เหนียน...
“ เหนียน ” สัตว์ประหลาดที่จะออกมาอาละวาดในวันตรุษจีน ....
นิยายที่ครูอาจารย์บางท่านชอบนำมาสอนนักศึกษา อย่างเด็กประถม แล้วคนในแวดวงจีนศึกษาในบ้านเราก็ติดปลักไปกับนิยายหลอกเด็กนี้กันไปทั้งบ้านทั้งเมืองมานมนาน...
แท้จริงแล้ว เหนียนไม่ใช่สัตว์ประหลาด
เหนียนคืออักษรจีน “ 年 ” ที่เรารู้จักกันดีในความหมายว่า ปี
อักษรจีนโบราณ “ เหนียน ” มาจากรูป “ การเก็บเกี่ยว ”
เทศกาลเหนียนหรือตรุษของจีนในยุคโบราณ ท่านหมายถึง “ งานเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยว ” ครับ
หลายท่านอาจจะนึกแย้งสิครับว่า ก่อนตรุษจีนมันเป็นฤดูหนาว แล้วต้นไม้ใบหญ้าโดยทั่วไปก็คงจะเหี่ยวเฉา หรือพักการเจริญเติบโต
แล้วจะมาฉลองการเก็บเกี่ยวอะไร ?
ครับถ้ามองจากสภาพปัจจุบันมันเป็นอย่างนั้นจริงๆ แต่ในอดีต เทศกาลตรุษจีนไม่ได้อยู่ที่ราวปลายเดือนมกราคม หรือกุมภาพันธ์ ครับ !
หากยึดปฏิทินจันทรคติปัจจุบันเป็นตัวอ้างอิง
ในยุคราชวงศ์โจว อันเป็นยุคเฟื่องฟูของสรรพวิทยาของจีน วันตรุษหรือวันส่งท้ายปี คือปลายเดือนสิบครับ
......................
จีนยุคโจวเริ่มปีใหม่ใน เดือนสิบเอ็ด
......................
วันที่หนึ่ง เดือนสิบเอ็ด ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ หรือ หยวนตั่น ( 元旦 ) ซึ่งเป็นเวลาใกล้เคียงกับตังโจ่ยของชาวแต้จิ๋ว
และชาวแต้จิ๋วถือตังโจ่ยเป็นวันขึ้นปีใหม่
การขึ้นปีใหม่ของโหรจีนโบราณ ท่านก็ถือเดือน 11 เป็นเดือนอ้าย หรือเริ่มนักษัตรใหม่
โหรจีนแต่โบราณ ถือว่า 11 เป็นเดือนชวด
...
รูปอักษรเหนียน ( 年 ) โบราณ หรือ 篆体字 จะได้ภาพอักษร คน ( 人 ) แบกข้าว ( 米 )อันหมายถึงการเก็บเกี่ยว
คนจีนถือว่า การก็บเกี่ยวเป็นเรื่องน่ายินดี ที่ต้องเฉลิมฉลอง......
เค้าเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยวข้าว
ข้าวที่เพาะหว่านประมาณเดือนหก ซึ่งเป็นฤดูร้อน ( ของจีน ) มีฝนตกชุก พื้นดินชุ่มน้ำเหมาะกับการปลูกข้าว
ข้าวเดือนหกเก็บเกี่ยวได้ในปลายเดือนสิบครับ
ครั้งโบราณ ข้าวเป็นอาหารหลักสำคัญ ที่จะประกันว่า ในหน้าหนาวที่ใกล้จะมาเยือน ทุกคนจะมีข้าวกิน ไม่อดอยาก...
.
.
.
หมายเหตุ การกำหนดวันฉลอง ‘ เหนียน ’ เสียใหม่ ถูกใช้เป็นเครื่องหมายแสดงอำนาจของผู้ขึ้นปกครองใหม่
ดังนั้นหลังจากยุคราชวงศ์โจว เหนียนจึงถูกย้ายวันเวลาไปหลายครั้ง
กระทั่งเมื่อคราวสถาปนาราชวงศ์ ฮั่น ปฐมกษัตริย์ฮั่นกำหนดซินเหนียน หรือวันหยวนตั้น ( วันปีใหม่ ) และการใช้ปฏิทินจันทรคติใหม่
ที่ตรงกับปัจจุบัน
โชคดีที่ราชวงศ์ใหม่ที่สถาปนาหลังราชวงศ์ฮั่นไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงปฏิทินดั่งธรรมเนียมโบราณ
วันตรุษจีน และปฏิทินฮั่น จึงใช้สืบกันมาจวบจนปัจจุบัน
คัดจาก
https://web.facebook.com/plu.danai/posts/2182244688692001
3 กุมภาพันธ์ 2019
เหนียน ( 年 ) มะใช่สัตว์ประหลาด....
