สงครามสายเลือด ลอบฆ่าทายาท Gucci l บันทึกลึกลับ

มหากาพย์รอยร้าว และ โศกนาฏกรรม ของตระกูล Gucci
 คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ปัจจุบัน Gucci อยู่ภายใต้การดูแลของ บ. Kering อาณาจักรแบรนด์หรู 
ที่เป็นเจ้าของแบรนด์อย่าง Yves Saint Laurent, Balenciaga, Alexander McQueen และ Bottega Veneta
แต่กว่าที่ Gucci จะมาถึงมือของ Kering ได้ผ่านอะไรมาบ้าง 
 
เราต้องนั่งไทม์แมชชีนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของ Gucci พร้อมกัน...
แบรนด์ Gucci ก่อตั้งโดยคุณ Guccio Gucci (กุชชิโอ กุชชี่)  ที่ประเทศอิตาลี ในปี 1921 หรือเมื่อ 100 ปีก่อน
เดิมทีเขาก็เติบโตมากับพ่อที่เป็นช่างเครื่องหนัง แต่ในตอนแรกเขาไม่ได้สนใจธุรกิจของครอบครัว 
จึงบอกลาบ้านเกิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เดินทางสู่เมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส 
และเดินทางต่อไปจนถึงเมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ 
 
ในขณะที่อยู่ลอนดอน คุณ Guccio ได้ทำงานเป็นพนักงานยกกระเป๋า ณ โรงแรมซาวอย 
และการที่ได้ถือกระเป๋าให้กับคนรวย ๆ เหล่านี้ ก็ทำให้เขาเริ่มหลงใหลในกระเป๋าขึ้นมา
สุดท้าย คุณ Guccio จึงเดินทางกลับบ้านเกิด เพื่อไปสานต่อธุรกิจของครอบครัว 
ก่อนจะเปิดร้านเครื่องหนัง Gucci ของตัวเอง ในวัย 40 ปี
 
แบรนด์ Gucci ติดตลาดอย่างรวดเร็ว มีลูกค้าทั้งในประเทศ และชาวต่างชาติ 
ต่างเดินทางมาซื้อสินค้าที่ร้านกันอย่างไม่ขาดสาย...
 
ต่อมาในปี 1953 คุณ Guccio ได้เสียชีวิตลง Gucci จึงตกทอดสู่ทายาท รุ่นที่ 2 
ซึ่งจริง ๆ แล้วคุณ Guccio มีลูกทั้งหมด 6 คน เป็นผู้หญิง 2 คน และผู้ชาย 4 คน
แต่ลูกชาย 2 คนของเขา ได้เสียชีวิตไปก่อน ส่วนลูกสาวไม่ได้รับส่วนแบ่งอะไร
ทำให้สุดท้าย หุ้นของ Gucci จึงถูกแบ่งให้กับลูกชายที่เหลืออยู่ คนละ 50%
ซึ่งก็คือ มีอัลโด กุชชี่ (Aldo Gucci) หัวเรือสำคัญเพราะมีความสามารถในการบริหาร 
และ โรดอลโฟ กุชชี่ (Rodolfo Gucci) ก็เข้ามาช่วยดูแลภาพรวมต่าง ๆ
 
คุณ Aldo ลูกชายคนโต เป็นผู้กุมอำนาจควบคุม โดยเขาได้พา Gucci ไปสู่ระดับนานาชาติ 
ด้วยการไปเปิดร้านสาขาแรกที่สหรัฐอเมริกา ก่อนจะขยายไปสู่ประเทศอื่น ๆ
ต่อมาอัลโดก่อตั้ง ‘Gucci Perfumes’ โดยเขาถือหุ้นถึง 80% 
และแบ่งหุ้นที่เหลือเท่า ๆ กันให้กับลูกทั้ง 3 คนและโรดอลโฟ กุชชี่ (Rodolfo Gucci)
และ คุณ Aldo ก็ได้แบ่งหุ้นของ Gucci ที่ตนถืออยู่ ให้กับลูกชาย 3 คน คนละ 3.3% 
โดยที่เขายังคงถืออยู่อีก 40% 
 
