 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 20,238,986 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/511828557102140
วัคซีนต้านโควิดของไฟเซอร์ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันการป่วยหนักและการเสียชีวิตในเด็กอายุ 5 ปีขึ้นไป อาการข้างเคียงหลังได้รับวัคซีนสามารถเกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่ทั่วไปมีอาการเพียงเล็กน้อยและหายได้เอง ส่วนอาการที่รุนแรงที่พบหลังรับวัคซีน ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และกลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็ก (MIS-C)
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเป็นอาการที่พบได้ยากและมีสาเหตุหลายประการ ส่วนใหญ่เกิดในทารก วัยรุ่น หรือวัยหนุ่มสาว และหายได้เอง แต่บางคนก็อาจป่วยหนักและต้องรักษา
การวิจัยในอเมริกาพบว่า หลังจากฉีดวัคซีนไฟเซอร์จำนวน 8.7 ล้านเข็มให้เด็กอายุ 5-11 ปี มีผู้ป่วยเป็นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเพียง 11 ราย คิดเป็น 0.00013% หรือ 1.3 รายต่อการฉีดวัคซีน 1 ล้านเข็ม และโดยทั่วไปพบในบุคคลเพศชายอายุ 12-24 ปี ส่วนอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบที่เกิดในเด็กอายุ 5-11 ปีหลังรับวัคซีน พบได้ยากมาก
ในทางตรงข้าม มีแนวโน้มว่าอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจะเกิดในผู้ที่ติดเชื้อโควิด 19 มากกว่าในผู้ที่รับวัคซีนต้านโควิด 19 งานวิจัยระบุว่าเด็กชาย/ชายหนุ่มอายุ 12 ปีขึ้นไป ที่ติดเชื้อโควิด มีโอกาสเป็นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบมากกว่าชายในกลุ่มอายุเดียวกันที่รับวัคซีนต้านโควิด 19 ถึง 6 เท่า
กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็ก (MIS-C) เป็นอาการใหม่ พบได้ยาก แต่รุนแรง ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับทั้งการติดเชื้อโควิด 19 และการรับวัคซีนต้านโควิด 19 อาการ MIS-C ทำให้อวัยวะหลายส่วนของร่างกายอักเสบ เช่น หัวใจ ปอด ไต สมอง ผิวหนัง ดวงตา และช่องท้อง
ผู้ที่มีอาการ MIS-C เฉียบพลันอาจต้องเข้ารับการรักษาในห้องไอซียู อาการและสัญญาณของ MIS-C ได้แก่ มีไข้ (สูงกว่า 38 องศา) ร่วมกับอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ได้แก่ ปวดท้อง เส้นเลือดฝอยในตาแตก ท้องร่วง เวียนศีรษะ ผื่นขึ้น อาเจียน และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เรายังไม่ทราบสาเหตุของ MIS-C อย่างแน่ชัด แต่ดูเหมือนว่าจะเกิดในเด็กอายุ 8-9 ปีมากที่สุด แม้ว่าจะพบในทารกและคนวัยหนุ่มสาวด้วย อาการ MIS-C สามารถรักษาได้ หากพบแพทย์อย่างทันท่วงที มียาที่ช่วยควบคุมการอักเสบและป้องกันไม่ให้อวัยวะเสียหาย เด็กส่วนใหญ่หายเป็นปกติ
การวิจัยในฝรั่งเศสหลังจากฉีดวัคซีน mRNA 8 ล้านเข็มให้เด็กอายุ 12-17 กว่า 4 ล้านคน พบผู้ป่วย MIS-C จำนวน 9 ราย โดย 8 รายเป็นชาย และ 3 รายต้องเข้าห้องไอซียู แต่ทุกคนหายดีแล้ว อัตราการพบโรค MIS-C ที่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนคือ 1.1 รายต่อการฉีดวัคซีน 1 ล้านเข็ม ซึ่งต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับอัตราการเกิด MIS-C ในเด็กอายุ 12-17 ปีที่ติดเชื้อโควิดซึ่งอยู่ที่ 113 รายต่อ 1 ล้านคน ในการวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง พบว่าเด็กและวัยรุ่นที่รับวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม มีโอกาสการเกิด MIS-C ลดลง 91% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน
