นาฬิกา pneumatic clocks หลายหน้าในจัตุรัสเก่าแก่ Place de la Madeleine กรุงปารีส
ในศตวรรษที่ 19 มีเวลาที่มีอยู่จริงในอากาศ ในพื้นที่สาธารณะและที่อยู่อาศัยส่วนตัว ในรูปแบบบีบอัดใต้พื้นดินเพื่อให้เข็มนาฬิกาเหนือพื้นดินเดิน โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ทางตะวันตกของฝรั่งเศส ที่ซึ่งการรับรู้ควบคู่ไปกับความต้องการความแม่นยำในการวัดและการแสดงเวลาที่เพิ่มขึ้น แต่ปารีสในระหว่างปี 1880-1927 โดดเด่นที่สุด โดยเวลาถูกสูบไปทั่วโดยใช้เครือข่ายท่อลม ไม่เพียงใช้เวลามาตรฐานไปยังนาฬิกาสาธารณะของเมืองเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงบ้านของพลเมืองเข้ากับระบอบเวลาสาธารณะด้วย
เมื่อ Jules Albert Berly วิศวกรไฟฟ้าที่เกิดในฝรั่งเศสแต่อาศัยอยู่ในลอนดอน เดินทางไปปารีสเพื่อเข้าร่วมงานนิทรรศการไฟฟ้าระดับนานาชาติแห่งแรกของโลก International Exposition of Electricity ในปี 1881 เขาได้เห็นการจัดแสดงที่น่าอัศจรรย์มากมายเช่น หลอดไฟฟ้า (incandescent lamps), ระบบการส่งสัญญาณทางโทรศัพท์ (Théâtrophone) รถรางไฟฟ้า (electric tramway), โทรศัพท์ของ Graham Bell เครือข่ายการจัดจำหน่ายไฟฟ้า เรือไฟฟ้า และเทคโนโลยีล้ำสมัยที่น่าสนใจอีกมากมาย และสิ่งที่ดึงดูดใจเขามากที่สุดไม่ได้ใช้พลังงานจากไฟฟ้า แต่มันขับเคลื่อนอยู่บนอากาศ
มันคือระบบนาฬิกาที่ยืนอยู่บนเสาเหล็กน้ำหนักเบาที่สง่างามในจัตุรัสตรงหัวมุมถนน และในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจนอื่นๆ ของเมือง รวมถึงในโรงแรมต่างๆ ซึ่ง Berly รู้สึกทึ่งอย่างมาก เพราะมันแสดงเวลาที่ถูกต้องซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดปกติในยุคนั้นสำหรับนาฬิกาที่รักษาเวลาได้อย่างแม่นยำ ทั้งที่นาฬิกาจับเวลาที่โดดเด่นเหล่านี้ไม่ได้ขับเคลื่อนหรือควบคุมด้วยไฟฟ้า แต่ใช้อากาศจากปั๊มลมอัดที่ส่งจากสถานีกลางผ่านท่อเหล็กดัดไปยังนาฬิกาสาธารณะทั้งหมดที่ทำงานในลักษณะนี้ โดยนาฬิกาที่ใช้เทคโนโลยีลมเหล่านี้เรียกว่า Pneumatic Clocks
นาฬิกา Pneumatic ในปารีส
ปีต่อมา เขาได้นำเสนอบทความในลอนดอนและตีพิมพ์ลงใน American Architect and Building News ฉบับวันที่ 14 มกราคม 1882 เพื่อเผยแพร่เกี่ยวกับขั้นตอนการจัดการเวลาโดยระบบนาฬิกาลม หรือ Pneumatic Clocks ที่น่าสนใจคือ เขาไม่ได้พูดถึงการบอกเวลาแต่พูดถึงการแจกจ่ายเวลาราวกับว่ามันเป็นสินค้าเช่น น้ำหรือก๊าซ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปารีสจะจัดแสดงเทคโนโลยีนี้ แต่นี่ไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์ของฝรั่งเศส ความก้าวหน้าของเครือข่ายนาฬิกา pneumatic ได้รับการติดตั้งครั้งแรกในกรุงเวียนนาในปี 1877 โดยวิศวกรชาวออสเตรียสองคนคือ Viktor Antoine Popp และ Resch เพื่อสาธิตระบบเครือข่ายอากาศอัดที่ใช้ขับเคลื่อนนาฬิกาจำนวนหนึ่งในอาคารสาธารณะและบนเสาไฟตามทางสัญจรสาธารณะ พวกเขาจึงต้องทำงานอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
