คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
...มาจะอธิบายให้ฟัง เอาแบบละเอียดเลยจะได้หายงง
- สถาบันหรือมหาวิทยาลัยเค้าวางหลักสูตรไว้เพื่อให้เด็กที่จบมามีความรู้พื้นฐานไปประกอบอาชีพในสายการบิน ในตำแหน่งต่างๆ มันเป็นความคิดและความคาดหวังของมหาวิทยาลัย ซึ่งถ้าเค้าบอกว่าเรียนจบคณะนี้แล้วสามารถทำงานตำแหน่งไหนได้บ้าง คุณก็หาข้อมูลไว้เป็นแนวทางไปก่อน แต่ประเด็นสำคัญมันอยู่ที่สายการบินว่าเค้าจ้างคุณไปทำอะไร และตำแหน่งงานที่เค้าจะบรรจุให้นั้นเค้าต้องการคุณสมบัติอย่างไร ....มาดูในรายละเอียดกัน
- ตำแหน่งช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน สายการบินมักจะกำหนดคุณวุติ ปวสซ่อมบำรุงอากาศยาน หรือคณะอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น วิศวกรรมการบิน วิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน หรือ เทคโนโลยีซ่อมบำรุงอากาศยาน คณะเหล่านี้ถือว่าเป็นคณะที่เกี่ยวข้องกับอากาศยานไปสมัครได้หมด หรือแม้แต่บางครั้งสายการบินกำหนดแค่ วุฒิขั้นต่ำปวส ในกรณีนี้ใครจบ ปวส หรือ วิศวกรรมคณะต่างๆก็ไปสมัครได้ แต่ใครจะสอบผ่านการคัดเลือกมันก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แน่นอนว่าคนที่เรียนจบซ่อมบำรุงอากาศยานมาโดยตรงย่อมได้เปรียบในการทำข้อสอบ
- ตำแหน่งวิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยาน อันนี้ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ตำแหน่งวิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยาน คือคนที่ทำและควบคุมการซ่อมบำรุง
เป็นคนเซ็นต์รับรองการซ่อมบำรุง และเป็นคนเซ็นต์ปล่อยเครื่องบิน วิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยานต้องมีใบรับรองนายช่างภาคพื้นดิน หรือ ( Aircraft Maintenance Engineer License ) ส่วนบุคคลอื่นเช่น วิศวกรวางแผนซ่อมบำรุงอากาศยาน ( Planning engineer ) หรือ วิศวกรสนับสนุนทางเทคนิด ( Technical support engineer ) หรือ วิศวกรระบบ ( System engineer , Structure engineer,...) วิศวกรตำแหน่งเหล่านี้ไม่ถือว่าเป็น วิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยาน ไม่มีใบรับรอง เซ็นต์รับรองการซ่อมบำรุงไม่ได้ และเซ็นต์ปล่อยเครื่องบินไม่ได้ เวลาพูดถึงวิศวกรในสายการบินต้องระบุให้ชัดว่าเป็นวิศวกรประเภทไหน
- ตำแหน่งวิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยาน นั้นตามกฏหมาย พ.ร.บ. การบิน กำหนดไว้ว่าจะต้องเป็นบุคคลที่ถือใบรับรองนายช่างภาคพื้นดิน หรือ Licence และ ยังกำหนดไว้ว่า บุคคลที่มีสิทธิสมัครสอบใบรับรองนั้น จะต้องผ่านการทำงานตำแหน่งช่างซ่อมอากาศยาน มีประสบการณ์ครบ 4 ปี
เพราะฉะนั้น ใครก็ตามที่ทำงานกับสายการบิน ตำแหน่งช่างซ่อมอากาศยาน ไม่ว่าจะจบ ปวส หรือ วิศวกรรม เมื่อทำงานครบ 4 ปีก็มีสิทธิไปสอบเอาใบรับรองนายช่างภาคพื้นดิน หลังจากได้ใบรับรองมาแล้ว ก็มีสิทธิที่จะได้รับการพิจรณาเข้าอบรม Type Rating course เช่น Airbus A320, A330,B737,B777,B787 หลังจากนั้นก็จะได้รับการพิจรณาเลื่อนขั้นจากช่าง ขึ้นไปเป็น วิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยาน
- เพราะฉะนั้น ถ้าหากมหาวิทยาลัยบอกว่าเรียนคณะวิศกรรมการบินและอาวกาศ, คณะวิศกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน, คณะเทคโนโลยีซ่อมบำรุงอากาศยาน จบแล้วสามารถไปสมัครเป็นช่างซ่อมบำรุงได้ ก็ถูกครับไปสมัครได้จริง และถ้าสอบผ่านก็สามารถทำงานเป็นช่างซ่อมอากาศยานได้จริง
แต่ถ้าบอกว่าจบแล้ว สามารถทำงานเป็นวิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยานได้ อันนี้ยังก่อนครับ คุณต้องไปสมัครเป็นช่างทำงานเป็นช่างซ่อมอากาศยานก่อน 4 ปีตามที่กฏหมายกำหนด สายการบินไม่รับเด็กจบใหม่ไปเป็นวิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยาน ตามอธิบายไว้ข้างบนครับ
- แต่ถ้าสายการบินเปิดรับตำแหน่งวิศวกรอื่นๆเช่น Planning engineer, Technical support engineer, System engineer ตำแหน่งเหล่านี้จบวิศวกรรมการบิน หรือ วิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน คุณสมัครได้เลย ถ้าสอบผ่านก็เป็นวิศวกรตำแหน่งนั้นๆได้เลยไม่ต้องมีประสบการณ์มาก่อนก็ได้ แต่คุณจะไปเป็นวิศวกรซ่อมบำรุงไม่ได้ ไปเซ็นต์เครื่องบินไม่ได้ เพราะว่าคุณไม่มีใบรับรองนายช่างภาคพื้นดิน
ตามนี้ครับ ......
- สถาบันหรือมหาวิทยาลัยเค้าวางหลักสูตรไว้เพื่อให้เด็กที่จบมามีความรู้พื้นฐานไปประกอบอาชีพในสายการบิน ในตำแหน่งต่างๆ มันเป็นความคิดและความคาดหวังของมหาวิทยาลัย ซึ่งถ้าเค้าบอกว่าเรียนจบคณะนี้แล้วสามารถทำงานตำแหน่งไหนได้บ้าง คุณก็หาข้อมูลไว้เป็นแนวทางไปก่อน แต่ประเด็นสำคัญมันอยู่ที่สายการบินว่าเค้าจ้างคุณไปทำอะไร และตำแหน่งงานที่เค้าจะบรรจุให้นั้นเค้าต้องการคุณสมบัติอย่างไร ....มาดูในรายละเอียดกัน
- ตำแหน่งช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน สายการบินมักจะกำหนดคุณวุติ ปวสซ่อมบำรุงอากาศยาน หรือคณะอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น วิศวกรรมการบิน วิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน หรือ เทคโนโลยีซ่อมบำรุงอากาศยาน คณะเหล่านี้ถือว่าเป็นคณะที่เกี่ยวข้องกับอากาศยานไปสมัครได้หมด หรือแม้แต่บางครั้งสายการบินกำหนดแค่ วุฒิขั้นต่ำปวส ในกรณีนี้ใครจบ ปวส หรือ วิศวกรรมคณะต่างๆก็ไปสมัครได้ แต่ใครจะสอบผ่านการคัดเลือกมันก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แน่นอนว่าคนที่เรียนจบซ่อมบำรุงอากาศยานมาโดยตรงย่อมได้เปรียบในการทำข้อสอบ
- ตำแหน่งวิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยาน อันนี้ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ตำแหน่งวิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยาน คือคนที่ทำและควบคุมการซ่อมบำรุง
