🛑 "ใบสั่งตาย" จากหมอคนรัก
🛑 ผู้ชายคนหนึ่งที่สร้างโลกหลายใบ ท้ายที่สุดแล้วมันลงเอยด้วยความเศร้า
🛑 จุดเริ่มต้นของวาทกรรม “หมอฆ่าเมีย” ที่ถูกนำไปพูดถึงกันโดยทั่วไป
12 ก.ย.2502 พบร่าง นวลฉวี "ใบสั่งตาย" จากหมอคนรัก
คดีนี้เกิดจากผู้ชายคนหนึ่งที่สร้างโลกหลายใบ ท้ายที่สุดแล้วมันลงเอยด้วยความเศร้า
คดีนี้เป็นคดีหมอฆ่าเมียที่เกิดขึ้นแรกสุดในประเทศไทย คดีนี้มีชื่อเสียงโด่งดัง
เพราะหมอผู้เป็นฆาตกรได้ทำการอำพรางศพอย่างแยบยล
นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของวาทกรรม “หมอฆ่าเมีย” ที่ถูกนำไปพูดถึงกันโดยทั่วไป
นวลฉวี เพชรรุ่ง เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2475 ที่ตำบลเชียงงา อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
ครอบครัวของเธอมีฐานะมั่นคงพอสมควร เพราะมีที่นาให้คนอื่นเช่าแม้จะมีลูก 10 คน
แต่ลูกๆ ทุกคนได้รับการศึกษาขั้นดี และลูก ๆ ทุกคน มีการงานเป็นที่นับหน้าถือตาด้วย
นวลฉวี เป็นผู้หญิงรูปร่างบาง ตัวเล็ก หน้าตอพอใช้ได้ แต่เธอก็มีเสน่ห์ ร่าเริง มีชีวิตชีวา
และเป็นคนเก่ง หัวดี เธอ สามารถสอบเข้าเป็นนักเรียนพยาบาลที่ศิริราชพยาบาล
และจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2497 จากนั้นก็ออกไปทำงานที่โรงพยาบาลภูมิพล
ประมาณปีเศษก็ออก เพราะมีเรื่องกับคนในโรงพยาบาล
จึงย้ายมาเป็นนางพยาบาลที่เมืองบ้านหมี่ประมาณ 1 ปี
จากนั้นก็ทำงานในสถานพยาบาลยาสูบปี พ.ศ.2501 โดยอาศัยพักอยู่ในโรงพยาบาลยาสูบ
และในช่วง ต้นปี พ.ศ. 2501 นวลฉวีได้เดินทางท่องเที่ยวทางเหนือกับเพื่อนชื่อ โมทนี
และได้พบรักกับ คุณหมอ อธิป สุญาณเศรษฐกร และคุณหมอ อธิป
นี่แหละ คือคนที่เปลี่ยนชีวิตของนวลฉวีให้อยู่ในรูปตำนาน
หมออธิป สุญาณเศรษฐกร เกิดและโตในกรุงเทพ เป็นลูกคนสุดท้องในจำนวน ลูก 5 คน ของครอบครัว
พ่อแม่เป็นข้าราชการในกระทรวงพาณิชย์ อดีตเคยเป็นคนในจังหวัดฉะเชิงเทรา
หมออธิปเป็นหนุ่มที่หน้าตาค่อนข้างดี ใจเย็น และฉลาดเฉลียว
เขาสามารถศึกษาชั้นเตรียมวิทยาศาสตร์จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยจนจบเมื่อ ปี พ.ศ. 2494
โดยช่วงเวลาว่างหมออธิปจะไปทำงานที่อู่รถใกล้บ้าน เพื่อเก็บเงินซื้อหนังสือเรียนและขนม
ในปี พ.ศ. 2500 หมออธิปจบการศึกษาแพทย์ศาสตร์ จากศิริราชพยาบาล
ได้รับหมายเกณฑ์เข้าประจำสำรองราชการ กรมกำลังพลทหารอากาศ ได้รับตำแหน่ง ว่าที่เรืออากาศโท
และเข้ารับราชการเป็นนายแพทย์อยู่โรงพยาบาลรถไฟ
ในปี พ.ศ. 2501 ต่อมา หมอ อธิป ย้ายไปเป็นแพทย์รถไฟ หัวหน้าเขต 4 จังหวัดลำปาง
และนั่นทำให้เขาและนวลฉวีได้พบกัน
ด้วยความเปล่าเปลี่ยวของหนุ่มเมืองที่ต้องห่างไกลความเจริญมาอยู่ท่ามกลางความสงบเงียบแห่งบ้านป่า
เมื่อมีโอกาสได้ทำความใกล้ชิดกับหญิงสาวที่มีเสน่ห์ และรู้จักเอาใจอย่างนวลฉวี ทำให้หมออธิปมีความสุขและมีชีวิตชีวา
ความรักที่ค่อย ๆ ก่อเกิด ชั่วระยะเวลาไม่นานที่ได้อยู่ด้วยกันนี้ สองคนหนุ่มสาวก็ผูกจิตปฏิพัทธ์ และต่างรู้ว่าอีกฝ่ายก็มีใจให้เช่นกัน
หมอ อธิป รับหน้าที่เป็นมัคคุเทสก์พาหญิงสาวทั้งสองเที่ยวในลำปาง ประมาณ 3-4 วัน
หลังจากนั้น นวลฉวีกับเพื่อนก็ต้องแยกย้ายกับคุณหมอ เพื่อเดินทางไปที่เชียงใหม่ต่อ
