น้อมกราบมุทิตาจิตพระพรหมวชิรปัญญาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) ทั้งเจริญอายุวัฒนมงคล-ได้รับโปรดเกล้าฯพระราชทานสมณศักดิ์

     น้อมกราบถวายมุทิตาสักการะ เนื่องในโอกาสเจริญอายุวิวัฒนมงคล ๗๖ ปี ๕๔ พรรษา
พระเดชพระคุณพระพรหมวชิรปัญญาจารย์   ( เดิม: พระโพธิวงศาจารย์  ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต )
เจ้าอาวาสวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร  หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ ๘  วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
และได้รับโปรดเกล้าฯพระราชทานสมณศักดิ์
เกล้ากระผมได้นำข้อคิดสะกิดใจบางส่วนจากหนังสือ  "อันเหลือเชื่อ"  มาลงไว้ที่พันทิปหลายตอน
นับว่า วันนี้รู้สึกปีติยินดียิ่ง  น้อมกราบมาด้วยความเคารพยิ่ง


ที่มา FB :  Uthit Siriwan    พระดี    พระนักปราชญ์    พระราชบัณฑิตที่น่ารู้จัก  
พระพรหมวชิรปัญญาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)
สถิต ณ วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร  พระอารามหลวง ประจำรัชกาลที่ ๓
พระพรหมวชิรปัญญาจารย์ นามเดิม ทองดี สุรเดช ฉายา สุรเตโช เป็นราชบัณฑิต 
พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร 
หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ ๘ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระพรหมวชิรปัญญาจารย์
(ทองดี สุรเตโช ป.ธ. ๙, ราชบัณฑิต)
เกิด ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๙  อายุ ๗๖
อุปสมบท ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๐  พรรษา ๕๔
วัด วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร  จังหวัด กรุงเทพมหานคร
สังกัด มหานิกาย  วุฒิ นักธรรมชั้นเอก  เปรียญธรรม ๙ ประโยค
ประกาศนียบัตรประโยคครูพิเศษมัธยม (พ.ม.)
ตำแหน่งสำคัญ ราชบัณฑิต
สำนักศิลปกรรม ประเภทวิชา วรรณศิลป์  สาขาวิชาตันติภาษา

เจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร  หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ ๘

พระพรหมวชิรปัญญาจารย์ มีนามเดิมว่า ทองดี สุรเดช เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๙ 
ที่อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
เมื่ออายุ ๑๔ ปี และจบชั้นมัธยมต้นแล้วก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเดิมคือวัดไตรภูมิ 

อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร จากนั้นก็ได้ศึกษาธรรมที่สำนักเรียนวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ 
ด้วยอายุ ๒๖ ปี ในทางโลกสอบได้ประกาศนียบัตรประโยควิชาครูพิเศษมัธยม (พ.ม.) ในปีถัดมา

ด้านการงสนองงานคณะสงฆ์
พระพรหมวชิรปัญญาจารย์ ได้เป็นเลขานุการเจ้าคณะอำเภอพรานกระต่าย เลขานุการเจ้าคณะเขตบางขุนเทียน ต่อมาได้เป็นอาจารย์สอนวิชาแต่งฉันท์ภาษามคธ ชั้นประโยค ป.ธ. ๘ ที่โรงเรียนพระปริยัติธรรมส่วนกลางของคณะสงฆ์ ก่อนที่จะเป็นเจ้าคณะแขวงบางค้อ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม เคยเป็นเจ้าคณะภาค ๑๖ เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๕-พ.ศ. ๒๕๔๔

ด้านวิชาการ
พระพรหมวชิรปัญญาจารย์ เคยเป็นรองประธานกรรมการตรวจสอบต้นฉบับพระไตรปิฎกฉบับสังคายนา ภาษาไทยและภาษาบาลี 
เป็นรองประธานกรรมการตรวจสำนวนการแปลพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการศึกษาของคณะสงฆ์ 
เป็นกรรมการจัดทำแผนพัฒนาด้านการศึกษา กรมการศาสนา ประธานกรรมการจัดทำต้นฉบับพระไตรปิฎก ฉบับภาษาไทย 
นอกจากนี้ยังเคยเป็นประธานกรรมการพิจารณาและดำเนินการจัดตั้งสำนักหุบผาสวรรค์เป็นสถานศึกษาทางพุทธศาสนาอีกด้วย

ตำแหน่งหน้าที่สำคัญ
หลังจากสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค แล้ว พระพรหมวชิรปัญญาจารย์ได้ปฏิบัติงานด้านการศาสนาในตำแหน่งต่างๆ มาเป็นลำดับ นอกจากตำแหน่งรองเจ้าอาวาสวัดราชโอรสารามดังกล่าวแล้วก็ได้เป็นเจ้าคณะภาค ๑๖ เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม เป็นเจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม เจ้าสำนักเรียนวัดราชโอรสาราม เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ ๘ เป็นผู้อำนวยการฝึกอบรมพระนักเทศน์ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนกลางและหนใต้ นอกจากนี้ ยังเป็นผู้อุปถัมภ์สร้างวัดพุทธวิหาร กรุงเบอร์ลิน และวัดธรรมวิหาร เมืองฮันโนเฟอร์ ประเทศเยอรมนีอีกด้วย
วันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตในประเภทวรรณศิลป์ สาขาวิชาตันติภาษา

สมณศักดิ์

พระมหาโพธิวงศาจารย์ได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ตามลำดับดังนี้
๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ - ได้รับพระราชทานราชทินนาม เป็น พระพรหมวชิรปัญญาจารย์ ปริยัติกิจวิธานปรีชา ศีลาจารวิมล 
โสภณธรรมานุสิฐ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

ด้านการเผยแผ่
พระพรหมวชิรปัญญาจารย์ ได้เขียนหนังสือและแต่งตำราเพื่อเผยแผ่พระธรรมจำนวนมากดังรายการผลงานเขียนของท่านข้างล่างนี้

หนังสือที่เขียน
สมณศักดิ์: ยศช้าง ขุนนางพระ  /  หลักการแต่งฉันท์ภาษามคธ  / 
ธรรมสารทีปนี  คู่มือการศึกษาบาลี เล่ม ๑-๔ /
ข้อคิด ข้อเขียน  /  พระในบ้าน  /  ภาษาธรรม  คำวัด เล่ม ๑-๕  /คำพ่อคำแม่ /
ภาษิตนิทัศน์  /  คนกินคน (หนังสือแปล)  /  หัวใจอมตะ (หนังสือแปล)  /  คลังธรรม เล่ม ๑-๓ /
ธรรมบทชีวิต  /  ศัพท์วิเคราะห์  /  แนวปฏิบัติศาสนพิธี  /  พุทธธรรม ๕ นาที  / ประกายความคิด /
กิร ดังได้สดับมา เล่ม ๑ - ๓, ฉบับรวมเล่ม /  ไขข้อข้องใจ  /  ภาษาชาวบ้าน  /
ชาดกในธรรมบท (พิมพ์ครั้งที่ ๑ : กันยายน ๒๕๕๔)  /  
การเรียนรู้พระพุทธพจน์ (พิมพ์ครั้งที่ ๑ : กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕)
อุปมาสาธกในเทศนา (พิมพ์ครั้งที่ ๑ : พฤษภาคม ๒๕๕๕)
เทศน์ : การเผยแผ่ที่สำคัญศักดิ์สิทธิ์  /
การตีความพุทธศาสนสุภาษิต /
สวัสดิมงคล เล่ม ๑, เล่ม ๒, เล่ม ๓, ฉบับรวมเล่ม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่