การให้สวัสดิการประชาชนทั่วไปที่เป็นชนชั้นแรงงาน อาจจะนับรวมคนในเกษตรธุรกิจ ( คือเกษตรสร้างรายได้ ไม่ใช่เกษตรแบบดั้งเดิม) เราให้การช่วยเหลือกลุ่มคนรายได้น้อย ถึงปานกลางค่อนไปทางน้อยแบบนี้มากเกินไป แต่ไม่ได้กระตุ้นให้คนกลุ่มนี้พัฒนาฝีมือมากนัก และคนกลุ่มนี้เป็นฐานใหญ่
แล้วใครคือกลุ่มคนที่ว่า ก็คือกลุ่มคนที่ทำงานรายได้ขั้นต่ำ ไปจนถึงกลุ่มคนที่มีรายได้พึงประเมินไม่ต้องจ่ายภาษี อีกกลุ่มก็คือรายได้นอกระบบแม้รายได้จะเยอะก็ไม่ได้อยากจ่ายภาษี เพราะจ่ายไปนานๆ รัฐก็ไม่ได้กลับมาดูแลมากกว่ากลุ่มคนระดับล่างๆ อยู่ดี
มันทำให้เกิดความรู้สึกว่าเราตั้งใจทำงานเสียภาษีไป แต่ทำไมได้อะไรกลับมา หรือได้มาก็เหมือนกับคนที่ไม่จ่ายภาษีอะไรเลย นี่คือเหตุผลหลักเลยที่คนจำนวนมากไม่ยอมยื่นและจ่ายภาษี
ถ้ารัฐปรับเปลี่ยนกลไกเหล่านี้ ให้ใครที่จ่ายภาษี ได้อะไรคืนมาบ้าง เช่นมีเงินบำนาญส่วนของภาษี (นอกเหนือจากประกันสัคมที่มีอยู่แล้ว) หรือมีสิทธิในการเข้าถึงการรักษาที่ง่ายขึ้นคล้ายๆ ข้าราชการบำนาญ โดยอาจจะกำหนดเครดิตข้อมูลภาษีใครจ่ายสะสมเข้ามามากก็ให้มีสิทธิต่างๆ เพิ่มขึ้น จ่ายน้อยก็น้อยลงไป ใครจ่ายเยอะๆ เช่นจ่ายปีละ 30-35%ติดต่อกันเกิน 10 ปี ก็ให้สิทธิเหมือนข้าราชการได้เลย อะไรแบบนั้น ส่วนสิทธิพื้นฐานประกันสังคมก็ยังเหมือนเดิม กฏแบบนี้จะส่งเสริมให้คนขยันขึ้น มีความสนใจที่จะส่งภาษีมากขึ้น แล้วยังสามารถปรับฐานภาษีให้กว้างลงมา รายได้เกิน 15,000 ก็อาจจะเก็บสัก 3-5% ได้อีก
ให้ช่วงระยะเวลา 25-30 ปีที่ผ่านมาเกิดรายจ่ายมากมายกับกลุ่มคนเหล่านี้แต่ไม่ค่อยบรรลุผลอะไรมากนัก (ประชานิยมทั้งหลาย) แถมด้วยนโนบายต่างๆ แบบนี้ยิ่งจะมีเยอะขึ้น ทำให้คนรอที่จะรับอะไรจากรัฐอย่างเดียว ถ้ากระตุ้นให้คนทำงานโดยใช้กลไกทางภาษี สวัสดิการ อาจจะทำให้คนตั้งใจหารายได้ ส่งภาษีกันเยอะขึ้น เพราะปลายทางก็ยังพอมีอะไรกลับมา อาจจะมีนวัตกรรมอะไรออกมาเยอะขึ้น ยกระดับรายได้ของประเทศได้เร็วขึ้น
ถ้าเรายังจะใช้วิธีการแบบเดิมเหมือน 25-30 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยจะมีคนระดับฐานล่างเยอะขึ้น เพราะนโยบายประชานิยม สวัสดิการข้าราชการ ทั้งหลายเกื้อให้เกิดกลุ่มคนฐานล่าง มากกว่าที่จะทำให้เกิดกลุ่มคนที่สร้างรายได้ สร้างนวัตกรรมให้กับประเทศ
ถ้าถามว่าจะเอาเงินส่วนนี้จากไหน ก็ลดนโยบายประชานิยมลง ลดสวัสดิการของราชการที่ไม่ได้เป็นคนทำงานให้ราชการลง (ญาติข้าราชการ) ขยับเงินมาใช้ส่วนนี้ อาจจะพอทำได้เลย
