วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ นำคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทำการ ‘ยึดอำนาจ’ รัฐบาลพลเอกชาติชาย

ขอรบกวนสอบถามสองข้อครับ
1. ถ้ารปภ. สู้ ยิงทหารทั้งสองตาย ก็ไม่ผิดกฏหมายใดๆ ไม่ต้องเข้าการถูกควบคุมตัวโดยตำรวจ ใช่ไหมครับ?
2. ทหารว่างเว้นจากการเมืองไปนาน แล้วทหารกลับมาตอนไหน? ด้วยเหตุอะไรครับ?
ขอบคุณทุกคำตอบครับ

ย้อนกลับไปวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ นำคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (รสช.) 
ทำการ ‘ยึดอำนาจ’ รัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ หลังเกิดความขัดแย้งกันอย่างหนักระหว่างรัฐบาลกับกองทัพ

รัฐบาลพลเอกชาติชายถือเป็นรัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตยเต็มใบเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ปี 2529 หลังจาก พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ 
ยินยอมสละอำนาจ และเปิดโอกาสให้พลเอกชาติชายในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทย ได้ตั้งรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งเต็มตัว 
ซึ่งมีผลงานโดเด่นมากมาย เช่น การยุติสงครามในอินโดจีน และการออกกฎหมายประกันสังคมในช่วงเวลาอันสั้น

แต่สำหรับรัฐบาลชาติชายกับกองทัพบกดูจะไม่ลงรอยกันนัก เพราะการเผชิญหน้ากับนักวิชาการหัวก้าวหน้าซึ่งเป็คณะที่ปรึกษาของรัฐบาลชุดนี้ 
ทำให้เกิดความขัดแย้งกันอยู่เป็นระยะ และเมื่อมีปัญหาทุจริตคอร์รัปชันจากฟากฝั่งรัฐบาล จนเกิดคำว่า ‘บุฟเฟต์คาบิเนต’ ที่กลายเป็นฉายาเรียกขาน
คณะรัฐมนตรีของพลเอกชาติชาย สัญญาณที่อาจนำไปสู่รัฐประหารจึงเกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2533 จากการปล่อยให้ ‘รถโมบายล์’ ของช่อง 9 อสมท. 
ซึ่งร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นคนดูแล ไปจอดใกล้กับหน่วยทหาร ที่ทำให้ทหารไม่พอใจ และรู้สึกว่าเป็นการดักฟัง

หรือการที่พลเอกสุนทรถึงกับให้สัมภาษณ์ว่า “การปรับ ครม. ไม่น่าจะแก้ปัญหาอะไรได้ การแก้ปัญหาที่ดีต้องแก้ปัญหาของประชาชนจะดีกว่า 
เพราะในขณะนี้ ปัญหาของประชาชนถึงขั้นวิกฤตแล้วทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม”

จนวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 กองทัพก็จัดการ ‘รัฐประหาร’ รัฐบาลพลเอกชาติชาย ระหว่างที่ขึ้นเครื่องบินจากสนามบิน บน.6 
เพื่อนำพลเอก อาทิตย์ กำลังเอก รองนายกรัฐมนตรี ไปเข้าเฝ้าฯ ที่พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ 
โดยระหว่างที่เครื่องบินกำลังเคลื่อนตัว นายทหาร 2 นายในชุดซาฟารีสีน้ำตาลก็กระชากปืนจากเอว 
ควบคุม รปภ. ทั้ง 20 คนไว้ พร้อมสั่งให้เครื่องบินลดความเร็วลง ซึ่งพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ก็ตกอยู่ในสภาพถูกควบคุมตัวตามแผนที่วางไว้

การรัฐประหารภายใต้ชื่อ ‘คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ’ หรือ รสช. ระบุถึง 5 ข้อหาฉกรรจ์ของคณะรัฐบาลชุดนี้ ได้แก่ 
1. รัฐบาลฉ้อราษฏร์บังหลวง 2. แทรกแซงข้าราชการ 3. เผด็จการทางรัฐสภา 4. ทำลายสถาบันทหาร และ 5. บิดเบือนคดีที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ (คดีลอบปลงพระชนม์)

ส่วนพลเอกชาติชายถูกควบคุมตัวราว 2 สัปดาห์ จนกระทั่งคณะรัฐประหารไปเชิญ อานันท์ ปันยารชุน นักธุรกิจชื่อดัง อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เข้ามาเป็นนายกฯ และพลเอกสุนทรก็ดำเนินการตามพิธีรีตอง โดยนำคณะ รสช. รวมถึงนายกฯ อานันท์เข้าไปขอขมา และปล่อยตัวพลเอกชาติชายออกจากบ้านพักรับรองกองทัพอากาศ พร้อมกับตกลงให้ พลเอกชาติชาย และพลเอกอาทิตย์เดินทางไปพำนักยังต่างประเทศชั่วคราว

หลังจากบริหารประเทศเป็นเวลา 1 ปี ทุกข้ออ้างของการรัฐประหารไม่ได้ถูกคลี่คลายหรือแก้ไขแต่อย่างใด อีกทั้งคณะ รสช. ยังทำการสืบทอดอำนาจผ่านรัฐธรรมนูญที่ออกแบบมาเพื่อพวกเขาโดยเฉพาะ และตัดสินใจใช้การเลือกตั้งเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตัวเอง โดยผลลัพธ์ของการเลือกตั้งที่มาจากทั้งการตั้งกติกาเอง ตั้งพรรคทหารที่คุมได้ทั้งนั้น สุดท้ายก็นำไปสู่เหตุประท้วงครั้งใหญ่ของประชาชน และจบลงด้วยความรุนแรงในเหตุการณ์ ‘พฤษภาเลือด’ ในเดือนพฤษภาคม ปี 2535 เมื่อทหารตัดสินใจใช้กำลังสลายการชุมนุมบนถนนราชดำเนิน และนับจากนั้นเป็นต้นมา ทหารต้องว่างเว้นจากการเมืองไทยไปนานกว่าหนึ่งทศวรรษ

 รัฐประหาร รสช. ต้นตำรับการยึดอำนาจ ‘เสียของ’ และบทเรียนที่ทหารไทยไม่เคยเรียนรู้

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่