ทิ้งความหลังอันหวานชื่นไว้ที่นครลำปาง ดินแดนแห่งการคร่ำครวญหวลหาของนวลฉวี
เธอพบชายหนุ่มในดวงใจเข้าแล้ว
ต่อมา นวลฉวีส่งจดหมายจากกรุงเทพฯ ไปให้กับ หมออธิป ที่นครลำปาง เป็นระยะๆ
จนกระทั่งผ่านไป 6 เดือน หมออธิป ย้ายกลับโรงพยาบาลดังเดิม เขาทำการติดต่อนวลฉวี
โดยใช้สื่อทางจดหมาย และส่งอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะ ๆ ความรักทั้งสองยิ่งแน่นแฟ้นจนกลายเป็นสามีภรรยาโดยพฤตินัย
โดยใช้บังกะโล และโรงแรม เป็นเรือนหอชั่วคราว
ความรักของคนสองคนดำเนินไปอย่างหวานชื่น โดยต่างฝ่ายปิดบังอำพรางธาตุแท้ของตนเอง
ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์-ธันวาคม ปี พ.ศ. 2501 นวลฉวีล้มป่วย โดยพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลยาสูบเป็นเวลา 1 เดือน
หมออธิป ไปเยี่ยมนวลฉวีหลายครั้ง อาการของเธอบ่งบอกว่าตกเลือดมาก แต่เธอไม่บอกใครว่าเธอป่วยเป็นโรคอะไร
แต่ดูจากอาการ หมออธิปรู้ทันทีว่าเธอคงแท้งลูก
ชีวิตของหมออธิป เริ่มยุ่งเหยิงขึ้น เนื่องจากมีผู้หญิงเข้ามาในหัวใจของหมอ
เธอคือ นางสาวสมบูรณ์ สืบสมาน นักศึกษาสาวแห่งมหาวิทยาลัยเทคนิคทุ่งมหาเมฆ
เธอเป็นเพื่อนในวัยเด็กของหมออธิป เธอสวยตรงใจเขาเหลือเกิน
ต่อมาในปี พ.ศ 2502 หมออธิป สอบชิงทุนฮุมโบลก์ ได้ไปเรียนต่อที่ประเทศเยอรมัน
และเนื่องจากโรงพยาบาลรถไฟจะมีแผนกใหม่ หลังจากที่หมออธิปกลับมาจากเยอรมัน
เขาก็ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกตาที่นั่นทันที
ในเดือน มกราคม ปี พ.ศ. 2502 ทางการรถไฟส่ง หมออธิปไปฝึกงาน โรคหู ตา จมูก ที่โรงพยาบาลศิริราช เป็นเวลา 6 เดือน
ตอนเย็นหลังเลิกงานก็ไปเรียนภาษาเยอรมันที่เลขาทูต ทำให้เวลาที่หมอได้เจอนวลฉวียิ่งหดหายไป
ทางด้านนวลฉวี เริ่มระแคงระคายความรักของหมออธิป ด้วยความหึงหวงหมออธิปมาก เธอใช้วิธีต่างๆ เพื่อจับหมออธิปให้อยู่หมัด
ไม่ว่านั่งเฝ้าหมอในที่ทำงาน ตามทุกหนทุกแห่งเหมือนเงาตามตัว
แทนที่หมออธิป จะรักเธอมากขึ้นกับเพิ่มความรำคาญแก่หมออธิปมากขึ้น
จนกระทั่งวันที่ 11 มีนาคม 2502 หมออธิปจดทะเบียนสมรสกับนวลฉวี ที่เขตยานนาวา
ตามความต้องการของนวลฉวี แต่ว่าการจดทะเบียนสมรสนั้นไม่ได้เกิดจากความรักเลย
มันมาจากความต้องการของหมออธิปที่จะตัดความรำคาญเท่านั้น เขาเชื่อว่าถ้านวลฉวีได้สิ่งที่เธอต้องการแล้ว
เธอจะหยุดติดตามเขาด้วยความหึงหวงเสียที โดยหมออธิปได้กล่าวในภายหลังว่า
“ที่จริงผมไม่อยากจดทะเบียนกับเธอหรอก เพราะอะไรเหรอ มันก็พูดยาก หลายเรื่องบอกไม่ถูก
คือเขาชอบตามผมทุกวันทุกคืน งานการเขาก็ไม่ทำ มานั่งเฝ้า ผมนี้รำคาญสุดๆ ผมไม่อยากจดหรอก
แต่จดก็จด มันอยากให้จดก็จดไป จะได้ตัดปัญหาซะที”
แต่หมออธิปนั้นยังไม่ได้เลิกรากับ น.ส สมบูรณ์ ดังนั้นเมื่อเธอทราบว่าหมออธิปจดทะเบียนสมรสกับนวลฉวี
น.ส. สมบูรณ์ขอร้องกึ่งบังคับให้เขาพาเธอไปจดทะเบียนสมรสด้วย
ต่อมา วันที่ 17 มีนาคม 2502 หมออธิปจึงจดทะเบียนสมรสกับ น.ส.สมบูรณ์อีกคนหนึ่งที่ อ.พระเนตร เพื่อตัดปัญหา
การจดทะเบียนครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากหมออธิปจดทะเบียนกับนวลฉวีได้เพียง 6 วันเท่านั้น!
