อยากจะขอสอบถามสมาชิกห้องสีลม โดยเฉพาะคนที่เป็นระดับหัวหน้าแผนกนะครับ (อาจจะทำงานราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจ)
ในเรื่องการพิจารณาปรับเงินเดือนของลูกน้องในแผนก อาทิเช่น
ในแผนก มีหัวหน้าแผนก 1 คน และมีลูกน้อง 9 คน
โดยที่ ลูกน้องทั้ง 9 คน จะแบ่งออกเป็น
- คนที่เงินเดือนยังไม่เต็มขั้น จำนวน 4 คน เงินเดือนปัจจุบัน เฉลี่ย 30,000 บาท
- คนที่เงินเดือนใกล้จะเต็มขั้น จำนวน 1 คน เงินเดือนปัจจุบัน 5 หมื่นกว่าบาท
- คนที่เงินเดือนเต็มขั้นแล้ว จำนวน 4 คน
ทั้งนี้ ในการพิจารณาปรับเงินเดือนแต่ละปี องค์กรจะมีจำนวนเงินจัดสรรมาให้ในรูปแบบของ % เช่น องค์กรให้มา 7.2 % สำหรับใช้ปรับเพิ่มเงินเดือนของปี 65
ซึ่งในแผนก คนที่มีสิทธิ์ได้รับการพิจารณาปรับเพิ่มเงินเดือน คือ คนที่เงินเดือนยังไม่เต็มขั้น โดยการเอาเงินเดือน (ของคนที่ยังไม่เต็มขั้น) ในที่นี้ คือ 5 คน มารวมกัน แล้วคูณด้วย 7.2 % ก็จะได้เป็นวงเงินที่จะใช้จัดสรรภายในแผนก ทั้งนี้ การพิจารณาเงินเดือนก็ต้องดผลการประเมิน KPI เป็นหลัก
แต่ในสถานการณ์นี้ เนื่องจาก คนที่เงินเดือนใกล้จะเต็มขั้น มีเงินเดือนมากกว่า คนที่เงินเดือนยังไม่เต็มขั้น ทำให้เมื่อจัดสรรเป็น % แล้ว จะพบว่า คนที่เงินเดือนยังไม่เต็ม ได้ปรับเพิ่มเงินเดือน (เมื่อมองในรูปของตัวเงิน) น้อยมาก
และถ้าพิจารณาให้ "คนที่เงินเดือนใกล้จะเต็มขั้น" คือ ปรับเงินเดือนให้เค้าเต็มขั้นไปเลย ซึ่งมันก็เป็นไปตามเงื่อนไขที่ถูกต้อง แต่จะมีผลกระทบ คือ ปีหน้า ถ้าองค์กรให้จำนวนเงินจัดสรรมา 7.2 % แต่ถ้าคิดเป็นจำนวนเงินก็จะได้น้อยลง เพราะจะเหลือคนที่เงินเดือนยังไม่เต็มขั้น จำนวน 4 คน
โดยปกติ ในที่ทำงานของผม ถ้าเจอเคสแบบนี้ หัวหน้าแผนก จะใช้วิธีการ คือ เพิ่มเงินเดือนให้ "คนที่เงินเดือนใกล้จะเต็มขั้น" แต่จะยังไม่ให้เงินเดือนเต็มขั้น (หมายถึง ดึงเงินเอาไว้บางส่วน) เพื่อที่ว่า ปีหน้า จะได้วงเงินที่จะใช้จัดสรรให้ลูกน้องได้มากขึ้น
ผมจึงอยากขอสอบถาม เพื่อนๆ ที่เป็นหัวหน้าแผนก ว่า ถ้าเจอเคสแบบนี้ เพื่อนๆ ดำเนินการอย่างไรครับ
# ขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะครับ
ขอปรึกษาเพื่อนๆ ที่เป็นหัวหน้าแผนก ในเรื่องการพิจารณาปรับเงินเดือนของลูกน้องครับ
ในเรื่องการพิจารณาปรับเงินเดือนของลูกน้องในแผนก อาทิเช่น
ในแผนก มีหัวหน้าแผนก 1 คน และมีลูกน้อง 9 คน
โดยที่ ลูกน้องทั้ง 9 คน จะแบ่งออกเป็น
- คนที่เงินเดือนยังไม่เต็มขั้น จำนวน 4 คน เงินเดือนปัจจุบัน เฉลี่ย 30,000 บาท
- คนที่เงินเดือนใกล้จะเต็มขั้น จำนวน 1 คน เงินเดือนปัจจุบัน 5 หมื่นกว่าบาท
- คนที่เงินเดือนเต็มขั้นแล้ว จำนวน 4 คน
ทั้งนี้ ในการพิจารณาปรับเงินเดือนแต่ละปี องค์กรจะมีจำนวนเงินจัดสรรมาให้ในรูปแบบของ % เช่น องค์กรให้มา 7.2 % สำหรับใช้ปรับเพิ่มเงินเดือนของปี 65
ซึ่งในแผนก คนที่มีสิทธิ์ได้รับการพิจารณาปรับเพิ่มเงินเดือน คือ คนที่เงินเดือนยังไม่เต็มขั้น โดยการเอาเงินเดือน (ของคนที่ยังไม่เต็มขั้น) ในที่นี้ คือ 5 คน มารวมกัน แล้วคูณด้วย 7.2 % ก็จะได้เป็นวงเงินที่จะใช้จัดสรรภายในแผนก ทั้งนี้ การพิจารณาเงินเดือนก็ต้องดผลการประเมิน KPI เป็นหลัก
แต่ในสถานการณ์นี้ เนื่องจาก คนที่เงินเดือนใกล้จะเต็มขั้น มีเงินเดือนมากกว่า คนที่เงินเดือนยังไม่เต็มขั้น ทำให้เมื่อจัดสรรเป็น % แล้ว จะพบว่า คนที่เงินเดือนยังไม่เต็ม ได้ปรับเพิ่มเงินเดือน (เมื่อมองในรูปของตัวเงิน) น้อยมาก
และถ้าพิจารณาให้ "คนที่เงินเดือนใกล้จะเต็มขั้น" คือ ปรับเงินเดือนให้เค้าเต็มขั้นไปเลย ซึ่งมันก็เป็นไปตามเงื่อนไขที่ถูกต้อง แต่จะมีผลกระทบ คือ ปีหน้า ถ้าองค์กรให้จำนวนเงินจัดสรรมา 7.2 % แต่ถ้าคิดเป็นจำนวนเงินก็จะได้น้อยลง เพราะจะเหลือคนที่เงินเดือนยังไม่เต็มขั้น จำนวน 4 คน
โดยปกติ ในที่ทำงานของผม ถ้าเจอเคสแบบนี้ หัวหน้าแผนก จะใช้วิธีการ คือ เพิ่มเงินเดือนให้ "คนที่เงินเดือนใกล้จะเต็มขั้น" แต่จะยังไม่ให้เงินเดือนเต็มขั้น (หมายถึง ดึงเงินเอาไว้บางส่วน) เพื่อที่ว่า ปีหน้า จะได้วงเงินที่จะใช้จัดสรรให้ลูกน้องได้มากขึ้น
ผมจึงอยากขอสอบถาม เพื่อนๆ ที่เป็นหัวหน้าแผนก ว่า ถ้าเจอเคสแบบนี้ เพื่อนๆ ดำเนินการอย่างไรครับ
# ขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะครับ