ความหมายของกรรม

ความหมายของกรรม

    คำว่า "กรรม" มาจากภาษาบาลี มีรูปวิเคราะห์ทางไวยากรณ์ว่า  

    "กรณ กมฺม" การกระทำชื่อว่า "กัมมะ" หรือ

    "กรียเตติ กมฺม" กรรมที่บุคคลกระทำ ชื่อว่า "กัมมะ"

    “กรรม” รากศัพท์คือ "กรฺ" ธาตุ แปลว่า "กระทำ" + "รมฺม" ปัจจัย ลบ "รฺ" ที่สุดธาตุและ "ร" ที่ต้นปัจจัย - : กร > ก + รมฺม > มฺม : ก + มฺม = กมฺม

    “กมฺม” แปลว่า การกระทำ, สิ่งที่ทำ, การงาน (action; deed; the doing, work) นิยมพูดทับศัพท์ว่า “กรรม”

    คำว่า "กรรม" (Karma) จากภาษาสันสกฤต "กฤ" (Kri) (कर्म)    (กรฺม, แปลว่า การกระทำ) หรือ (कर्मन्) (กรฺมนฺ, แปลว่า การกระทำ); เทียบกับภาษาบาลีตรงกับคำว่า กมฺม (การกระทำ)

กรรม คือ การกระทำ หรือพฤติกรรม
จงใจทำ หรือไม่จงใจทำ ก็คือกรรม

กรรม เป็นกิริยา แปลว่า การกระทำ
กรรม เป็นนาม ที่เป็นผลกรรม แปลว่า ผลของการกระทำ


กรรมมีความสำคัญ คือ
เพราะทุกคนต้องทำกรรม
    
การแก้กรรมมีความสำคัญ คือ
พฤติกรรมที่ไม่ดีเราต้องแก้ไขให้ดี
ถ้าไม่อย่างนั้นเราก็จะชั่วตลอด


ประโยชน์ของการแก้กรรม คือ
ทำให้เรากลับดีขึ้นมาได้
จากชั่วร้ายกลายเป็นดีขึ้นมาได้
จากที่ไม่ดีให้กลับกลายเป็นดี
จากที่ไม่ได้ผล ให้ได้ผล
จากที่ไม่สำเร็จก็สำเร็จ







แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่