เลือกใช้ปลั๊กไฟ-ปลั๊กพ่วงแบบไหนให้ปลอดภัย
1. มีเครื่องหมาย มอก.
ควรเลือกปลั๊กพ่วงที่มีเครื่องหมาย มอก. หรือเครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำกับอยู่ โดยมาตรฐานปัจจุบัน ต้องเป็น มอก. 2432 – 2555 ที่บังคับใช้ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา นอกจากนี้ยังควรเลือกซื้อรุ่นที่มีการรับรองตามมาตรฐานสากลด้วย ไม่ว่าจะเป็น สัญลักษณ์ CD, TUV, CQC และ CCC
2. สายไฟต้องไม่ยาวมากเกินไป และมีหุ้มฉนวน 2 ชั้น
ควรเลือกปลั๊กที่มีความยาวสายไฟพอดี นอกจากนี้สายไฟจะต้องหุ้มฉนวน 2 ชั้น แรงดันไฟฟ้าไม่ควรเกิน 440V และกระแสไฟฟ้าไม่ควรเกิน 16 A ตัวรางปลั๊กควรเลือกรุ่นที่ผลิตจากพลาสติก AVC มากกว่ารุ่นที่ผลิตจากพลาสติก PVC เพราะจะทนความร้อนได้ดีกว่า
ค่าขนาดของสายไฟ ที่ใช้แล้วปลอดภัยเหมาะกับครัวเรือน
• สายไฟขนาด 0.5 sqmm. จะสามารถใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าสูงสุด ไม่เกิน 1,200 วัตต์
• สายไฟขนาด 1.0 sqmm. จะสามารถใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าสูงสุด ไม่เกิน 2,200 วัตต์
3. วัสดุของเต้ารับจะต้องไม่ลามไฟ
ควรเลือกเต้ารับที่ผลิตจากวัสดุที่ไม่ลามไฟหรือติดไฟ สามารถทนความร้อนได้ดี นอกจากนี้ตัวเต้ารับของรางปลั๊กไฟจะต้องมีการเดินสายและการระบุตำแหน่งของกระแสไฟฟ้า N L G ที่ถูกต้องเช่นกัน ในขณะที่ขั้ว Ground ของเต้ารับ ควรเป็นขั้วจริงและเป็นขั้วทองเหลืองที่มีคุณสมบัติป้องกันไฟรั่ว
4. สายไฟต้องทนแรงดันไฟฟ้า
ตัวสายไฟจะต้องทนต่อแรงดันไฟฟ้าได้ดีเพื่อป้องกันการกระชากของไฟ ส่วนตัวเต้าเสียบของรางปลั๊กควรเลือกแบบสามขากลมแทนขาแบน ตามมาตรฐานของ มอก. มีฉนวนหุ้มที่ขาปลั๊ก เพื่อป้องกันการช็อตและไม่ให้นิ้วสัมผัสกับขาปลั๊กที่มีกระแสไฟฟ้า
5. รูปลั๊กแน่น ไม่หลวม ไม่ขยับ
หากเป็นรุ่นที่ไม่ได้มาตรฐาน ราคาค่อนข้างถูก เมื่อเสียบไปได้ระยะหนึ่งแล้วรูหรือเต้ารับจะหลวมอย่างเห็นได้ชัด บางครั้งแค่ไปขยับหรือโดนหัวปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าก็ดับทันที ถ้าหากยังใช้งานต่อก็จะส่งผลเสียต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้ นอกจากนี้ ก่อนซื้อให้ลองเขย่าก่อนทุกครั้งเพื่อลองฟังเสียงข้างใน จะทำให้รู้ว่ามีชิ้นส่วนใดภายในหลุดหรือไม่ โดยเฉพาะตะกั่วบัดกรีที่หลุดออกมา หากซื้อมาใช้งานโดยไม่ตรวจสอบก่อนก็อาจเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดเพลิงไหม้ได้เลย
6. มีระบบตัดไฟและม่านนิรภัย
ตัวระบบตัดไฟหรือที่เรียกกันว่า เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) เป็นสวิตช์ไฟฟ้าอัตโนมัติ ที่ถูกออกแบบมาให้ช่วยป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร โดยจะทำการตัดกระแสไฟฟ้าทันทีเมื่อมีการตรวจจับความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในวงจรไฟฟ้า ที่สำคัญคือควรเลือกซื้อรุ่นที่มี “ม่านนิรภัย” หรือก็คือ Safety Shutter จะมีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติก ที่ปิดกั้นขั้วทองแดงกับสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ที่อาจจะเข้ามาหรือแหย่ลงไปยังตัวเต้ารับโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ และยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายจากการถูกไฟดูด โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กเล็กที่อาจเอามือไปแหย่รูปลั๊กไฟ
HomeGuru by HomePro
อุ่นใจทุกเรื่องบ้านไปกับโฮมโปร และติดตามเคล็ดลับดีๆ เพื่อบ้านได้ทาง
http://bit.ly/HomeGuru_Homepro
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นปัญหาเรื่องบ้านกับ HomeGuru เพิ่มเติมได้ทาง
https://bit.ly/3dQm4XE
เลือกใช้ปลั๊กพ่วงแบบไหนให้ปลอดภัย
เลือกใช้ปลั๊กไฟ-ปลั๊กพ่วงแบบไหนให้ปลอดภัย
1. มีเครื่องหมาย มอก.
