โควิดวันนี้ ขึ้นปีใหม่ 2565 ไทยพบผู้ติดเชื้ออีก 3,011 ราย เสียชีวิต 10 ศพ
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6811130
ด่วน ศบค. รายงานสถานการณ์เบื้องต้น โควิดวันนี้ ผู้ป่วยใหม่อีก 3,011 ราย เสียชีวิต 10 ราย พบผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 142 ราย กำลังรักษากว่า 3.2 หมื่นราย
เมื่อวันที่ 1 ม.ค.65 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน เบื้องต้นมีผู้ป่วยใหม่ 3,011 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 2,716 ราย ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 96 ราย ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 57 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 142 ราย ผู้ป่วยสะสม 2,197,583 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)
หายป่วยกลับบ้าน 3,315 ราย หายป่วยสะสม 2,144,383 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) ผู้ป่วยกำลังรักษา 32,929 ราย เสียชีวิต 10 ราย ทั้งนี้ ศบค.จะแถลงรายละเอียดอีกครั้ง
คลังหลังแอ่น… จัดเก็บรายได้ไม่พอยาไส้ ลุยรีดภาษีปีเสือ!!
https://www.matichon.co.th/economy/news_3112070
คลังหลังแอ่น…
จัดเก็บรายได้ไม่พอยาไส้
ลุยรีดภาษีปีเสือ!!
ในสองปีที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 นั้นถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบาก สำหรับประเทศไทยเองก็เช่นกัน ไม่เฉพาะเรื่องความปลอดภัยด้านสาธารณสุข แต่กระทบไปถึงกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ทำให้เศรษฐกิจบางช่วงต้องหยุดชะงัก หรือชะลอตัวลง ฐานะทางการเงินของหลายคนก็ไม่มั่นคงอีกต่อไป รายได้ของประชาชนที่หดหายไป ก็ส่งผลต่อรายได้ของรัฐบาลด้วย
รัฐบาลไทย ภายใต้การดูแลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ใช้งบประมาณแบบขาดดุลมาอย่างต่อเนื่อง และยิ่งเมื่อต้องเจอกับปัญหาการระบาดของโควิด-19 ก็ยิ่งทำให้สัดส่วนของตัวเลขวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปีงบประมาณ 2564 ตั้งวงเงินกู้ขาดดุล 6.23 แสนล้านบาท หรือ 3.8% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (จีดีพี) และในปีงบประมาณ 2565 ได้ตั้งวงเงินกู้ขาดดุลสูงถึง 7 แสนล้านบาท คิดเป็นประมาณ 4% ต่อจีดีพี
⦁ รัฐบาลรายได้หด-ก่อหนี้เพิ่ม
ด้านกระทรวงการคลัง หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการดูแลเรื่องรายได้ส่วนใหญ่ของประเทศ คือรายได้ภาษี จากทั้งสามหน่วยงานหลัก คือ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากรนั้น จากรายงานข่าวของกระทรวงการคลัง พบว่าผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิปีงบประมาณ 2564 (ตุลาคม 2563-กันยายน 2564) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ จำนวน 2.36 ล้านล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3.07 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นลดลง 11.5%
แบ่งเป็นการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากร ต่ำกว่าประมาณการ 2.1 แสนล้านบาท คิดเป็น 10.1% กรมสรรพสามิต ต่ำกว่าประมาณการ 1.02 แสนล้านบาท คิดเป็น 16.2% และส่วนราชการอื่น ต่ำกว่าประมาณการ 1.2 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 7.5% ซึ่งได้ระบุว่าสาเหตุจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในของไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลง ประกอบกับมีการดำเนินนโยบายการคลังและภาษีเพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องและบรรเทาภาระแก่ประชาชน และผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่องจึงส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลต่ำกว่าที่ประมาณการไว้
