JJNY : แฉ! ทุกส่วนรู้เรื่องAFS แต่เฉย│จี้ปศุสัตว์รับผิดชอบหมูแพง│พท.ชี้โควิดทะลุหมื่นแน่│สุรชาติหาเสียงตลาดเคหะบางบัว

เกษตรกรแฉ! ทุกภาคส่วนรู้เรื่อง AFS แต่เมินเฉย เกิดความเสียหายจนฟาร์มปิดตัว ส่งผลให้หมูแพง
https://ch3plus.com/news/program/273728

เกษตรกรแฉทุกภาคส่วน รับรู้โรค AFS แต่เมินเฉยไม่แก้ไขจนเกิดความเสียหาย จนฟาร์มหลายแห่งต้องปิดตัว และส่งผลให้ราคาหมูแพง
 
วันที่ 9 มกราคม 65 จากกรณีที่โรค AFS ที่ไม่มีส่วนราชการออกมาระบุให้ชัดเจนว่าเป็นโรคอะไรส่วนทางจังหวัดราชบุรีนั้นมีการแพร่ระบาดหนักอยู่ช่วงประมาณเดือน เมษายน 64 และได้มีเจ้าหน้าที่ของปศุสัตว์จังหวัดได้มีคำสั่งถึงฟาร์มหลายแห่งให้ ขุด ฝัง กลบ หรือเผาทำลาย ซึ่งแล้วแต่ฟาร์มนั้น ๆ จะทำด้วยวิธีการใด โดยโรค AFS สามารถตรวจสอบด้วยสายตาได้ง่าย โดยมีลักษณะคือ เมื่อผ่าสุกรออก จะมี ม้ามโต ตับแข็ง ซึ่งแตกต่างจาก PRRS ที่ทางปศุสัตว์กล่าวอ้าง

ซึ่งทางปศุสัตว์ก็รับรู้ถึงปัญหา และได้มีผู้ที่มีอำนาจเข้าไปพูดคุยที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดราชบุรี เรื่องนี้ก็ยังมีการปกปิดเกี่ยวกับโรคนี้มาโดยตลอด ดังนั้นถ้าทางปศุสัตว์บอกว่าไม่รู้ว่ามีโรคระบาดเกิดขึ้นนั้นไม่เป็นความจริง และมีเจตนาที่จะปกปิดเพื่อผลประโยชน์ของใครก็ไม่ทราบ


 
อ.เศรษฐศาสตร์ มธ. จี้ ‘กรมปศุสัตว์’ รับผิดชอบปมหมูแพง คาใจ ‘ปิดข่าว’ หรือไม่ ยกเหตุโรคระบาดในวัวเทียบ
https://www.matichon.co.th/economy/news_3123000

เมื่อวันที่ 9 มกราคม อาจารย์วีระวัฒน์ ภัทรศักดิ์กำจร อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวถึงปรากฏการณ์ราคาเนื้อหมูแพงในขณะนี้ว่า สาเหตุที่ทำให้ราคาเนื้อหมูแพงขึ้นเป็นเพราะเกิดโรคระบาดในหมูจนทำให้หมูล้มตายเป็นจำนวนมาก อาจเทียบเคียงกับเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมา นั่นคือโรคระบาดที่เกิดขึ้นในวัว ที่ชื่อว่า “โรคลัมปี สกิน” หรือ LSD ซึ่งโรคดังกล่าวไม่ใช่โรคประจำถิ่น ประเทศไทยจึงไม่มียารักษาในขณะนั้น
 
“ในขณะนั้นมีความพยายามที่จะนำยาเข้ามา แต่ก็ถูกรัฐปรามว่ายาดังกล่าวต้องผ่านการรับรอง ซึ่งรัฐจะเป็นผู้จัดหาให้ สุดท้ายก็ทอดเวลายาวนานออกไปจนกระทั่งบริษัทยาเอกชนได้รับการอนุมัติให้นำยาเข้ามาขาย โรค LSD จึงสิ้นสุด ซึ่งในปัจจุบันสถานการณ์ในหมูก็คล้ายคลึงกัน การเกิดโรคระบาดในหมูจึงสะท้อนถึงประสิทธิภาพและการวางมาตรการรองรับที่อาจไม่ดีพอของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะหน่วยงานหลักในการควบคุมดูแลในเรื่องนี้ ฉะนั้นความตระหนักถึงปัญหาและการเตรียมความพร้อมจึงเป็นสิ่งสำคัญ
 
เราคงไม่ทราบว่าเหตุการณ์นี้มีเบื้องลึกเบื้องหลังหรือมีอะไรที่ซ่อนเร้นอยู่หรือไม่ เราคงไม่สามารถไปกล่าวโทษใครได้ แต่สิ่งที่สะท้อนคือประสิทธิภาพในการป้องกันและการมีมาตรการรองรับเมื่อเกิดเหตุ ที่ต้องมีมากกว่านี้” อาจารย์วีระวัฒน์ กล่าว
 