ควรเลือกปลั๊กพ่วงที่มีเครื่องหมาย มอก. หรือเครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำกับอยู่ โดยมาตรฐานปัจจุบัน ต้องเป็น มอก. 2432 – 2555 ที่บังคับใช้ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา นอกจากนี้ยังควรเลือกซื้อรุ่นที่มีการรับรองตามมาตรฐานสากลด้วย ไม่ว่าจะเป็น สัญลักษณ์ CD, TUV, CQC และ CCC
2. สายไฟต้องไม่ยาวมากเกินไป และมีหุ้มฉนวน 2 ชั้น
ควรเลือกปลั๊กที่มีความยาวสายไฟพอดี นอกจากนี้สายไฟจะต้องหุ้มฉนวน 2 ชั้น แรงดันไฟฟ้าไม่ควรเกิน 440V และกระแสไฟฟ้าไม่ควรเกิน 16 A ตัวรางปลั๊กควรเลือกรุ่นที่ผลิตจากพลาสติก AVC มากกว่ารุ่นที่ผลิตจากพลาสติก PVC เพราะจะทนความร้อนได้ดีกว่า
• สายไฟขนาด 0.5 sqmm. จะสามารถใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าสูงสุด ไม่เกิน 1,200 วัตต์
• สายไฟขนาด 1.0 sqmm. จะสามารถใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าสูงสุด ไม่เกิน 2,200 วัตต์
ควรเลือกเต้ารับที่ผลิตจากวัสดุที่ไม่ลามไฟหรือติดไฟ สามารถทนความร้อนได้ดี นอกจากนี้ตัวเต้ารับของรางปลั๊กไฟจะต้องมีการเดินสายและการระบุตำแหน่งของกระแสไฟฟ้า N L G ที่ถูกต้องเช่นกัน ในขณะที่ขั้ว Ground ของเต้ารับ ควรเป็นขั้วจริงและเป็นขั้วทองเหลืองที่มีคุณสมบัติป้องกันไฟรั่ว
4. สายไฟต้องทนแรงดันไฟฟ้า
ตัวสายไฟจะต้องทนต่อแรงดันไฟฟ้าได้ดีเพื่อป้องกันการกระชากของไฟ ส่วนตัวเต้าเสียบของรางปลั๊กควรเลือกแบบสามขากลมแทนขาแบน ตามมาตรฐานของ มอก. มีฉนวนหุ้มที่ขาปลั๊ก เพื่อป้องกันการช็อตและไม่ให้นิ้วสัมผัสกับขาปลั๊กที่มีกระแสไฟฟ้า
5. รูปลั๊กแน่น ไม่หลวม ไม่ขยับ
หากเป็นรุ่นที่ไม่ได้มาตรฐาน ราคาค่อนข้างถูก เมื่อเสียบไปได้ระยะหนึ่งแล้วรูหรือเต้ารับจะหลวมอย่างเห็นได้ชัด บางครั้งแค่ไปขยับหรือโดนหัวปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าก็ดับทันที ถ้าหากยังใช้งานต่อก็จะส่งผลเสียต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้ นอกจากนี้ ก่อนซื้อให้ลองเขย่าก่อนทุกครั้งเพื่อลองฟังเสียงข้างใน จะทำให้รู้ว่ามีชิ้นส่วนใดภายในหลุดหรือไม่ โดยเฉพาะตะกั่วบัดกรีที่หลุดออกมา หากซื้อมาใช้งานโดยไม่ตรวจสอบก่อนก็อาจเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดเพลิงไหม้ได้เลย
6. มีระบบตัดไฟและม่านนิรภัย
ตัวระบบตัดไฟหรือที่เรียกกันว่า เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) เป็นสวิตช์ไฟฟ้าอัตโนมัติ ที่ถูกออกแบบมาให้ช่วยป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร โดยจะทำการตัดกระแสไฟฟ้าทันทีเมื่อมีการตรวจจับความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในวงจรไฟฟ้า ที่สำคัญคือควรเลือกซื้อรุ่นที่มี “ม่านนิรภัย” หรือก็คือ Safety Shutter จะมีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติก ที่ปิดกั้นขั้วทองแดงกับสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ที่อาจจะเข้ามาหรือแหย่ลงไปยังตัวเต้ารับโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ และยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายจากการถูกไฟดูด โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กเล็กที่อาจเอามือไปแหย่รูปลั๊กไฟ
HomeGuru by HomePro
อุ่นใจทุกเรื่องบ้านไปกับโฮมโปร และติดตามเคล็ดลับดีๆ เพื่อบ้านได้ทาง http://bit.ly/HomeGuru_Homepro
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นปัญหาเรื่องบ้านกับ HomeGuru เพิ่มเติมได้ทาง https://bit.ly/3dQm4XE