ระบบกลไกทางภาษีและสวัสดิการของรัฐไม่ได้เอื้อให้คนไทยตั้งใจทำงาน สนใจจะจ่ายภาษีแล้วมีสวัสดิการที่ดีพอในยามเกษียน
แล้วใครคือกลุ่มคนที่ว่า ก็คือกลุ่มคนที่ทำงานรายได้ขั้นต่ำ ไปจนถึงกลุ่มคนที่มีรายได้พึงประเมินไม่ต้องจ่ายภาษี อีกกลุ่มก็คือรายได้นอกระบบแม้รายได้จะเยอะก็ไม่ได้อยากจ่ายภาษี เพราะจ่ายไปนานๆ รัฐก็ไม่ได้กลับมาดูแลมากกว่ากลุ่มคนระดับล่างๆ อยู่ดี
มันทำให้เกิดความรู้สึกว่าเราตั้งใจทำงานเสียภาษีไป แต่ทำไมได้อะไรกลับมา หรือได้มาก็เหมือนกับคนที่ไม่จ่ายภาษีอะไรเลย นี่คือเหตุผลหลักเลยที่คนจำนวนมากไม่ยอมยื่นและจ่ายภาษี
ถ้ารัฐปรับเปลี่ยนกลไกเหล่านี้ ให้ใครที่จ่ายภาษี ได้อะไรคืนมาบ้าง เช่นมีเงินบำนาญส่วนของภาษี (นอกเหนือจากประกันสัคมที่มีอยู่แล้ว) หรือมีสิทธิในการเข้าถึงการรักษาที่ง่ายขึ้นคล้ายๆ ข้าราชการบำนาญ โดยอาจจะกำหนดเครดิตข้อมูลภาษีใครจ่ายสะสมเข้ามามากก็ให้มีสิทธิต่างๆ เพิ่มขึ้น จ่ายน้อยก็น้อยลงไป ใครจ่ายเยอะๆ เช่นจ่ายปีละ 30-35%ติดต่อกันเกิน 10 ปี ก็ให้สิทธิเหมือนข้าราชการได้เลย อะไรแบบนั้น ส่วนสิทธิพื้นฐานประกันสังคมก็ยังเหมือนเดิม กฏแบบนี้จะส่งเสริมให้คนขยันขึ้น มีความสนใจที่จะส่งภาษีมากขึ้น แล้วยังสามารถปรับฐานภาษีให้กว้างลงมา รายได้เกิน 15,000 ก็อาจจะเก็บสัก 3-5% ได้อีก
ให้ช่วงระยะเวลา 25-30 ปีที่ผ่านมาเกิดรายจ่ายมากมายกับกลุ่มคนเหล่านี้แต่ไม่ค่อยบรรลุผลอะไรมากนัก (ประชานิยมทั้งหลาย) แถมด้วยนโนบายต่างๆ แบบนี้ยิ่งจะมีเยอะขึ้น ทำให้คนรอที่จะรับอะไรจากรัฐอย่างเดียว ถ้ากระตุ้นให้คนทำงานโดยใช้กลไกทางภาษี สวัสดิการ อาจจะทำให้คนตั้งใจหารายได้ ส่งภาษีกันเยอะขึ้น เพราะปลายทางก็ยังพอมีอะไรกลับมา อาจจะมีนวัตกรรมอะไรออกมาเยอะขึ้น ยกระดับรายได้ของประเทศได้เร็วขึ้น
ถ้าเรายังจะใช้วิธีการแบบเดิมเหมือน 25-30 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยจะมีคนระดับฐานล่างเยอะขึ้น เพราะนโยบายประชานิยม สวัสดิการข้าราชการ ทั้งหลายเกื้อให้เกิดกลุ่มคนฐานล่าง มากกว่าที่จะทำให้เกิดกลุ่มคนที่สร้างรายได้ สร้างนวัตกรรมให้กับประเทศ
ถ้าถามว่าจะเอาเงินส่วนนี้จากไหน ก็ลดนโยบายประชานิยมลง ลดสวัสดิการของราชการที่ไม่ได้เป็นคนทำงานให้ราชการลง (ญาติข้าราชการ) ขยับเงินมาใช้ส่วนนี้ อาจจะพอทำได้เลย