ในปีถัดมา ปี 1878 Popp และ Resch มีโอกาสได้จัดแสดงระบบของพวกเขาที่งาน Paris Exhibition ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากและยังได้รับเหรียญเงินจากคณะกรรมการผู้พิจารณาและตัดสิน ดังนั้นในปีเดียวกัน Popp และ Resch ได้รับสิทธิ์จากหน่วยงานเทศบาลปารีสในการติดตั้งเครือข่ายอากาศอัดนี้เพื่อขับเคลื่อนนาฬิกาทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งในเวลานั้น การแพร่กระจายของเทคโนโลยีใหม่มักได้รับความส่งเสริมอย่างมากจากผู้ใช้หลัก และในเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องความหรูหรา โดยเฉพาะในโรงแรมสุดหรูซึ่งความโดดเด่นของนาฬิกาที่แม่นยำเป็นสัญลักษณ์แสดงสถานะคุณภาพ ความสะดวกสบาย และความประณีต ทำให้นาฬิกา Pneumatic ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
กลไกหลักในนาฬิกา pneumatic แต่ละเรือน ประกอบด้วยกลไกลขนาดเล็ก ซึ่งไม่มีในนาฬิกาสปริงและนาฬิกาตุ้มน้ำหนักทั่วไป
สำหรับเครือข่ายนาฬิกา pneumatic ไม่ใช่เครือข่ายการจ่ายพลังงาน แต่เป็นเครือข่ายการกระจายเวลา ซึ่งซิงโครไนซ์นนาฬิกาสาธารณะจำนวนมาก (การตั้งเวลาให้ตรงกัน) โดยส่งพัลส์ของอากาศทุกนาที ผ่านท่อเหล็กดัด ท่อตะกั่วหรือท่อยางไปตามผนังภายในผ่านท่อระบายน้ำของเมือง อุโมงค์ของรถไฟใต้ดิน และ RER เครือข่ายรถไฟโดยสารที่ให้บริการปารีสและชานเมืองไปยังนาฬิกา
ในขณะที่ เครื่องเป่าลมโลหะซึ่งเคลื่อนล้อ 60 ซี่ขึ้นไป (หนึ่งซี่ต่อนาที) ของนาฬิกาแต่ละเรือน จะอัดอากาศออกจากโรงงานที่ความดัน 15 - 45 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว(ประมาณ 1 - 3 บรรยากาศ) เพื่อเก็บไว้ในถังอากาศแรงดันสูง จากนั้นจะเดินทางผ่านเครื่องปรับความดันไปยังถังเก็บแรงดันต่ำหรือเครื่องสะสม การปล่อยของมันถูกควบคุมโดยตัวกระจายสัญญาณนาฬิกา โดยลมอัดดังกล่าวจะยกตุ้มน้ำหนักขึ้นเพื่อให้นาฬิกาทำงานและตรงต่อเวลา
ขณะเดียวกัน กลไกการจับเวลาอัตโนมัติจะเปิดวาล์วเพื่อปล่อยพัลส์อากาศ 20 วินาทีในทุกนาที และจะปิดลงเป็นเวลา 40 วินาที โดยทำซ้ำแบบนี้ไม่หยุด พัลส์ของอากาศก็จะเดินทางไปยังทุกนาฬิกาที่รับสัญญาณ ไม่ว่าจะเป็นในบ้าน ที่ทำงานส่วนตัว ในถนนหรือในอาคารสาธารณะ ซึ่งระบบทำงานอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์ และหากสังเกตอย่างใกล้ชิด เข็มนาทีจะไม่เคลื่อนที่เหมือนกับนาฬิกาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน แต่มันจะขยับนาทีละครั้งด้วยการกระโดดครั้งเดียว ในขณะที่เข็มชั่วโมงจะหมุนแบบปกติ ส่วนเสียงกระดิ่งสามารถใช้งานได้ด้วยการใช้เครื่องสูบลมอันที่สอง
ห้องแจกจ่ายสำหรับเครือข่ายนาฬิกา
กลับมาที่ Jules Berly เมื่อถึงเวลาที่เขาไปเยือนปารีสเพื่อร่วมงานนิทรรศการระดับนานาชาติ ได้มีการวางท่อหลักเกือบ 20 ไมล์และท่อสาขาย่อยอีก 177 ไมล์แล้ว สำหรับนาฬิกาลมมากกว่า 4,000 นาฬิกาเพื่อให้บริการบ้าน 750 หลัง ซึ่งนาฬิกาได้ทำหน้าที่ในปารีสได้เป็นอย่างดีจนกระทั่งเกิดน้ำท่วมใหญ่ในปี 1910 โดยแม่น้ำ Seine ที่สูงขึ้นจนทำให้สถานีส่งสัญญาณกลางน้ำท่วม
