สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -9 ก.พ. 65 16:03 น.
5 แบงก์ใหญ่ ซุ่มเจรจา BAM หวังร่วมทุนจัดตั้ง AMC หลัง ธปท.เปิดทางจากแนวโน้ม NPL ในระบบเพิ่มสูงขึ้น คาดครึ่งแรกปีนี้ได้ข้อสรุป ด้านออมสิน ยอมรับ คลังไฟเขียวขายหนี้ได้แล้ว แย้มศึกษาหาแนวทางดำเนินการ
แหล่งข่าวจากวงการนักวิเคราะห์ เปิดเผยกับ “สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย” ว่า ขณะนี้มีกระแสข่าวว่า มีธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ 5 แห่ง อยู่ระหว่างการเจรจากับ บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) หรือ BAM เพื่อร่วมทุนจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) โดยยังอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางการร่วมทุนในหลายรูปแบบ คาดว่าจะได้ข้อสรุปในกลางปีนี้
โดยธนาคารที่เจรจา ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) หรือ KTB , ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB , ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) หรือ KBANK , ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB และ ธนาคารออมสิน
นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวกับ “สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย” ว่า ธนาคารได้รับการอนุญาตจากกระทรวงการคลังที่เปิดทางให้ธนาคารสามารถขายหนี้ได้ โดยขณะนี้ธนาคารอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางการขายหนี้ออกไป ซึ่งแนวทางการจัดตั้ง AMC เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถทำได้เช่นกัน
“เราเพิ่งได้รับการอนุญาตจากกระทรวงการคลังเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาถึงการขายหนี้ได้ ซึ่งกฎระเบียบ กฎหมายของเราจะแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์ทั่วไป โดยตอนนี้เราสามารถขายหนี้ได้แล้ว แต่ต้องร่างแนวทางการปฏิบัติภายใน แต่งตั้งที่ปรึกษา ซึ่งเชื่อว่าภายในปีนี้จะเห็นการขายหนี้”นายวิทัย กล่าว
ด้านนายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท หลักทรัพย์คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ "สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย” ว่า การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดทางให้ธนาคารสามารถสามารถร่วมทุนกับพันธมิตรจัดตั้ง AMC เพื่อการบริหารหนี้เสีย แยกหนี้ดี กับหนี้เสียออกมาอย่างชัดเจน เพื่อที่ธนาคารพาณิชย์จะสามารถกลับไปทำธุรกิจที่ตัวเองถนัดทั้งการปล่อยสินเชื่อ และ รับฝากเงิน ซึ่งไม่ต้องมากังวลกับหนี้เสียที่มี ซึ่งปัจจุบันธนาคารพาณิชย์มีบริษัทลูกที่บริหารหนี้เสียโดยเฉพาะอยู่แล้ว ดังนั้นการตั้ง AMC จึงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มองว่าการเปิดทางร่วมทุน เพราะ NPL มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลังมาตรการลูกหนี้ช่วยเหลือสิ้นสุดลง
“สถานการณ์ NPL มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ซึ่งหากมาตรการธปท.หมดลง เราจะเห็นลูกหนี้กลุ่มนี้เพิ่มขึ้น”
ทั้งนี้มองว่าการที่ธนาคารพาณิชย์มองหาพันธมิตรตั้ง AMC อาจเลือกตามความเหมาะสมจากพอร์ตที่จะบริหาร เช่นกรณีที่ บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT ได้ร่วมมือกับ KBANK ตั้งบริษัทร่วมทุน 2 แห่ง ได้แก่ ธุรกิจให้บริการงานติดตามหนี้ และ ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ซึ่งความชำนาญของแต่ละบริษัทจะมีความแตกต่างกัน
แต่หากเป็นพอร์ตหนี้รายใหญ่ อาจมองไปที่ BAM ได้ จากมีความถนัดในการซื้อหนี้ขนาดใหญ่ เช่น สินเชื่อรายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม อสังหาริมทรัพย์ ประกอบกับ มีเงินทุนที่แข็งแกร่ง จึงมีความสามารถที่จะเข้าซื้อหนี้ขนาดใหญ่ได้
“BAM ถนัดรายใหญ่ ส่วน JMT หรือ CHAYO ถนัดรายเล็ก รายย่อย ซึ่งการที่จะเข้าไปร่วมมือกับแบงก์ ก็ต้องมีการศึกษาแล้วว่า พอร์ตสินเชื่อของธนาคารเขามีสินเชื่อประเภทไหนมากสุด และ ต้องการขายหนี้ออกมาหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาธนาคารก็สามารถขายหนี้ออกมาได้ แต่ส่วนใหญ่ขายหนี้พวกรายย่อย หรือ ไม่มีหลักประกันมากกว่าหนี้รายใหญ่“นายธนเดช กล่า
http://www.efinancethai.com/LastestNews ... curity=BAM