อาจารย์วีระวัฒน์ กล่าวอีกว่า เราทราบข่าวเรื่องโรคระบาดภายหลังที่ผลกระทบเกิดขึ้นเป็นห่วงโซ่ไปแล้ว เราพบว่ามีผู้เลี้ยงสุกรจำนวนหนึ่งที่หยุดประกอบการไปแล้ว เนื่องจากต้นทุนสูงขึ้นจนแบกรับไม่ไหวทั้งจากอาหารสัตว์ที่ราคาแพงและการเกิดโรคระบาด ขณะที่ผู้บริโภคปลายทางก็เผชิญกับราคาเนื้อหมูที่แพงขึ้นแล้ว
 
ฉะนั้นมาตรการของรัฐบาล อาทิ สั่งห้ามส่งออกเนื้อหมู หรือการตั้งจุดจำหน่ายเนื้อหมูราคาถูก อาจเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ในขณะนี้ แต่หากต้องการทำให้ดีกว่า รัฐจำเป็นต้องอุดหนุนราคาด้วย ซึ่งก็ต้องพิจารณาให้รอบคอบว่าจะอุดหนุนไปที่ไหน ระหว่างเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู พ่อค้าคนกลาง เขียงหมู หรือทั้งหมด
 
อาจารย์วีระวัฒน์ กล่าวว่า ณ จุดนี้ คงเป็นเรื่องยากที่จะกลับไปแก้ที่โครงสร้างหรือกลับไปที่การป้องกันตั้งแต่แรก ที่สำคัญคือเราไม่สามารถไปกล่าวหาใครได้ว่าเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากมาตรการห้ามส่งออก หรือการปล่อยให้เกิดโรคระบาดในหมูหรือไม่ อย่างไรก็ตามหมูเป็นสัตว์ที่ใช้เวลาเลี้ยงไม่นานก็สามารถจำหน่ายได้ คาดการณ์กันว่าประมาณ 6 เดือน สถานการณ์จะคลี่คลายลง ฉะนั้นประเด็นจึงอยู่ที่ว่า หลังจากนี้กรมปศุสัตว์จะเตรียมความพร้อมในการรับมือกับโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคตอย่างไร เพราะเป็นหน้าที่โดยตรงของกรมปศุสัตว์ที่จะทำงานเชิงรุกเพื่อติดตามสถานการณ์ คาดการณ์ และเฝ้าระวังเหตุการณ์อย่างสม่ำเสมอ
 
“เมื่อปีที่ผ่านมาผู้บริหารของกรมปศุสัตว์ได้ให้สัมภาษณ์ว่าประเทศไทยไม่มีโรคอหิวาต์ในหมูอย่างแน่นอน แต่ผลการตรวจสอบของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กลับพบโรคระบาดในปี 2564 ซึ่งก็คือปีที่แล้ว คำถามคือมีการปิดข่าวหรือไม่ เนื่องจากการส่งออกเนื้อสัตว์หรือการส่งออกอาหาร เป็นอุตสาหกรรมใหญ่ที่มีความสำคัญของประเทศ หากเกิดโรคระบาดในประเทศย่อมกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค
 
ในฐานะผู้บริโภคที่เป็นประชาชนทั่วไป ควรได้รับคำอธิบายถึงสาเหตุที่ราคาเนื้อหมูแพงขึ้นอย่างทันทีทันใด และที่สำคัญคือหากสาเหตุเกิดจากโรคระบาดตามที่สื่อมวลชนรายงาน ความรับผิดชอบโดยตรงก็จะต้องตกอยู่ที่กรมปศุสัตว์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง” อาจารย์วีระวัฒน์ กล่าว
 


เพื่อไทย ชี้ สัปดาห์หน้า ยอดโควิดทะลุหมื่นแน่นอน จวก รัฐบาลล่าช้า สับสน ไม่พัฒนา
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6824087

“โจ้”ชี้ ตัวเลขยอดผู้ติดเชื้อโควิดอาทิตย์นี้ทะลุหมื่นแน่นอน อัดรบ. อยู่กับโควิดมาตั้งแต่ปี 63 แต่แก้ปัญหาล่าช้า-สับสน ไม่มีการพัฒนา เตรียมเสนอพรรคยื่นอภิปรายตาม ม.152 สัปดาห์หน้า