และในวันที่ 21 มกราคม 1910 เวลา 10:53 น. นาฬิกานับพันในระบบหยุดทำงาน อย่างไรก็ตาม ระบบได้รับการซ่อมแซมและนาฬิกา pneumatic ยังคงทำงานจนถึงปี 1927 หลังจากนั้น การประดิษฐ์นาฬิกาแบบกลไกและนาฬิกาไฟฟ้าที่แม่นยำทำให้นาฬิกาซิงโครไนซ์จากส่วนกลางล้าสมัย ในที่สุดก็หยุดบริการลง
สำหรับปารีสในศตวรรษที่ 19 เป็นเมืองที่เปลี่ยนจากการผสมผสานสถาปัตยกรรมยุคกลางมาสู่เมืองแห่งแสงสี ซึ่งนโปเลียนที่ 3 มุ่งมั่นที่จะทำให้ปารีสเป็นเมืองที่ทันสมัยที่สุดในโลก เขาและผองเพื่อนร่วมกันสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกกลางแจ้งมากมาย โดยเฉพาะใจกลางกรุงปารีสและขอบด้านตะวันตกของปารีส มีการสร้างถนนใหญ่ในทุกๆ ที่ รวมทั้งรอบแม่น้ำ Seine เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรม แต่ปาฏิหาริย์มากมายของปารีสคือประวัติศาสตร์ที่ยังอยู่มาจนทุกวันนี้ เช่นพลาซ่าที่มีมานานหลายศตวรรษ และสวนเก่าแก่ที่รุ่งโรจน์ที่สุด
น้ำจากแม่น้ำ Seine เข้าท่วมถนน Rue de Rivoli ใกล้หอคอย Saint-Jacques ทำให้หยุดนาฬิกา pneumatic ของปารีสในปี 1910
Cr.ภาพโดย Albert Harlingue (1879-1963) ห้องสมุดประวัติศาสตร์ de la Ville de Paris
โถฉี่สาธารณะของปารีส ซึ่งเห็นในภาพถ่ายปี 1876 โดย Charles Marville ที่ช่วยสร้างชื่อเสียงให้เป็นเมืองที่ทันสมัยที่สุดในโลก
Cr.Charles Marville/Musee Carnavalet/Roger-Viollet
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
Pneumatic Clocks : เวลาลมแห่งปารีสในศตวรรษที่ 19
มันคือระบบนาฬิกาที่ยืนอยู่บนเสาเหล็กน้ำหนักเบาที่สง่างามในจัตุรัสตรงหัวมุมถนน และในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจนอื่นๆ ของเมือง รวมถึงในโรงแรมต่างๆ ซึ่ง Berly รู้สึกทึ่งอย่างมาก เพราะมันแสดงเวลาที่ถูกต้องซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดปกติในยุคนั้นสำหรับนาฬิกาที่รักษาเวลาได้อย่างแม่นยำ ทั้งที่นาฬิกาจับเวลาที่โดดเด่นเหล่านี้ไม่ได้ขับเคลื่อนหรือควบคุมด้วยไฟฟ้า แต่ใช้อากาศจากปั๊มลมอัดที่ส่งจากสถานีกลางผ่านท่อเหล็กดัดไปยังนาฬิกาสาธารณะทั้งหมดที่ทำงานในลักษณะนี้ โดยนาฬิกาที่ใช้เทคโนโลยีลมเหล่านี้เรียกว่า Pneumatic Clocks
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปารีสจะจัดแสดงเทคโนโลยีนี้ แต่นี่ไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์ของฝรั่งเศส ความก้าวหน้าของเครือข่ายนาฬิกา pneumatic ได้รับการติดตั้งครั้งแรกในกรุงเวียนนาในปี 1877 โดยวิศวกรชาวออสเตรียสองคนคือ Viktor Antoine Popp และ Resch เพื่อสาธิตระบบเครือข่ายอากาศอัดที่ใช้ขับเคลื่อนนาฬิกาจำนวนหนึ่งในอาคารสาธารณะและบนเสาไฟตามทางสัญจรสาธารณะ พวกเขาจึงต้องทำงานอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
