'เกษตรกรเลี้ยงหมู'หนุนภาครัฐเร่งเดินหน้ามาตรการช่วยเหลือ แก้ปัญหาราคาแพง
วันพฤหัสบดี ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2565, 10.26 น.
"เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร"หนุนภาครัฐเร่งเดินหน้ามาตรการช่วยเหลือผู้เลี้ยง ขับเคลื่อนการผลิตรอบใหม่เพิ่มปริมาณเนื้อหมูแก้ปัญหาราคาแพงด้วยกลไกตลาด มุ่งมั่นสร้างอาหารมั่นคงปลอดภัยให้คนไทยทุกคน
เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565 นายสินธุ ปัญญาศักดิ์ สมาชิกสหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกรเชียงใหม่-ลำพูน อ.เมือง จ.ลำพูน กล่าวว่า ขณะนี้เกษตรกรรายย่อยหลายพื้นที่ เช่นที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน มีความพร้อมมากในการเลี้ยงหมูรอบใหม่ จึงขอให้รัฐเป็นผู้นำเดินหน้าส่งต่อมาตรการช่วยเหลือที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว เพื่อสนับสนุนเกษตรกรให้กลับเข้ามาในระบบโดยเร็วที่สุด และส่งเสริมให้รอบด้าน ทั้งการเตรียมเล้าและโรงเรือนที่มีระบบป้องกันโรค ที่ช่วยสร้างความมั่นใจและลดความเสี่ยงให้เกษตรกรหลังนำลูกหมูเข้าเลี้ยงใหม่
"มาตรการช่วยเหลือที่กรมปศุสัตว์ดำเนินการขณะนี้นับว่ามาถูกทาง จะช่วยขับเคลื่อนการเลี้ยงสุกรของรายย่อยไปข้างหน้า สร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรให้ลงหมูรอบใหม่ได้ ช่วยแก้ปัญหาหมูแพงของประเทศได้เร็วขึ้น เราไม่ควรติดกับ อยู่กับปัญหาเดิม หรือสิ่งที่ผ่านไปแล้ว แต่ควรมองการสร้างอนาคตที่ดีกว่า" นายสินธุ กล่าว
ผ่านมา คณะรัฐมนตรีอนุมัติทั้งงบประมาณ และสั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดูแลช่วยเหลือแบบองค์รวม ทั้งมาตรการเร่งด่วน งดส่งออกเนื้อสุกร 3 เดือน มาตรการระยะสั้น ขยายกำลังการผลิตแม่หมู และส่งเสริมการผลิตข้าวโพดในประเทศทดแทนการนำเข้า ส่วนระยะยาว เร่งยกระดับมาตรฐานฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (Good Farming Management : GFM) ระบบการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity) ลดความเสี่ยงในการนำเชื้อโรคเข้ามาสู่ฟาร์ม และยังเป็นการป้องกันการกระจายของเชื้อโรคภายในออกจากฟาร์ม รวมถึงการแพร่กระจายของโรคในประชากรสัตว์ ขณะเดียวกัน ในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้กับเกษตรกรรายย่อย รัฐควรเร่งจ่ายเงินชดเชย จัดสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ พัฒนาวัคซีนป้องกันโรค ลดต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์และปัจจัยการผลิตที่จำเป็น พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ในการป้องกันโรค
นายสินธุ กล่าวว่า มาตรการดังกล่าวช่วยสร้างความมั่นใจและหลักประกันให้กับเกษตรกรรายย่อย กล้าที่จะลงเลี้ยงหมูอีกครั้ง ซึ่งผู้เลี้ยงอยากเห็นมาตรการส่งเสริมที่สร้างขีดความสามารถการแข่งขันในระยะยาว ทั้งปัจจัยการผลิต ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ รวมถึงปล่อยราคาให้เเป็นไปตามกลไกการตลาด เพื่อสร้างเสถียรภาพในอุตสาหกรรมหมูอย่างยั่งยืน
"ผมเชื่อว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ มีความพร้อมที่จะร่วมช่วยแก้ปัญหาราคาหมู อยากให้สังคมมองมุมบวก ว่าเราสามารถป้องกันโรคได้นานกว่าเพื่อนบ้านในภูมิภาค ทำให้คนไทยมีเนื้อหมูคุณภาพดีในราคาที่เหมาะสม ทั้งที่มีโรคระบาดทั้งภูมิภาค" นายสินธุ กล่าว