สรุปได้ว่า หลักฐานในปัจจุบันยืนยันประโยชน์ของการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในเด็กอายุ 5-11 ปี ซึ่งสูงกว่าผลเสียจากอาการข้างเคียงที่รุนแรง
ที่มา : World Health Organization Thailand
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/511795023772160
องค์การเภสัชกรรม ยืนยันสำรองยาฟาวิพิราเวียร์ รักษาผู้ป่วยโควิด เพียงพอพร้อมผลิตเพิ่ม ขณะนี้มีการสำรองอีก จำนวน 24 ล้านเม็ด และทำการผลิตเพิ่มเติมอีก จำนวน 60 ล้านเม็ด รวมสำรอง "ยาฟาวิพิราเวียร์”(Favipiravir) ทั้งสิ้น จำนวน 84 ล้านเม็ด เพื่อกระจายสู่หน่วยบริการแม่ข่ายอย่างต่อเนื่อง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก! https://www.gpo.or.th/view/581
ที่มา : องค์การเภสัชกรรม
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/511800677104928
บิดเบือนอย่าเชื่อ ชุดตรวจ ATK เป็นอุปกรณ์ตรวจแอนติบอดี หากวัดค่าเป็นกรดจะขึ้น 2 ขีด และวัดค่าเป็นด่างจะขึ้น 1 ขีด
ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องชุดตรวจ ATK เป็นอุปกรณ์ตรวจแอนติบอดี หากวัดค่าเป็นกรดจะขึ้น 2 ขีด และวัดค่าเป็นด่างจะขึ้น 1 ขีดนั้น นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง ดังนี้
• ชุดตรวจ ATK (Antigen Test kit) เป็นชุดตรวจแอนติเจน ไม่ใช่ชุดตรวจแอนติบอดี
• ความเป็นกรด-ด่างมีผลต่อการทำปฏิกิริยาของชุดตรวจ ชุดตรวจแต่ละชนิดจึงมีหลอดน้ำยาบัฟเฟอร์เป็นอุปกรณ์ให้มาในชุดตรวจ เพื่อปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของตัวอย่างให้เหมาะสมกับชนิดตัวอย่างตามที่ระบุในชุดตรวจ ซึ่งเป็นตัวอย่างเก็บจากโพรงจมูก หรือน้ำลาย ดังนั้นผู้ใช้จะต้องไม่นำชุดตรวจไปใช้ผิดประเภท
• กรณีใช้งานชุดตรวจไม่ถูกต้อง เช่น ทดสอบกับสารที่มีความเป็นกรด-ด่างสูง น้ำเปล่า น้ำจากสิ่งแวดล้อม หรือสารละลายที่มีความสามารถในการแตกตัวเป็นไอออน ย่อมส่งผลกระทบต่อการเกิดปฏิกิริยา และแปลผลคลาดเคลื่อน เช่น ผลบวกปลอม หรือผลลบปลอมได้
ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/511809000437429
หน้ากากอนามัย" นับเป็นขยะติดเชื้อ จะต้องทิ้งอย่างถูกวิธี
มาดูกันว่า จะทิ้งอย่างไร ให้ปลอดภัย ลดโอกาสเเพร่เชื้อ
ที่มา : สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/511811430437186
สธ. ยืนยันไม่ยกเลิก HI/CI แต่เพิ่มบริการดูแลผู้ป่วยโควิดแบบผู้ป่วยนอก เริ่มให้บริการ 1 มี.ค. 65
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แจง การดูแลผู้ติดเชื้อโควิดแบบผู้ป่วยนอก ที่จะเริ่ม 1 มีนาคมนี้ เป็นการจัดบริการเพิ่มจากระบบปกติ ไม่ได้ยกเลิกการดูแลแบบ HI/CI ได้เร่งหารือ 3 ราชวิทยาลัยแพทย์วางหลักเกณฑ์ขั้นตอนการรับบริการ ยืนยันดูแลแบบผู้ป่วยนอกได้ เนื่องจากโอมิครอน 90% ไม่มีอาการหรืออาการน้อย และเป็นการเตรียมพร้อมเข้าสู่โรคประจำถิ่นในอนาคต
นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงการเพิ่มระบบการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด 19 แบบผู้ป่วยนอก ที่จะเริ่มวันที่ 1 มีนาคม 2565 ว่า การดูแลผู้ติดเชื้อโควิดแบบผู้ป่วยนอกเป็นบริการเพิ่มเติมจากระบบปกติ ไม่ได้มีการยกเลิกระบบการดูแลรักษาที่บ้านหรือชุมชน (HI/CI) ดังนั้น หากผลตรวจหาเชื้อเป็นบวกยังสามารถติดต่อเข้าระบบ HI/CI ได้ตามปกติ แต่ที่เพิ่มการดูแลแบบผู้ป่วยนอก เพื่อรองรับกรณียังเข้าระบบ HI/CI ไม่ได้ หรือยังไม่ได้รับการติดต่อ เป็นทางเลือกให้สามารถไปรับบริการที่คลินิกโรคทางเดินหายใจ (ARI Clinic) ในลักษณะผู้ป่วยนอกได้ ซึ่งจะทำให้ได้รับการตรวจวินิจฉัย จ่ายยารักษาตามระดับอาการอย่างเหมาะสม และให้คำแนะนำในการกลับไปแยกกักรักษาที่บ้าน ซึ่งรายละเอียด ขั้นตอน และหลักเกณฑ์ต่างๆ อยู่ระหว่างการหารือร่วมกับราชวิทยาลัยแพทย์ 3 แห่ง คือ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
การไปรับบริการแบบผู้ป่วยนอกโควิดวันที่ 1 มีนาคมนี้ เบื้องต้นสามารถไปรับบริการได้ทุกที่ เนื่องจากยังคงประกาศให้โรคโควิด 19 เป็นโรคฉุกเฉินภายใต้สิทธิ UCEP COVID อย่างไรก็ตาม จะมีการหารือกับกองทุนสุขภาพแต่ละกองทุนถึงแนวทางการเบิกจ่ายค่าบริการโควิด 19 แบบผู้ป่วยนอกให้เหมาะสมต่อไป”นพ.เกียรติภูมิกล่าว
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/511837590434570
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2565
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/511829397102056
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 26 ก.พ. 2565)
รวม 123,462,330 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 303,092 โดส
เข็มที่ 1 : 67,406 ราย
เข็มที่ 2 : 33,769 ราย
เข็มที่ 3 : 201,917 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 53,516,065 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 49,707,279 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 20,238,986 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/511828557102140
วัคซีนต้านโควิดของไฟเซอร์ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันการป่วยหนักและการเสียชีวิตในเด็กอายุ 5 ปีขึ้นไป อาการข้างเคียงหลังได้รับวัคซีนสามารถเกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่ทั่วไปมีอาการเพียงเล็กน้อยและหายได้เอง ส่วนอาการที่รุนแรงที่พบหลังรับวัคซีน ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และกลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็ก (MIS-C)
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเป็นอาการที่พบได้ยากและมีสาเหตุหลายประการ ส่วนใหญ่เกิดในทารก วัยรุ่น หรือวัยหนุ่มสาว และหายได้เอง แต่บางคนก็อาจป่วยหนักและต้องรักษา
การวิจัยในอเมริกาพบว่า หลังจากฉีดวัคซีนไฟเซอร์จำนวน 8.7 ล้านเข็มให้เด็กอายุ 5-11 ปี มีผู้ป่วยเป็นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเพียง 11 ราย คิดเป็น 0.00013% หรือ 1.3 รายต่อการฉีดวัคซีน 1 ล้านเข็ม และโดยทั่วไปพบในบุคคลเพศชายอายุ 12-24 ปี ส่วนอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบที่เกิดในเด็กอายุ 5-11 ปีหลังรับวัคซีน พบได้ยากมาก
ในทางตรงข้าม มีแนวโน้มว่าอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจะเกิดในผู้ที่ติดเชื้อโควิด 19 มากกว่าในผู้ที่รับวัคซีนต้านโควิด 19 งานวิจัยระบุว่าเด็กชาย/ชายหนุ่มอายุ 12 ปีขึ้นไป ที่ติดเชื้อโควิด มีโอกาสเป็นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบมากกว่าชายในกลุ่มอายุเดียวกันที่รับวัคซีนต้านโควิด 19 ถึง 6 เท่า
กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็ก (MIS-C) เป็นอาการใหม่ พบได้ยาก แต่รุนแรง ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับทั้งการติดเชื้อโควิด 19 และการรับวัคซีนต้านโควิด 19 อาการ MIS-C ทำให้อวัยวะหลายส่วนของร่างกายอักเสบ เช่น หัวใจ ปอด ไต สมอง ผิวหนัง ดวงตา และช่องท้อง
ผู้ที่มีอาการ MIS-C เฉียบพลันอาจต้องเข้ารับการรักษาในห้องไอซียู อาการและสัญญาณของ MIS-C ได้แก่ มีไข้ (สูงกว่า 38 องศา) ร่วมกับอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ได้แก่ ปวดท้อง เส้นเลือดฝอยในตาแตก ท้องร่วง เวียนศีรษะ ผื่นขึ้น อาเจียน และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เรายังไม่ทราบสาเหตุของ MIS-C อย่างแน่ชัด แต่ดูเหมือนว่าจะเกิดในเด็กอายุ 8-9 ปีมากที่สุด แม้ว่าจะพบในทารกและคนวัยหนุ่มสาวด้วย อาการ MIS-C สามารถรักษาได้ หากพบแพทย์อย่างทันท่วงที มียาที่ช่วยควบคุมการอักเสบและป้องกันไม่ให้อวัยวะเสียหาย เด็กส่วนใหญ่หายเป็นปกติ
การวิจัยในฝรั่งเศสหลังจากฉีดวัคซีน mRNA 8 ล้านเข็มให้เด็กอายุ 12-17 กว่า 4 ล้านคน พบผู้ป่วย MIS-C จำนวน 9 ราย โดย 8 รายเป็นชาย และ 3 รายต้องเข้าห้องไอซียู แต่ทุกคนหายดีแล้ว อัตราการพบโรค MIS-C ที่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนคือ 1.1 รายต่อการฉีดวัคซีน 1 ล้านเข็ม ซึ่งต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับอัตราการเกิด MIS-C ในเด็กอายุ 12-17 ปีที่ติดเชื้อโควิดซึ่งอยู่ที่ 113 รายต่อ 1 ล้านคน ในการวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง พบว่าเด็กและวัยรุ่นที่รับวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม มีโอกาสการเกิด MIS-C ลดลง 91% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน
สรุปได้ว่า หลักฐานในปัจจุบันยืนยันประโยชน์ของการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในเด็กอายุ 5-11 ปี ซึ่งสูงกว่าผลเสียจากอาการข้างเคียงที่รุนแรง
ที่มา : World Health Organization Thailand
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/511795023772160
องค์การเภสัชกรรม ยืนยันสำรองยาฟาวิพิราเวียร์ รักษาผู้ป่วยโควิด เพียงพอพร้อมผลิตเพิ่ม ขณะนี้มีการสำรองอีก จำนวน 24 ล้านเม็ด และทำการผลิตเพิ่มเติมอีก จำนวน 60 ล้านเม็ด รวมสำรอง "ยาฟาวิพิราเวียร์”(Favipiravir) ทั้งสิ้น จำนวน 84 ล้านเม็ด เพื่อกระจายสู่หน่วยบริการแม่ข่ายอย่างต่อเนื่อง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก! https://www.gpo.or.th/view/581
ที่มา : องค์การเภสัชกรรม
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/511800677104928
บิดเบือนอย่าเชื่อ ชุดตรวจ ATK เป็นอุปกรณ์ตรวจแอนติบอดี หากวัดค่าเป็นกรดจะขึ้น 2 ขีด และวัดค่าเป็นด่างจะขึ้น 1 ขีด
ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องชุดตรวจ ATK เป็นอุปกรณ์ตรวจแอนติบอดี หากวัดค่าเป็นกรดจะขึ้น 2 ขีด และวัดค่าเป็นด่างจะขึ้น 1 ขีดนั้น นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง ดังนี้
• ชุดตรวจ ATK (Antigen Test kit) เป็นชุดตรวจแอนติเจน ไม่ใช่ชุดตรวจแอนติบอดี
• ความเป็นกรด-ด่างมีผลต่อการทำปฏิกิริยาของชุดตรวจ ชุดตรวจแต่ละชนิดจึงมีหลอดน้ำยาบัฟเฟอร์เป็นอุปกรณ์ให้มาในชุดตรวจ เพื่อปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของตัวอย่างให้เหมาะสมกับชนิดตัวอย่างตามที่ระบุในชุดตรวจ ซึ่งเป็นตัวอย่างเก็บจากโพรงจมูก หรือน้ำลาย ดังนั้นผู้ใช้จะต้องไม่นำชุดตรวจไปใช้ผิดประเภท
