ก่อนอื่น ถ้าย้อนกลับไปเมื่อประมาณเกือบ 10 ปีที่แล้ว ตอนนั้นผมเพิ่งเริ่มศึกษาธรรมะใหม่ๆ และแน่นอนว่า เพิ่งเข้ามาที่พันทิปห้องศาสนาเป็นครั้งแรกนี้ด้วย (ผมเข้ามาหลังน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพประมาณ 1-2 ปี)
ตอนนั้น กระทู้ในห้องศาสนาส่วนใหญ่ ถ้าพูดถึงการปฏิบัติ ใน 10 กระทู้จะเป็นเรื่องการนั่งสมาธิ 9 กระทู้ ไม่แน่ใจว่าอาจจะทั้ง 10 กระทู้เลยก็ได้ ถึงขนาดผมเคยตั้งกระทู้หนึ่งขึ้นมาว่า อยากให้เปลี่ยนจากการนั่งสมาธิเป็นการเจริญสติ ประมาณนี้
พอมาถึงปัจจุบัน กระทู้ที่พูดถึงการนั่งสมาธิเวลาที่คนถามเรื่องการปฏิบัติธรรมก็แทบจะไม่มีอีกเลย ส่วนใหญ่ก็จะพูดถึงการเจริญสติ เรียกว่ากลับกัน
ผมไม่ได้จะอวดอ้างว่าตัวเองมีส่วนใดๆ ที่เป็นแบบนี้ก็อาจจะเป็นเพราะตอนนั้นเป็นยุคของวัดธรรมกาย ที่เน้นเรื่องการนั่งสมาธิ นั่งแล้วได้ไปดินแดนนิพพาน ไปดุสิตบุรี เห็นนิมิต เห็นนรก เห็นสวรรค์ แต่พอหมดยุคของวัดธรรมกาย เรื่องการนั่งสมาธิก็ลดน้อยลงไป
รวมถึงความเข้าใจธรรมะของชาวพุทธห้องศาสนาก็อาจจะเพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งในความเห็นผม น่าจะเป็นกรณีหลังมากกว่า
แต่มีประเด็นสำคัญที่ผมอยากจะพูดถึงและตั้งเป็นกระทู้นี้ขึ้นมา และผมคิดว่าผมเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ควรจะมาทำความเข้าใจ ประเด็นที่ว่านั้นก็คือ
คำว่า เจริญสติ ที่จริงแล้ว ถ้าจะพูดให้ชัดเจนหรือเข้าใจถูกต้องจริงๆ และเป็นการพูดแบบย่อๆ สั้นๆ ควรใช้คำว่า "ฝึกสติ" หรือถ้าจะใช้คำว่าเจริญก็อาจจะเป็น "เจริญปัญญา" ก็ได้
เพราะคำว่า เจริญสติ เป็นคำที่ย่อมาจาก "เจริญสติปัฏฐานสี่" ไม่ใช่เจริญสติเฉยๆ
บางคนพอได้ยินคำว่า เจริญสติ ก็คิดไปว่าทำสติให้เจริญ แต่ที่จริงคือ ทำสติปัฏฐานให้เจริญ
ถามว่า แล้วคำว่าเจริญสติมาจากไหน?
ผมก็ไม่รู้ที่มาแน่ชัด แต่ที่พอรู้ก็คือครูบาอาจารย์หรือฆราวาสธรรมบางท่าน ยกตัวอย่างเช่นอาจารย์ธีรยุทธ เวชเจริญยิ่ง ซึ่งท่านตั้งหัวข้อในการบรรยายว่า "การเจริญสติในชีวิตประจำวัน"
แต่ในการบรรยายของท่าน ท่านจะพูดถึง การเจริญสติปัฏฐานทั้งสี่ และพูดแบบย่อๆ คือ การเจริญสติ
ถามว่า แล้วครูบาอาจารย์ในสมัยอดีตท่านใช้คำว่าอะไร?
