อันนี้คิดมานานแล้ว แต่หาเหตุผลด้วยตัวเองไม่ได้จริงๆ
เลยอยากจะลองถามเผื่อใครจะมีข้อมูล หรือเข้าใจหลักการในเรื่องนี้
อยากรู้ว่า ในเมื่อโรงพยาบาลต่างๆ (ตามที่เข้าใจ ภาพพจน์ คำวิจารณ์ ที่ออกมาทั่วไป) ไม่ค่อยให้เต็มใจจะอำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ผู้ป่วยประกันสังคม แล้วทำไมโรงพยาบาลถึงได้พยายามประกาศ ถึงขั้นทำโฆษณาว่า ให้ไปใช้ประกันสังคมกับเขาครับ
ยกตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ลงโฆษณาเฟซบุ๊ก ว่ารับผู้ป่วยสิทธิประกันสังคมเพิ่มจำนวนมากในปี 2565 ด้วยอะไรที่ดีๆ ใหม่ๆ บลาๆๆๆ อะไรประมาณนี้ครับ ดูดีมาก จนคนที่ใช้สิทธิประกันสังคม ที่เคยพบประสบการณ์ที่ไม่ดีในอีกโรงพยาบาลหนึ่ง ก็เปลี่ยนไปเลือกใช้สิทธิประกันสังคมที่โรงพยาบาลนั้น ด้วยเข้าใจว่า เขาโฆษณาขนาดนี้ ก็น่าจะเต็มใจและให้บริการผู้ใช้สิทธิประกันสังคมได้เป็นอย่างดี อย่างน้อยก็น่าจะดีกว่าโรงพยาบาลที่ไม่เคยประกาศโฆษณาเชิญชวน (อันนี้เข้าใจแบบตรรกะบ้านๆ เอาเองนะครับ)
พอไปใช้บริการจริง ก็ไม่มีอะไรแตกต่างมากครับ นอกจากเรื่องอาคารสถานที่ ซึ่งแต่ละแห่งก็แตกต่างกันอยู่แล้ว แต่การให้บริการขั้นตอนการรักษาต่างๆ ก็ดูแล้วยังเป็นเหมือนผู้ป่วยชั้นสามชั้นสี่อยู่เหมือนเดิม เหมือนกับโรงพยาบาลทั่วไปที่บริการคนป่วยประกันสังคม
เช่น ผู้ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับสายตา แนวๆ ต้อกระจก ซึ่งโอเค ไม่ใช่โรคด่วน ไม่ใช่ฉุกเฉิน
รอคิวตรวจนานมาก ไปเก้าโมง ลงทะเบียนแล้ว ให้คิวมารอพบหมอบ่ายสอง
เวลาที่เหลือไปไหนก็ได้ ให้มาอีกบ่ายสอง
ก็โอเค ไปนั่งรอบ่ายสองตามนัด ได้ตรวจจริงบ่ายสามครึ่ง
หมอตรวจ 2-3 นาที ออกใบนัดให้มาพบหมอเฉพาะทางอีก 3 สัปดาห์
ตอนที่นั่งรอ ก็เห็นคนมานั่งรอ ได้ยินพูดคุยกันว่า ใช้เวลาเกือบทั้งวัน (เอาจริงๆ ถ้าไปเก้าโมง ตรวจบ่ายสองบ่ายสาม มันก็ทั้งวันนั่นแหละ)
หลายคนได้คิวตรวจ เข้าไปสองสามนาที ออกมาจากห้องตรวจมายืนทำหน้างงๆ
บางคนก็กลับมานั่งบ่นหมดแรง เพราะรอนัดอีกนานหลายๆ สัปดาห์ ในหลายๆ โรคที่เขาเป็นกัน
ฯลฯ
ประเด็นคือไม่ได้อะไรกับการบริการนะครับ เป็นคนจ่ายประกันสังคม ก็เข้าใจและยอมรับเป็นชุดความคิดฝังหัวไปแล้วว่า สิทธิประกันสังคมไม่ค่อยได้อะไรดีๆ หรือรวดเร็ว มันก็ต้องรอนาน นัดยาว อะไรอย่างนี้ อันนี้เฉยๆ เพราะได้ยินมาจนชิน อ่านในเน็ตก็บ่นกันเพียบ
แต่.....จุดที่สงสัยคือ
ทำไมโรงพยาบาลถึงพยายามให้คนไปใช้สิทธิประกันสังคมที่โรงพยาบาลของเขากันมากๆ ครับ
ถึงขั้นลงโฆษณา ทั้งๆ ที่ดูแล้วก็เหมือนไม่ได้พยายามจะบริการให้ได้แม้แต่ครึ่งของผู้ป่วยจ่ายเงินปกติ
ระบบผลประโยชน์ของธุรกิจนี้ มันเป็นอย่างไรครับใครพอทราบบ้าง
ว่าเขาง่ายเงินกันยังไง เขาทำกำไรกันยังไง หรือมีอะไรที่เป็นเทคนิควิธีการในธุรกิจนี้
คือคิดแบบบ้านๆ เองแล้ว มันเหมือนขัดแย้งกัน
เหมือนไม่เต็มใจรักษา หรือพูดแบบซอฟต์ๆ หน่อยก็คือเหมือนไม่ได้ให้บริการอะไรที่แตกต่างกันกับมาตรฐานสิทธิประเภทนี้ในที่อื่นๆ แต่อยากได้คนเยอะๆ
ขอความรู้ครับ
