JJNY : ชัชชาติยังแกร่ง! เอ้ตามห่างๆ│ขอปลดโทษแบนจากวาด้าไม่ง่าย│ผู้ประกอบการภูเก็ตยิ้มได้ไม่นาน│ฝรั่งเศสพบโควิดกลายพันธุ์

'ชัชชาติ' ยังแข็งแกร่ง! ผลสำรวจผู้ว่าฯกทม.ยังนำโด่ง 'พี่เอ้-สุชัชวีร์' ตามมาห่างๆ
https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_6812743
 
 
‘ชัชชาติ’ ยังแข็งแกร่ง! ผลสำรวจผู้ว่าฯกทม.ยังนำโด่ง ‘พี่เอ้-สุชัชวีร์’ ตามมาห่างๆ นิด้าโพลเผยผลสำรวจความเห็นประชาชน เรื่อง “อยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 9”

วันที่ 2 ม.ค.65 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “อยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 9” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 23-25 ธันวาคม 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,317 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับประชาชนอยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 9 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 97.0
 
จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะเลือกให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. พบว่า 
อันดับ 1 ร้อยละ 38.80 ระบุว่า เป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 13.06 ระบุว่าเป็น ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 3 ร้อยละ 11.85 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 4 ร้อยละ 10.25 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อันดับ 5 ร้อยละ 4.94 ระบุว่า ไปลงคะแนน ไม่เลือกใคร (Vote NO) อันดับ 6 ร้อยละ 4.71 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครจากคณะก้าวหน้า หรือพรรคก้าวไกล อันดับ 7 ร้อยละ 4.10 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย อันดับ 8 ร้อยละ 3.26 ระบุว่าเป็น น.ส.รสนา โตสิตระกูล อันดับ 9 ร้อยละ 2.96 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ อันดับ 10 ร้อยละ 2.35 ระบุว่า จะไม่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง อันดับ 11 ร้อยละ 1.90 ระบุว่าเป็น นายสกลธี ภัททิยกุล และร้อยละ 1.82 ระบุว่า อื่นๆ ได้แก่ ผู้สมัครจากพรรคกล้า ผู้สมัครจากพรรคไทยภักดี นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้สมัครจากพรรคไทยสร้างไทย นางนวลพรรณ (มาดามแป้ง) ล่ำซำ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน และผู้สมัครจากพรรคเสรีรวมไทย
 
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจอยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 8 เดือนธันวาคม 2564 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้สมัครจากคณะก้าวหน้า หรือพรรคก้าวไกล ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย และน.ส.รสนา โตสิตระกูล มีสัดส่วนลดลง ในขณะผู้ที่ระบุว่า ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ไปลงคะแนน ไม่เลือกใคร (Vote NO) ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ และนายสกลธี ภัททิยกุล มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น
 
สำหรับบุคคลที่ประชาชนจะเลือกให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. เมื่อจำแนกตามกลุ่มเขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร พบว่า
1. กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง อันดับ 1 ร้อยละ 07 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 11.92 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 3 ร้อยละ 9.93 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง และอันดับ 4 ร้อยละ 9.27 ระบุว่าเป็น ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์)
 
2. กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 30 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 13.04 ระบุว่าเป็น ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 3 ร้อยละ 11.41 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง และอันดับ 4 ร้อยละ 10.87 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ
3. กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 84 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 15.45 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 3 ร้อยละ 13.01 ระบุว่าเป็น ดร.สุชัชวีร์ วรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) และอันดับ 4 ร้อยละ 8.54 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง
 
4. กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก อันดับ 1 ร้อยละ 03 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 13.52 ระบุว่าเป็น ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 3 ร้อยละ 13.21 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ และอันดับ 4 ร้อยละ 12.01 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง
 
5. กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 55 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 15.26 ระบุว่าเป็น ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 3 ร้อยละ 9.61 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง และอันดับ 4 ร้อยละ 7.35 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ และผู้สมัครจากคณะก้าวหน้า หรือพรรคก้าวไกล ในสัดส่วนที่เท่ากัน
 
6. กลุ่มเขตกรุงธนใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 36 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 13.28 ระบุว่าเป็น ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อันดับ 3 ร้อยละ 10.18 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ และอันดับ 4 ร้อยละ 9.29 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง
 
ด้านบุคคลที่ประชาชนจะเลือกให้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) อันดับ 1 ร้อยละ 28.09 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 12.22 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 3 ร้อยละ 11.24 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 4 ร้อยละ 10.86 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครอิสระที่ไม่เกี่ยวกับผู้สมัครผู้ว่าฯ อันดับ 5 ร้อยละ 7.75 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในม พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อันดับ 6 ร้อยละ 6.68 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครจากคณะก้าวหน้า หรือพรรคก้าวไกล อันดับ 7 ร้อยละ 6.00 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย อันดับ 8 ร้อยละ 3.87 ระบุว่าเป็น ไปลงคะแนน ไม่เลือกใคร (Vote NO) อันดับ 9 ร้อยละ 3.57 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ อันดับ 10 ร้อยละ 3.42 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม น.ส.รสนา โตสิตระกูล อันดับ 11 ร้อยละ 2.35 ระบุว่า จะไม่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง อันดับที่ 12 ร้อยละ 1.82 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม นายสกลธี ภัททิยกุล อันดับ 13 ร้อยละ 1.37 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครจากพรรคกล้า และร้อยละ 0.76 ระบุว่า อื่นๆ ได้แก่ ผู้สมัครจากพรรคไทยสร้างไทย ผู้สมัครจากพรรคไทยภักดี ผู้สมัครจากพรรคเสรีรวมไทย และผู้สมัครจากพรรคภูมิใจไทย
 
