ภาษีคริปโต กับ ความไม่เป็นธรรมในการคิดภาษี

จากข่าวเรื่องการเก็บภาษีคริปโต ที่สรรพากรประกาศถึงการจัดเก็บ และ วิธีการคิดภาษี
ในมุมมองส่วนตัว มองว่าเป็นการคิดภาษีที่ไม่เป็นธรรม

1. การอ้างว่า เงินได้จากการเทรดคริปโต เข้ากับเงินได้ประเภท 40(4)
===
มาตรา 40   เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด
...
(ซ) เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ได้จากการถือหรือ ครอบครองโทเคนดิจิทัล
(ฌ) ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคา เป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2561 เป็นต้นไป )
===
หากมองตามกฎหมาย "40(4)(ซ) และ 40(4)(ฌ)" และ ตามหลักการที่ว่า "เมื่อมีเงินได้ ก็สมควรเสียภาษี"
การเก็บภาษีคริปโตก็มีสมควรจัดเก็บ

2. ประเด็นปัญหาแห่งความไม่เป็นธรรม คือ การตีความว่าให้คิดภาษีเป็น "ครั้ง" ที่มีการขาย
โดยถ้าครั้งนั้น มีกำไร ก็ให้นำมาคิดภาษีจากกำไรในอัตรา 15%
แต่หากครั้งนั้น ไม่มีกำไร หรือ ขาดทุน ก็ไม่ต้องคิดภาษี และ ห้ามนำเอาการขาดทุนมาหักกำไร
ว่าง่าย ๆ คือ ... "ถ้าขายครั้งไหนมีกำไร ภาษีต้องจ่ายอู ... หากขายขาดทุน เป็นเรื่องของอึง"

กลับมามองความเป็นจริง
(1) การเทรดคริปโตมีความเสี่ยง บางครั้งคาดการณ์ผิด ก็อาจต้องตัดขาย เพื่อลดการขาดทุน
(2) การเทรดมีจำนวนครั้งที่ซื้อขายมากน้อย ตามแต่รูปแบบการเข้าทำของแต่ละคน
(3) การเทรด ไม่ได้จำกัดว่าซื้อขาย N Token ต้องขาย N Token อาจทยอยซื้อขายหลายไม้
(4) กลุ่มคนที่เทรดคริปโต บางส่วนก็เป็นพนักงาน ที่นำเงินเก็บบางส่วนมาลงทุนเสริม (แทนการฝากธนาคาร) เพื่อหวังเป็นรายได้เล้ก ๆ น้อย ต่อเดือน

ดังนั้น หาก สรรพากร ยังยืนกรานว่าวิธีคิดภาษีที่ทำอยู่เป็นธรรม ลองพิจารณา กรณี
ในปี 64 นาย A ลงทุน 100,000 บาท (ฝากเข้า exchange)(สมมติซื้อขายไม่กี่ครั้ง)(สมมติไม่เอากำไรจากการขายมาลงทุนต่อ)
[ตัวอย่าง 1]
ครั้งที่ 1 ซื้อเป็นเงิน 100,000 ขายได้เงิน 110,000  (กำไร 10,000)(กำไรสุทธิ 10,000)
ครั้งที่ 2 ซื้อเป็นเงิน 100,000 ขายได้เงิน 90,000    (ขาดทุน 10,000)(กำไรสุทธิ 0)

ตามที่สรรพากรบอก คือ นาย A ต้องเสียภาษี = 15% ของกำไร จากการขายครั้งที่ 1 = (15% ของ 10,000) = 1,500 บาท
ทั้งที่ในปี 64 หาได้ได้รับผลกำไร(สุทธิ)จากการเทรดเลย ทำให้ ทุน 100,000 เหลือ 98,500 
** มีเป็นธรรมไหม **
** ในความเป็นจริง บางคน ซื้อขายกำไร/ขาดทุน เป็น สิบ เป็นร้อยครั้ง กว่าจะได้กำไร(สุทธิ) มา **
** ซึ่งหากคิดภาษีแต่ครั้งที่ได้กำไร แล้ว บางคน ภาษีเข้าเนื้อเข้าทุน **

หวังว่าจะเสียงที่แสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ที่เริ่มมีมา ทาง สรรพากรจะทบทวนให้ชัด
คิดภาษี จาก "ครั้งที่ขายได้กำไรในปีภาษี" หรือ "กำไรสุทธิในปีภาษี"

หากยังยืนกรานว่า คิดภาษี จาก "ครั้งที่ขายได้กำไรในปีภาษี" แล้ว
คิดว่าผลกระทบที่จะตามมาคงไม่น่าจะ happy นัก
- ทั้งจากมุมองต่อ "ความเข้าใจในธุรกิจ ก่อน ออกมาเรียกเก็บภาษี" ของหน่วยงานว่า มีควารู้ความเข้าใจดีพอแค่ไหน
- ทั้งมุมมองต่อ รบ (พรรคการเมือง) ว่า ด้วยการบริหารเงินที่ไม่เก่ง ทำให้ต้องรีดภาษีแบบไม่คิด
- ทั้งมุมมองต่อการกำหนดวิธีการ ที่ตีความตามกฎหมาย แต่วิธีการนั้นสร้างภาระต่อประชาชน

รอดูกันต่อไป

3. ข้อเสนอ
(1) ให้คิดภาษีจากกำไรสุทธิ

(2) หรือถ้าไงก็อิงรูปแบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมของ exchange น่าจะลงตัวกว่า
ปกติ การซื้อ / ขาย ทาง exchange (อิงเฉพาะกิจการในไทย) จะเก็บค่าธรรมเนียม 0.10 - 0.30 % ของยอดเงินที่ซื้อขาย
ซึ่งก็เป็นรายได้ของ exchange ที่ก็ต้องไปเสียภาษีอยู่แล้วทางหนึ่ง

ก็ไปขอแจมเลย ให้ exchange หักส่งสรรพาการ 0.01% ของยอดเงินที่ซื้อขาย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่