ที่ผ่านมา เกษตรกรรายย่อยนอกจากต้องทำลายหมูจากโรคระบาดแล้ว ยังแบกภาระราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ ทั้งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และกากถั่วเหลือง ที่เพิ่มขึ้นไปถึง 30 - 40% ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตของภาคปศุสัตว์ 60 - 70% อยากขอให้ภาครัฐปรับลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ช่วยเหลือเกษตรกรลดต้นทุนการผลิตด้วย
https://www.naewna.com/local/628331
เคาะราคาไข่คละขึ้นแค่ 2.90 บ./ฟอง
เผยแพร่: 13 ม.ค. 2565 14:09 ปรับปรุง: 13 ม.ค. 2565 14:09 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ ยอมให้ความร่วมมือกรมการค้าภายใน ขึ้นราคาไข่คละหน้าฟาร์มเพียง 2.90 บาทต่อฟอง โดยจะตรึงราคานี้ ไปจนกว่าสถานการณ์คลี่คลาย
นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ผลประชุมร่วมกับทุกสมาคม ที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไก่ไข่ ,ผู้ผลิตรายใหญ่ ,กรมปศุสัตว์ และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้รับทราบปัญหาต้นทุนของผู้เลี้ยงที่สูงขึ้น แต่เพื่อช่วยลดค่าครองชีพประชาชน ผู้เลี้ยงไก่ไข่ จะให้ความร่วมมือ ปรับราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์ม อยู่ที่ 2.90 บาท จากเดิมที่ประกาศปรับราคาเป็น 3 บาทต่อฟอง โดยจะตรึงราคาไว้ที่ 2.90 บาทต่อฟอง ไปจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
หากพบเห็นว่า มีการกักตุนหรือฉวยโอกาสจำหน่ายสินค้าในราคาที่ไม่เป็นธรรม แจ้งได้ที่สายด่วน 1569 หรือ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งหากตรวจสอบพบการกระทำผิดจริง มีโทษตามมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ซึ่งมีโทษจำคุก 7 ปี ปรับ 140,000 บาท หรือ ทั้งจำและปรับ
ด้านนายมาโนช ชูทับทิม นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ กล่าวว่า วัตถุดิบในการเลี้ยงไก่ไข่ ปรับเพิ่มขึ้น จนทำให้กลุ่มผู้เลี้ยงแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นไม่ไหว แต่สมาคมต่างๆเข้าใจปัญหาและผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน จึงให้ความร่วมมือภาครัฐ ตรึงราคาไข่คละหน้าฟาร์ม จากที่ประกาศขอขึ้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 3 บาทต่อฟอง ลงมาอยู่ที่ 2.90 บาทต่อฟองไปจนกว่าสถานการณ์ต่างๆจะดีขึ้น แต่หากวัตถุดิบในการเลี้ยงไก่ไข่ ยังขึ้นต่อเนื่อง ทางกลุ่มผู้เลี้ยงจะกลับมาหารือกับกรมการค้าภายใน อีกครั้ง
นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ กล่าวด้วยว่า วงจรการเลี้ยงไข่ไก่ ราคาจะปรับขึ้นและปรับลดลงเร็วจึงอยากให้ทุกฝ่ายเข้าใจกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่ด้วย ว่า ขณะนี้ต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นมาก เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เมื่อตอนต้นปี 2564 อยู่ 12 บาทต่อกิโลกรัม แต่ตอนนี้อยู่ที่ 15 บาทต่อกิโลกรัม และยังมีต้นทุนด้านอื่นๆ อีก แต่ทางสมาคมต่างๆ ก็ยินดีร่วมมือกับภาครัฐ เพื่อช่วยลดค่าครองชีพให้กับประชาชนทั้งประเทศ
https://mgronline.com/news1/detail/9650000003927
หมูป่วยเป็นโรคไม่มีวัคซีนป้องกันเหมือนคน ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงเวลาเกิดโรคระบาด ไม่มีประเทศไหนมีวัคซีนรับมือได้
ต้องทำลายหมูเท่านั้น จบ!