ในทางกลับกัน มาตรการเยียวยาและช่วยเหลือนั้น ก็จำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเช่นกัน แม้ในปี 2563 จะออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน 1 ล้านล้าน ไปแล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ในปี 2564 ก็ได้ออก พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มเติม 5 แสนล้านบาท อีก รวมเป็นเงินกู้ 1.5 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายจับตามอง คือความกังวลเรื่องจำนวนเงินจะไม่เพียงพอ หรือกังวลว่าจะมีผลให้หนี้สาธารณะของไทยเพิ่ม จนเป็นภาระของประเทศในอนาคต
⦁ แก้ กม.ขยับเพดานหนี้
เมื่อฐานรายได้ของรัฐบาล หรือจีดีพีไม่ขยายตามที่คาดไว้ รายจ่ายของรัฐบาลก็เพิ่มขึ้นจำนวนมาก คณะกรรมการวินัยการเงินการคลังของรัฐ ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จึงต้องตัดสินใจที่จะขยายกรอบเพดานสัดส่วนหนี้สาธารณะชั่วคราว เป็น 70% จากเดิม 60% เพื่อเพิ่มช่องว่างทางการคลัง ซึ่งล่าสุดสัดส่วนหนี้สาธารณะไทย ระดับ 58.8% ต่อจีดีพีแล้ว โดยรัฐบาลคาดว่าเมื่อถึงสิ้นปีงบประมาณ จะอยู่ที่ 62% ซึ่งยังไม่เกินเพดาน
หลังจากนั้นไม่นาน ก็พบปัญหาทางการคลังอีกครั้ง เมื่อมีการค้างจ่ายเงินในโครงการประกันรายได้เกษตรกร เนื่องจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไม่อนุมัติงบประมาณกว่า 8.93 หมื่นล้านบาท ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อนำไปโอนให้เกษตรกร เมื่อย้อนหาสาเหตุที่ไม่อนุมัติก็เนื่องจากพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วินัยการเงินการคลังมาตรา 28 ได้ปริ่มเพดานแล้ว
ที่ผ่านมารัฐบาลมีการก่อหนี้ผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ และหน่วยงานอื่น จนมีหนี้สะสมใกล้เกินเพดานวินัยการเงินการคลัง ม.28 ที่กำหนดไว้ไม่เกิน 30% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือประมาณ 9.3 แสนล้านบาทนั้น โดยส่วนที่สร้างภาระมากที่สุด คือ โครงการอุดหนุนสินค้าเกษตร ที่มีหนี้สะสมถึง 6-7 แสนล้านบาทแล้ว โดยยังไม่รวมโครงการคู่ขนาน นอกจากนี้ ยังสะสมในสถาบันการเงินของรัฐแห่งอื่นๆ อีก 2-3 หมื่นล้าน และทางออกสุดท้าย เพื่อให้งบประมาณในการอุดหนุนสินค้าเกษตร ในปีการผลิต 2564/65 นั้นเพียงพอ ก็จำเป็นที่จะต้องขยายกรอบเพดานการใช้เงิน ม.28 จากไม่เกิน 30% เป็น 35% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มวงเงินกู้ชดเชยขาดดุล การกู้เงิน และการขยายกรอบเพดานหนี้ถึงสองตัวด้วยกัน ภายใต้ภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดี จนรายได้หดหายเช่นนี้ ย่อมเป็นสัญญาณว่ารัฐบาล โดยเฉพาะกระทรวงการคลัง ต้องแบกรับภาระทางการคลังที่หนักอึ้ง จนหลังแอ่นกันไปข้างหนึ่งเลยทีเดียว หลังจากนี้ กระทรวงการคลัง จึงต้องก้มหน้าก้มตาหารายได้มากลบหนี้ต่างๆ เป็นภารกิจที่สำคัญอีกด้านหนึ่งไปเสียแล้ว แต่การจะออกภาษีตัวใหม่ๆ ก็ยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม เพราะยิ่งเหมือนจะไปขูดรีดเอาเลือดเนื้อจากประชาชนจนเกินไป แนวคิดที่กระทรวงการคลังวางแผนไว้คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ภาษี และการขยายฐานภาษีนั่นเอง
⦁ คลังก้มหน้าหารายได้โปะ
ในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดภาษีนั้น เป็นแนวคิดที่ใช้กับทั้งภาษีและรายรับ รายจ่ายส่วนอื่นๆ โดยจะนำเทคโนโลยีดิจิทัล และแพลตฟอร์ม บล็อกเชน ต่างๆ มาช่วยตรวจสอบเพื่อลดการหลบเลี่ยงการจ่ายภาษีทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นภาษีของกรมสรรพสามิต และภาษีของกรมสรรพากร นอกจากนี้ กรมสรรพากรยังได้เพิ่มบริการทางแพลตฟอร์มออนไลน์ให้การยื่นแบบภาษี ทำได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ซึ่งหวังว่าจะเป็นอีกทางให้ผู้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมาใช้บริการ ไม่ต้องมีข้ออ้างเรื่องติดปัญหาเอกสารต่างๆ อีกต่อไป