ในปีถัดมา ปี 1878 Popp และ Resch มีโอกาสได้จัดแสดงระบบของพวกเขาที่งาน Paris Exhibition ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากและยังได้รับเหรียญเงินจากคณะกรรมการผู้พิจารณาและตัดสิน ดังนั้นในปีเดียวกัน Popp และ Resch ได้รับสิทธิ์จากหน่วยงานเทศบาลปารีสในการติดตั้งเครือข่ายอากาศอัดนี้เพื่อขับเคลื่อนนาฬิกาทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งในเวลานั้น การแพร่กระจายของเทคโนโลยีใหม่มักได้รับความส่งเสริมอย่างมากจากผู้ใช้หลัก และในเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องความหรูหรา โดยเฉพาะในโรงแรมสุดหรูซึ่งความโดดเด่นของนาฬิกาที่แม่นยำเป็นสัญลักษณ์แสดงสถานะคุณภาพ ความสะดวกสบาย และความประณีต ทำให้นาฬิกา Pneumatic ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
ในขณะที่ เครื่องเป่าลมโลหะซึ่งเคลื่อนล้อ 60 ซี่ขึ้นไป (หนึ่งซี่ต่อนาที) ของนาฬิกาแต่ละเรือน จะอัดอากาศออกจากโรงงานที่ความดัน 15 - 45 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว(ประมาณ 1 - 3 บรรยากาศ) เพื่อเก็บไว้ในถังอากาศแรงดันสูง จากนั้นจะเดินทางผ่านเครื่องปรับความดันไปยังถังเก็บแรงดันต่ำหรือเครื่องสะสม การปล่อยของมันถูกควบคุมโดยตัวกระจายสัญญาณนาฬิกา โดยลมอัดดังกล่าวจะยกตุ้มน้ำหนักขึ้นเพื่อให้นาฬิกาทำงานและตรงต่อเวลา
ขณะเดียวกัน กลไกการจับเวลาอัตโนมัติจะเปิดวาล์วเพื่อปล่อยพัลส์อากาศ 20 วินาทีในทุกนาที และจะปิดลงเป็นเวลา 40 วินาที โดยทำซ้ำแบบนี้ไม่หยุด พัลส์ของอากาศก็จะเดินทางไปยังทุกนาฬิกาที่รับสัญญาณ ไม่ว่าจะเป็นในบ้าน ที่ทำงานส่วนตัว ในถนนหรือในอาคารสาธารณะ ซึ่งระบบทำงานอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์ และหากสังเกตอย่างใกล้ชิด เข็มนาทีจะไม่เคลื่อนที่เหมือนกับนาฬิกาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน แต่มันจะขยับนาทีละครั้งด้วยการกระโดดครั้งเดียว ในขณะที่เข็มชั่วโมงจะหมุนแบบปกติ ส่วนเสียงกระดิ่งสามารถใช้งานได้ด้วยการใช้เครื่องสูบลมอันที่สอง
และในวันที่ 21 มกราคม 1910 เวลา 10:53 น. นาฬิกานับพันในระบบหยุดทำงาน อย่างไรก็ตาม ระบบได้รับการซ่อมแซมและนาฬิกา pneumatic ยังคงทำงานจนถึงปี 1927 หลังจากนั้น การประดิษฐ์นาฬิกาแบบกลไกและนาฬิกาไฟฟ้าที่แม่นยำทำให้นาฬิกาซิงโครไนซ์จากส่วนกลางล้าสมัย ในที่สุดก็หยุดบริการลง
สำหรับปารีสในศตวรรษที่ 19 เป็นเมืองที่เปลี่ยนจากการผสมผสานสถาปัตยกรรมยุคกลางมาสู่เมืองแห่งแสงสี ซึ่งนโปเลียนที่ 3 มุ่งมั่นที่จะทำให้ปารีสเป็นเมืองที่ทันสมัยที่สุดในโลก เขาและผองเพื่อนร่วมกันสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกกลางแจ้งมากมาย โดยเฉพาะใจกลางกรุงปารีสและขอบด้านตะวันตกของปารีส มีการสร้างถนนใหญ่ในทุกๆ ที่ รวมทั้งรอบแม่น้ำ Seine เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรม แต่ปาฏิหาริย์มากมายของปารีสคือประวัติศาสตร์ที่ยังอยู่มาจนทุกวันนี้ เช่นพลาซ่าที่มีมานานหลายศตวรรษ และสวนเก่าแก่ที่รุ่งโรจน์ที่สุด
Cr.Charles Marville/Musee Carnavalet/Roger-Viollet