💙มาลาริน/บทความนี้น่าสนใจค่ะ สัญญานดีกับประเทศ ดัชนีคอรัปชั่นของไทยการทุจริตในภาครัฐ ฯได้คะแนนเพิ่ม ถือว่าดีมาก

กระทู้คำถาม
เพี้ยนแข็งแรงสัญญานดีกับประเทศ



ในแต่ละปี เราจะคอยเฝ้าดูรายงานดัชนีการคอรัปชั่นโลก ทีจะบอกสถานการณ์การคอรัปชั่นในแต่ละประเทศเป็นอย่างไร ดีขึ้นหรือแย่ลง แต่สิ่งที่เราโฟกัสคือ สถานการณ์การคอรัปชั่นในไทยในการประเมินของสถาบันนี้จะเป็นอย่างไรบ้าง ดีขึ้นหรือแย่ลง ถ้าสถานการณ์โดยรวมแย่ลง รัฐบาลในขณะนั้นก็จะถูกวิจารณ์มากหน่อย แต่ถ้าสถานการณ์โดยรวมดีขึ้น รัฐบาลก็เอามาโฆษณาประชาสัมพันธ์ได้

“ องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (ที.ไอ) “ ที่ประเมินดัชนีการคอรัปชั่นของประเทศต่าง ๆ นั้น ให้คะแนนการประเมินเป็นหัวข้อย่อย แต่ละหัวข้อ ประเทศนั้นจะได้คะแนนเท่าไร และมีคะแนนรวมเท่าไร เขาจะจัดลำดับที่คะแนนรวมเป็นสำคัญ สถาบันได้จัดลำดับดัชนีคอรัปชั่นของไทยในปี 2564 จากคะแนนรวมแล้วปรากฏว่า ไทยได้คะแนนลดลงจาก 36 เหลือ 35 คะแนน อยู่ในลำดับที่ 110 จาก 180 ประเทศ

ที.ไอ.ประเมินจาก 9 แหล่งข้อมูล สิ่งที่ผู้เขียนเห็นว่า น่าจะเป็นทางบวกกับประเทศ คือ ข้อมูลในกลุ่มที่ 9 คือ การทุจริตในภาครัฐ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และตุลาการ เกี่ยวกับสินบน การขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับส่วนรวม ซึ่งไทยได้คะแนนเพิ่มขึ้น 6 คะแนน โดยได้ 26 คะแนนเพิ่มจากปี 2563 ซึ่งได้ 20 คะแนน 6 คะแนนดูเหมือนน้อย แต่ในกรณีนี้ถือว่ามากทีเดียว

ปัญหาหนักที่สุดของการคอรัปชั่นในไทยมาจากฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ โดยเบียดบังจากงบประมาณแผ่นดินซึ่งฝ่ายบริหารเป็นผู้ใช้ โดยได้รับการอนุมัติจากฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งมีคณะกรรมาธิการงบประมาณพิจารณางบประมาณประจำปี ที่ผ่านมา มีเรื่องราวมหัศจรรย์เกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติตลอดมา โดยหาเงินทอนจากโครงการต่าง ๆ ของรัฐ
งบประมาณแต่ละปีเพิ่มจากหลายแสนล้านบาทเป็นล้านล้านบาทในปัจจุบัน เป็นที่รู้กันดีว่า งบแต่ละโครงการต้องสูญเสียไปกับการทุจริตคอรัปชั่นจากฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ มากที่สุด ภาษีของประชาชนที่ใช้ในการพัฒนาประเทศเพื่อความอยู่ดีกินดีมีสุขของประชาชนถูกใช้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะฉะนั้น ผลที่ได้กลับคืนไปสู่ประชาชนก็ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยเหมือนกัน

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยพูดทำนองว่า ถนนในเมืองไทยจะปูด้วยทองคำก็ได้ ถ้าไม่มีการทุจริตคอรัปชั่นในประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ท่านซึ่งเคยเป็น ส.ส.หลายสมัย และเคยเป็นนายกรัฐมนตรี ยังระอากับการทุจริตคอรัปชั่นของประเทศ ประเทศควรเจริญพัฒนาก้าวหน้าไปกว่านี้หากการคอรัปชั่นในเมืองไทยจะน้อยลงสักหน่อย ส่วนที่ว่าไม่มีเลยนั้นเป็นไปไม่ได้

หากเราเชื่อในการประเมินขององค์กรระหว่างประเทศแห่งนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ถ้าเป็นอนาคตของประเทศก็น่าจะดีขึ้น และการที่เขาประเมินแบบนี้ ต้องแสดงว่าเขามีข้อมูลมากพอที่จะสรุปอย่างนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐบาลชุดนี้และสภานิติบัญญัติชุดนี้ทุจริตคอรัปชั่นน้อยลง ถ้าจะบอกว่าไม่มีการทุจริตคอรัปชั่นเลยก็ยังสงสัย

