สอบถาม !! ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544

ระยะร่น คือ ระยะห่างที่วัดจากตำแหน่งบนทางสาธารณะจนถึงแนวอาคาร ซึ่งมีทั้งการวัดจากเขตถนนและวัดจุดกึ่งกลางถนน โดยระยะร่นบ้านเดี่ยว ตึกแถว และอาคารสำนักงาน ก็จะแตกต่างกันไปตามประเภทอาคารและขนาดของถนน ซึ่งระยะร่นจะต้องเป็นพื้นที่ว่างจากถนนจนถึงอาคาร โดยไม่สนใจแนวเขตที่ดินที่จะสร้างอาคารนั้น

ส่วนที่เว้นว่าง คือ ระยะห่างที่วัดจากแนวเขตที่ดินจนถึงแนวอาคารทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้าง ซึ่งกฎหมายได้กำหนดที่เว้นว่างไว้ทั้งอาคารเดี่ยวและอาคารชุดที่เรียงติดกัน ดังนั้น ที่เว้นว่างกับระยะร่นบ้านจึงมีความแตกต่างกัน โดยมีรายละเอียดตามกฎกระทรวงฯ ที่สรุปเฉพาะหัวข้อที่จำเป็นต้องทราบ
ที่อยู่อาศัย ต้องมีที่ว่างภายนอกอาคารไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ชั้นที่กว้างที่สุด

ระยะร่นจากแนวเขตที่ดินผู้อื่น
อาคารความสูงไม่เกิน 9 เมตร ด้านข้างอาคารที่ติดแนวเขตที่ดินผู้อื่น มีช่องเปิด ระยะถอยร่นอาคารจากขอบเขตที่ดิน อย่างน้อย 2 เมตร
หมายเหตุ ช่องเปิด หมายถึง ประตู หน้าต่าง รวมถึงช่องแสง บล็อคแก้ว ช่องลม และระเบียง

กฎหมายควบคุมอาคารตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ที่ว่างโดยรอบอาคาร
อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 15 เมตร ต้องมีที่ว่างโดยรอบไม่น้อยกว่า 1 เมตร ยกเว้นบ้านพักอาศัยที่มีพื้นที่ไม่เกิน 300 ตารางเมตร

คำถาม !!
คือบ้านของผมเป็นบ้านเดี่ยว สูงไม่เกิน 9 เมตร พื้นที่ 190 ตารางเมตร
ทีนี้ผมต่อเติม โรงจอดรถกับหลังบ้าน สร้างแค่เสากับหลังคาไม่มีผนัง
เสาข้างบ้านกับเสาหลังบ้านเว้นห่างจากเพื่อนบ้าน 50 ซม.
ส่วนเสาหน้าบ้านไม่ได้เว้นห่างแต่สร้างอยู่ในพื้นที่ของบ้านเรา

แล้วทีนี้ทางเขตแจ้งมาว่า บ้านคุณ หน้าบ้านหลังบ้าน 2 เมตร ข้างบ้าน 1 เมตร คือที่ว่าง
แล้วทีนี้ ทางเขตก็มีกฎหมายพื้นที่สี ย.2 กฎกระทรวง ให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556

แล้วในกฎหมายข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
เรือง ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 เหมือนมันขัดกันยังไง ???

คือผมต้องทำยังไง ???
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่