คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 21
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/510596710558658
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 24 ก.พ. 2565)
รวม 122,779,134 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 305,763 โดส
เข็มที่ 1 : 74,894 ราย
เข็มที่ 2 : 39,874 ราย
เข็มที่ 3 : 190,995 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 53,357,481 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 49,622,858 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 19,798,795 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/510548420563487
ผู้ป่วยโควิดที่อาการไม่รุนแรง เลือกเข้าระบบรักษาตัวเองที่บ้าน หรือในชุมชน จะได้รับการดูแลอะไรบ้าง หาคำตอบมาให้แล้วนะ
ที่มา: สสส.
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/510533677231628
ทำไมต้องรับวัคซีนเข็มกระตุ้น...
เเล้วจะต้องรับอีกกี่เข็ม ?
ที่มา : WHO Thailand
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/510548737230122
สถานการณ์โควิดต่างประเทศ
• เกาหลีใต้
อนุมัติใช้วัคซีน Pfizer ในเด็กอายุ 5-11 ปี
• สิงคโปร์
ประกาศเลื่อนกำหนดผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID ในวันที่ 25 ก.พ. 65 และ 4 มี.ค. 65
หลังพบผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงขึ้นต่อเนื่อง
ที่มา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/510564530561876
กรุงเทพมหานครอยู่ระหว่างการเตรียมเปิดศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อเพิ่มเติมอีก 9 แห่ง เตียง 970 เตียง
นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 สายพันธุ์Omicron ในประเทศไทยที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากขึ้น เพื่อเป็นการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และดูแลสุขภาพของประชาชน กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ (Community Isolation : CI) เพื่อรองรับผู้ป่วยที่ตรวจ ATK และ RT-PCR แล้วแสดงผลว่าติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ 6 กลุ่มเขต รวมทั้งสิ้น 31 แห่ง สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 3,981 เตียง อัตราการครองเตียงขณะนี้ 1,932 เตียง เตียงว่าง 1,849 เตียง โดยมีการคัดกรองอาการและดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น เพื่อรอการส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลตามการประเมินจากแพทย์ ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครอยู่ระหว่างการเตรียมเปิดศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อเพิ่มเติมอีก 9 แห่ง เตียง 970 เตียง ด้านโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลสนาม และ Hospitel ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 3,460 เตียง อัตราการครองเตียง 3,116 เตียง เตียงว่าง 377 เตียง คิดเป็นร้อยละ 90.06
ทั้งนี้ ผู้ป่วยติดเชื้อ หากประสงค์ทำการรักษาแบบกักตัวที่บ้าน (HI) สามารถโทรแจ้งได้ที่ สายด่วน สปสช.1330 กด14 หรือประสานรับการรักษาผ่านศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินสำนักงานเขต (EOC) 50 เขต โดยศูนย์ฯ ได้บูรณาการการทำงานร่วมกับคลินิกอบอุ่น ศูนย์บริการสาธารณสุข หรือสถานพยาบาล มีเป้าหมายการเข้าถึงผู้ป่วยภายใน 12 ชั่วโมง ซึ่งเจ้าหน้าที่จะติดต่อกับผู้ป่วยเพื่อประเมินอาการเบื้องต้น หากผู้ติดเชื้อมีอาการไม่รุนแรง และสามารถแยกกักตัวได้ จะเข้าสู่การแยกกักรักษาที่บ้าน (Home Isolation : HI) ในกรณีที่ผู้ติดเชื้อมีอาการเปลี่ยนแปลง หรือไม่สามารถแยกกักที่บ้านได้ จะนำส่งศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ (Community Isolation : CI) หรือส่งไปยังโรงพยาบาลสนาม หรือส่งต่อรักษาในโรงพยาบาลตามระดับความรุนแรงของอาการต่อไป
ที่มา กรุงเทพมหานคร
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/510593813892281
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 จำนวน 41 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/510596863891976
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เปิดลงทะเบียน จองวัคซีน Pfizer สำหรับเด็ก อายุระหว่าง 5 -11 ปี (รอบเดือนมีนาคม)
• อายุ 5 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 12 ปี