แต่แล้วรอยร้าวของตระกูล Gucci ก็ได้เริ่มต้นขึ้น..
เมื่อโรดอลโฟเห็นว่า Gucci Perfumes ทำยอดขายได้ดีอย่างต่อเนื่อง 
เขาก็เริ่มรู้สึกว่าจำนวนหุ้นที่ตนถืออยู่มันไม่สมเหตุสมผลเท่าไหร่นัก 
ทีแรกโรดอลโฟพยายามขอคุยกับอัลโดถึงเรื่องนี้หลายครั้ง แต่อัลโดก็ไม่เคยสนใจ
 ซึ่งทำให้โรดอลโฟเกิดความไม่พอใจอย่างมาก
 
ต่อมา เปาโล กุชชี่ (Paolo Gucci) ลูกชายคนกลางของอัลโด เกิดมีความคิดไม่ลงรอยกับผู้เป็นพ่อ
โดยเขาต้องการจะแตกไลน์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่ดูทันสมัยเพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่อายุน้อย ภายใต้เครือ Gucci
ความคิดนี้ โดนทั้งคุณพ่อและคุณอาขัดขวางเอาไว้ แต่เขาก็ไม่สนใจ และแอบไปเปิดตัวสินค้าแบบลับๆ
แต่แน่นอนว่าความลับไม่มีในโลก เปาโล กุชชี่ (Paolo Gucci) ถูกจับได้ในเวลาต่อมา
ทำให้เขาโดนไล่ออกจากบริษัท และถูกฟ้องร้อง ไม่ให้ใช้ชื่อ Gucci ในการทำธุรกิจ
 
แม้ว่าในขณะนั้น คุณ Paolo จะไม่ได้ทำงานใน Gucci แล้ว แต่ก็อย่าลืมว่า...
ในมือของเขายังมีหุ้นอีก 3.3% ทำให้เขาสามารถเข้าร่วมประชุมของคณะกรรมการบริษัทได้
และเขาก็ใช้โอกาสนี้ก่อกวน ด้วยการตั้งคำถามน่าอายต่าง ๆ ต่อการบริหารงานของพ่อ 
จนสุดท้ายก็นำมาสู่การต่อสู้ที่รุนแรงกลางที่ประชุม
 
ซึ่งการแก้แค้นของคุณ Paolo ยังไม่จบเพียงเท่านี้
เขาได้ฟ้องพ่อของตัวเอง ข้อหาหลบเลี่ยงภาษี จนคุณ Aldo ถูกตัดสินให้จำคุกเป็นปี
เรื่องราวภายในตระกูล Gucci ยังคงทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ
 
เมาริซิโอซึ่งเป็นลูกชายของโรดอลโฟ ก็ใช้จังหวะนี้ฮุบบริษัทมาเป็นของตัวเอง 
โดยอาศัยการยืมมือเปาโลในการโค่นอัลโดลงจากตำแหน่งผู้บริหาร 
ก่อนที่จะแต่งตั้งตัวเองขึ้นเป็นผู้บริหาร Gucci แทน
 
Gucci ในยุคการบริหารของเมาริซิโอถือเป็นยุคมืดของบริษัทอย่างแท้จริง 
เพราะด้วยนิสัยที่ฟุ่มเฟือยบวกกับการบริหารกิจการที่ไม่เก่ง 
ทำให้แบรนด์ Gucci ในเวลานั้นทำยอดขายได้น้อยเป็นปรากฏการณ์ 
แต่ต่อมาสถานการณ์ของบริษัทก็เริ่มดีขึ้นหลังที่เขาประกาศแต่งงาน
 
