โควิดวันนี้ ติดเชื้อเพิ่ม 8,158 ราย เสียชีวิต 15 ราย
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3130951
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 เผยแพร่ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันศุกร์ที่ 14 มกราคม 2565 รวม 8,158 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยใน
ประเทศ 7,916 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 242 ราย ผู้ป่วยสะสม 85,180 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้าน 3,942 ราย หายป่วยสะสม 43,428 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 74,795 ราย และ เสียชีวิต 15 ราย
'มูลนิธิสืบฯ' สะท้อนเสือโคร่งถูกล่า งบดูแลป่าหาย แนะเจียดงบซื่ออาวุธ เอามาดูแลทรัพยากร
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6832928
‘มูลนิธิสืบฯ’ สะท้อนเสือโคร่งถูกล่า งบดูแลป่าหาย คุณภาพชีวิต จนท. 10 ปี เหมือนเดิม ได้เงินเดือนเพียง 6-7 พันบาท แนะ ครม. เจียดงบซื่ออาวุธดูแลทรัพยากร
กรณี 5 นายพราน ตั้งแคมป์นำวัวมาเป็นเหยื่อล่อสัตว์ออกจากป่ามากินเป็นอาหาร แล้วใช้อาวุธปืนยิงเสือโคร่ง 2 ตัว นำมาแร่เนื้อแล้วถลกเอาหนัง ขณะพนักงานพิทักษ์ป่าอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ กำลังเข้าจับกุม แต่กลุ่มนายพรานเกิดไหวตัวทันวิ่งหลบหนีไปได้อย่างหวุดหวิด เหตุเกิดที่บริเวณป่าห้วยปิล็อก ม.4 ต.ปิล็อก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ในเขตอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ และป่าสงวนแห่งชาติเขาช้างเผือก ช่วงวันที่ 8-11 ม.ค.ที่ผ่านมา ตามที่เสนอข่าวไปแล้ว
ต่อเรื่องดังกล่าว
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร โพสต์เรื่องราวดังกล่าว ระบุว่า
เริ่มต้นปีขาลเพียง 2 สัปดาห์ ก็ต้องเจอกับข่าวน่าเศร้า เมื่อเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าเข้าตรวจยึดซากเสือโคร่งตาย 2 ตัว ในอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ สันนิษฐานว่าเป็นเสือโคร่ง ที่ออกหากินระหว่างชายแดนไทย-พม่า ในที่เกิดเหตุพบแคร่ร้านย่างเนื้อสัตว์-ซากสัตว์ไม่ระบุชนิด พร้อมพบอาวุธปืน จำนวน 4 กระบอก และอุปกรณ์การกระทำผิดอื่น ๆ รวม 29 รายการ
ในช่วงเวลาเดียวกันก็มีข่าวเสือโคร่ง เพศผู้ อายุประมาณ 10 ปี ออกนอกพื้นที่ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งเจ้าหน้าที่พบร่องรอยล่าสุนัข บริเวณสวนมะม่วงห่างจากสถานีควบคุมไฟป่าห้วยขาแข้งประมาณ 200 เมตร ซึ่งวานนี้ (12 ม.ค.2565) เจ้าหน้าที่สามารถจับตัวได้แล้วจึงนำไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ หลังแพทย์ประเมินอาการและติดปลอกคอติดตาม
เบื้องหลังเหตุการณ์สำคัญทั้งสองเหตุการณ์นี้ มีบุคคลสำคัญอยู่กลุ่มหนึ่งที่ไม่ค่อยถูกกล่าวชื่อ แต่หลายคนรู้จักพวกเขาในนามว่าเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า สัตว์ป่าและผืนป่าร้อยกว่าล้านไร่ทั่วประเทศไทย มีพวกเขาเหล่านี้คอยดูแลอยู่แต่คุณภาพชีวิตและสวัสดิการของพวกเขากลับไม่ดีขึ้นเลย..
