'จานด่วน' จ่อปรับราคาหลังรัฐเลิกตรึง 'ก๊าซหุงต้ม'
https://www.nationtv.tv/news/378863891
ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะวัตถุดิบอาหาร ราคาน้ำมันและก๊าซหุงต้มที่กำลังจะขึ้นราคา สะท้อนให้เห็นทิศทางค่าครองชีพโดยรวมที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่
ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ที่กระทบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีผลต่อการฟื้นตัวของภาคธุรกิจและกำลังซื้อของครัวเรือน สวนทางกับค่าครองชีพที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นราคาเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะราคาเนื้อหมูที่ปรับตัวสูงสุดในรอบ 10 ปี ราคาไข่ไก่ ราคาน้ำมันพืช ราคาพลังงาน รวมถึงค่าไฟฟ้า
แม้ภาครัฐได้ทยอยออกมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของผู้บริโภคบ้างแล้ว เช่น มาตรการตรึงราคาสินค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นราคาก๊าซหุงต้ม ราคาเนื้อไก่ โครงการหมูธงฟ้า แต่ผู้บริโภคยังมีความกังวลและได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ค่าครองชีพที่สูงขึ้น โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายหมวดค่าอาหาร
ขณะที่มาตรการดูแลก๊าซหุงต้ม ภาคครัวเรือนที่ตรึงราคาก๊าซหุงต้มที่ 318 บาท/ถัง 15 กก.กำลังจะสิ้นสุดลงวันที่ 31 มี.ค.นี้ โดยจะปรับขึ้นแบบขั้นบันไดครั้งแรก 15 บาทอยู่ที่ 333 บาท/ถัง 15 กิโลกรัม และขยับระดับต่อไปอีก 30 บาท เป็น 363 บาท/ถัง 15 กก.
จากปัญหาราคาสินค้าแพงรวมถึงก๊าซหุงต้มที่กำลังจะขึ้นราคาเร็วนี้ พ่อค้าแม่ค้าบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าได้รับผลกระทบอย่างมากจากต้นทุนวัตถุดิบอาหารที่เพิ่มขึ้น แต่ยังขายอาหารราคาเดิมเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค แม้จะได้กำไรน้อยลง แต่ต้องดูสถานการณ์อีกครั้งหากมีต้นทุนเพิ่มขึ้นกว่าเดิมอาจจะต้องปรับขึ้นราคาบ้าง ทั้งนี้ อยากขอให้ภาครัฐลงมาดูแลราคาสินค้าไม่ให้แพงเพื่อช่วยเหลือประชาชนในภาวะเศรษฐกิจช่วงนี้ที่ต่างได้รับผลกระทบ
สอดคล้องกับผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ม.ค. ที่ลดลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือน ส่วนหนึ่งมาจากผลกระทบจากราคาน้ำมันแพง วัตถุดิบและราคาสินค้าสูงขึ้น ส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อ และมีโอกาสเงินเฟ้อครึ่งปีแรกจะสูงถึง 3% โดยประเมินทิศทางความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ก.พ. มีแนวโน้มลดลงอีกจากปัจจัยหลักเรื่องของแพง ราคาน้ำมันสูงขึ้น ส่งผลต่อราคาสินค้าแพงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคหลายรายการ รวมถึงความกังวลเรื่องเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้รายได้ไม่สูงขึ้น และการแพร่ระบาดโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอน ที่ตัวเลขเริ่มกลับมาระบาดมากขึ้น
ม็อบชาวนาพ้อ ‘รอแล้วรอเล่า’ เลขาฯ รมว.เกษตรรุดแจง ยันส่งเรื่องไป กฟก.ภายในสัปดาห์นี้
https://www.matichon.co.th/economy/news_3185542
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ เวลาประมาณ 13.00 น. เครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย จาก 36 จังหวัดเดินขบวนไปที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อติดตามผลการเรียกร้องให้เเก้ปัญหาหนี้สินทางการเกษตร กองทุนฟื้นฟู ลูกหนี้ธนาคารรัฐ 4 แห่ง ที่ดร.
เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สัญญาว่าจะผลักดันเรื่องนี้เข้าครม.ตามกำหนดที่คาดว่าจะเข้าวันนี้ โดยมี 3 ข้อเรียกร้องได้แก่
1. ขอให้สถาบันการเงินเจ้าหนี้ชะลอการฟ้องบังคับคดียึดทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินของสมาชิก เร่งดำเนินการโอนหนี้สินเข้าสู่กระบวนการการจัดการหนี้สินของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) พร้อมกับขยายเพดานวงเงินการซื้อหนี้ NPA จาก 2.5 ล้านบาทขยายเป็น 5 ล้านบาทเสนอเข้าสู่เข้ามติครม.
2. ขอให้ลดหนี้ปลดหนี้ให้กับเกษตรกรสมาชิกกฟก. กรณีที่ตาย พิการ ทุพพลภาพ ชราภาพ เจ็บป่วย เป็นโรคเหลือไม่เกิน 25 เปอร์เซ็นต์ตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่ได้บัญญัติไว้ช่วยเหลือเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ (กฟก.)
3. ขอให้ตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่นพร้อมกับปฏิรูปการบริหารงานของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ขึ้นราคาพืชผลการเกษตรถูกลงทุกวัน แต่ราคาปุ๋ยกลับแพงขึ้น ประชาชนที่เดือดร้อนที่ทำเกษตรกรจึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ช่วยเหลือและเยียวยารวมถึงพักชำระหนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นาย
สุธัญญ์ ฤทธิขาบ ผู้อำนวยการสำนักบริหารกองทุนเพื่อช่วยเหลือและรับเรื่องร้องเรียนได้เข้ามาพูดคุยกับกลุ่มผู้ชุมนุมชี้แจงเรื่องหนังสือว่าได้ส่งไปแล้ว และกล่าวในตอนหนึ่งว่า ”
ปลัดไม่ได้รอทำงานนี้งานเดียว มีงานเยอะแยะ” ทำผู้ชุมนุมโห่ขึ้นพร้อมกันโดยมีผู้ชุมนุมคนหนึ่งกล่าวว่า เรื่องชาวนาไม่สำคัญหรือ ตามกำหนดต้องมีหนังสือออกมาภายในเวลา 12.00 น. โดยผู้ชุมนุมยืนยันว่าจะคุยกับดร.
เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เท่านั้น
“
เราต้องการรัฐมนตรี ท่านส่งคนมารับปากเราแล้ว รอแล้วรอเล่า ครั้งแล้วครั้งเล่า แต่สิ่งนั้นไม่ได้ที่ต้องการของเกษตรกร วันนี้ถ้าเกษตรกรกลับไป งบประมาณต่างๆที่จะช่วยให้เกษตรกรลืมตาอ้าปากได้ ก็คงจะไม่ได้กลับไป เราถูกฟ้องถูกยึดถูกขายทอดตลาดสิ่งเหล่านี้เราไม่ต้องการ เราต้องการกลับไปเป็นเกษตรกรผู้มีอันจะกินบ้าง พวกเราอายุค่าเฉลี่ยแล้ว 60-70 กว่าปีที่มากันตอนนี้ ท่านคิดเถอะเกษตรกรเหล่านี้อยากจะมา อยากจะสนุก มันเป็นความเดือดร้อน มันจะอยู่ไปได้อีกกี่ปี ตายมาก็หลาย 10 คน หลาย 100 คน วันนี้ปี 2565 ท่านต้องทวนรัฐมนตรีทุกรัฐมนตรีที่เป็นๆมา เราเรียกร้องเรื่องเดิมๆ เราอยากจะมีกินมีใช้บ้าง” ผู้ชุมนุมรายหนึ่งกล่าว
ต่อมา เวลาประมาณ 14.00 น. นาย
ธนา ชีรวินิจ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นตัวแทนกล่าวว่า รัฐมนตรีมีความผูกผันห่วงใยพี่น้องเกษตรกรทุกท่านที่มาเรียกร้องไม่ว่าจะจุดไหนก็ตาม แต่ติดประชุมครม.