เป็นคนเซ็นต์รับรองการซ่อมบำรุง และเป็นคนเซ็นต์ปล่อยเครื่องบิน วิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยานต้องมีใบรับรองนายช่างภาคพื้นดิน หรือ ( Aircraft Maintenance Engineer License ) ส่วนบุคคลอื่นเช่น วิศวกรวางแผนซ่อมบำรุงอากาศยาน ( Planning engineer ) หรือ วิศวกรสนับสนุนทางเทคนิด ( Technical support engineer ) หรือ วิศวกรระบบ ( System engineer , Structure engineer,...) วิศวกรตำแหน่งเหล่านี้ไม่ถือว่าเป็น วิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยาน ไม่มีใบรับรอง เซ็นต์รับรองการซ่อมบำรุงไม่ได้ และเซ็นต์ปล่อยเครื่องบินไม่ได้ เวลาพูดถึงวิศวกรในสายการบินต้องระบุให้ชัดว่าเป็นวิศวกรประเภทไหน
- ตำแหน่งวิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยาน นั้นตามกฏหมาย พ.ร.บ. การบิน กำหนดไว้ว่าจะต้องเป็นบุคคลที่ถือใบรับรองนายช่างภาคพื้นดิน หรือ Licence และ ยังกำหนดไว้ว่า บุคคลที่มีสิทธิสมัครสอบใบรับรองนั้น จะต้องผ่านการทำงานตำแหน่งช่างซ่อมอากาศยาน มีประสบการณ์ครบ 4 ปี
เพราะฉะนั้น ใครก็ตามที่ทำงานกับสายการบิน ตำแหน่งช่างซ่อมอากาศยาน ไม่ว่าจะจบ ปวส หรือ วิศวกรรม เมื่อทำงานครบ 4 ปีก็มีสิทธิไปสอบเอาใบรับรองนายช่างภาคพื้นดิน หลังจากได้ใบรับรองมาแล้ว ก็มีสิทธิที่จะได้รับการพิจรณาเข้าอบรม Type Rating course เช่น Airbus A320, A330,B737,B777,B787 หลังจากนั้นก็จะได้รับการพิจรณาเลื่อนขั้นจากช่าง ขึ้นไปเป็น วิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยาน
- เพราะฉะนั้น ถ้าหากมหาวิทยาลัยบอกว่าเรียนคณะวิศกรรมการบินและอาวกาศ, คณะวิศกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน, คณะเทคโนโลยีซ่อมบำรุงอากาศยาน จบแล้วสามารถไปสมัครเป็นช่างซ่อมบำรุงได้ ก็ถูกครับไปสมัครได้จริง และถ้าสอบผ่านก็สามารถทำงานเป็นช่างซ่อมอากาศยานได้จริง
แต่ถ้าบอกว่าจบแล้ว สามารถทำงานเป็นวิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยานได้ อันนี้ยังก่อนครับ คุณต้องไปสมัครเป็นช่างทำงานเป็นช่างซ่อมอากาศยานก่อน 4 ปีตามที่กฏหมายกำหนด สายการบินไม่รับเด็กจบใหม่ไปเป็นวิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยาน ตามอธิบายไว้ข้างบนครับ
- แต่ถ้าสายการบินเปิดรับตำแหน่งวิศวกรอื่นๆเช่น Planning engineer, Technical support engineer, System engineer ตำแหน่งเหล่านี้จบวิศวกรรมการบิน หรือ วิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน คุณสมัครได้เลย ถ้าสอบผ่านก็เป็นวิศวกรตำแหน่งนั้นๆได้เลยไม่ต้องมีประสบการณ์มาก่อนก็ได้ แต่คุณจะไปเป็นวิศวกรซ่อมบำรุงไม่ได้ ไปเซ็นต์เครื่องบินไม่ได้ เพราะว่าคุณไม่มีใบรับรองนายช่างภาคพื้นดิน
ตามนี้ครับ ......
แสดงความคิดเห็น
วศ.บ. วิศวกรรมการบินและอวกาศ, วิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน และ เทคโนโลยีวิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน ต่างยังไง