ปกติเวลาที่ผมจะตั้งกระทู้ผมมักจะต้องไปหาคลิปมาฟังก่อน แต่สำหรับครั้งนี้ต้องบอกว่าไม่มีเวลาขนาดนั้น แต่ที่ผมสุ่มฟังคร่าวๆ ก็มีท่านพุทธทาส ใช้คำว่า "ฝึกสติ" หลวงพ่อพุธก็น่าจะใช้คำว่าฝึกสติเช่นกัน
ดังนั้น ผมจะขอสรุปคร่าวๆ ก่อนว่า ครูบาอาจารยในอดีต ท่านน่าจะใช้คำว่า "การฝึกสติ" เช่นเดียวกัน เช่น หลวงพ่อชา ซึ่งผมยังไม่มีโอกาสฟัง ก็ฝากเพื่อนสมาชิกลองฟังกันดู
ส่วนครูบาอาจารย์ท่านอื่นๆ ยกตัวอย่างหลวงพ่อปราโมทย์ ท่านใช้คำว่า "เจริญปัญญา" ท่านแทบไม่ได้ใช้คำว่าเจริญสติเฉยๆ ถ้าจะใช้ก็คือแบบเต็มๆ คือ เจริญสติปัฏฐาน
อย่างไรก็ตาม ผมไม่ได้บอกว่าการใช้คำว่าการเจริญสติไม่ถูกต้อง ขอเพียงให้รู้ว่าเป็นคำย่อมาจากเจริญสติปัฏฐานสี่เท่านั้น และหากจะใช้คำว่า ฝึกสติ ผมกลับคิดว่าเป็นคำที่เหมาะสมดี ควรพูดถึงบ่อยๆ รวมถึงเจริญปัญญาแบบหลวงพ่อปราโมทย์ด้วย
เพราะจุดประสงค์ของการปฏิบัติ ก็เพื่อเป็นการฝึกสติ เพื่อเจริญปัญญา
ก็ขอฝากเรื่องนี้ไว้ และขอเสริมสุดท้ายไปด้วยเลยว่า ในการเจริญสติปัฏฐาน เป็นการสร้างเหตุเท่านั้น ผลจะเกิดขึ้นของมันเอง เราไม่ได้เจริญสิปัฏฐานเพื่ออะไร คอยรู้สึกตัวไปเรื่อยๆ เดี๋ยวผลมันจะเกิดของมันเอง
กระทู้นี้ผมตั้งขึ้นมาโดยที่ยังไม่ได้เตรียมข้อมูลใดๆ อาจจะมีขาดตกบกพร่องหรือผิดพลาดในการอ้างอิงได้ แต่ถ้ารอให้ถึงวันที่พร้อมผมอาจจะไม่มีโอกาสมาตั้งกระทู้ ผมเลยตัดสินใจตั้งกระทู้ขึ้นมาก่อนเลย ก็ขอฝากเรื่องนี้ไว้ต่อยอดกัน (โดยเฉพาะคำว่า เจริญสติ หมายถึง เจริญสติปัฏฐานสี่ เป็นประเด็นสำคัญของกระทู้นี้)
เจริญสติ VS ฝึกสติ
ตอนนั้น กระทู้ในห้องศาสนาส่วนใหญ่ ถ้าพูดถึงการปฏิบัติ ใน 10 กระทู้จะเป็นเรื่องการนั่งสมาธิ 9 กระทู้ ไม่แน่ใจว่าอาจจะทั้ง 10 กระทู้เลยก็ได้ ถึงขนาดผมเคยตั้งกระทู้หนึ่งขึ้นมาว่า อยากให้เปลี่ยนจากการนั่งสมาธิเป็นการเจริญสติ ประมาณนี้
พอมาถึงปัจจุบัน กระทู้ที่พูดถึงการนั่งสมาธิเวลาที่คนถามเรื่องการปฏิบัติธรรมก็แทบจะไม่มีอีกเลย ส่วนใหญ่ก็จะพูดถึงการเจริญสติ เรียกว่ากลับกัน
ผมไม่ได้จะอวดอ้างว่าตัวเองมีส่วนใดๆ ที่เป็นแบบนี้ก็อาจจะเป็นเพราะตอนนั้นเป็นยุคของวัดธรรมกาย ที่เน้นเรื่องการนั่งสมาธิ นั่งแล้วได้ไปดินแดนนิพพาน ไปดุสิตบุรี เห็นนิมิต เห็นนรก เห็นสวรรค์ แต่พอหมดยุคของวัดธรรมกาย เรื่องการนั่งสมาธิก็ลดน้อยลงไป
รวมถึงความเข้าใจธรรมะของชาวพุทธห้องศาสนาก็อาจจะเพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งในความเห็นผม น่าจะเป็นกรณีหลังมากกว่า
แต่มีประเด็นสำคัญที่ผมอยากจะพูดถึงและตั้งเป็นกระทู้นี้ขึ้นมา และผมคิดว่าผมเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ควรจะมาทำความเข้าใจ ประเด็นที่ว่านั้นก็คือ
คำว่า เจริญสติ ที่จริงแล้ว ถ้าจะพูดให้ชัดเจนหรือเข้าใจถูกต้องจริงๆ และเป็นการพูดแบบย่อๆ สั้นๆ ควรใช้คำว่า "ฝึกสติ" หรือถ้าจะใช้คำว่าเจริญก็อาจจะเป็น "เจริญปัญญา" ก็ได้
เพราะคำว่า เจริญสติ เป็นคำที่ย่อมาจาก "เจริญสติปัฏฐานสี่" ไม่ใช่เจริญสติเฉยๆ
บางคนพอได้ยินคำว่า เจริญสติ ก็คิดไปว่าทำสติให้เจริญ แต่ที่จริงคือ ทำสติปัฏฐานให้เจริญ
ถามว่า แล้วคำว่าเจริญสติมาจากไหน?