ใน ปี 1972  เขายังได้แต่งงานกับปาทริเซีย เรจจิอานี มาร์ติเนลลี 
Patrizia Reggiani Martinelli คุณหนูจากครอบครัวที่ร่ำรวย 
ซึ่งพบรักกันในงานปาร์ตีแห่งหนึ่ง ก่อนตัดสินใจลงหลักปักฐานร่วมกัน 
และกลายเป็นคู่รักทรงอิทธิพลในโลกแฟชั่นอีกคู่เลยทีเดียว 
ด้วยความที่แพทริเซีย นั้นดูสวยมีสไตล์ อยู่ในชนชั้นสูง แถมยังฉลาดเฉลียว 
ประกอบกับสถานะการเป็นหัวหน้าใหญ่ของกุชชี่ของเมาริซิโอ 
และการแต่งงานครั้งนี้ทำให้แบรนด์ขยายฐานความมั่นคงได้กว้างขึ้น 
จะมีอะไรดีไปกว่าการที่คนๆ หนึ่งยอมรับทั้งตัวตนของทั้งคู่และแบรนด์ในเวลาเดียว 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มาจากสังคมชนชั้นสูง และการยอมรับนี้ยืนยันพวกเขาพร้อมสนับสนุน
ทั้งคู่รักและกุชชี่ที่กำลังเดินหน้าไปได้สวย ความยิ่งใหญ่แห่งบ้านกุชชี่กำลังเริ่มขยายขึ้นเรื่อยๆ
 
ชีวิตของพวกเขาอู้ฟู่หรูหราราวกับความฝันของใครหลายคน บ้านพักตากอากาศในหลากหลายเมือง 
รวมถึงสกีชาเลต์ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เครื่องบินเจ็ตส่วนตัวและเรือยอร์ชสุดหรู 
แต่ทว่าชีวิตคนเราไม่ได้สวยงามขนาดนั้น จากไลฟ์สไตล์สุดหรูที่มีพ่อคอยโอบอุ้มอยู่ห่างๆ 
ปี 1983 เรื่องน่าเศร้าก็เกิดขึ้นกับเมาริซิโอ...พ่อของเขาเสียชีวิต และนั่นเป็นต้นเหตุความมืดมิด 
ซึ่งมันค่อยๆ คืบคลานมาสู่ครอบครัวของแพทริเซีย และส่งผลต่อวงศาญาติในตระกูลกุชชี่
จากจุดสูงสุด กราฟชีวิตของพวกเขาก็เริ่มดิ่งลงเหว
 
เมาริซิโอได้รับมรดกเป็นหุ้นกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ในบริษัทและขึ้นแท่นหัวเรือใหญ่คอยควบคุมแบรนด์ระดับตำนานนี้ 
แต่โลกของกุชชี่ไม่ได้สวยงามดั่งเช่นก่อนหน้า การรับหน้าที่บริหารไม่ได้ง่ายเหมือนการใช้เงินโปรยเล่นเป็นสายฝน 
เขาอยากจะสร้างความยิ่งใหญ่ในแบบฉบับของตัวเอง
 
แต่ที่ผ่านมา แม้ว่าลุงเปาโล จะมีหุ้นในมือ 40% แต่ก็สามารถกุมอำนาจการบริหาร เอาไว้ได้อย่างมั่นคง
เมาริซิโอmujมีความคิดอยากเปลี่ยนแปลงบริษัท แต่ติดอยู่ที่คุณ Aldo ไม่ยอมรับฟังความเห็นใด ๆ
เพราะสถานการณ์ของ Gucci ในตอนนั้น แม้ว่าจะทำกำไรได้ดี แต่ภาพลักษณ์กลับไม่ใช่แบรนด์หรู เหมือนในอดีต 
เพราะใคร ๆ ก็เข้าถึงได้ด้วยราคาที่ต่ำลง และสินค้าที่มีวางขายอยู่ตามร้านค้าทั่วไป 
ประกอบกับการนำวัสดุอย่างผ้าใบ มาใช้ทำกระเป๋า
เมาริซิโอมีความต้องการที่ฟื้นคืนกลิ่นอายความหรูหราของแบรนด์ Gucci 
จึงได้หันไปทำข้อตกลงกับลูกพี่ลูกน้อง ด้วยการให้เปาโล โหวตให้เขามีอำนาจควบคุม Gucci
ส่วนเปาโล ก็ต้องการให้เมาริซิโอซื้อหุ้นของเขา เนื่องจากต้องการเงินสด มาตั้งบริษัทของตัวเอง

