อยากทราบว่า ตอนนี้ภาษาจีนเป็นหนึ่งในวิชาหลักของระบบการศึกษาไทยแล้วหรือไม่ อย่างสมัยที่ จขกท. ยังเป็นนักเรียนประมาณสิบกว่าปีมาแล้ว ตอนนั้นภาษาจีนยังเป็นวิชาเลือกในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เข้าใจว่าในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นสมัยก่อนน่าจะจัดให้ตามความพร้อมของโรงเรียน (อย่างโรงเรียนจีนน่าจะมีสอนมาก่อนหน้านั้นนานแล้ว) ส่วนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีให้เลือกในสายศิลป์ - ภาษาจีน จขกท. เคยเรียนมาบ้างในตอน ม.ต้น ตอน ม.ปลายเรียนสายวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ตอนจะเลือกคณะเข้ามหาวิทยาลัยก็มีสาขาเกี่ยวกับการสอนภาษาจีน นอกเหนือจากสาขาวิชาภาษาจีนหรือจีนศึกษา แสดงว่าณ ตอนนั้นก็อาจมีการเริ่มผลิตบุคลากรด้านการสอนแล้ว เลยสงสัยว่าตอนนี้ภาษาจีนเป็นวิชาหลักของระบบการศึกษาไทยที่ทุกคนจำเป็นต้องเรียนหรือยัง หรือยังเป็นวิชาเลือกเหมือนเดิม
ที่แน่นอนอย่างหนึ่งคือ ผู้เรียนภาษาจีนน่าจะมีจำนวนมากขึ้นจากอดีตอย่างแน่นอน อันนี้ จขกท. นำมาจากเพจหนึ่ง เป็นจำนวนนักเรียนที่สมัครสอบ GAT PAT (ผู้เขียนได้สอบเป็นรุ่นแรกๆเลย) ของปี 2565 ในส่วนของ PAT 7 หรือภาษาต่างประเทศที่สอง จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้สมัครสอบภาษาจีนมีจำนวนมากที่สุด ตามมาด้วยภาษาเกาหลี ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาบาลี ภาษาเยอรมัน และภาษาอาหรับ
กรณีสามลำดับแรกคือภาษาจีน ภาษาเกาหลีและภาษาญี่ปุ่นนั้นเข้าใจได้ หลายคนเลือกเรียนเพราะกระแสเอเชียภิวัตน์ที่สามชาติใหญ่ของเอเชียตะวันออกมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ มีการลงทุนในไทยจำนวนมาก ทำให้อาจนำความรู้ไปใช้ทำงานได้ นอกจากนี้อาจเลือกเรียนเพราะชอบสื่อบันเทิงจากประเทศเหล่านี้ด้วย ภาษาฝรั่งเศสแม้ว่าจะมีอิทธิพลน้อยกว่าในอดีตค่อนข้างมาก แต่ก็มีผู้สนใจเรียนอยู่จำนวนมาก เข้าใจว่าอาจเป็นเพราะความชอบและบางคนอาจต้องการศึกษาต่อเฉพาะด้าน เช่น ทางกฎหมาย ซึ่งฝรั่งเศสมีความโดดเด่น เลยเลือกเรียน ที่น่าสนใจคือภาษาบาลีที่มีคนสมัครสอบถึงหลักพันคนเลยทีเดียว (จขกท. ก็เคยสอบ จำได้ว่าตอนครูนำหนังสือบาลีไวยากรณ์มาให้อ่านคืองงมาก ครูซึ่งเคยเป็นมหาเปรียญมาก่อนท่านดูข้อสอบแล้วบอกว่าอยู่ในระดับบาลีชั้นต้น) ส่วนหนึ่งอาจเคยบวชเรียน หรือเรียนบาลีศึกษา จึงมาสอบ ภาษาเยอรมันนั้นหลายคนอาจเลือกเพราะสนใจและอาจต้องการไปศึกษาต่อที่เยอรมนีในด้านที่ประเทศนี้โดดเด่น เช่นทางวิศวกรรม ส่วนภาษาอาหรับนั้นผู้เรียนมักจะเป็นนักเรียนมุสลิมที่เรียนภาษาอาหรับควบคู่ไปกับการเรียนพระคัมภีร์อัล-กุรอาน ตรงนี้ถ้าจำไม่ผิดมีการสอบ I - NET สำหรับนักเรียนที่เรียนสายอิสลามศึกษา (ใช้คำผิดขออภัยครับ) และการสอบ B - NET สำหรับสามเณรที่เรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ที่เรียนวิชาสามัญควบคู่ไปกับวิชาธรรมและวิชาบาลีด้วย (อีกสองแผนกคือแผนกธรรมที่มีการเรียนธรรมะเป็นภาษาไทย เป็นนักธรรมตรี โท เอก ถ้าสำหรับฆราวาสจะเป็นธรรมศึกษาตรี โท เอก และแผนกบาลีที่เป็นการเรียนธรรมะในภาษาบาลี มีประโยค 1 - 2 และเปรียญธรรม 3 - 9 ประโยค ถ้าสำหรับฆราวาสจะเป็นบาลีศึกษาประโยค 1 - 9)
อยากทราบอีกว่า ภาษาจีนในไทย ที่สมัยก่อนมักออกเสียงตามสำเนียงแต้จิ๋ว กวางตุ้ง หรือฮกเกี้ยนเป็นหลัก (สำเนียงอื่นๆอาจมีน้อย) นั้นเริ่มมีการเรียนการสอนและออกเสียงตามสำเนียงจีนกลางประมาณช่วงใดครับ คหสต. เดาว่าน่าจะช่วงหลังจากที่ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1975 หรือ 2518 แล้ว
รบกวนช่วยตอบด้วยครับ ขอบคุณครับ หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ
ตอนนี้ภาษาจีนเป็นหนึ่งในวิชาหลักของระบบการศึกษาไทยแล้วหรือไม่
ที่แน่นอนอย่างหนึ่งคือ ผู้เรียนภาษาจีนน่าจะมีจำนวนมากขึ้นจากอดีตอย่างแน่นอน อันนี้ จขกท. นำมาจากเพจหนึ่ง เป็นจำนวนนักเรียนที่สมัครสอบ GAT PAT (ผู้เขียนได้สอบเป็นรุ่นแรกๆเลย) ของปี 2565 ในส่วนของ PAT 7 หรือภาษาต่างประเทศที่สอง จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้สมัครสอบภาษาจีนมีจำนวนมากที่สุด ตามมาด้วยภาษาเกาหลี ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาบาลี ภาษาเยอรมัน และภาษาอาหรับ