เราไม่สงสัยต่อนายกรัฐมนตรีคนนี้และครอบครัวในเรื่องทุจริตคอรัปชั่น เพราะประวัติของท่านไม่เคยด่างพร้อยในเรื่องนี้ ที่สำคัญคือ ท่านคงไม่ยอมให้คณะรัฐมนตรีของท่านทุจริตคอรัปชั่นจากงบประมาณซึ่งเป็นภาษีของประชาชน

เท่าที่ติดตามดูมาตลอดตั้งแต่ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีสมัย คสช.จนถึงปัจจุบัน ยังไม่พบข้อมูลยืนยันหรือน่าสงสัยว่าท่านและครอบครัวมีเรื่องเสียหายในเรื่องนี้ และเราก็เชื่อเช่นนั้น มีการพูดกันวงในว่า ท่านได้บอกว่ารัฐมนตรีร่วมรัฐบาลสมัย คสช.และชุดปัจจุบันว่าอย่าทุจริตคอรัปชั่น หลายคนอาจไม่เชื่อเพราะดูประวัติของหลายคนแล้วพบข่าวที่ไม่เป็นมงคลมาโดยตลอดในเรื่องไม่ดีของพวกนี้ในสมัยรัฐบาลชุดก่อน ๆ

ที่สำคัญคือ สื่อมวลชนและประชาชนเฝ้าจับตาดูรัฐบาลอย่างใกล้ชิด หากมีรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้ทำไม่ดี พรรคฝ่ายค้าน สื่อมวลชน คงเปิดโปงรู้กันทั่วไปหมดแล้ว โดยเฉพาะการเผยแพร่ผ่านสื่อดิจิตัลที่ไปได้รวดเร็ว กว้างขวาง

นอกจากองค์กรต่างประเทศแห่งนี้ให้คะแนนทางบวกกับฝ่ายบริหารแล้ว ฝ่ายนิติบัญญัติยังได้คะแนนทางบวกด้วย ส่วนฝ่ายตุลาการนั้นไม่มีเรื่องเสียหายในเร่องนี้ในภาพรวม

แค่ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติได้รับคะแนนดี และเราเชื่อว่า ข้อมูลที่องค์กร ที.ไอ.น่าจะเป็นจริง เพราะหาโอกาสที่จะทุจริตคอรัปชั่นได้ยาก อีกทั้งผู้นำของทั้งสองสถาบันก็เป็นผู้ที่จริงจังเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่จะไม่ให้สถาบันของตนแปดเปื้อนกับการทุจริตคอรัปชั่น ที่สำคัญคือ ประชาชนตื่นตัวกับเรื่องนี้มาก และมีช่องทางที่จะเปิดโปงหากมีการทุจริตคอรัปชั่นด้วยตนเองผ่านสื่อดิจิตัล

ปัญหาคอรัปชั่นของประเทศส่วนใหญ่มาจากฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติเป็นสำคัญ เพียงแค่ทำให้การคอรัปชั่นในฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติน้อยลง ก็ถือว่า เป็นบุญของประเทศ เพราะเราสามารถนำงบประมาณที่มาจากภาษีของประชาชนมาใช้สร้างโครงการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์กับประเทศชาติและประชาชนได้โดยไม่ถูกเบียดบัง
 
การกู้เงินกว่า 1 ล้านล้านบาทเพื่อช่วยเหลือประชาชนซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด 19 นั้น ที่ผ่านมาก็ยังไม่มีข่าวว่าเงินดังกล่าวตกหล่นหรือถูกเบียดบัง เพราะมีการส่งเงินถึงมือประชาชนโดยตรง ถ้าเป็นยุคก่อนคงมีเงินมากมายตกหล่นระหว่างทาง ดังนั้น ระบบธนาคารอีเล็กโทรนิกก็มีส่วนช่วยลดการทุจริตคอรัปชั่นได้

อย่างไรก็ดี มีเสียงเตือนว่า เวลานี้เริ่มมีความพยายามหา “เงินทอน” จากโครงการต่างๆ เพื่อสะสม “กระสุนดินดำ” ไว้สำหรับการเลือกตั้งทั่วไปที่น่าจะมีขึ้นในปีนี้หรือต้นปีหน้า ดังนั้น ประชาชนต้องช่วยกับจับตาดูอย่างใกล้ชิด