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตอนนี้ Gucci จะเข้ามาอยู่ในมือของเมาริซิโอแล้วตามที่ตกลงกันไว้ 
แต่เส้นทางแห่งการเป็นผู้บริหาร Gucci มันก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ
เปาโล หันกลับไปร่วมมือกับคุณพ่อและพี่น้องของเขา ในการต่อสู้เพื่อแย่งสิทธิ์บริหารกลับคืนมา 
โจมตีเมาริซิโอ เช่น ฟ้องร้องเรื่องการเลี่ยงภาษีมรดก จนทำให้เขาต้องหนีไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์ 
เพื่อหนีการจับกุม ก่อนจะกลับมาสู้คดีจนไม่ต้องจำคุก
ทางด้านเมาริซิโอ จึงคิดได้ว่า การจะจบปัญหาการแย่งชิงอำนาจและสิทธิ์การบริหาร Gucci นั้น
เขาจำเป็นจะต้องซื้อหุ้นจากญาติทั้งหมดมา แต่ตอนนั้นเขามีเงินไม่พอ จะทำอย่างไรละ เขาต้องหานักลงทุน
เมื่อคิดได้แบบนั้น เขาจึงไปติดต่อนักลงทุนภายนอกอย่าง Investcorp  บริษัทลงทุนชื่อดัง 
ให้เข้ามาช่วยซื้อหุ้นที่เหลือจากตระกูลกุชชี่คนอื่น 
และแล้วปัญหาความขัดแย้งในแนวทางการบริหารแบรนด์ครอบครัว
ก็หมดไป เพราะ  เมาริซิโอเขาครอบครองมันไว้โดยมีบริษัทเงินทุนหนุนหลัง
 
ความบาดหมางไม่ได้เกิดแค่กับญาติ มีข่าวว่าในปี 1985 เขาต้องไปทริปเจรจาธุรกิจ 
แต่เขากลับไปหาหญิงสาวคนหนึ่ง แน่นอนว่าทายาทหนุ่มแห่งกุชชี่ไม่กลับบ้าน 
และนี่จะกำลังจะทำให้เขาเสียทุกอย่างไป ความเสเพลเริ่มทำร้ายตัวเขาเอง ธุรกิจก็เอาไม่รอด
 
ต่อมาในปี 1988 เมาริซิโอถูกบังคับขายหุ้นของ Gucci 50% ที่ถืออยู่ ให้กับ Investcorp  
และในปี 1993 เขาก็ได้ขายหุ้นที่เหลือของตัวเองจนหมดเกลี้ยง
แปลว่าตอนนี้ Gucci ก็ไม่ได้เป็นธุรกิจของตระกูล Gucci อีกต่อไป
 
“ดื้อและหัวรั้น” คำนิยามของเมาริซิโอ แพทริเซียระบุว่า 
“ฉันโมโหเมาริซิโอหลายครั้งมาก แต่จากทั้งหมดทั้งมวลการเสียธุรกิจครอบครัวเป็นเรื่องที่โง่มาก 
และมันคือความล้มเหลว” หลังจากมีปัญหากันมาอยู่พักใหญ่ 
คู่รักทรงอิทธิพลก็หย่าร้างอย่างเป็นทางการ ในปี 1994 
เมาริซิโอต้องจ่ายค่าชดเชยรายปีให้กับแพทริเซียปีละกว่าหลายแสนเหรียญสหรัฐฯ 
เรื่องราวที่ควรจะจบลงกลับวุ่นวายอีกครั้ง ในปี 1995 ร่างไร้วิญญาณของเมาซิโอถูกพบหน้าบริษัท 
ท่ามกลางข่าวลือว่าปาทริเซียอดีตภรรยาคือผู้จ้างวานฆ่าเขา
 
เช้าวันที่ 27 มีนาคมปี 1995 เวลาประมาณ 8 โมงครึ่ง จูเซปเป้ ชายหนุ่มเฝ้าหน้าประตู 
เตรียมพร้อมต้อนรับเจ้านายเข้าออฟฟิศตามปกติ 
แต่ทันใดนั้นเขาก็เห็นมือข้างหนึ่งของชายปริศนา
ยกปืนขึ้นและลั่นรัวไปบริเวณหลังของเมาริซิโอถึง 3 นัด เช้าอันสวยงาม 
มือถือนิตยสาร แต่ร่างเขากลับล้มลงกับพื้น 
ตอนนั้นเขาคิดว่าเป็นเหตุการณ์ล้อเล่น หลังจากนั้นกระสุนนัดที่ 4 ตามมาติดๆ 
ตอนนี้จูเซปเป้แทบจะรู้ทันทีว่าเจ้านายสิ้นลมหายใจ แต่เท่านั้นยังไม่พอ 
“ฆาตกรสบตาผม และลั่นไกใส่ร่างนายใหญ่ของกุชชี่อีก 2 นัด” จูเซปเป้กล่าว 
กระสุน 6 นัดปลิดชีพชายวัยกลางคนชนิดไม่มีโอกาสลุ้นรอด ลูกน้องหน้าออฟฟิศทำได้เพียง..
โอบอุ้มศีรษะที่นองไปด้วยเลือดของเขาเอาไว้ เหตุการณ์นี้ทำให้ชายหนุ่มเฝ้าหน้าประตู
กลายเป็นโรคตื่นกลัวเมื่อเห็นคนแปลกหน้าท่าทางมีพิรุธตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
 
ผู้ต้องสงสัยรายสำคัญคงหนีไม่พ้นแพทริเซียผู้โกรธแค้น 
และผู้ต้องสงสัยกลายเป็นผู้ต้องหาในเวลาไม่นาน 
ภายหลังมีการสืบสวน ตำรวจพบหลักฐานที่โย่งถึงอดีตภรรยาแพทริเซีย 
เป็นหนังสือสัญญาการหย่าที่ข้างในระบุรายละเอียดไว้ว่า 
เมาริซิโอจะต้องจ่ายเงินค่าเลี้ยงดูอดีตภรรยาจำนวน 1,130,000 ต่อปี 
บวกกับตัวแพทริเซียไม่พอใจที่เมาริซิโอขายหุ้นออกอย่างไร้ค่า 
ทั้ง ๆ เป็นหุ้นที่เธอช่วยสร้างมูลค่าขึ้นมากับมือ 
ซึ่งในท้ายที่สุดตำรวจก็ได้สันนิษฐานว่าเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ 
เหล่านี้เนี่ยแหละอาจเป็นมูลเหตุจูงใจของคดีนี้
 
ต่อมาวันที่ 31 มกราคม 1997 แพทริเซียถูกจับ 
และปี 1998 ศาลพิพากษาให้มือปืนได้นอนเรือนจำไปทั้งชีวิต 
ส่วนแพททริเซียโดนพิพากษาลงโทษจำคุก 29 ปีจากข้อหาจ้างวานฆ่า
แต่เมื่ออยู่ในคุกและมีการประพฤติตนดี ศาลจึงลดโทษเหลือเพียง 18 ปี 
ก่อนที่ในปี 2016 เธอก็ได้พ้นโทษและกลับมาใช้ชีวิตสู่โลกภายนอกอีกครั้ง 
หลังจากที่เธอออกจากคุก เธอให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า เธอสายตาไม่ดีและไม่อยากยิงพลาด 
จึงได้จ้างวานมือปืนมายิงเมาริซิโอ อีกทั้งยังกล่าวเพิ่มเติมว่า แม้เวลาจะผ่านมานานแล้ว 
แต่เธอก็ยังรู้สึกผิดและอยากขอโทษอดีตสามีอีกครั้งถ้ามีโอกาส...

ยังมีต่อนะคะ....
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่