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจอยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 8 เดือนธันวาคม 2564 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า ผู้สมัครอิสระที่ไม่เกี่ยวกับผู้สมัครผู้ว่าฯ ผู้สมัครในทีม พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้สมัครจากคณะก้าวหน้า หรือพรรคก้าวไกล ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ ผู้สมัครในทีม น.ส.รสนา โตสิตระกูล มีสัดส่วนลดลง ในขณะผู้ที่ระบุว่า ผู้สมัครในทีม ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ไปลงคะแนน ไม่เลือกใคร (Vote NO) และผู้สมัครในทีม นายสกลธี ภัททิยกุล มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น
 
สำหรับบุคคลที่ประชาชนจะเลือกให้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เมื่อจำแนกตามกลุ่มเขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร พบว่า
1. กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง อันดับ 1 ร้อยละ 15 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 13.25 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 3 ร้อยละ 9.27 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครอิสระที่ไม่เกี่ยวกับผู้สมัครผู้ว่าฯ และอันดับ 4 ร้อยละ 7.95 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีมดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์)
2. กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 26 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 14.13 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 3 ร้อยละ 13.04 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) และอันดับ 4 ร้อยละ 12.50 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครอิสระที่ไม่เกี่ยวกับผู้สมัครผู้ว่าฯ
3. กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 27 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 13.41 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครอิสระที่ไม่เกี่ยวกับผู้สมัครผู้ว่าฯ อันดับ 3 ร้อยละ 10.97 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ และอันดับ 4 ร้อยละ 8.53 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีมดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์)
4. กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก อันดับ 1 ร้อยละ 23 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 11.71 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 3 ร้อยละ 10.81 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ และอันดับ 4 ร้อยละ 10.51 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครอิสระที่ไม่เกี่ยวกับผู้สมัครผู้ว่าฯ
5. กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 55 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 13.56 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 3 ร้อยละ 13.00 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) และอันดับ 4 ร้อยละ 11.30 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครจากคณะก้าวหน้า หรือพรรคก้าวไกล
6. กลุ่มเขตกรุงธนใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 74 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 12.83 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 3 ร้อยละ 12.39 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ และอันดับ 4 ร้อยละ 11.06 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครอิสระที่ไม่เกี่ยวกับผู้สมัครผู้ว่าฯ



ไทยลุ้นตัวโก่งแน่! ขอปลดโทษแบนจาก ‘วาด้า’ ไม่ง่าย – ผู้เชี่ยวชาญชี้มีจุดสุ่มเสี่ยงไม่ตรงสเปค
https://www.matichon.co.th/sport-slide/news_3113644

ไทยลุ้นตัวโก่งแน่! ขอปลดโทษแบนจาก ‘วาด้า’ ไม่ง่าย – ผู้เชี่ยวชาญชี้มีจุดสุ่มเสี่ยงไม่ตรงสเปค
 
หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. 2555 พ.ศ.2564 ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ขั้นตอนต่อไปคือการนำเสนอทูลเกล้าฯ เพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมาย พ.ร.ก. เพื่อบังคับใช้อย่างเป็นทางการ โดย “บิ๊กก้อง” ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ประกาศว่า จะรีบทำหนังสือแจ้งไปยังองค์การต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก (วาด้า) ให้รับทราบว่า เราได้แก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องแล้วเพื่อให้วาด้าปลดล็อกโทษแบนทันทีในเรื่องของการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ สำหรับเรื่องการห้ามใช้ ธงชาติไทย ในการแข่งขันระดับนานาชาตินั้น หากการเจรจากับวาด้า ไม่เป็นผล ก็จะยังไม่สามารถใช้ธงชาติไทยได้ในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ 2022 ที่นครหางโจว ประเทศจีน อย่างไรก็ตาม หากการอุทธรณ์กับวาด้าไม่เป็นผล เราคงจะต้องร้องไปยังศาลอนุญาโตตุลาการการกีฬา (CAS) เพื่อขอให้พิจารณาลดบทลงโทษทั้งหมดนั้น

เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2565 ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายรายหนึ่ง ออกมาระบุถึงกรณีดังกล่าวว่า จากการตรวจสอบพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. 2555 พ.ศ.2564 แบบละเอียดถี่ถ้วน ยังมีแง่มุมที่แหลมคม สุ่มเสี่ยง ต่ออนาคตวงการกีฬาไทยซึ่งอาจนำไปสู่การที่ประเทศไทยจะยังไม่ได้รับการปลดล็อกโทษแบนจากวาด้าได้ ประการแรก มาตรา 29 ซึ่งเป็นหัวใจหลักที่วาด้าลงโทษแบนประเทศไทยเกี่ยวกับเรื่องการเข้าตรวจสารต้องห้ามในนักกีฬาแก้ไขเป็น การเข้าตรวจ “ให้กระทำระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้น และพระอาทิตย์ตก เว้นแต่มีเหตุอันควรสงสัยว่านักกีฬามีการใช้สารต้องห้าม หรือวิธีการต้องห้ามและหากปล่อยเนิ่นช้าจะกระทบต่อกระบวนการในการตรวจสอบ ให้เข้าไปตรวจหา สารต้องห้ามหรือวิธีการต้องห้ามในเวลากลางคืนก็ได้” ซึ่งเดิมทีปี 2555 มาตรา 29 (1) ระบุว่า ให้ตรวจหลังพระอาทิตย์ตกไม่ได้ ข้อนี้แม้เราจะผ่อนผันให้เข้าตรวจได้เว้นแต่มีเหตุจำเป็น แต่ไม่เป็นไปตามวัตคถุประสงค์ที่วาด้าต้องการให้เปลี่ยน และไม่เป็นไปตามกติกาสากลในวงการกีฬาโลกทำกันอยู่
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่