ค่าแรงขั้นต่ำถูกกำหนดไว้ที่ 320 บาทต่อวัน แต่เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่ากลับได้รับค่าตอบแทนเพียงเดือนละ 6-7 พันบาทเท่านั้น และไม่มีสวัสดิการต่าง ๆ หากนำมาหาร 25 วันทำงาน (ตัดวันหยุดเสาร์อาทิตย์ออกไป) จะตกวันละ 240-280 บาทเท่านั้น
รายงานการช่วยเหลือผู้พิทักษ์ป่า “
กองทุนเพื่อผู้พิทักษ์ป่า” มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ปี 2564 พบว่าในปีที่ผ่านมามีเจ้าหน้าที่ที่เสียชีวิตระหว่างปฏิบัติหน้าที่ รวม 26 คน บางรายเสียชีวิตจากการปะทะกับพรานล่าสัตว์ป่า บางรายเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสัตว์ป่าทำร้าย บางรายเสียชีวิตด้วยโรคภัยระหว่างเดินลาดตระเวน แต่ทุกชีวิตที่เสียไปไม่อาจนับความสูญเป็นมูลค่าเงินได้ เพราะพวกเขาอาจเป็นพ่อ พี่ชาย ลูกชาย ญาติ เพื่อน หรือคนรักของใครสักคน
เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ส่วนใหญ่เป็นพนักงานจ้างเหมาของอุทยานแห่งชาติ หรือ TOR งบประมาณสำหรับจ่ายค่าตอบแทนส่วนใหญ่มาจากรายได้หลักจากการเก็บค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานฯ แต่ในปี 2564 นั้นรายได้ลดลงกว่า 975 ล้านบาท เนื่องจากสถานการณ์โควิด ทำให้ส่งผลกระทบต่อการจัดจ้างพนักงานพิทักษ์ป่า (พนักงานจ้างเหมา) ในการดูแลและคุ้มครองผืนป่าและสัตว์ป่า ในพื้นที่อนุรักษ์ ซึ่งอาจถูกเลิกจ้างถึง 50 เปอร์เซ็นต์
ทั้งยังพบว่ามีการปรับลดงบประมาณของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เหลือเพียง 8,534 ล้านบาท จากเดิมในปี 2564 ได้งบประมาณ 16,143 ล้านบาท หรือลดลงกว่า 47 เปอร์เซ็นต์
ประเทศไทยมีเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าประมาณ 14,700 คน ดูแลพื้นที่ป่ากว่า 102,484,072.71 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 31.68 ของประเทศ
แต่ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา เงินเดือนและสวัสดิการต่าง ๆ มีการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย แม้รัฐบาลจะมีวาระอื่นที่เร่งด่วนกว่า แต่เรื่องของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ที่เป็นด่านหน้าในการทำงานปกป้องทรัพยากรธรรมชาติให้กับประเทศก็ไม่ได้สำคัญน้อยไปกว่าวาระอื่นเลย หากครม. สามารถอนุมัติงบ 13,800 ล้าน จัดซื้อเครื่องบินขับไล่ได้ ก็คงไม่ยากอะไรที่จะเจียดเงินสักครึ่งหนึ่งเพื่อเอามาดูแลทรัพยากรของประเทศนี้
https://www.facebook.com/SeubNakhasathienFD/posts/10160116730930827
ลามถึงส้มตำ! มะละกอราคาพุ่ง ถุงละ 300.- ซ้ำร้าย ราคาข้าวเหนียวก็แพงขึ้น
https://ch3plus.com/news/category/274442
แม่ค้าร้านส้มตำ ย่านถนนพระราม 4 เปิดเผยว่า ราคาสินค้าที่ขยับสูงขึ้น ไม่ได้มีแค่ราคาเนื้อหมู หรือ เนื้อไก่เท่านั้น แต่สินค้าที่เป็นวัตถุดิบปรับขึ้นเกือบทุกตัว เช่น ปลาดุก ที่ปรับขึ้นกิโลฯ ละ 5 บาท จากเดิม 50 บาท เป็น 55 บาท
แต่ที่หนักที่สุด คือ มะละกอ วัตถุดิบหลักในการตำส้มตำ ปีที่แล้วถุง 10 กิโลฯ ราคา 60-70 บาท แต่วันนี้ราคาพุ่งไปถึงถุงละ 220-300 บาทแล้ว โดยปรับขึ้นตั้งแต่เกิดน้ำท่วม จนน้ำลดนานแล้ว ราคาก็ยังไม่ปรับลดลง ทำให้ต้องแบกรับภาระต้นทุนอย่างหนัก