เรื่องนี้จึงกลายเป็นการจดทะเบียนซ้อน โดยหมออธิปเล่าว่า "พอผมจดทะเบียนกับนวลฉวี สมบูรณ์เขารู้
ผมก็ขอจดทะเบียนกับเขาอีก ผมตัดปัญหานี้ไป อยากให้เรื่องมันเงียบหาย จะได้ไม่ไปบอกใครให้เป็นขี้หูคนอื่น"
นั่นทำให้ดราม่าคุกรุ่นไปยิ่งกว่าเดิม เมื่อหญิงทั้งสองต่างมีทะเบียนสมรส ทั้งสองจึงมีปากเสียงกันอย่างรุนแรงถึง 7 ครั้ง
ซึ่งแทบทุกครั้งจะเกิดที่โรงพยาบาลที่หมออธิปทำงานอยู่ จนหมออธิปจึงไปขอให้ผู้ใหญ่
ห้ามไม่ให้ทั้งนวลฉวี และสมบูรณ์ เข้ามาในโรงพยาบาลอย่างเด็ดขาด
แม้ว่านวลฉวีจะจดทะเบียนสมรส แต่เธอยังไม่ได้แต่งงานกับหมออธิปสักที แถมหมอ ก็ไม่ได้เอาใจใส่ตนเหมือนครั้งก่อน ๆ
เธอต้องการแต่งงานกับเขา เธอต้องหาวิธีต่าง ๆ เพื่อให้หมออธิปยอมเธอให้ได้ และนี่ เป็นจุดเริ่มต้นที่นวลฉวีได้ตัดสินใจผิดมหันต์
พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2502 นวลฉวี บอกกับครอบครัวว่าของเธอ ว่า เธอกับหมออธิปจะแต่งงานกัน
ครอบครัวเลยเชิญให้หมออธิปมาทานข้าวเย็นด้วยกัน เพื่อคุยเรื่องแต่งงาน แต่หมออธิปไม่รู้เรื่อง
หมออธิปบอกว่า เขาไม่ได้รู้เรื่องใดๆทั้งนั้น นวลฉวีคิดไปเอง
วันที่ 4 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2502 พ่อและนวลฉวี มาพบกันที่กรุงเทพฯ นวลฉวี บอกกับพ่อว่าเธอได้เสียกับหมอแล้ว
ตอนทำงานที่โรงพยาบาลรถไฟ หมออธิปรู้ข่าวเลยบอกว่าจะเลี้ยงดูนวลฉวีให้ แต่เรื่องก็เงียบหายไป
วันที่ 5 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2502 นวลฉวีพบหมออธิปอยู่กับผู้หญิงในโรงพยาบาลรถไฟ ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทขึ้นอย่างหนัก
ช่วงวันที่ 11 หรือ 12 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2502 นวลฉวีบอกกับพี่เขยว่าจะย้ายไปอยู่กับหมออธิป
และได้เตรียมย้ายข้าวของแล้ว ส่วนหมออธิปรู้เรื่องนี้หรือเปล่า (ไม่รู้สิ เขาคงไม่รู้มั้ง)
วันที่ 13 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2502 นวลฉวีถูกไล่ออกจากครอบครัวหมออธิป (ตอนนั้นหมออธิปไม่อยู่บ้าน)
มันน่าไล่จริง ๆ เพราะเธอมารอหมออธิปตั้งแต่เช้าจนถึงตี 1 ไม่ยอมกลับ พอหมออธิปกลับมาบ้านก็โดนครอบครัวด่าอีก
ว่า "เมียแกคนบ้าหรือเปล่าเนี้ย"
เหตุการณ์ครั้งนั้น นวลฉวีได้ระบายเรื่องทั้งหมดลงใน "สมุดบันทึก" ซึ่งภายหลังสมุดนี้กลายเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญ
ที่ใช้สืบหาตัวฆาตกรที่ก่อคดีฆ่าเธอได้ปัจจุบันหลักฐานนี้อยู่ในการดูแลของห้องพิพิธภัณฑ์นิติเวชวิทยา โรงพยาบาลศิริราช
วันที่ 13 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2502 เวลา 11.30 น. นวลฉวีเข้ามาโรงพยาบาลและเดินดุ่ม ๆ ไปหาคุณหมออธิป
เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ถูกบันทึกไว้ในสมุดบันทึกดังนี้ . .