“
เมื่อวานนี้ที่มายื่นหนังสือตอน 10.00 น. ขอให้ส่งไปที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟู (กฟก.) โดยมีผอ.สุธัญญ์ รับเรื่องแล้ว แจ้งผมมาว่าต้องการให้กระทรวงการคลังให้รีบส่งจดหมายไปที่กฟก.โดยด่วน แต่เนื่องจากเมื่อวาน (14 ก.พ.)มากะทันหันไม่ได้แจ้งล่วงหน้าผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรที่รับผิดชอบดูแลปัญหาพี่น้องเกษตรกรไม่อยู่ เพราะฉะนั้นการจะเซ็นเรื่องออกจากกระทรวงต้องมีคนรับผิดชอบ ต้องมีการตรวจสอบผ่านระบบกฎหมายว่าได้ดำเนินการตามขั้นตอนถูกต้องหรือไม่ แต่ได้ขอให้ส่งสำเนาที่ม็อบชาวนาต้องการที่เรียกร้องไปที่กฟก.ก่อน ซึ่งผอ.สุธัญญ์แจ้งว่าได้ส่งไปที่กฟก.ทันเวลาที่มีการประชุม ดังนั้นขอให้สบายใจ วันนี้ผู้ช่วยรองปลัดกระทรวงเกษตรฯมาลงเอกสารออกเป็นทางการให้แต่เอกสารถึงแล้วเมื่อวาน(14 ก.พ.)
เรื่องที่ 2 เรื่องปัญหาหนี้ธนาคารของรัฐ ผมสอบถามจากเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบว่าเรื่องติดที่ตรงไหน เรื่องนี้กระทรวงการคลังมีสังเกต 5 ข้อ ซึ่งทราบกันอยู่แล้ว จึงจะไม่ขอลงลึกในรายละเอียด เพราะฉะนั้นเมื่อมีข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรฯก็ต้องพยายามทำความเข้าใจ ทั้งกฟก.และกระทรวงการคลังว่าปัญหาของเกษตรกรจะทำอย่างไรให้เดินหน้าได้ ก็สามารถแก้ไขได้เพื่อที่จะได้นำเข้าครม. ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรรมการบริหาร ธกส. ได้ขอเลื่อนประชุมเพื่อพูดคุยกันเพื่อให้เป็นไปในทางเดียวกัน โดยเชิญกฟก. กรรมการจากกระทรวงการคลังมาประชุมหาแนวทางแก้ไขปัญหาเมื่อวันที่ 3 ก.พ. สรุปของที่ประชุมมีมาแล้ว แต่ติดที่ฝ่ายกฎหมายกำลังตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร วันศุกร์นี้ (18 ก.พ.) สำนักกฎหมายของกระทรวงเกษตรจะต้องพิจารณาเรื่องนี้ให้เสร็จ และส่งไปที่กฟก.ในสัปดาห์นี้” นาย
ธนากล่าว
ต่อมาผู้ชุมนุมได้ปรบมือพอใจ ก่อนเดินทางกลับไปปักหลักบริเวณหน้ากระทรวงการคลังเช่นเดิม
คนใช้เก๋งอ่วม พรุ่งนี้กลุ่มเบนซินขึ้นราคา 60 สต.
https://www.matichon.co.th/economy/news_3185673
PTT Station ปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ทุกชนิดขึ้น 0.60 บาทต่อลิตร ส่วนกลุ่มดีเซลทุกชนิด คงเดิม มีผล 16 ก.พ.65 เวลา 05.00 น. เป็นต้นไป โดยราคาขายปลีกจะเป็นดังนี้
ULG = 43.56, GSH95 = 36.15, E20 = 35.04, GSH91 = 35.88, E85 = 28.34, HSD- B7= 29.94, HSD-B10 = 29.94, HSD-B20=29.94, ดีเซลพรีเมียม B7 = 35.96 บาทต่อลิตร โดยราคาขายปลีกข้างต้นยังไม่รวมภาษีบำรุงกรุงเทพมหานคร
บางจากฯ ปรับราคาน้ำมันกลุ่มแก๊สโซฮอล์ทุกชนิด +60 ส.ต. สำหรับกลุ่มดีเซลทุกชนิดราคาคงเดิม
BCP Retail Price: GSH95S EVO =36.15 / GSH91S EV 35.88 / GSH E20S EVO =35.04 / GSH E85S EVO =28.34 / Hi Diesel B20S =29.94 / Hi Diesel S =29.94/ Hi Diesel S B7 =29.94/ Hi Premium Diesel S B7 =35.96 ราคาดังกล่าวยังไม่รวมภาษีบำรุงท้องที่ กทม.