“ เหนียน ” สัตว์ประหลาดที่จะออกมาอาละวาดในวันตรุษจีน ....
นิยายที่ครูอาจารย์บางท่านชอบนำมาสอนนักศึกษา อย่างเด็กประถม แล้วคนในแวดวงจีนศึกษาในบ้านเราก็ติดปลักไปกับนิยายหลอกเด็กนี้กันไปทั้งบ้านทั้งเมืองมานมนาน...
แท้จริงแล้ว เหนียนไม่ใช่สัตว์ประหลาด
เหนียนคืออักษรจีน “ 年 ” ที่เรารู้จักกันดีในความหมายว่า ปี
อักษรจีนโบราณ “ เหนียน ” มาจากรูป “ การเก็บเกี่ยว ”
เทศกาลเหนียนหรือตรุษของจีนในยุคโบราณ ท่านหมายถึง “ งานเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยว ” ครับ
หลายท่านอาจจะนึกแย้งสิครับว่า ก่อนตรุษจีนมันเป็นฤดูหนาว แล้วต้นไม้ใบหญ้าโดยทั่วไปก็คงจะเหี่ยวเฉา หรือพักการเจริญเติบโต
แล้วจะมาฉลองการเก็บเกี่ยวอะไร ?
ครับถ้ามองจากสภาพปัจจุบันมันเป็นอย่างนั้นจริงๆ แต่ในอดีต เทศกาลตรุษจีนไม่ได้อยู่ที่ราวปลายเดือนมกราคม หรือกุมภาพันธ์ ครับ !
หากยึดปฏิทินจันทรคติปัจจุบันเป็นตัวอ้างอิง
ในยุคราชวงศ์โจว อันเป็นยุคเฟื่องฟูของสรรพวิทยาของจีน วันตรุษหรือวันส่งท้ายปี คือปลายเดือนสิบครับ
......................
จีนยุคโจวเริ่มปีใหม่ใน เดือนสิบเอ็ด
......................
วันที่หนึ่ง เดือนสิบเอ็ด ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ หรือ หยวนตั่น ( 元旦 ) ซึ่งเป็นเวลาใกล้เคียงกับตังโจ่ยของชาวแต้จิ๋ว
และชาวแต้จิ๋วถือตังโจ่ยเป็นวันขึ้นปีใหม่
การขึ้นปีใหม่ของโหรจีนโบราณ ท่านก็ถือเดือน 11 เป็นเดือนอ้าย หรือเริ่มนักษัตรใหม่
โหรจีนแต่โบราณ ถือว่า 11 เป็นเดือนชวด
...
รูปอักษรเหนียน ( 年 ) โบราณ หรือ 篆体字 จะได้ภาพอักษร คน ( 人 ) แบกข้าว ( 米 )อันหมายถึงการเก็บเกี่ยว
คนจีนถือว่า การก็บเกี่ยวเป็นเรื่องน่ายินดี ที่ต้องเฉลิมฉลอง......
เค้าเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยวข้าว
ข้าวที่เพาะหว่านประมาณเดือนหก ซึ่งเป็นฤดูร้อน ( ของจีน ) มีฝนตกชุก พื้นดินชุ่มน้ำเหมาะกับการปลูกข้าว
ข้าวเดือนหกเก็บเกี่ยวได้ในปลายเดือนสิบครับ
ครั้งโบราณ ข้าวเป็นอาหารหลักสำคัญ ที่จะประกันว่า ในหน้าหนาวที่ใกล้จะมาเยือน ทุกคนจะมีข้าวกิน ไม่อดอยาก...
หมายเหตุ การกำหนดวันฉลอง ‘ เหนียน ’ เสียใหม่ ถูกใช้เป็นเครื่องหมายแสดงอำนาจของผู้ขึ้นปกครองใหม่
ดังนั้นหลังจากยุคราชวงศ์โจว เหนียนจึงถูกย้ายวันเวลาไปหลายครั้ง
กระทั่งเมื่อคราวสถาปนาราชวงศ์ ฮั่น ปฐมกษัตริย์ฮั่นกำหนดซินเหนียน หรือวันหยวนตั้น ( วันปีใหม่ ) และการใช้ปฏิทินจันทรคติใหม่
ที่ตรงกับปัจจุบัน
โชคดีที่ราชวงศ์ใหม่ที่สถาปนาหลังราชวงศ์ฮั่นไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงปฏิทินดั่งธรรมเนียมโบราณ
วันตรุษจีน และปฏิทินฮั่น จึงใช้สืบกันมาจวบจนปัจจุบัน
คัดจาก
https://web.facebook.com/plu.danai/posts/2182244688692001
3 กุมภาพันธ์ 2019