แต่ก็ยังไม่สามารถปรับขึ้นราคาขายได้ เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคยังไม่กลับมา หากจะปรับขึ้นก็จะดูเป็นการซ้ำเติมผู้บริโภค แต่ถ้าราคายังสูงอยู่แบบนี้ และลากยาวไปอีก 6 เดือน ก็จำเป็นต้องปรับราคาขึ้น เมนูละ 5 บาท หรือ หากเป็นเมนูหมูน้ำตก หรือ เมนูหมูอื่น ๆ อาจปรับขึ้น 10 บาท เนื่องจากแบกรับต้นทุนต่อไม่ไหวแล้ว
ในขณะที่ ในตลาดต้นพะยอม ที่เชียงใหม่ ราคาข้าวสารเหนียวพุ่งสูงขึ้น โดยปลายปีที่แล้ว อยู่ที่ 750 บาท/กระสอบ แต่ในวันที่ 13 ม.ค. 65 ราคาสูงถึง 900 บาท/กระสอบ
ด้านมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจภาวะค่าครองชีพประชาชน เดือนธันวาคมที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนรู้สึกว่าประสบกับภาวะค่าครองชีพที่สูงกว่าระดับปกติ และการเพิ่มขึ้นของรายได้ไม่เหมาะสมกับค่าครองชีพในปัจจุบัน โดยมากถึงร้อยละ 86 ของกลุ่มตัวอย่าง เห็นว่าในปัจจุบันภาวะค่าครองชีพอยู่ในระดับที่ย่ำแย่ และมองไปในช่วง 3 เดือนข้างหน้า ก็ยังรู้สึกว่าค่าครองชีพอยู่ในระดับสูง และอาจบั่นทอนอำนาจซื้อได้
ขณะที่นาย
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มองว่า ของแพงแค่ชั่วคราว เนื่องจากประชาชนบริโภคเยอะขึ้น ขณะที่กำลังการผลิตยังชะลอ จากสถานการณ์โควิด มั่นใจคุมเงินเฟ้ออยู่ในกรอบ พร้อมเปิดเผยว่า เป็นไปได้ที่จะขยับโครงการคนละครึ่ง เฟส 4 ให้เร็วขึ้น จากเดิมที่จะเริ่ม 1 มีนาคม พร้อมเพิ่มมาตรการอื่นหากจำเป็น
JJNY : ติดเชื้อ8,158 เสียชีวิต15│เสือโคร่งถูกล่า งบดูแลป่าหาย│ลามถึงส้มตำ!มะละกอราคาพุ่ง│“พิจารณ์”ฉะซื้อเครื่องบินขับไล่
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3130951
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 เผยแพร่ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันศุกร์ที่ 14 มกราคม 2565 รวม 8,158 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยใน
ประเทศ 7,916 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 242 ราย ผู้ป่วยสะสม 85,180 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้าน 3,942 ราย หายป่วยสะสม 43,428 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 74,795 ราย และ เสียชีวิต 15 ราย
'มูลนิธิสืบฯ' สะท้อนเสือโคร่งถูกล่า งบดูแลป่าหาย แนะเจียดงบซื่ออาวุธ เอามาดูแลทรัพยากร
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6832928
‘มูลนิธิสืบฯ’ สะท้อนเสือโคร่งถูกล่า งบดูแลป่าหาย คุณภาพชีวิต จนท. 10 ปี เหมือนเดิม ได้เงินเดือนเพียง 6-7 พันบาท แนะ ครม. เจียดงบซื่ออาวุธดูแลทรัพยากร
กรณี 5 นายพราน ตั้งแคมป์นำวัวมาเป็นเหยื่อล่อสัตว์ออกจากป่ามากินเป็นอาหาร แล้วใช้อาวุธปืนยิงเสือโคร่ง 2 ตัว นำมาแร่เนื้อแล้วถลกเอาหนัง ขณะพนักงานพิทักษ์ป่าอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ กำลังเข้าจับกุม แต่กลุ่มนายพรานเกิดไหวตัวทันวิ่งหลบหนีไปได้อย่างหวุดหวิด เหตุเกิดที่บริเวณป่าห้วยปิล็อก ม.4 ต.ปิล็อก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ในเขตอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ และป่าสงวนแห่งชาติเขาช้างเผือก ช่วงวันที่ 8-11 ม.ค.ที่ผ่านมา ตามที่เสนอข่าวไปแล้ว
