ทำไม ปลั๊กพ่วง มอก ห้ามใช้ ฟิวส์ ( ไม่มีความรู้ทางไฟฟ้า ช่วยอธิบายละเอียด ขอบคุณ ครับ )

ลักษณะของปลั๊กพ่วงที่ได้มาตรฐานตาม มอก. ปลั๊กพ่วง ฉบับล่าสุด
มอก.ฉบับนี้บังคับใช้กับปลั๊กพ่วงแบบหยิบยกได้ รวมถึงชุดสายพ่วง
ที่บรรจุภัณฑ์มีตรามาตรฐานมอก. 2432-2555
ในรุ่นที่มีสวิตช์ ตัวสวิตช์ต้องถูกต้องตามมาตรฐานมอก. 824-2551
หัวปลั๊กต้องใช้เป็นแบบ 3 ขากลม (กลมทั้ง 3 ขา) ตามมาตรฐานมอก.166-2549 เท่านั้น
แรงดันไฟฟ้าต้องไม่เกิน 440 W และรองรับกระแสไฟฟ้าไม่เกิน 16 A สำหรับการใช้งานทั้งภายในและนอกอาคาร
ตัวบอดี้ของปลั๊กพ่วง ต้องทำจากวัสดุที่ไม่ติดไฟ
สายไฟ ต้องตรงตามมาตรฐานมอก. 11-2553 หรือ มาตรฐานอื่นที่สอดคล้องกับ มอก.955
ปลั๊กพ่วงที่มีเต้ารับตั้งแต่ 3 เต้าขึ้นไป จะต้องมีตัวตัดไฟระบบเบรกเกอร์เท่านั้น ห้ามเป็นแบบฟิวส์
เต้ารับทุกเต้าจะต้องต่อสายดินจริง ห้ามใช้รูสายดินหลอก
ตัวเต้ารับจะต้องสอดคล้องกับ มอก. 166-2549 ต้องมี L N G และมีม่านนิรภัยปิดที่เต้ารับ
(เครดิต ลักษณะของปลั๊กพ่วงที่ได้มาตรฐานตาม มอก. ปลั๊กพ่วง ฉบับล่าสุด( https://www.thepower.co.th › Knowledge)

เคยเห็นช่างไฟเอาปลั๊กพ่วงที่มีฟิวส์ไปใช้งาน พอไฟเกิน ฟิวสขาด ก็เสียเลย ( ไม่ทราบว่า เปลี่ยนฟิวส์เเล้ว เอามาใช้อีกได้มั้ย ครับ )
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
จริงๆแล้ว ฟิวส์ นะดีกว่า ที่ดีกว่าเพราะเวลากระแสเเกิน มันก็ขาด..ปัญหาคือช่างบ้านๆ ที่ชอบโม นี่แหละ ทำให้มันมีปัญหา เอาลวด เอาฟิวส์เกินสเป็คมาใช้

ส่วนเบรกเกอร์ มันก็มีหลายเกรด พวกไม่ตัด ค้างก็มี

โดยปกติแล้ว ควรใช้ร่วมกันเสียด้วยซ้ำ คือ ฟิวส์ อนุกรมกับเบรกเกอร์ โดยให้ฟิวส์ทนกระแสสูงกว่าเบรกเกอร์เล็กน้อย
โดยต่อ     ขาเข้า 220VAC-> ฟิวส์ -> เบรกเกอร์ -> โหลด

กรณีเบรกเกรอ์ค้างไม่ทำงาน ฟิวส์ก็จะตัด  เรียกว่าระบบป้องกัน 2 ชั้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่