"ดิฉันพบนายแพทย์อธิป สามีฉันที่โรงพยาบาลรถไฟ จากนั้นก็คุยเรื่องปัญหาชีวิตของเราทั้งสอง...."
หมออธิปเริ่มระงับอารมณ์ไม่อยู่ ผมต้องทำงานนะ มากวนอยู่ได้ ว่าแล้ว หมอก็กำหมัด ต่อยไปที่ใบหน้านวลฉวีจังๆ
นวลฉวีกรีดร้อง "ช่วยด้วย หมอรังแกผู้หญิง" "หมอจะฆ่าเมีย ช่วยด้วยหมอจะฆ่าเมีย"
จนหมออธิป ต้องเข้ามาปลอบและพาเธอไปห้องพักคนไข้ พร้อมสายตาคนเกือบทั้งโรงพยายามที่มองไปที่ทั้งสองคน
วันที่ 13 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2502 นวลฉวี แจ้งความตำรวจว่าถูก หมออธิป ทำร้ายร่างกายตน
วันที่ 14 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2502 หมออธิป ตกลงเงื่อนไขนวลฉวี ว่าให้ปรองดองกัน เพราะเป็นสามีภรรยากันแล้ว
เรื่องเลยจบลงที่การบันทึกประจำวัน
วันที่ 15 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2502 บาดแผลที่หมออธิป ชกหน้านวลฉวีลุกลาม และเจ็บปวดมาก
แต่นวลฉวีขอตำรวจไม่เอาผิดหมออธิปเพิ่ม เพราะกลัวเขาเสียอนาคต เธอบันทึกเรื่องราวนี้ในสมุดบันทึกอย่างละเอียด...
ส่งผลให้นวลฉวีต้องเข้านอนรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยนวลฉวี ขอให้หมออธิปเป็นผู้รักษาเธอ
แต่ถึงกระนั้นหมออธิปก็ไม่ได้มาหาเธอบ่อยมากนัก
เรื่องนี้หมออธิป เดือดดานสุด ๆ ถึงกับระบายเหตุการณ์ในครั้งนี้ว่า "อยากจะบ้าตาย ถูกมาบังคับให้นอนเฝ้าด้วย
โอ๊ย! ผมต้องทำงานนะ บางคืนก็เฝ้าทั้งที่ทำงานอยู่ ไปเฝ้านานก็ไม่ได้ เดี๋ยวสมบูรณ์เข้าไปอาละวาดอีกเรื่องมันจะวุ่นวาย ไปกันใหญ่"
วันที่ 17 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2502 พ่อของนวลฉวีมาเพื่อเอาเรื่องกับหมออธิป ช่วงนั้น หมออธิปดูแปลกไป
ไม่สนใจเรื่องนี้มากนัก เขาพูดสั้นๆ แค่ว่า "แล้วแต่ศาล"
นวลฉวี บันทึกเหตุการณ์นี้ลงสมุดบันทึก ด้วยคำสาปแช่งถึงหมออธิป
"เชิญแกไปหาเมียใหม่ตามสบายเถอะ ฉันรู้นะว่าปีศาจในตัวแกจะแสดงบทบาทอย่างไรในอนาคตอันใกล้นี้"
วันที่ 22 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2502 นวลฉวีทำหนังสือร้องเรียนให้สารวัตรฝ่ายสืบสวน ว่า..
หมออธิปไม่ทำตามทัณฑ์บนที่เคยให้ไว้ นอกจากนั้นยังทำทารุณกับเธออีก ทำร้ายร่างกายเธอ
โดยดึงสะโพกไปกระแทกกับก๊อกน้ำและเลือดไหล ความเจ็บปวดสุดจะบรรยาย จึงอยากขอให้พิจารณาดำเนินคดีใหม่อีกครั้ง
วันที่ 28 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2502 หมออธิปไปที่โรงพัก เพื่อการทำการสอบสวน เขาได้สารภาพทุกข้อกล่าวหาตามที่ว่ามา
วันที่ 31 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2502 หมออธิป ได้รับโทรศัพท์จากนวลฉวีให้ไปหา นายธวัช เพื่อนของเธอ
และเป็นที่ปรึกษา คดีทำร้ายร่างกายของเธอด้วยในครั้งนี้ หมออธิป ไปตามที่นวลฉวีนัดหมาย
ที่ทำการรถไฟสถานกษัตริย์ศึกเวลา 10.00 น. นายธวัชแนะนำให้หมอกับนวลฉวีคืนดีกัน
หมออธิป รับปาก และได้เขียนจดหมายใส่ซองปิดผลึกให้ พ.ต.อ. เจ้าของคดีนี้ ใจความว่า "เราจะคืนดีกันแล้ว"
และแล้ววันนั้นก็มาถึง..