JJNY : 4in1 'จานด่วน'จ่อปรับราคา│ม็อบชาวนาพ้อ‘รอแล้วรอเล่า’│พรุ่งนี้กลุ่มเบนซินขึ้น60สต.│มาฆบูชาปีนี้ สังฆทานขายไม่ออก
https://www.nationtv.tv/news/378863891
ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ที่กระทบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีผลต่อการฟื้นตัวของภาคธุรกิจและกำลังซื้อของครัวเรือน สวนทางกับค่าครองชีพที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นราคาเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะราคาเนื้อหมูที่ปรับตัวสูงสุดในรอบ 10 ปี ราคาไข่ไก่ ราคาน้ำมันพืช ราคาพลังงาน รวมถึงค่าไฟฟ้า
แม้ภาครัฐได้ทยอยออกมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของผู้บริโภคบ้างแล้ว เช่น มาตรการตรึงราคาสินค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นราคาก๊าซหุงต้ม ราคาเนื้อไก่ โครงการหมูธงฟ้า แต่ผู้บริโภคยังมีความกังวลและได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ค่าครองชีพที่สูงขึ้น โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายหมวดค่าอาหาร
ขณะที่มาตรการดูแลก๊าซหุงต้ม ภาคครัวเรือนที่ตรึงราคาก๊าซหุงต้มที่ 318 บาท/ถัง 15 กก.กำลังจะสิ้นสุดลงวันที่ 31 มี.ค.นี้ โดยจะปรับขึ้นแบบขั้นบันไดครั้งแรก 15 บาทอยู่ที่ 333 บาท/ถัง 15 กิโลกรัม และขยับระดับต่อไปอีก 30 บาท เป็น 363 บาท/ถัง 15 กก.
จากปัญหาราคาสินค้าแพงรวมถึงก๊าซหุงต้มที่กำลังจะขึ้นราคาเร็วนี้ พ่อค้าแม่ค้าบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าได้รับผลกระทบอย่างมากจากต้นทุนวัตถุดิบอาหารที่เพิ่มขึ้น แต่ยังขายอาหารราคาเดิมเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค แม้จะได้กำไรน้อยลง แต่ต้องดูสถานการณ์อีกครั้งหากมีต้นทุนเพิ่มขึ้นกว่าเดิมอาจจะต้องปรับขึ้นราคาบ้าง ทั้งนี้ อยากขอให้ภาครัฐลงมาดูแลราคาสินค้าไม่ให้แพงเพื่อช่วยเหลือประชาชนในภาวะเศรษฐกิจช่วงนี้ที่ต่างได้รับผลกระทบ
สอดคล้องกับผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ม.ค. ที่ลดลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือน ส่วนหนึ่งมาจากผลกระทบจากราคาน้ำมันแพง วัตถุดิบและราคาสินค้าสูงขึ้น ส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อ และมีโอกาสเงินเฟ้อครึ่งปีแรกจะสูงถึง 3% โดยประเมินทิศทางความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ก.พ. มีแนวโน้มลดลงอีกจากปัจจัยหลักเรื่องของแพง ราคาน้ำมันสูงขึ้น ส่งผลต่อราคาสินค้าแพงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคหลายรายการ รวมถึงความกังวลเรื่องเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้รายได้ไม่สูงขึ้น และการแพร่ระบาดโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอน ที่ตัวเลขเริ่มกลับมาระบาดมากขึ้น
ม็อบชาวนาพ้อ ‘รอแล้วรอเล่า’ เลขาฯ รมว.เกษตรรุดแจง ยันส่งเรื่องไป กฟก.ภายในสัปดาห์นี้
https://www.matichon.co.th/economy/news_3185542
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ เวลาประมาณ 13.00 น. เครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย จาก 36 จังหวัดเดินขบวนไปที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อติดตามผลการเรียกร้องให้เเก้ปัญหาหนี้สินทางการเกษตร กองทุนฟื้นฟู ลูกหนี้ธนาคารรัฐ 4 แห่ง ที่ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สัญญาว่าจะผลักดันเรื่องนี้เข้าครม.ตามกำหนดที่คาดว่าจะเข้าวันนี้ โดยมี 3 ข้อเรียกร้องได้แก่
1. ขอให้สถาบันการเงินเจ้าหนี้ชะลอการฟ้องบังคับคดียึดทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินของสมาชิก เร่งดำเนินการโอนหนี้สินเข้าสู่กระบวนการการจัดการหนี้สินของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) พร้อมกับขยายเพดานวงเงินการซื้อหนี้ NPA จาก 2.5 ล้านบาทขยายเป็น 5 ล้านบาทเสนอเข้าสู่เข้ามติครม.