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 9 ม.ค.2565 ที่พรรคเพื่อไทย นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย แถลงถึงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิดโอมิครอน ว่า ถือเป็นการระบาดระลอกที่ 5 แล้ว จะเห็นได้ว่า การบริหารจัดการเรื่องโควิดของผอ.ศบค. ซึ่งก็คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม ผิดพลาด

ดูจากตัวเลข 4 ม.ค. 2565 อยู่ที่ 2,895 แต่พอมาวันที่ 7 ม.ค. 2565 มาอยู่ที่ 7,526 และเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2565 อยู่ที่ 8,263 คน และเข้าวันนี้ 8,511 คน ซึ่งตนเชื่อว่าภายในสัปดาห์นี้อย่างไรก็ทะลุหมื่นคนแน่นอน โดยรอบนี้ถือว่าเป็นรอบที่ 5 แล้ว แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลรับรู้ และอยู่กับสถานการณ์โควิดมาตั้งแต่ปี 63 แต่การแก้ปัญหามีทั้งความล่าช้า และสับสน เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง
 
นายยุทธพงศ์ กล่าวต่อว่า โควิดรอบที่ 5 นี้ คล้ายๆกับรอบที่ 3 ที่ระบาดจากสถานบันเทิงแล้วกระจายออกไป บทเรียนจากรอบที่ 3 และรอบที่ 4 ทำให้เห็นว่า ระบบสาธารณสุขของเราล้มเหลว ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยจำนวนมากได้ รัฐบาลรับมือไม่ไหว
 
ขณะที่รอบที่ 5 สัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคม มีผู้ติดเชื้อหลักร้อย แต่มาต้นปี 2565 กลับมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นหลายพัน สะท้อนให้เห็นว่า การระบาดของเชื้อโอมิครอนนี้ระบาดหนัก และรวดเร็ว สิ่งที่น่ากลัวคือคนไทยส่วนใหญ่ฉีดวัคซีนจีนซึ่งสามารถป้องกันโอมิครอนได้ต่ำมากโอกาสที่ประเทศไทยจะติดเชื้ออย่างรวดเร็วจึงสูงมาก
 
นายยุทธพงษ์ กล่าวต่อว่า การระบาดรอบนี้รัฐบาลหนักกว่าที่ผ่านมา นอกจากออกมาตรการกลับไปกลับมา ยังมีความล่าช้า และสับสนด้วย รัฐบาลดำเนินมาตรการต่างๆช้าราวกับไม่อยากให้ประชาชนตระหนกกับความจริงที่เกิดขึ้น การแก้ไขปัญหาของพล.อ.ประยุทธ์ในฐษนะผอ.ศบค. กลับหายไปเฉยๆในช่วงวันหยุดยาว ไม่มีการประชุม เหมือนกับประเทศไทยไม่มีผู้นำอยู่ในขณะนั้นเลย และเมื่อมีการระบาดของโอมิครอนมีการประกาศยกเลิกเทศแอนด์โก
 
แต่กลับให้นักท่องเที่ยวที่ลงทะเบียนไว้ก่อนเข้ามาได้ ไปเพิ่มแซนด์บ็อกอีก 3 จังหวัดขึ้นมาเพื่อรับนักท่องเที่ยว แต่คนไทยกลับให้ทำงานที่บ้าน 100%  แบบนี้สับสนหรือไม่ คนไทยไม่ให้ทำงาน แต่กลับรับนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยว และให้ดื่มในร้านอาหารจากเดิมถึง 5 ทุ่ม เป็น 3 ทุ่มแทน ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอยกระดับมาตรการป้องกันโควิดเป็นระดับที่ 4 ที่ต้องงดรับประทานอาหาร และดื่มในร้าน รวมถึงงดกิจกรรมรวมตัวกันทุกอย่าง
 
“จะเห็นได้ว่ามาตรการสับสนไปหมด ประเทศไทยอยู่กับโควิดมาตั้งแต่ปี 63 รัฐบาลก็ยังเป็นรัฐบาลเดิม ภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ และยังเป็นผอ.ศบค.ด้วย แต่กลับไม่มีการพัฒนาในการแก้ปัญหาเลย ทั้งที่มีบทเรียนมาแล้วถึง 5 ครั้ง นี่สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลเป็นตัวถ่วง ในการแก้ไขปัญหาโควิด
และสุดท้ายก็ไปกระทบกับความเชื่อมั่นของรัฐบาล เศรษฐกิจ การท่องเที่ยวก็พังพินาศหมด การบริหารสถานการณ์ที่ผิดพลาดล้มเหลวนี้ผมเตรียมเสนอให้พรรคฯเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจตามมาตรา 152 เรื่องการบริหารจัดการโควิดที่ล้มเหลวของพล.อ.ประยุทธ์ในสัปดาห์หน้า” นายยุทธพงศ์ กล่าว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่