ผมก็ไม่รู้ที่มาแน่ชัด แต่ที่พอรู้ก็คือครูบาอาจารย์หรือฆราวาสธรรมบางท่าน ยกตัวอย่างเช่นอาจารย์ธีรยุทธ เวชเจริญยิ่ง ซึ่งท่านตั้งหัวข้อในการบรรยายว่า "การเจริญสติในชีวิตประจำวัน"
แต่ในการบรรยายของท่าน ท่านจะพูดถึง การเจริญสติปัฏฐานทั้งสี่ และพูดแบบย่อๆ คือ การเจริญสติ
ถามว่า แล้วครูบาอาจารย์ในสมัยอดีตท่านใช้คำว่าอะไร?
ปกติเวลาที่ผมจะตั้งกระทู้ผมมักจะต้องไปหาคลิปมาฟังก่อน แต่สำหรับครั้งนี้ต้องบอกว่าไม่มีเวลาขนาดนั้น แต่ที่ผมสุ่มฟังคร่าวๆ ก็มีท่านพุทธทาส ใช้คำว่า "ฝึกสติ" หลวงพ่อพุธก็น่าจะใช้คำว่าฝึกสติเช่นกัน
ดังนั้น ผมจะขอสรุปคร่าวๆ ก่อนว่า ครูบาอาจารยในอดีต ท่านน่าจะใช้คำว่า "การฝึกสติ" เช่นเดียวกัน เช่น หลวงพ่อชา ซึ่งผมยังไม่มีโอกาสฟัง ก็ฝากเพื่อนสมาชิกลองฟังกันดู
ส่วนครูบาอาจารย์ท่านอื่นๆ ยกตัวอย่างหลวงพ่อปราโมทย์ ท่านใช้คำว่า "เจริญปัญญา" ท่านแทบไม่ได้ใช้คำว่าเจริญสติเฉยๆ ถ้าจะใช้ก็คือแบบเต็มๆ คือ เจริญสติปัฏฐาน
อย่างไรก็ตาม ผมไม่ได้บอกว่าการใช้คำว่าการเจริญสติไม่ถูกต้อง ขอเพียงให้รู้ว่าเป็นคำย่อมาจากเจริญสติปัฏฐานสี่เท่านั้น และหากจะใช้คำว่า ฝึกสติ ผมกลับคิดว่าเป็นคำที่เหมาะสมดี ควรพูดถึงบ่อยๆ รวมถึงเจริญปัญญาแบบหลวงพ่อปราโมทย์ด้วย
เพราะจุดประสงค์ของการปฏิบัติ ก็เพื่อเป็นการฝึกสติ เพื่อเจริญปัญญา
ก็ขอฝากเรื่องนี้ไว้ และขอเสริมสุดท้ายไปด้วยเลยว่า ในการเจริญสติปัฏฐาน เป็นการสร้างเหตุเท่านั้น ผลจะเกิดขึ้นของมันเอง เราไม่ได้เจริญสิปัฏฐานเพื่ออะไร คอยรู้สึกตัวไปเรื่อยๆ เดี๋ยวผลมันจะเกิดของมันเอง
กระทู้นี้ผมตั้งขึ้นมาโดยที่ยังไม่ได้เตรียมข้อมูลใดๆ อาจจะมีขาดตกบกพร่องหรือผิดพลาดในการอ้างอิงได้ แต่ถ้ารอให้ถึงวันที่พร้อมผมอาจจะไม่มีโอกาสมาตั้งกระทู้ ผมเลยตัดสินใจตั้งกระทู้ขึ้นมาก่อนเลย ก็ขอฝากเรื่องนี้ไว้ต่อยอดกัน (โดยเฉพาะคำว่า เจริญสติ หมายถึง เจริญสติปัฏฐานสี่ เป็นประเด็นสำคัญของกระทู้นี้)