• เด็กทั่วไปหรือ 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง
• ยังไม่เคยรับวัคซีน
สอบถามสายด่วน โทร.1415
ที่มา สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/510607950557534
สธ. ร่วมกับ มท. ค้นหากลุ่มเสี่ยง 608 รณรงค์เข้าถึงวัคซีนเข็มกระตุ้น ลดอัตราเสียชีวิต เร่งเตรียมแผนระยะ 4 เดือน การบริหารจัดการโรคโควิดเข้าสู่โรคประจำถิ่น
นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้กระทรวงสาธารณสุขทบทวนเรื่องการรักษาโควิดฟรีตามสิทธินั้น ได้มอบหมายให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) นำไปทบทวน ยืนยันว่าประชาชนไม่ได้รับผลกระทบ ซึ่งปัจจุบันเป็นการระบาดของสายพันธุ์ Omicron ผู้ติดเชื้อประมาณ 90% ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย หรือกลุ่มสีเขียว ดังนั้น จึงพยายามให้รับการดูแลในระบบ HI/CI เพื่อให้โรงพยาบาลมีเตียงว่างดูแลผู้ป่วยโควิดที่มีอาการหนักและผู้ป่วยโรคอื่น เป็นแนวทางหนึ่งของการปรับให้โรคโควิด 19 เป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา มีการประชุมเตรียมแผนระยะ 4 เดือน ในการบริหารจัดการโรคโควิด 19 เข้าสู่โรคประจำถิ่น คาดว่าจะมีรายละเอียดในสัปดาห์หน้า
นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า แม้ Omicron จะไม่รุนแรง แต่หากมีการติดเชื้อจำนวนมาก ผู้ป่วยปอดอักเสบและเสียชีวิตอาจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งขณะนี้ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม 608 คือ ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคเรื้อรัง การประชุมทางไกลร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ให้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยในการค้นหากลุ่ม 608 ตามทะเบียนบ้าน เพื่อให้เข้าถึงการรับบริการวัคซีนโควิด 19 ให้มากที่สุด ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตโดยขณะนี้กลุ่ม 608 ได้รับวัคซีนเข็ม 1 และเข็ม 2 ประมาณ 80% ส่วนเข็มกระตุ้นประมาณ 30%
ที่มา สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/510654920552837
สธ. แจง เหตุไม่รวมผลตรวจโควิด-19 แบบ RT-PCR กับ ATK
จากยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งจากการตรวจแบบ RT-PCR และ ATK ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อแยกตามวิธีการตรวจ ไม่ได้นำมารวมกัน โดย นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงถึงสาเหตุดังกล่าว ดังนี้
การนำตัวเลขผลตรวจจากทั้ง 2 วิธีการมารวมกัน อาจไม่ถูกต้องทั้งหมด เนื่องจากผู้ที่มีผลบวกจาก RT-PCR มักจะมีผลบวกจาก ATK มาแล้ว เช่น ในกลุ่ม ATK บวก 100 ราย อาจจะมี RT-PCR บวก 10 ราย รวมถึงกลุ่มเสี่ยงที่ต้องรักษาใน รพ. จะต้องตรวจ RT-PCR ซ้ำเช่นกัน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมุ่งให้ความสำคัญกับระบบการรักษา ให้อัตราตายต่ำ ดูแลผู้ป่วยหนักให้ดี ส่วนที่ป่วยไม่หนักก็ดูแลไม่ให้ป่วยหนักเพิ่มขึ้น
และผู้ที่มีผลการตรวจ ATK เป็นบวก สามารถเข้าสู่ระบบรักษาที่บ้านและชุมชน (Home and Community Isolation) ได้ทันที โดยไม่ต้องตรวจ RT-PCR ซ้ำ เนื่องจากมีความแม่นยำใกล้เคียงกัน ยกเว้นกลุ่มเสี่ยง (ผู้สูงอายุ - กลุ่ม 7 โรคประจำตัว - กลุ่มหญิงตั้งครรภ์)
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/322706789892059
ยืนยัน! ผู้ป่วยโควิด-19 ยังรักษา รพ.เอกชนฟรี หากปฏิเสธการรักษา - เรียกเก็บเงิน แจ้งสายด่วน สบส. 1426
กระทรวงสาธารณสุข แจงผู้ป่วยโควิด-19 ยังถือเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน สามารถเข้ารับการรักษาจาก รพ.เอกชน ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เนื่องจากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก "ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อกรณีโรคโควิด-19” แต่อย่างใด
หากสถานพยาบาลเอกชนปฏิเสธการรักษาหรือเรียกเก็บค่ารักษาจากผู้ป่วยโควิด-19 หรือญาติ ให้โทรแจ้งสายด่วน สบส. 1426 โดยผู้ประกอบกิจการและผู้ดำเนินการสถานพยาบาลถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/322698643226207
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เผยแพร่ข้อมูลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ‘สายพันธุ์ Omicron’ จำนวน 100 ราย ซึ่งจำนวน 59 ราย พบว่าไม่มีอาการ ส่วนที่มีอาการอยู่ที่ 41 ราย ซึ่งพบ 8 อาการที่พบบ่อยมากที่สุดตามภาพนี้!!