เมื่อเธอโดนสั่งตาย ขอโทษ..เป็นคนฆ่าเธอเอง l บันทึกลึกลับ
🛑 ผู้ชายคนหนึ่งที่สร้างโลกหลายใบ ท้ายที่สุดแล้วมันลงเอยด้วยความเศร้า
🛑 จุดเริ่มต้นของวาทกรรม “หมอฆ่าเมีย” ที่ถูกนำไปพูดถึงกันโดยทั่วไป
12 ก.ย.2502 พบร่าง นวลฉวี "ใบสั่งตาย" จากหมอคนรัก
คดีนี้เกิดจากผู้ชายคนหนึ่งที่สร้างโลกหลายใบ ท้ายที่สุดแล้วมันลงเอยด้วยความเศร้า
คดีนี้เป็นคดีหมอฆ่าเมียที่เกิดขึ้นแรกสุดในประเทศไทย คดีนี้มีชื่อเสียงโด่งดัง
เพราะหมอผู้เป็นฆาตกรได้ทำการอำพรางศพอย่างแยบยล
นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของวาทกรรม “หมอฆ่าเมีย” ที่ถูกนำไปพูดถึงกันโดยทั่วไป
นวลฉวี เพชรรุ่ง เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2475 ที่ตำบลเชียงงา อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
ครอบครัวของเธอมีฐานะมั่นคงพอสมควร เพราะมีที่นาให้คนอื่นเช่าแม้จะมีลูก 10 คน
แต่ลูกๆ ทุกคนได้รับการศึกษาขั้นดี และลูก ๆ ทุกคน มีการงานเป็นที่นับหน้าถือตาด้วย
นวลฉวี เป็นผู้หญิงรูปร่างบาง ตัวเล็ก หน้าตอพอใช้ได้ แต่เธอก็มีเสน่ห์ ร่าเริง มีชีวิตชีวา
และเป็นคนเก่ง หัวดี เธอ สามารถสอบเข้าเป็นนักเรียนพยาบาลที่ศิริราชพยาบาล
และจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2497 จากนั้นก็ออกไปทำงานที่โรงพยาบาลภูมิพล
ประมาณปีเศษก็ออก เพราะมีเรื่องกับคนในโรงพยาบาล
จึงย้ายมาเป็นนางพยาบาลที่เมืองบ้านหมี่ประมาณ 1 ปี
จากนั้นก็ทำงานในสถานพยาบาลยาสูบปี พ.ศ.2501 โดยอาศัยพักอยู่ในโรงพยาบาลยาสูบ
และในช่วง ต้นปี พ.ศ. 2501 นวลฉวีได้เดินทางท่องเที่ยวทางเหนือกับเพื่อนชื่อ โมทนี
และได้พบรักกับ คุณหมอ อธิป สุญาณเศรษฐกร และคุณหมอ อธิป
นี่แหละ คือคนที่เปลี่ยนชีวิตของนวลฉวีให้อยู่ในรูปตำนาน
หมออธิป สุญาณเศรษฐกร เกิดและโตในกรุงเทพ เป็นลูกคนสุดท้องในจำนวน ลูก 5 คน ของครอบครัว
พ่อแม่เป็นข้าราชการในกระทรวงพาณิชย์ อดีตเคยเป็นคนในจังหวัดฉะเชิงเทรา
หมออธิปเป็นหนุ่มที่หน้าตาค่อนข้างดี ใจเย็น และฉลาดเฉลียว
เขาสามารถศึกษาชั้นเตรียมวิทยาศาสตร์จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยจนจบเมื่อ ปี พ.ศ. 2494
โดยช่วงเวลาว่างหมออธิปจะไปทำงานที่อู่รถใกล้บ้าน เพื่อเก็บเงินซื้อหนังสือเรียนและขนม
ในปี พ.ศ. 2500 หมออธิปจบการศึกษาแพทย์ศาสตร์ จากศิริราชพยาบาล
ได้รับหมายเกณฑ์เข้าประจำสำรองราชการ กรมกำลังพลทหารอากาศ ได้รับตำแหน่ง ว่าที่เรืออากาศโท
และเข้ารับราชการเป็นนายแพทย์อยู่โรงพยาบาลรถไฟ
ในปี พ.ศ. 2501 ต่อมา หมอ อธิป ย้ายไปเป็นแพทย์รถไฟ หัวหน้าเขต 4 จังหวัดลำปาง
และนั่นทำให้เขาและนวลฉวีได้พบกัน
ด้วยความเปล่าเปลี่ยวของหนุ่มเมืองที่ต้องห่างไกลความเจริญมาอยู่ท่ามกลางความสงบเงียบแห่งบ้านป่า
เมื่อมีโอกาสได้ทำความใกล้ชิดกับหญิงสาวที่มีเสน่ห์ และรู้จักเอาใจอย่างนวลฉวี ทำให้หมออธิปมีความสุขและมีชีวิตชีวา
ความรักที่ค่อย ๆ ก่อเกิด ชั่วระยะเวลาไม่นานที่ได้อยู่ด้วยกันนี้ สองคนหนุ่มสาวก็ผูกจิตปฏิพัทธ์ และต่างรู้ว่าอีกฝ่ายก็มีใจให้เช่นกัน
หมอ อธิป รับหน้าที่เป็นมัคคุเทสก์พาหญิงสาวทั้งสองเที่ยวในลำปาง ประมาณ 3-4 วัน