• กรณีใช้งานชุดตรวจไม่ถูกต้อง เช่น ทดสอบกับสารที่มีความเป็นกรด-ด่างสูง น้ำเปล่า น้ำจากสิ่งแวดล้อม หรือสารละลายที่มีความสามารถในการแตกตัวเป็นไอออน ย่อมส่งผลกระทบต่อการเกิดปฏิกิริยา และแปลผลคลาดเคลื่อน เช่น ผลบวกปลอม หรือผลลบปลอมได้
ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/511809000437429
หน้ากากอนามัย" นับเป็นขยะติดเชื้อ จะต้องทิ้งอย่างถูกวิธี
มาดูกันว่า จะทิ้งอย่างไร ให้ปลอดภัย ลดโอกาสเเพร่เชื้อ
ที่มา : สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/511811430437186
สธ. ยืนยันไม่ยกเลิก HI/CI แต่เพิ่มบริการดูแลผู้ป่วยโควิดแบบผู้ป่วยนอก เริ่มให้บริการ 1 มี.ค. 65
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แจง การดูแลผู้ติดเชื้อโควิดแบบผู้ป่วยนอก ที่จะเริ่ม 1 มีนาคมนี้ เป็นการจัดบริการเพิ่มจากระบบปกติ ไม่ได้ยกเลิกการดูแลแบบ HI/CI ได้เร่งหารือ 3 ราชวิทยาลัยแพทย์วางหลักเกณฑ์ขั้นตอนการรับบริการ ยืนยันดูแลแบบผู้ป่วยนอกได้ เนื่องจากโอมิครอน 90% ไม่มีอาการหรืออาการน้อย และเป็นการเตรียมพร้อมเข้าสู่โรคประจำถิ่นในอนาคต
นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงการเพิ่มระบบการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด 19 แบบผู้ป่วยนอก ที่จะเริ่มวันที่ 1 มีนาคม 2565 ว่า การดูแลผู้ติดเชื้อโควิดแบบผู้ป่วยนอกเป็นบริการเพิ่มเติมจากระบบปกติ ไม่ได้มีการยกเลิกระบบการดูแลรักษาที่บ้านหรือชุมชน (HI/CI) ดังนั้น หากผลตรวจหาเชื้อเป็นบวกยังสามารถติดต่อเข้าระบบ HI/CI ได้ตามปกติ แต่ที่เพิ่มการดูแลแบบผู้ป่วยนอก เพื่อรองรับกรณียังเข้าระบบ HI/CI ไม่ได้ หรือยังไม่ได้รับการติดต่อ เป็นทางเลือกให้สามารถไปรับบริการที่คลินิกโรคทางเดินหายใจ (ARI Clinic) ในลักษณะผู้ป่วยนอกได้ ซึ่งจะทำให้ได้รับการตรวจวินิจฉัย จ่ายยารักษาตามระดับอาการอย่างเหมาะสม และให้คำแนะนำในการกลับไปแยกกักรักษาที่บ้าน ซึ่งรายละเอียด ขั้นตอน และหลักเกณฑ์ต่างๆ อยู่ระหว่างการหารือร่วมกับราชวิทยาลัยแพทย์ 3 แห่ง คือ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
การไปรับบริการแบบผู้ป่วยนอกโควิดวันที่ 1 มีนาคมนี้ เบื้องต้นสามารถไปรับบริการได้ทุกที่ เนื่องจากยังคงประกาศให้โรคโควิด 19 เป็นโรคฉุกเฉินภายใต้สิทธิ UCEP COVID อย่างไรก็ตาม จะมีการหารือกับกองทุนสุขภาพแต่ละกองทุนถึงแนวทางการเบิกจ่ายค่าบริการโควิด 19 แบบผู้ป่วยนอกให้เหมาะสมต่อไป”นพ.เกียรติภูมิกล่าว
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/511837590434570
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭มาลาริน❤27ก.พ.ไทยไม่ติดTop10 เกาหลีใต้อันดับ1โลก/ป่วย24,719คน หายป่วย16,875คน ตาย42คน/นายกฯย้ำรักษาทั่วถึง/หมอ ยงแนะ
https://www.posttoday.com/social/general/676750
https://www.bangkokbiznews.com/social/990660
https://www.thebangkokinsight.com/news/world-news/covid-19-world-news/815953/
https://www.thaipost.net/hi-light/93841/
https://www.bangkokbiznews.com/social/990658
ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ
โควิดไทยยังติดเชื้อหลักหมื่น ต้องระมัดระวังมาก
....สู้ๆค่ะ