2. ขอให้ลดหนี้ปลดหนี้ให้กับเกษตรกรสมาชิกกฟก. กรณีที่ตาย พิการ ทุพพลภาพ ชราภาพ เจ็บป่วย เป็นโรคเหลือไม่เกิน 25 เปอร์เซ็นต์ตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่ได้บัญญัติไว้ช่วยเหลือเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ (กฟก.)
3. ขอให้ตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่นพร้อมกับปฏิรูปการบริหารงานของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ขึ้นราคาพืชผลการเกษตรถูกลงทุกวัน แต่ราคาปุ๋ยกลับแพงขึ้น ประชาชนที่เดือดร้อนที่ทำเกษตรกรจึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ช่วยเหลือและเยียวยารวมถึงพักชำระหนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุธัญญ์ ฤทธิขาบ ผู้อำนวยการสำนักบริหารกองทุนเพื่อช่วยเหลือและรับเรื่องร้องเรียนได้เข้ามาพูดคุยกับกลุ่มผู้ชุมนุมชี้แจงเรื่องหนังสือว่าได้ส่งไปแล้ว และกล่าวในตอนหนึ่งว่า ”ปลัดไม่ได้รอทำงานนี้งานเดียว มีงานเยอะแยะ” ทำผู้ชุมนุมโห่ขึ้นพร้อมกันโดยมีผู้ชุมนุมคนหนึ่งกล่าวว่า เรื่องชาวนาไม่สำคัญหรือ ตามกำหนดต้องมีหนังสือออกมาภายในเวลา 12.00 น. โดยผู้ชุมนุมยืนยันว่าจะคุยกับดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เท่านั้น
“เราต้องการรัฐมนตรี ท่านส่งคนมารับปากเราแล้ว รอแล้วรอเล่า ครั้งแล้วครั้งเล่า แต่สิ่งนั้นไม่ได้ที่ต้องการของเกษตรกร วันนี้ถ้าเกษตรกรกลับไป งบประมาณต่างๆที่จะช่วยให้เกษตรกรลืมตาอ้าปากได้ ก็คงจะไม่ได้กลับไป เราถูกฟ้องถูกยึดถูกขายทอดตลาดสิ่งเหล่านี้เราไม่ต้องการ เราต้องการกลับไปเป็นเกษตรกรผู้มีอันจะกินบ้าง พวกเราอายุค่าเฉลี่ยแล้ว 60-70 กว่าปีที่มากันตอนนี้ ท่านคิดเถอะเกษตรกรเหล่านี้อยากจะมา อยากจะสนุก มันเป็นความเดือดร้อน มันจะอยู่ไปได้อีกกี่ปี ตายมาก็หลาย 10 คน หลาย 100 คน วันนี้ปี 2565 ท่านต้องทวนรัฐมนตรีทุกรัฐมนตรีที่เป็นๆมา เราเรียกร้องเรื่องเดิมๆ เราอยากจะมีกินมีใช้บ้าง” ผู้ชุมนุมรายหนึ่งกล่าว
ต่อมา เวลาประมาณ 14.00 น. นายธนา ชีรวินิจ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นตัวแทนกล่าวว่า รัฐมนตรีมีความผูกผันห่วงใยพี่น้องเกษตรกรทุกท่านที่มาเรียกร้องไม่ว่าจะจุดไหนก็ตาม แต่ติดประชุมครม.