หลังจากนั้น นวลฉวีกับเพื่อนก็ต้องแยกย้ายกับคุณหมอ เพื่อเดินทางไปที่เชียงใหม่ต่อ
ทิ้งความหลังอันหวานชื่นไว้ที่นครลำปาง ดินแดนแห่งการคร่ำครวญหวลหาของนวลฉวี
เธอพบชายหนุ่มในดวงใจเข้าแล้ว
ต่อมา นวลฉวีส่งจดหมายจากกรุงเทพฯ ไปให้กับ หมออธิป ที่นครลำปาง เป็นระยะๆ
จนกระทั่งผ่านไป 6 เดือน หมออธิป ย้ายกลับโรงพยาบาลดังเดิม เขาทำการติดต่อนวลฉวี
โดยใช้สื่อทางจดหมาย และส่งอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะ ๆ ความรักทั้งสองยิ่งแน่นแฟ้นจนกลายเป็นสามีภรรยาโดยพฤตินัย
โดยใช้บังกะโล และโรงแรม เป็นเรือนหอชั่วคราว
ความรักของคนสองคนดำเนินไปอย่างหวานชื่น โดยต่างฝ่ายปิดบังอำพรางธาตุแท้ของตนเอง
ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์-ธันวาคม ปี พ.ศ. 2501 นวลฉวีล้มป่วย โดยพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลยาสูบเป็นเวลา 1 เดือน
หมออธิป ไปเยี่ยมนวลฉวีหลายครั้ง อาการของเธอบ่งบอกว่าตกเลือดมาก แต่เธอไม่บอกใครว่าเธอป่วยเป็นโรคอะไร
แต่ดูจากอาการ หมออธิปรู้ทันทีว่าเธอคงแท้งลูก
ชีวิตของหมออธิป เริ่มยุ่งเหยิงขึ้น เนื่องจากมีผู้หญิงเข้ามาในหัวใจของหมอ
เธอคือ นางสาวสมบูรณ์ สืบสมาน นักศึกษาสาวแห่งมหาวิทยาลัยเทคนิคทุ่งมหาเมฆ
เธอเป็นเพื่อนในวัยเด็กของหมออธิป เธอสวยตรงใจเขาเหลือเกิน
ต่อมาในปี พ.ศ 2502 หมออธิป สอบชิงทุนฮุมโบลก์ ได้ไปเรียนต่อที่ประเทศเยอรมัน
และเนื่องจากโรงพยาบาลรถไฟจะมีแผนกใหม่ หลังจากที่หมออธิปกลับมาจากเยอรมัน
เขาก็ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกตาที่นั่นทันที
ในเดือน มกราคม ปี พ.ศ. 2502 ทางการรถไฟส่ง หมออธิปไปฝึกงาน โรคหู ตา จมูก ที่โรงพยาบาลศิริราช เป็นเวลา 6 เดือน
ตอนเย็นหลังเลิกงานก็ไปเรียนภาษาเยอรมันที่เลขาทูต ทำให้เวลาที่หมอได้เจอนวลฉวียิ่งหดหายไป
ทางด้านนวลฉวี เริ่มระแคงระคายความรักของหมออธิป ด้วยความหึงหวงหมออธิปมาก เธอใช้วิธีต่างๆ เพื่อจับหมออธิปให้อยู่หมัด
ไม่ว่านั่งเฝ้าหมอในที่ทำงาน ตามทุกหนทุกแห่งเหมือนเงาตามตัว
แทนที่หมออธิป จะรักเธอมากขึ้นกับเพิ่มความรำคาญแก่หมออธิปมากขึ้น
จนกระทั่งวันที่ 11 มีนาคม 2502 หมออธิปจดทะเบียนสมรสกับนวลฉวี ที่เขตยานนาวา
ตามความต้องการของนวลฉวี แต่ว่าการจดทะเบียนสมรสนั้นไม่ได้เกิดจากความรักเลย
มันมาจากความต้องการของหมออธิปที่จะตัดความรำคาญเท่านั้น เขาเชื่อว่าถ้านวลฉวีได้สิ่งที่เธอต้องการแล้ว
เธอจะหยุดติดตามเขาด้วยความหึงหวงเสียที โดยหมออธิปได้กล่าวในภายหลังว่า
“ที่จริงผมไม่อยากจดทะเบียนกับเธอหรอก เพราะอะไรเหรอ มันก็พูดยาก หลายเรื่องบอกไม่ถูก
คือเขาชอบตามผมทุกวันทุกคืน งานการเขาก็ไม่ทำ มานั่งเฝ้า ผมนี้รำคาญสุดๆ ผมไม่อยากจดหรอก
แต่จดก็จด มันอยากให้จดก็จดไป จะได้ตัดปัญหาซะที”
แต่หมออธิปนั้นยังไม่ได้เลิกรากับ น.ส สมบูรณ์ ดังนั้นเมื่อเธอทราบว่าหมออธิปจดทะเบียนสมรสกับนวลฉวี
น.ส. สมบูรณ์ขอร้องกึ่งบังคับให้เขาพาเธอไปจดทะเบียนสมรสด้วย
ต่อมา วันที่ 17 มีนาคม 2502 หมออธิปจึงจดทะเบียนสมรสกับ น.ส.สมบูรณ์อีกคนหนึ่งที่ อ.พระเนตร เพื่อตัดปัญหา
การจดทะเบียนครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากหมออธิปจดทะเบียนกับนวลฉวีได้เพียง 6 วันเท่านั้น!