https://www.facebook.com/realnewsthailand/posts/1130643064435089
กรมการแพทย์ระบุ ผู้ป่วยโควิดไม่มีอาการ ไม่จำเป็นต้องกินยาฟาวิพิราเวียร์
“ผู้ติดเชื้อโควิด19 ไม่มีอาการหรือมีเพียงเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องกินยาฟาวิพิราเวียร์ เว้นแต่มีความเสี่ยง โดยจะพิจารณาให้ยาฟ้าทะลายโจรวันละ 180 เอนโดรกราโฟไลด์ติดต่อกัน 5 วัน ไม่แนะนำให้รับประทานคู่กัน เพราะอาจเกิดภาวะตับอักเสบได้ หากมีอาการเล็กน้อยให้รักษาตามอาการ…”
https://www.facebook.com/realnewsthailand/posts/1132569104242485
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/510596710558658
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 24 ก.พ. 2565)
รวม 122,779,134 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 305,763 โดส
เข็มที่ 1 : 74,894 ราย
เข็มที่ 2 : 39,874 ราย
เข็มที่ 3 : 190,995 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 53,357,481 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 49,622,858 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 19,798,795 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/510548420563487
ผู้ป่วยโควิดที่อาการไม่รุนแรง เลือกเข้าระบบรักษาตัวเองที่บ้าน หรือในชุมชน จะได้รับการดูแลอะไรบ้าง หาคำตอบมาให้แล้วนะ
ที่มา: สสส.
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/510533677231628
ทำไมต้องรับวัคซีนเข็มกระตุ้น...
เเล้วจะต้องรับอีกกี่เข็ม ?
ที่มา : WHO Thailand
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/510548737230122
สถานการณ์โควิดต่างประเทศ
• เกาหลีใต้
อนุมัติใช้วัคซีน Pfizer ในเด็กอายุ 5-11 ปี
• สิงคโปร์
ประกาศเลื่อนกำหนดผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID ในวันที่ 25 ก.พ. 65 และ 4 มี.ค. 65
หลังพบผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงขึ้นต่อเนื่อง
ที่มา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/510564530561876
กรุงเทพมหานครอยู่ระหว่างการเตรียมเปิดศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อเพิ่มเติมอีก 9 แห่ง เตียง 970 เตียง
นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 สายพันธุ์Omicron ในประเทศไทยที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากขึ้น เพื่อเป็นการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และดูแลสุขภาพของประชาชน กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ (Community Isolation : CI) เพื่อรองรับผู้ป่วยที่ตรวจ ATK และ RT-PCR แล้วแสดงผลว่าติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ 6 กลุ่มเขต รวมทั้งสิ้น 31 แห่ง สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 3,981 เตียง อัตราการครองเตียงขณะนี้ 1,932 เตียง เตียงว่าง 1,849 เตียง โดยมีการคัดกรองอาการและดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น เพื่อรอการส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลตามการประเมินจากแพทย์ ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครอยู่ระหว่างการเตรียมเปิดศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อเพิ่มเติมอีก 9 แห่ง เตียง 970 เตียง ด้านโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลสนาม และ Hospitel ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 3,460 เตียง อัตราการครองเตียง 3,116 เตียง เตียงว่าง 377 เตียง คิดเป็นร้อยละ 90.06
ทั้งนี้ ผู้ป่วยติดเชื้อ หากประสงค์ทำการรักษาแบบกักตัวที่บ้าน (HI) สามารถโทรแจ้งได้ที่ สายด่วน สปสช.1330 กด14 หรือประสานรับการรักษาผ่านศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินสำนักงานเขต (EOC) 50 เขต โดยศูนย์ฯ ได้บูรณาการการทำงานร่วมกับคลินิกอบอุ่น ศูนย์บริการสาธารณสุข หรือสถานพยาบาล มีเป้าหมายการเข้าถึงผู้ป่วยภายใน 12 ชั่วโมง ซึ่งเจ้าหน้าที่จะติดต่อกับผู้ป่วยเพื่อประเมินอาการเบื้องต้น หากผู้ติดเชื้อมีอาการไม่รุนแรง และสามารถแยกกักตัวได้ จะเข้าสู่การแยกกักรักษาที่บ้าน (Home Isolation : HI) ในกรณีที่ผู้ติดเชื้อมีอาการเปลี่ยนแปลง หรือไม่สามารถแยกกักที่บ้านได้ จะนำส่งศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ (Community Isolation : CI) หรือส่งไปยังโรงพยาบาลสนาม หรือส่งต่อรักษาในโรงพยาบาลตามระดับความรุนแรงของอาการต่อไป
ที่มา กรุงเทพมหานคร
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/510593813892281
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 จำนวน 41 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/510596863891976