“เมื่อวานนี้ที่มายื่นหนังสือตอน 10.00 น. ขอให้ส่งไปที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟู (กฟก.) โดยมีผอ.สุธัญญ์ รับเรื่องแล้ว แจ้งผมมาว่าต้องการให้กระทรวงการคลังให้รีบส่งจดหมายไปที่กฟก.โดยด่วน แต่เนื่องจากเมื่อวาน (14 ก.พ.)มากะทันหันไม่ได้แจ้งล่วงหน้าผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรที่รับผิดชอบดูแลปัญหาพี่น้องเกษตรกรไม่อยู่ เพราะฉะนั้นการจะเซ็นเรื่องออกจากกระทรวงต้องมีคนรับผิดชอบ ต้องมีการตรวจสอบผ่านระบบกฎหมายว่าได้ดำเนินการตามขั้นตอนถูกต้องหรือไม่ แต่ได้ขอให้ส่งสำเนาที่ม็อบชาวนาต้องการที่เรียกร้องไปที่กฟก.ก่อน ซึ่งผอ.สุธัญญ์แจ้งว่าได้ส่งไปที่กฟก.ทันเวลาที่มีการประชุม ดังนั้นขอให้สบายใจ วันนี้ผู้ช่วยรองปลัดกระทรวงเกษตรฯมาลงเอกสารออกเป็นทางการให้แต่เอกสารถึงแล้วเมื่อวาน(14 ก.พ.)
เรื่องที่ 2 เรื่องปัญหาหนี้ธนาคารของรัฐ ผมสอบถามจากเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบว่าเรื่องติดที่ตรงไหน เรื่องนี้กระทรวงการคลังมีสังเกต 5 ข้อ ซึ่งทราบกันอยู่แล้ว จึงจะไม่ขอลงลึกในรายละเอียด เพราะฉะนั้นเมื่อมีข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรฯก็ต้องพยายามทำความเข้าใจ ทั้งกฟก.และกระทรวงการคลังว่าปัญหาของเกษตรกรจะทำอย่างไรให้เดินหน้าได้ ก็สามารถแก้ไขได้เพื่อที่จะได้นำเข้าครม. ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรรมการบริหาร ธกส. ได้ขอเลื่อนประชุมเพื่อพูดคุยกันเพื่อให้เป็นไปในทางเดียวกัน โดยเชิญกฟก. กรรมการจากกระทรวงการคลังมาประชุมหาแนวทางแก้ไขปัญหาเมื่อวันที่ 3 ก.พ. สรุปของที่ประชุมมีมาแล้ว แต่ติดที่ฝ่ายกฎหมายกำลังตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร วันศุกร์นี้ (18 ก.พ.) สำนักกฎหมายของกระทรวงเกษตรจะต้องพิจารณาเรื่องนี้ให้เสร็จ และส่งไปที่กฟก.ในสัปดาห์นี้” นายธนากล่าว
ต่อมาผู้ชุมนุมได้ปรบมือพอใจ ก่อนเดินทางกลับไปปักหลักบริเวณหน้ากระทรวงการคลังเช่นเดิม
คนใช้เก๋งอ่วม พรุ่งนี้กลุ่มเบนซินขึ้นราคา 60 สต.
https://www.matichon.co.th/economy/news_3185673
PTT Station ปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ทุกชนิดขึ้น 0.60 บาทต่อลิตร ส่วนกลุ่มดีเซลทุกชนิด คงเดิม มีผล 16 ก.พ.65 เวลา 05.00 น. เป็นต้นไป โดยราคาขายปลีกจะเป็นดังนี้
ULG = 43.56, GSH95 = 36.15, E20 = 35.04, GSH91 = 35.88, E85 = 28.34, HSD- B7= 29.94, HSD-B10 = 29.94, HSD-B20=29.94, ดีเซลพรีเมียม B7 = 35.96 บาทต่อลิตร โดยราคาขายปลีกข้างต้นยังไม่รวมภาษีบำรุงกรุงเทพมหานคร
บางจากฯ ปรับราคาน้ำมันกลุ่มแก๊สโซฮอล์ทุกชนิด +60 ส.ต. สำหรับกลุ่มดีเซลทุกชนิดราคาคงเดิม
BCP Retail Price: GSH95S EVO =36.15 / GSH91S EV 35.88 / GSH E20S EVO =35.04 / GSH E85S EVO =28.34 / Hi Diesel B20S =29.94 / Hi Diesel S =29.94/ Hi Diesel S B7 =29.94/ Hi Premium Diesel S B7 =35.96 ราคาดังกล่าวยังไม่รวมภาษีบำรุงท้องที่ กทม.