การเลี้ยงระบบปิดจึงเป็นทางเลือกของผู้เลี้ยงรายใหญ่ เกษตรกรรายย่อยเลี้ยงระบบเปิดจึงมีความเสี่ยง และต้องให้ภาครัฐเข้าช่วยเหลือ
เกิดปัญหาก็ต้องเดินหน้าช่วยเกษตรกรต่อไปค่ะ
ส่วนไก่ไข่ ก็ตรึงราคาไว้ไม่ให้แพงไปกว่านี้ จนกว่าสถานการณ์หมูจะคลี่คลาย
รัฐบาลนี้จะไม่ทอดทิ้งประชาชน ถ้าเรื่องถึงมือลุงตู่ท่านไม่นิ่งนอนใจแน่ค่ะ
จากการติดตามข่าวนี้ ดิฉันไม่อยากกินเนื้อสัตว์เลยค่ะ สงสารหมูที่สุด ตั้งใจจะงดกินเนื้อหมูไปนานเท่าที่จะนานได้ เนื้อวัว เนื้อกระบือก็ไม่รับประทานอยู่แล้ว
วันนี้กินปลากระพงทอดน้ำปลา กับเป็ดพะโล้ ยังตัดใจไม่กินเนื้อสัตว์เล็กๆไม่ได้
คุณหลานไม่ยอมกินหมูบอกหมูเป็นโรค น่ากลัว เข้าทางคุณอาได้พวกค่ะ
เรามางดกินหมูกันดีไหมคะ.....
🧡มาลาริน/แก้ปัญหา เดินหน้าต่อไปค่ะ..เกษตรกรเลี้ยงหมูหนุนภาครัฐเร่งช่วยเหลือ สมาคมไก่เคาะราคาไข่คละขึ้นแค่ 2.90 บ./ฟอง
วันพฤหัสบดี ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2565, 10.26 น.
"เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร"หนุนภาครัฐเร่งเดินหน้ามาตรการช่วยเหลือผู้เลี้ยง ขับเคลื่อนการผลิตรอบใหม่เพิ่มปริมาณเนื้อหมูแก้ปัญหาราคาแพงด้วยกลไกตลาด มุ่งมั่นสร้างอาหารมั่นคงปลอดภัยให้คนไทยทุกคน
เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565 นายสินธุ ปัญญาศักดิ์ สมาชิกสหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกรเชียงใหม่-ลำพูน อ.เมือง จ.ลำพูน กล่าวว่า ขณะนี้เกษตรกรรายย่อยหลายพื้นที่ เช่นที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน มีความพร้อมมากในการเลี้ยงหมูรอบใหม่ จึงขอให้รัฐเป็นผู้นำเดินหน้าส่งต่อมาตรการช่วยเหลือที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว เพื่อสนับสนุนเกษตรกรให้กลับเข้ามาในระบบโดยเร็วที่สุด และส่งเสริมให้รอบด้าน ทั้งการเตรียมเล้าและโรงเรือนที่มีระบบป้องกันโรค ที่ช่วยสร้างความมั่นใจและลดความเสี่ยงให้เกษตรกรหลังนำลูกหมูเข้าเลี้ยงใหม่
"มาตรการช่วยเหลือที่กรมปศุสัตว์ดำเนินการขณะนี้นับว่ามาถูกทาง จะช่วยขับเคลื่อนการเลี้ยงสุกรของรายย่อยไปข้างหน้า สร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรให้ลงหมูรอบใหม่ได้ ช่วยแก้ปัญหาหมูแพงของประเทศได้เร็วขึ้น เราไม่ควรติดกับ อยู่กับปัญหาเดิม หรือสิ่งที่ผ่านไปแล้ว แต่ควรมองการสร้างอนาคตที่ดีกว่า" นายสินธุ กล่าว