เรื่องนี้จึงกลายเป็นการจดทะเบียนซ้อน โดยหมออธิปเล่าว่า "พอผมจดทะเบียนกับนวลฉวี สมบูรณ์เขารู้
ผมก็ขอจดทะเบียนกับเขาอีก ผมตัดปัญหานี้ไป อยากให้เรื่องมันเงียบหาย จะได้ไม่ไปบอกใครให้เป็นขี้หูคนอื่น"
นั่นทำให้ดราม่าคุกรุ่นไปยิ่งกว่าเดิม เมื่อหญิงทั้งสองต่างมีทะเบียนสมรส ทั้งสองจึงมีปากเสียงกันอย่างรุนแรงถึง 7 ครั้ง
ซึ่งแทบทุกครั้งจะเกิดที่โรงพยาบาลที่หมออธิปทำงานอยู่ จนหมออธิปจึงไปขอให้ผู้ใหญ่
ห้ามไม่ให้ทั้งนวลฉวี และสมบูรณ์ เข้ามาในโรงพยาบาลอย่างเด็ดขาด
แม้ว่านวลฉวีจะจดทะเบียนสมรส แต่เธอยังไม่ได้แต่งงานกับหมออธิปสักที แถมหมอ ก็ไม่ได้เอาใจใส่ตนเหมือนครั้งก่อน ๆ
เธอต้องการแต่งงานกับเขา เธอต้องหาวิธีต่าง ๆ เพื่อให้หมออธิปยอมเธอให้ได้ และนี่ เป็นจุดเริ่มต้นที่นวลฉวีได้ตัดสินใจผิดมหันต์
พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2502 นวลฉวี บอกกับครอบครัวว่าของเธอ ว่า เธอกับหมออธิปจะแต่งงานกัน
ครอบครัวเลยเชิญให้หมออธิปมาทานข้าวเย็นด้วยกัน เพื่อคุยเรื่องแต่งงาน แต่หมออธิปไม่รู้เรื่อง
หมออธิปบอกว่า เขาไม่ได้รู้เรื่องใดๆทั้งนั้น นวลฉวีคิดไปเอง
วันที่ 4 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2502 พ่อและนวลฉวี มาพบกันที่กรุงเทพฯ นวลฉวี บอกกับพ่อว่าเธอได้เสียกับหมอแล้ว
ตอนทำงานที่โรงพยาบาลรถไฟ หมออธิปรู้ข่าวเลยบอกว่าจะเลี้ยงดูนวลฉวีให้ แต่เรื่องก็เงียบหายไป
วันที่ 5 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2502 นวลฉวีพบหมออธิปอยู่กับผู้หญิงในโรงพยาบาลรถไฟ ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทขึ้นอย่างหนัก
ช่วงวันที่ 11 หรือ 12 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2502 นวลฉวีบอกกับพี่เขยว่าจะย้ายไปอยู่กับหมออธิป
และได้เตรียมย้ายข้าวของแล้ว ส่วนหมออธิปรู้เรื่องนี้หรือเปล่า (ไม่รู้สิ เขาคงไม่รู้มั้ง)
วันที่ 13 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2502 นวลฉวีถูกไล่ออกจากครอบครัวหมออธิป (ตอนนั้นหมออธิปไม่อยู่บ้าน)
มันน่าไล่จริง ๆ เพราะเธอมารอหมออธิปตั้งแต่เช้าจนถึงตี 1 ไม่ยอมกลับ พอหมออธิปกลับมาบ้านก็โดนครอบครัวด่าอีก
ว่า "เมียแกคนบ้าหรือเปล่าเนี้ย"
เหตุการณ์ครั้งนั้น นวลฉวีได้ระบายเรื่องทั้งหมดลงใน "สมุดบันทึก" ซึ่งภายหลังสมุดนี้กลายเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญ
ที่ใช้สืบหาตัวฆาตกรที่ก่อคดีฆ่าเธอได้ปัจจุบันหลักฐานนี้อยู่ในการดูแลของห้องพิพิธภัณฑ์นิติเวชวิทยา โรงพยาบาลศิริราช
วันที่ 13 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2502 เวลา 11.30 น. นวลฉวีเข้ามาโรงพยาบาลและเดินดุ่ม ๆ ไปหาคุณหมออธิป
เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ถูกบันทึกไว้ในสมุดบันทึกดังนี้ . .