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เปิดลงทะเบียน จองวัคซีน Pfizer สำหรับเด็ก อายุระหว่าง 5 -11 ปี (รอบเดือนมีนาคม)
• อายุ 5 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 12 ปี
• เด็กทั่วไปหรือ 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง
• ยังไม่เคยรับวัคซีน
สอบถามสายด่วน โทร.1415
ที่มา สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/510607950557534
สธ. ร่วมกับ มท. ค้นหากลุ่มเสี่ยง 608 รณรงค์เข้าถึงวัคซีนเข็มกระตุ้น ลดอัตราเสียชีวิต เร่งเตรียมแผนระยะ 4 เดือน การบริหารจัดการโรคโควิดเข้าสู่โรคประจำถิ่น
นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้กระทรวงสาธารณสุขทบทวนเรื่องการรักษาโควิดฟรีตามสิทธินั้น ได้มอบหมายให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) นำไปทบทวน ยืนยันว่าประชาชนไม่ได้รับผลกระทบ ซึ่งปัจจุบันเป็นการระบาดของสายพันธุ์ Omicron ผู้ติดเชื้อประมาณ 90% ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย หรือกลุ่มสีเขียว ดังนั้น จึงพยายามให้รับการดูแลในระบบ HI/CI เพื่อให้โรงพยาบาลมีเตียงว่างดูแลผู้ป่วยโควิดที่มีอาการหนักและผู้ป่วยโรคอื่น เป็นแนวทางหนึ่งของการปรับให้โรคโควิด 19 เป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา มีการประชุมเตรียมแผนระยะ 4 เดือน ในการบริหารจัดการโรคโควิด 19 เข้าสู่โรคประจำถิ่น คาดว่าจะมีรายละเอียดในสัปดาห์หน้า
นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า แม้ Omicron จะไม่รุนแรง แต่หากมีการติดเชื้อจำนวนมาก ผู้ป่วยปอดอักเสบและเสียชีวิตอาจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งขณะนี้ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม 608 คือ ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคเรื้อรัง การประชุมทางไกลร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ให้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยในการค้นหากลุ่ม 608 ตามทะเบียนบ้าน เพื่อให้เข้าถึงการรับบริการวัคซีนโควิด 19 ให้มากที่สุด ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตโดยขณะนี้กลุ่ม 608 ได้รับวัคซีนเข็ม 1 และเข็ม 2 ประมาณ 80% ส่วนเข็มกระตุ้นประมาณ 30%
ที่มา สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/510654920552837
สธ. แจง เหตุไม่รวมผลตรวจโควิด-19 แบบ RT-PCR กับ ATK
จากยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งจากการตรวจแบบ RT-PCR และ ATK ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อแยกตามวิธีการตรวจ ไม่ได้นำมารวมกัน โดย นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงถึงสาเหตุดังกล่าว ดังนี้
การนำตัวเลขผลตรวจจากทั้ง 2 วิธีการมารวมกัน อาจไม่ถูกต้องทั้งหมด เนื่องจากผู้ที่มีผลบวกจาก RT-PCR มักจะมีผลบวกจาก ATK มาแล้ว เช่น ในกลุ่ม ATK บวก 100 ราย อาจจะมี RT-PCR บวก 10 ราย รวมถึงกลุ่มเสี่ยงที่ต้องรักษาใน รพ. จะต้องตรวจ RT-PCR ซ้ำเช่นกัน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมุ่งให้ความสำคัญกับระบบการรักษา ให้อัตราตายต่ำ ดูแลผู้ป่วยหนักให้ดี ส่วนที่ป่วยไม่หนักก็ดูแลไม่ให้ป่วยหนักเพิ่มขึ้น
และผู้ที่มีผลการตรวจ ATK เป็นบวก สามารถเข้าสู่ระบบรักษาที่บ้านและชุมชน (Home and Community Isolation) ได้ทันที โดยไม่ต้องตรวจ RT-PCR ซ้ำ เนื่องจากมีความแม่นยำใกล้เคียงกัน ยกเว้นกลุ่มเสี่ยง (ผู้สูงอายุ - กลุ่ม 7 โรคประจำตัว - กลุ่มหญิงตั้งครรภ์)
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/322706789892059
ยืนยัน! ผู้ป่วยโควิด-19 ยังรักษา รพ.เอกชนฟรี หากปฏิเสธการรักษา - เรียกเก็บเงิน แจ้งสายด่วน สบส. 1426
กระทรวงสาธารณสุข แจงผู้ป่วยโควิด-19 ยังถือเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน สามารถเข้ารับการรักษาจาก รพ.เอกชน ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เนื่องจากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก "ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อกรณีโรคโควิด-19” แต่อย่างใด
หากสถานพยาบาลเอกชนปฏิเสธการรักษาหรือเรียกเก็บค่ารักษาจากผู้ป่วยโควิด-19 หรือญาติ ให้โทรแจ้งสายด่วน สบส. 1426 โดยผู้ประกอบกิจการและผู้ดำเนินการสถานพยาบาลถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/322698643226207
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เผยแพร่ข้อมูลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ‘สายพันธุ์ Omicron’ จำนวน 100 ราย ซึ่งจำนวน 59 ราย พบว่าไม่มีอาการ ส่วนที่มีอาการอยู่ที่ 41 ราย ซึ่งพบ 8 อาการที่พบบ่อยมากที่สุดตามภาพนี้!!