ผ่านมา คณะรัฐมนตรีอนุมัติทั้งงบประมาณ และสั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดูแลช่วยเหลือแบบองค์รวม ทั้งมาตรการเร่งด่วน งดส่งออกเนื้อสุกร 3 เดือน มาตรการระยะสั้น ขยายกำลังการผลิตแม่หมู และส่งเสริมการผลิตข้าวโพดในประเทศทดแทนการนำเข้า ส่วนระยะยาว เร่งยกระดับมาตรฐานฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (Good Farming Management : GFM) ระบบการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity) ลดความเสี่ยงในการนำเชื้อโรคเข้ามาสู่ฟาร์ม และยังเป็นการป้องกันการกระจายของเชื้อโรคภายในออกจากฟาร์ม รวมถึงการแพร่กระจายของโรคในประชากรสัตว์ ขณะเดียวกัน ในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้กับเกษตรกรรายย่อย รัฐควรเร่งจ่ายเงินชดเชย จัดสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ พัฒนาวัคซีนป้องกันโรค ลดต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์และปัจจัยการผลิตที่จำเป็น พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ในการป้องกันโรค
นายสินธุ กล่าวว่า มาตรการดังกล่าวช่วยสร้างความมั่นใจและหลักประกันให้กับเกษตรกรรายย่อย กล้าที่จะลงเลี้ยงหมูอีกครั้ง ซึ่งผู้เลี้ยงอยากเห็นมาตรการส่งเสริมที่สร้างขีดความสามารถการแข่งขันในระยะยาว ทั้งปัจจัยการผลิต ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ รวมถึงปล่อยราคาให้เเป็นไปตามกลไกการตลาด เพื่อสร้างเสถียรภาพในอุตสาหกรรมหมูอย่างยั่งยืน
"ผมเชื่อว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ มีความพร้อมที่จะร่วมช่วยแก้ปัญหาราคาหมู อยากให้สังคมมองมุมบวก ว่าเราสามารถป้องกันโรคได้นานกว่าเพื่อนบ้านในภูมิภาค ทำให้คนไทยมีเนื้อหมูคุณภาพดีในราคาที่เหมาะสม ทั้งที่มีโรคระบาดทั้งภูมิภาค" นายสินธุ กล่าว
ที่ผ่านมา เกษตรกรรายย่อยนอกจากต้องทำลายหมูจากโรคระบาดแล้ว ยังแบกภาระราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ ทั้งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และกากถั่วเหลือง ที่เพิ่มขึ้นไปถึง 30 - 40% ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตของภาคปศุสัตว์ 60 - 70% อยากขอให้ภาครัฐปรับลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ช่วยเหลือเกษตรกรลดต้นทุนการผลิตด้วย
https://www.naewna.com/local/628331
เคาะราคาไข่คละขึ้นแค่ 2.90 บ./ฟอง
เผยแพร่: 13 ม.ค. 2565 14:09 ปรับปรุง: 13 ม.ค. 2565 14:09 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ ยอมให้ความร่วมมือกรมการค้าภายใน ขึ้นราคาไข่คละหน้าฟาร์มเพียง 2.90 บาทต่อฟอง โดยจะตรึงราคานี้ ไปจนกว่าสถานการณ์คลี่คลาย
นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ผลประชุมร่วมกับทุกสมาคม ที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไก่ไข่ ,ผู้ผลิตรายใหญ่ ,กรมปศุสัตว์ และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้รับทราบปัญหาต้นทุนของผู้เลี้ยงที่สูงขึ้น แต่เพื่อช่วยลดค่าครองชีพประชาชน ผู้เลี้ยงไก่ไข่ จะให้ความร่วมมือ ปรับราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์ม อยู่ที่ 2.90 บาท จากเดิมที่ประกาศปรับราคาเป็น 3 บาทต่อฟอง โดยจะตรึงราคาไว้ที่ 2.90 บาทต่อฟอง ไปจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