"ดิฉันพบนายแพทย์อธิป สามีฉันที่โรงพยาบาลรถไฟ จากนั้นก็คุยเรื่องปัญหาชีวิตของเราทั้งสอง...."
หมออธิปเริ่มระงับอารมณ์ไม่อยู่ ผมต้องทำงานนะ มากวนอยู่ได้ ว่าแล้ว หมอก็กำหมัด ต่อยไปที่ใบหน้านวลฉวีจังๆ
นวลฉวีกรีดร้อง "ช่วยด้วย หมอรังแกผู้หญิง" "หมอจะฆ่าเมีย ช่วยด้วยหมอจะฆ่าเมีย"
จนหมออธิป ต้องเข้ามาปลอบและพาเธอไปห้องพักคนไข้ พร้อมสายตาคนเกือบทั้งโรงพยายามที่มองไปที่ทั้งสองคน
วันที่ 13 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2502 นวลฉวี แจ้งความตำรวจว่าถูก หมออธิป ทำร้ายร่างกายตน
วันที่ 14 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2502 หมออธิป ตกลงเงื่อนไขนวลฉวี ว่าให้ปรองดองกัน เพราะเป็นสามีภรรยากันแล้ว
เรื่องเลยจบลงที่การบันทึกประจำวัน
วันที่ 15 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2502 บาดแผลที่หมออธิป ชกหน้านวลฉวีลุกลาม และเจ็บปวดมาก
แต่นวลฉวีขอตำรวจไม่เอาผิดหมออธิปเพิ่ม เพราะกลัวเขาเสียอนาคต เธอบันทึกเรื่องราวนี้ในสมุดบันทึกอย่างละเอียด...
ส่งผลให้นวลฉวีต้องเข้านอนรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยนวลฉวี ขอให้หมออธิปเป็นผู้รักษาเธอ
แต่ถึงกระนั้นหมออธิปก็ไม่ได้มาหาเธอบ่อยมากนัก
เรื่องนี้หมออธิป เดือดดานสุด ๆ ถึงกับระบายเหตุการณ์ในครั้งนี้ว่า "อยากจะบ้าตาย ถูกมาบังคับให้นอนเฝ้าด้วย
โอ๊ย! ผมต้องทำงานนะ บางคืนก็เฝ้าทั้งที่ทำงานอยู่ ไปเฝ้านานก็ไม่ได้ เดี๋ยวสมบูรณ์เข้าไปอาละวาดอีกเรื่องมันจะวุ่นวาย ไปกันใหญ่"
วันที่ 17 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2502 พ่อของนวลฉวีมาเพื่อเอาเรื่องกับหมออธิป ช่วงนั้น หมออธิปดูแปลกไป
ไม่สนใจเรื่องนี้มากนัก เขาพูดสั้นๆ แค่ว่า "แล้วแต่ศาล"
นวลฉวี บันทึกเหตุการณ์นี้ลงสมุดบันทึก ด้วยคำสาปแช่งถึงหมออธิป
"เชิญแกไปหาเมียใหม่ตามสบายเถอะ ฉันรู้นะว่าปีศาจในตัวแกจะแสดงบทบาทอย่างไรในอนาคตอันใกล้นี้"
วันที่ 22 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2502 นวลฉวีทำหนังสือร้องเรียนให้สารวัตรฝ่ายสืบสวน ว่า..
หมออธิปไม่ทำตามทัณฑ์บนที่เคยให้ไว้ นอกจากนั้นยังทำทารุณกับเธออีก ทำร้ายร่างกายเธอ
โดยดึงสะโพกไปกระแทกกับก๊อกน้ำและเลือดไหล ความเจ็บปวดสุดจะบรรยาย จึงอยากขอให้พิจารณาดำเนินคดีใหม่อีกครั้ง
วันที่ 28 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2502 หมออธิปไปที่โรงพัก เพื่อการทำการสอบสวน เขาได้สารภาพทุกข้อกล่าวหาตามที่ว่ามา
วันที่ 31 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2502 หมออธิป ได้รับโทรศัพท์จากนวลฉวีให้ไปหา นายธวัช เพื่อนของเธอ
และเป็นที่ปรึกษา คดีทำร้ายร่างกายของเธอด้วยในครั้งนี้ หมออธิป ไปตามที่นวลฉวีนัดหมาย
ที่ทำการรถไฟสถานกษัตริย์ศึกเวลา 10.00 น. นายธวัชแนะนำให้หมอกับนวลฉวีคืนดีกัน
หมออธิป รับปาก และได้เขียนจดหมายใส่ซองปิดผลึกให้ พ.ต.อ. เจ้าของคดีนี้ ใจความว่า "เราจะคืนดีกันแล้ว"
และแล้ววันนั้นก็มาถึง..