ต่อเรื่องดังกล่าว มูลนิธิสืบนาคะเสถียร โพสต์เรื่องราวดังกล่าว ระบุว่า
เริ่มต้นปีขาลเพียง 2 สัปดาห์ ก็ต้องเจอกับข่าวน่าเศร้า เมื่อเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าเข้าตรวจยึดซากเสือโคร่งตาย 2 ตัว ในอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ สันนิษฐานว่าเป็นเสือโคร่ง ที่ออกหากินระหว่างชายแดนไทย-พม่า ในที่เกิดเหตุพบแคร่ร้านย่างเนื้อสัตว์-ซากสัตว์ไม่ระบุชนิด พร้อมพบอาวุธปืน จำนวน 4 กระบอก และอุปกรณ์การกระทำผิดอื่น ๆ รวม 29 รายการ
ในช่วงเวลาเดียวกันก็มีข่าวเสือโคร่ง เพศผู้ อายุประมาณ 10 ปี ออกนอกพื้นที่ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งเจ้าหน้าที่พบร่องรอยล่าสุนัข บริเวณสวนมะม่วงห่างจากสถานีควบคุมไฟป่าห้วยขาแข้งประมาณ 200 เมตร ซึ่งวานนี้ (12 ม.ค.2565) เจ้าหน้าที่สามารถจับตัวได้แล้วจึงนำไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ หลังแพทย์ประเมินอาการและติดปลอกคอติดตาม
เบื้องหลังเหตุการณ์สำคัญทั้งสองเหตุการณ์นี้ มีบุคคลสำคัญอยู่กลุ่มหนึ่งที่ไม่ค่อยถูกกล่าวชื่อ แต่หลายคนรู้จักพวกเขาในนามว่าเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า สัตว์ป่าและผืนป่าร้อยกว่าล้านไร่ทั่วประเทศไทย มีพวกเขาเหล่านี้คอยดูแลอยู่แต่คุณภาพชีวิตและสวัสดิการของพวกเขากลับไม่ดีขึ้นเลย..
ค่าแรงขั้นต่ำถูกกำหนดไว้ที่ 320 บาทต่อวัน แต่เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่ากลับได้รับค่าตอบแทนเพียงเดือนละ 6-7 พันบาทเท่านั้น และไม่มีสวัสดิการต่าง ๆ หากนำมาหาร 25 วันทำงาน (ตัดวันหยุดเสาร์อาทิตย์ออกไป) จะตกวันละ 240-280 บาทเท่านั้น
รายงานการช่วยเหลือผู้พิทักษ์ป่า “กองทุนเพื่อผู้พิทักษ์ป่า” มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ปี 2564 พบว่าในปีที่ผ่านมามีเจ้าหน้าที่ที่เสียชีวิตระหว่างปฏิบัติหน้าที่ รวม 26 คน บางรายเสียชีวิตจากการปะทะกับพรานล่าสัตว์ป่า บางรายเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสัตว์ป่าทำร้าย บางรายเสียชีวิตด้วยโรคภัยระหว่างเดินลาดตระเวน แต่ทุกชีวิตที่เสียไปไม่อาจนับความสูญเป็นมูลค่าเงินได้ เพราะพวกเขาอาจเป็นพ่อ พี่ชาย ลูกชาย ญาติ เพื่อน หรือคนรักของใครสักคน
เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ส่วนใหญ่เป็นพนักงานจ้างเหมาของอุทยานแห่งชาติ หรือ TOR งบประมาณสำหรับจ่ายค่าตอบแทนส่วนใหญ่มาจากรายได้หลักจากการเก็บค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานฯ แต่ในปี 2564 นั้นรายได้ลดลงกว่า 975 ล้านบาท เนื่องจากสถานการณ์โควิด ทำให้ส่งผลกระทบต่อการจัดจ้างพนักงานพิทักษ์ป่า (พนักงานจ้างเหมา) ในการดูแลและคุ้มครองผืนป่าและสัตว์ป่า ในพื้นที่อนุรักษ์ ซึ่งอาจถูกเลิกจ้างถึง 50 เปอร์เซ็นต์
ทั้งยังพบว่ามีการปรับลดงบประมาณของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เหลือเพียง 8,534 ล้านบาท จากเดิมในปี 2564 ได้งบประมาณ 16,143 ล้านบาท หรือลดลงกว่า 47 เปอร์เซ็นต์
ประเทศไทยมีเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าประมาณ 14,700 คน ดูแลพื้นที่ป่ากว่า 102,484,072.71 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 31.68 ของประเทศ
แต่ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา เงินเดือนและสวัสดิการต่าง ๆ มีการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย แม้รัฐบาลจะมีวาระอื่นที่เร่งด่วนกว่า แต่เรื่องของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ที่เป็นด่านหน้าในการทำงานปกป้องทรัพยากรธรรมชาติให้กับประเทศก็ไม่ได้สำคัญน้อยไปกว่าวาระอื่นเลย หากครม. สามารถอนุมัติงบ 13,800 ล้าน จัดซื้อเครื่องบินขับไล่ได้ ก็คงไม่ยากอะไรที่จะเจียดเงินสักครึ่งหนึ่งเพื่อเอามาดูแลทรัพยากรของประเทศนี้
https://www.facebook.com/SeubNakhasathienFD/posts/10160116730930827
ลามถึงส้มตำ! มะละกอราคาพุ่ง ถุงละ 300.- ซ้ำร้าย ราคาข้าวเหนียวก็แพงขึ้น
https://ch3plus.com/news/category/274442
แม่ค้าร้านส้มตำ ย่านถนนพระราม 4 เปิดเผยว่า ราคาสินค้าที่ขยับสูงขึ้น ไม่ได้มีแค่ราคาเนื้อหมู หรือ เนื้อไก่เท่านั้น แต่สินค้าที่เป็นวัตถุดิบปรับขึ้นเกือบทุกตัว เช่น ปลาดุก ที่ปรับขึ้นกิโลฯ ละ 5 บาท จากเดิม 50 บาท เป็น 55 บาท
แต่ที่หนักที่สุด คือ มะละกอ วัตถุดิบหลักในการตำส้มตำ ปีที่แล้วถุง 10 กิโลฯ ราคา 60-70 บาท แต่วันนี้ราคาพุ่งไปถึงถุงละ 220-300 บาทแล้ว โดยปรับขึ้นตั้งแต่เกิดน้ำท่วม จนน้ำลดนานแล้ว ราคาก็ยังไม่ปรับลดลง ทำให้ต้องแบกรับภาระต้นทุนอย่างหนัก
แต่ก็ยังไม่สามารถปรับขึ้นราคาขายได้ เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคยังไม่กลับมา หากจะปรับขึ้นก็จะดูเป็นการซ้ำเติมผู้บริโภค แต่ถ้าราคายังสูงอยู่แบบนี้ และลากยาวไปอีก 6 เดือน ก็จำเป็นต้องปรับราคาขึ้น เมนูละ 5 บาท หรือ หากเป็นเมนูหมูน้ำตก หรือ เมนูหมูอื่น ๆ อาจปรับขึ้น 10 บาท เนื่องจากแบกรับต้นทุนต่อไม่ไหวแล้ว
ในขณะที่ ในตลาดต้นพะยอม ที่เชียงใหม่ ราคาข้าวสารเหนียวพุ่งสูงขึ้น โดยปลายปีที่แล้ว อยู่ที่ 750 บาท/กระสอบ แต่ในวันที่ 13 ม.ค. 65 ราคาสูงถึง 900 บาท/กระสอบ
ด้านมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจภาวะค่าครองชีพประชาชน เดือนธันวาคมที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนรู้สึกว่าประสบกับภาวะค่าครองชีพที่สูงกว่าระดับปกติ และการเพิ่มขึ้นของรายได้ไม่เหมาะสมกับค่าครองชีพในปัจจุบัน โดยมากถึงร้อยละ 86 ของกลุ่มตัวอย่าง เห็นว่าในปัจจุบันภาวะค่าครองชีพอยู่ในระดับที่ย่ำแย่ และมองไปในช่วง 3 เดือนข้างหน้า ก็ยังรู้สึกว่าค่าครองชีพอยู่ในระดับสูง และอาจบั่นทอนอำนาจซื้อได้
ขณะที่นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มองว่า ของแพงแค่ชั่วคราว เนื่องจากประชาชนบริโภคเยอะขึ้น ขณะที่กำลังการผลิตยังชะลอ จากสถานการณ์โควิด มั่นใจคุมเงินเฟ้ออยู่ในกรอบ พร้อมเปิดเผยว่า เป็นไปได้ที่จะขยับโครงการคนละครึ่ง เฟส 4 ให้เร็วขึ้น จากเดิมที่จะเริ่ม 1 มีนาคม พร้อมเพิ่มมาตรการอื่นหากจำเป็น