หากพบเห็นว่า มีการกักตุนหรือฉวยโอกาสจำหน่ายสินค้าในราคาที่ไม่เป็นธรรม แจ้งได้ที่สายด่วน 1569 หรือ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งหากตรวจสอบพบการกระทำผิดจริง มีโทษตามมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ซึ่งมีโทษจำคุก 7 ปี ปรับ 140,000 บาท หรือ ทั้งจำและปรับ
ด้านนายมาโนช ชูทับทิม นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ กล่าวว่า วัตถุดิบในการเลี้ยงไก่ไข่ ปรับเพิ่มขึ้น จนทำให้กลุ่มผู้เลี้ยงแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นไม่ไหว แต่สมาคมต่างๆเข้าใจปัญหาและผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน จึงให้ความร่วมมือภาครัฐ ตรึงราคาไข่คละหน้าฟาร์ม จากที่ประกาศขอขึ้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 3 บาทต่อฟอง ลงมาอยู่ที่ 2.90 บาทต่อฟองไปจนกว่าสถานการณ์ต่างๆจะดีขึ้น แต่หากวัตถุดิบในการเลี้ยงไก่ไข่ ยังขึ้นต่อเนื่อง ทางกลุ่มผู้เลี้ยงจะกลับมาหารือกับกรมการค้าภายใน อีกครั้ง
นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ กล่าวด้วยว่า วงจรการเลี้ยงไข่ไก่ ราคาจะปรับขึ้นและปรับลดลงเร็วจึงอยากให้ทุกฝ่ายเข้าใจกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่ด้วย ว่า ขณะนี้ต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นมาก เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เมื่อตอนต้นปี 2564 อยู่ 12 บาทต่อกิโลกรัม แต่ตอนนี้อยู่ที่ 15 บาทต่อกิโลกรัม และยังมีต้นทุนด้านอื่นๆ อีก แต่ทางสมาคมต่างๆ ก็ยินดีร่วมมือกับภาครัฐ เพื่อช่วยลดค่าครองชีพให้กับประชาชนทั้งประเทศ
https://mgronline.com/news1/detail/9650000003927
หมูป่วยเป็นโรคไม่มีวัคซีนป้องกันเหมือนคน ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงเวลาเกิดโรคระบาด ไม่มีประเทศไหนมีวัคซีนรับมือได้
ต้องทำลายหมูเท่านั้น จบ!
การเลี้ยงระบบปิดจึงเป็นทางเลือกของผู้เลี้ยงรายใหญ่ เกษตรกรรายย่อยเลี้ยงระบบเปิดจึงมีความเสี่ยง และต้องให้ภาครัฐเข้าช่วยเหลือ
เกิดปัญหาก็ต้องเดินหน้าช่วยเกษตรกรต่อไปค่ะ
ส่วนไก่ไข่ ก็ตรึงราคาไว้ไม่ให้แพงไปกว่านี้ จนกว่าสถานการณ์หมูจะคลี่คลาย
รัฐบาลนี้จะไม่ทอดทิ้งประชาชน ถ้าเรื่องถึงมือลุงตู่ท่านไม่นิ่งนอนใจแน่ค่ะ
จากการติดตามข่าวนี้ ดิฉันไม่อยากกินเนื้อสัตว์เลยค่ะ สงสารหมูที่สุด ตั้งใจจะงดกินเนื้อหมูไปนานเท่าที่จะนานได้ เนื้อวัว เนื้อกระบือก็ไม่รับประทานอยู่แล้ว
วันนี้กินปลากระพงทอดน้ำปลา กับเป็ดพะโล้ ยังตัดใจไม่กินเนื้อสัตว์เล็กๆไม่ได้
คุณหลานไม่ยอมกินหมูบอกหมูเป็นโรค น่ากลัว เข้าทางคุณอาได้พวกค่ะ
เรามางดกินหมูกันดีไหมคะ.....