5 แบงก์ใหญ่ ซุ่มเจรจา BAM
5 แบงก์ใหญ่ ซุ่มเจรจา BAM หวังร่วมทุนจัดตั้ง AMC หลัง ธปท.เปิดทางจากแนวโน้ม NPL ในระบบเพิ่มสูงขึ้น คาดครึ่งแรกปีนี้ได้ข้อสรุป ด้านออมสิน ยอมรับ คลังไฟเขียวขายหนี้ได้แล้ว แย้มศึกษาหาแนวทางดำเนินการ
แหล่งข่าวจากวงการนักวิเคราะห์ เปิดเผยกับ “สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย” ว่า ขณะนี้มีกระแสข่าวว่า มีธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ 5 แห่ง อยู่ระหว่างการเจรจากับ บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) หรือ BAM เพื่อร่วมทุนจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) โดยยังอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางการร่วมทุนในหลายรูปแบบ คาดว่าจะได้ข้อสรุปในกลางปีนี้
โดยธนาคารที่เจรจา ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) หรือ KTB , ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB , ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) หรือ KBANK , ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB และ ธนาคารออมสิน
นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวกับ “สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย” ว่า ธนาคารได้รับการอนุญาตจากกระทรวงการคลังที่เปิดทางให้ธนาคารสามารถขายหนี้ได้ โดยขณะนี้ธนาคารอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางการขายหนี้ออกไป ซึ่งแนวทางการจัดตั้ง AMC เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถทำได้เช่นกัน
“เราเพิ่งได้รับการอนุญาตจากกระทรวงการคลังเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาถึงการขายหนี้ได้ ซึ่งกฎระเบียบ กฎหมายของเราจะแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์ทั่วไป โดยตอนนี้เราสามารถขายหนี้ได้แล้ว แต่ต้องร่างแนวทางการปฏิบัติภายใน แต่งตั้งที่ปรึกษา ซึ่งเชื่อว่าภายในปีนี้จะเห็นการขายหนี้”นายวิทัย กล่าว
ด้านนายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท หลักทรัพย์คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ "สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย” ว่า การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดทางให้ธนาคารสามารถสามารถร่วมทุนกับพันธมิตรจัดตั้ง AMC เพื่อการบริหารหนี้เสีย แยกหนี้ดี กับหนี้เสียออกมาอย่างชัดเจน เพื่อที่ธนาคารพาณิชย์จะสามารถกลับไปทำธุรกิจที่ตัวเองถนัดทั้งการปล่อยสินเชื่อ และ รับฝากเงิน ซึ่งไม่ต้องมากังวลกับหนี้เสียที่มี ซึ่งปัจจุบันธนาคารพาณิชย์มีบริษัทลูกที่บริหารหนี้เสียโดยเฉพาะอยู่แล้ว ดังนั้นการตั้ง AMC จึงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มองว่าการเปิดทางร่วมทุน เพราะ NPL มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลังมาตรการลูกหนี้ช่วยเหลือสิ้นสุดลง
“สถานการณ์ NPL มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ซึ่งหากมาตรการธปท.หมดลง เราจะเห็นลูกหนี้กลุ่มนี้เพิ่มขึ้น”
ทั้งนี้มองว่าการที่ธนาคารพาณิชย์มองหาพันธมิตรตั้ง AMC อาจเลือกตามความเหมาะสมจากพอร์ตที่จะบริหาร เช่นกรณีที่ บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT ได้ร่วมมือกับ KBANK ตั้งบริษัทร่วมทุน 2 แห่ง ได้แก่ ธุรกิจให้บริการงานติดตามหนี้ และ ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ซึ่งความชำนาญของแต่ละบริษัทจะมีความแตกต่างกัน
แต่หากเป็นพอร์ตหนี้รายใหญ่ อาจมองไปที่ BAM ได้ จากมีความถนัดในการซื้อหนี้ขนาดใหญ่ เช่น สินเชื่อรายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม อสังหาริมทรัพย์ ประกอบกับ มีเงินทุนที่แข็งแกร่ง จึงมีความสามารถที่จะเข้าซื้อหนี้ขนาดใหญ่ได้
“BAM ถนัดรายใหญ่ ส่วน JMT หรือ CHAYO ถนัดรายเล็ก รายย่อย ซึ่งการที่จะเข้าไปร่วมมือกับแบงก์ ก็ต้องมีการศึกษาแล้วว่า พอร์ตสินเชื่อของธนาคารเขามีสินเชื่อประเภทไหนมากสุด และ ต้องการขายหนี้ออกมาหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาธนาคารก็สามารถขายหนี้ออกมาได้ แต่ส่วนใหญ่ขายหนี้พวกรายย่อย หรือ ไม่มีหลักประกันมากกว่าหนี้รายใหญ่“นายธนเดช กล่า
http://www.efinancethai.com/LastestNews ... curity=BAM