ก่อนจะจบบทความนี้ ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมจากบทความฉบับก่อนโดยมีอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติท่านหนึ่งได้กรุณาส่งมาให้ เพื่อให้ประชาชนได้ทราบว่า ส.ส.แต่ละคนได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการอย่างไรบ้าง เพื่อให้บทความในฉบับที่แล้วมีความสมบูรณ์มากขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

(1)ค่าตอบแทน ส.ส.113,560 บาท/เดือน

(2)สิทธิรักษาพยาบาล ค่ารักษาพยาบาลทั่วไป/ครั้ง 100,000 บาท ค่าห้องและอาหารต่อวัน (ไม่เกิน 31 วัน/ครั้ง) 4,000 บาท อุบัติเหตุฉุกเฉิน/ครั้ง 20,000 บาท ตรวจสุขภาพประจำปี 7,000 บาท

(3)เบี้ยเลี้ยงเดินทางไปต่างประเทศ กรณีเบิกเหมาจ่าย ค่าเครื่องแต่งตัวเหมาจ่าย 9,000 บาท/คน กรณีไม่ได้เบิกเหมาจ่าย อัตราค่าเช่าที่พักแบ่งตามกลุ่มประเทศ 4,500-14,000 บาท/วัน/คน

(4)ค่าเดินทางไป-กลับประชุมรัฐสภา ตามระยะทาง

(5)เบี้ยประชุมกรรมาธิการ ครั้งละ 1,500 บาท

(6)ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในประเทศ เบี้ยเลี้ยง 270 บาท/วัน/คน ค่าเช่าที่พักกรณีเบิกตามจริง ค่าห้องพักคนเดียว 2,500 บาท/วัน/คน ค่าห้องพักคู่ 1,400 บาท/วัน/คน ค่าห้องพักเบิกแบบเหมาจ่าย 1,200 บาท/วัน/คน

(7)สิทธิเสนอแต่งตั้งผู้ช่วยประจำตัว ผู้เชี่ยวชาญประจำตัว 1 คน ค่าตอบแทน 24,000 บาท/เดือน ผู้ชำนาญการประจำตัว 2 คน ค่าตอบแทนคนละ 15,000 บาท/เดือน ผู้ช่วยดำเนินงาน 5 คน ค่าตอบแทนคนละ 15,000 บาท/เดือน

สรุปว่า ประชาชนไม่ได้ให้ ส.ส.ทำงานฟรี ในเมื่อเสนอตัวเข้ามาและได้รับเลือกแล้ว ประชาชนยังออกค่าใช้จ่ายให้หมดดังรายละเอียดข้างต้น ซึ่งคิดว่าพอเพียง หรือเกินพอกับการทำหน้าที่ดังกล่าว

นอกจากนั้น ใน “ หมวด 2 จริยธรรมเกี่ยวกับปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกและกรรมาธิการ “ ข้อ 9 สมาชิกและกรรมาธิการต้องรักษาไว้ซึ่งชื่อเสียงของสภาผู้แทนราษฎร และไม่กระทำการใดๆ อันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติภูมิของประเทศชาติและสภาผู้แทนราษฎร
ข้อ 14 สมาชิกและกรรมาธิการต้องอุทิศเวลาให้แก่การประชุม โดยคำนึงถึงการตรงต่อเวลา และต้องไม่ขาดการประชุมโดยไม่จำเป็น เว้นแต่ในกรณีเจ็บป่วย หรือมีเหตุสุดวิสัย

ถ้า ส.ส.เจ็บป่วยหรือมีธุรกิจจำเป็น ก็สามารถลาการประชุมได้โดยได้รับอนุมัติจากประธานสภาผู้แทนราษฎร แต่การที่มาประชุมและไม่ยอมแสดงตนเพื่อเล่นการเมืองให้สภาล่มนั้น ไม่มีบอกไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องของความสำนึกและจริยธรรมประจำตัวของ ส.ส.มากกว่า

https://www.posttoday.com/politic/columnist/675892

นานาโอเค บางเรื่องที่คุณอาจไม่ทราบ แต่เป็นเรื่องสำคัญ

มีคนโจมตีเรื่องดัชนีการคอรับชั่นของไทยปีนี้ที่คะแนนลดไป1คะแนน

แต่คะแนนที่เพิ่มในส่วนของภาครัฐ  ทำให้มองว่าเป็นสัญญาณที่ดีของประเทศค่ะ

ขอบคุณบทความนี้นะคะ...พาพันขอบคุณ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9





https://workpointtoday.com/politics-anurak1612/

ฝ่ายนิติบัญญัติยุคลุงตู่เรื่องแบบนี้ก็มีไม่มาก  ถ้าเป็นยุคอื่นๆคงเยอะ....แต่ไม่มีข้อมูลเอามาเปิดเผย....
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่