https://www.facebook.com/realnewsthailand/posts/1130643064435089
กรมการแพทย์ระบุ ผู้ป่วยโควิดไม่มีอาการ ไม่จำเป็นต้องกินยาฟาวิพิราเวียร์
“ผู้ติดเชื้อโควิด19 ไม่มีอาการหรือมีเพียงเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องกินยาฟาวิพิราเวียร์ เว้นแต่มีความเสี่ยง โดยจะพิจารณาให้ยาฟ้าทะลายโจรวันละ 180 เอนโดรกราโฟไลด์ติดต่อกัน 5 วัน ไม่แนะนำให้รับประทานคู่กัน เพราะอาจเกิดภาวะตับอักเสบได้ หากมีอาการเล็กน้อยให้รักษาตามอาการ…”
https://www.facebook.com/realnewsthailand/posts/1132569104242485
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭มาลาริน💙25ก.พ.เกาหลีใต้ติดอันดับ2 Top10 โลก/ไทยป่วย24,932คน หายป่วย15,774คน ตาย41คน/สธ.เล็งรักษาแบบเจอ-แจก-จบ"
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เตรียมการจัดบริการเพิ่มสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด ในรูปแบบผู้ป่วยนอก “เจอ แจก จบ” เริ่ม 1 มีนาคมนี้ ตามแผนการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น เผยจังหวัดเชียงใหม่และภูเก็ตดำเนินการแล้วได้ผลดี
วันนี้ (25 ก.พ.) ที่ กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมแผนการบริหารจัดการให้โรคโควิด 19 ออกจากการเป็นโรคระบาดไปสู่การเป็นโรคติดต่อทั่วไปหรือโรคประจำถิ่น คือ การที่โรคลดความรุนแรงลง ไม่มีภาวะอันตรายมาก มีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
ขณะเดียวกันประชาชนมีภูมิต้านทานมากเพียงพอ จะใช้เวลาประมาณ 4 เดือนจากนี้ โดยได้จัดระบบบริการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ เพิ่มการดูแลในระบบผู้ป่วยนอก ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล “เจอ แจก จบ” โดยทำการตรวจผู้ที่สงสัยป่วยโควิด 19 ด้วยชุดตรวจ ATK หากพบผลเป็นบวก แพทย์จะพิจารณาจ่ายยารักษาตามอาการ 3 สูตร ได้แก่....👉
1. ยาฟาวิพิราเวียร์ 2. ยาฟ้าทะลายโจร 3. ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ แก้ไอ ลดน้ำมูก เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ติดเชื้อในการเข้าถึงบริการ และเป็นการเชื่อมโยงเข้าสู่การเป็นโรคที่ดูแลได้ด้วยตนเอง คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในวันที่ 1 มีนาคม นี้
นพ.เกียรติภูมิ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้มีจังหวัดเชียงใหม่และภูเก็ต ที่ดำเนินการอยู่แล้ว พบว่าได้ผลดี ส่วนศิริราชพยาบาลได้วางระบบต้นแบบนี้ไว้เช่นกัน โดยให้ผู้ป่วยดูแลตนเองที่บ้าน ไม่พบคนหมู่มาก พยายามแยกตัวออกจากผู้อื่น ลดการเดินทาง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อ สำหรับกลุ่ม 608 สามารถใช้ระบบนี้ได้ หากมีความเสี่ยงสูง หรือโรคประจำตัวมาก แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาให้การรักษาแบบผู้ป่วยในต่อไป
https://www.sanook.com/news/8523338/
ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ
จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกวัน
ไม่ประมาทนะคะ ดูแลตัวเองด้วยค่ะ
..... ....