สงสัยเรื่องแนวคิด การบริการผู้ป่วยสิทธิประกันสังคม ในโรงพยาบาลเอกชน เหมือนไม่เต็มใจรักษา แต่โฆษณาอยากได้ผู้ป่วยเยอะๆ
เลยอยากจะลองถามเผื่อใครจะมีข้อมูล หรือเข้าใจหลักการในเรื่องนี้
อยากรู้ว่า ในเมื่อโรงพยาบาลต่างๆ (ตามที่เข้าใจ ภาพพจน์ คำวิจารณ์ ที่ออกมาทั่วไป) ไม่ค่อยให้เต็มใจจะอำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ผู้ป่วยประกันสังคม แล้วทำไมโรงพยาบาลถึงได้พยายามประกาศ ถึงขั้นทำโฆษณาว่า ให้ไปใช้ประกันสังคมกับเขาครับ
ยกตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ลงโฆษณาเฟซบุ๊ก ว่ารับผู้ป่วยสิทธิประกันสังคมเพิ่มจำนวนมากในปี 2565 ด้วยอะไรที่ดีๆ ใหม่ๆ บลาๆๆๆ อะไรประมาณนี้ครับ ดูดีมาก จนคนที่ใช้สิทธิประกันสังคม ที่เคยพบประสบการณ์ที่ไม่ดีในอีกโรงพยาบาลหนึ่ง ก็เปลี่ยนไปเลือกใช้สิทธิประกันสังคมที่โรงพยาบาลนั้น ด้วยเข้าใจว่า เขาโฆษณาขนาดนี้ ก็น่าจะเต็มใจและให้บริการผู้ใช้สิทธิประกันสังคมได้เป็นอย่างดี อย่างน้อยก็น่าจะดีกว่าโรงพยาบาลที่ไม่เคยประกาศโฆษณาเชิญชวน (อันนี้เข้าใจแบบตรรกะบ้านๆ เอาเองนะครับ)
พอไปใช้บริการจริง ก็ไม่มีอะไรแตกต่างมากครับ นอกจากเรื่องอาคารสถานที่ ซึ่งแต่ละแห่งก็แตกต่างกันอยู่แล้ว แต่การให้บริการขั้นตอนการรักษาต่างๆ ก็ดูแล้วยังเป็นเหมือนผู้ป่วยชั้นสามชั้นสี่อยู่เหมือนเดิม เหมือนกับโรงพยาบาลทั่วไปที่บริการคนป่วยประกันสังคม
เช่น ผู้ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับสายตา แนวๆ ต้อกระจก ซึ่งโอเค ไม่ใช่โรคด่วน ไม่ใช่ฉุกเฉิน
รอคิวตรวจนานมาก ไปเก้าโมง ลงทะเบียนแล้ว ให้คิวมารอพบหมอบ่ายสอง
เวลาที่เหลือไปไหนก็ได้ ให้มาอีกบ่ายสอง
ก็โอเค ไปนั่งรอบ่ายสองตามนัด ได้ตรวจจริงบ่ายสามครึ่ง
หมอตรวจ 2-3 นาที ออกใบนัดให้มาพบหมอเฉพาะทางอีก 3 สัปดาห์
ตอนที่นั่งรอ ก็เห็นคนมานั่งรอ ได้ยินพูดคุยกันว่า ใช้เวลาเกือบทั้งวัน (เอาจริงๆ ถ้าไปเก้าโมง ตรวจบ่ายสองบ่ายสาม มันก็ทั้งวันนั่นแหละ)
หลายคนได้คิวตรวจ เข้าไปสองสามนาที ออกมาจากห้องตรวจมายืนทำหน้างงๆ
บางคนก็กลับมานั่งบ่นหมดแรง เพราะรอนัดอีกนานหลายๆ สัปดาห์ ในหลายๆ โรคที่เขาเป็นกัน
ฯลฯ
ประเด็นคือไม่ได้อะไรกับการบริการนะครับ เป็นคนจ่ายประกันสังคม ก็เข้าใจและยอมรับเป็นชุดความคิดฝังหัวไปแล้วว่า สิทธิประกันสังคมไม่ค่อยได้อะไรดีๆ หรือรวดเร็ว มันก็ต้องรอนาน นัดยาว อะไรอย่างนี้ อันนี้เฉยๆ เพราะได้ยินมาจนชิน อ่านในเน็ตก็บ่นกันเพียบ
แต่.....จุดที่สงสัยคือ
ทำไมโรงพยาบาลถึงพยายามให้คนไปใช้สิทธิประกันสังคมที่โรงพยาบาลของเขากันมากๆ ครับ
ถึงขั้นลงโฆษณา ทั้งๆ ที่ดูแล้วก็เหมือนไม่ได้พยายามจะบริการให้ได้แม้แต่ครึ่งของผู้ป่วยจ่ายเงินปกติ
ระบบผลประโยชน์ของธุรกิจนี้ มันเป็นอย่างไรครับใครพอทราบบ้าง
ว่าเขาง่ายเงินกันยังไง เขาทำกำไรกันยังไง หรือมีอะไรที่เป็นเทคนิควิธีการในธุรกิจนี้
คือคิดแบบบ้านๆ เองแล้ว มันเหมือนขัดแย้งกัน
เหมือนไม่เต็มใจรักษา หรือพูดแบบซอฟต์ๆ หน่อยก็คือเหมือนไม่ได้ให้บริการอะไรที่แตกต่างกันกับมาตรฐานสิทธิประเภทนี้ในที่อื่นๆ แต่อยากได้คนเยอะๆ
ขอความรู้ครับ