ส่วนการขยายฐานภาษีนั้น กระทรวงการคลังจะเลือกจากกลุ่มที่มีผลกระทบด้านรายได้น้อยที่สุด อาทิ กรมสรรพากร ได้มีการออก พ.ร.บ.ภาษีอีเซอร์วิส โดยจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% กับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์จากต่างประเทศ ที่ไม่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในประเทศไทย ซึ่งกรมสรรพากรได้เผยว่า ในเดือนแรก (ณ วันที่ 23 ตุลาคม 2564) จัดเก็บภาษีได้มูลค่ารวม 686 ล้านบาท สูงกว่าเป้าที่คาดการณ์ไว้ถึง 65% ทำให้คาดว่าทั้งปีน่าจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้จากแพลตฟอร์มผู้ให้บริการต่างประเทศประมาณ 8 พัน-1 หมื่นล้านบาท สูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าทั้งปีจะได้ 5 พันล้านบาท
ยิ่งไปกว่านั้น กรมสรรพากรกำลังพิจารณาแผนเรียกเก็บภาษีจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ หรือภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการขายหุ้น ภาษีที่เคยได้รับการยกเว้นมากกว่า 30 ปีแล้ว ซึ่งกรมสรรพากรระบุว่า ต้องดูหลายปัจจัยประกอบ โดยเฉพาะเงื่อนไขเวลาที่เหมาะสม และยืนยันว่า การเรียกเก็บภาษีดังกล่าว ประชาชน 85% หรือนักลงทุนรายย่อยจะไม่ได้รับผลกระทบแน่นอน คาดว่าจะจัดเก็บรายได้ให้รัฐบาล 1-2 หมื่นล้านบาทต่อปี
หลังจากนี้ได้แต่หวังจะไม่มีวิกฤตลูกใหม่เข้ามาแทรกอีก เพื่อให้เศรษฐกิจไทยฟื้นอีกครั้ง และเพื่อไม่ให้คลังต้องแบกภาระจนหลังแอ่นไปนานกว่านี้!!
JJNY : ปีใหม่2565 ติดเชื้อ3,011 เสียชีวิต10│คลังหลังแอ่น ลุยรีดภาษีปีเสือ!!│ชัชชาติวิ่งปีใหม่ไหว้พระ│ปชป.แฉทหารกดดันลต.
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6811130
ด่วน ศบค. รายงานสถานการณ์เบื้องต้น โควิดวันนี้ ผู้ป่วยใหม่อีก 3,011 ราย เสียชีวิต 10 ราย พบผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 142 ราย กำลังรักษากว่า 3.2 หมื่นราย
เมื่อวันที่ 1 ม.ค.65 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน เบื้องต้นมีผู้ป่วยใหม่ 3,011 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 2,716 ราย ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 96 ราย ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 57 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 142 ราย ผู้ป่วยสะสม 2,197,583 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)
หายป่วยกลับบ้าน 3,315 ราย หายป่วยสะสม 2,144,383 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) ผู้ป่วยกำลังรักษา 32,929 ราย เสียชีวิต 10 ราย ทั้งนี้ ศบค.จะแถลงรายละเอียดอีกครั้ง
คลังหลังแอ่น… จัดเก็บรายได้ไม่พอยาไส้ ลุยรีดภาษีปีเสือ!!
https://www.matichon.co.th/economy/news_3112070
ในสองปีที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 นั้นถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบาก สำหรับประเทศไทยเองก็เช่นกัน ไม่เฉพาะเรื่องความปลอดภัยด้านสาธารณสุข แต่กระทบไปถึงกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ทำให้เศรษฐกิจบางช่วงต้องหยุดชะงัก หรือชะลอตัวลง ฐานะทางการเงินของหลายคนก็ไม่มั่นคงอีกต่อไป รายได้ของประชาชนที่หดหายไป ก็ส่งผลต่อรายได้ของรัฐบาลด้วย
รัฐบาลไทย ภายใต้การดูแลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ใช้งบประมาณแบบขาดดุลมาอย่างต่อเนื่อง และยิ่งเมื่อต้องเจอกับปัญหาการระบาดของโควิด-19 ก็ยิ่งทำให้สัดส่วนของตัวเลขวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปีงบประมาณ 2564 ตั้งวงเงินกู้ขาดดุล 6.23 แสนล้านบาท หรือ 3.8% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (จีดีพี) และในปีงบประมาณ 2565 ได้ตั้งวงเงินกู้ขาดดุลสูงถึง 7 แสนล้านบาท คิดเป็นประมาณ 4% ต่อจีดีพี
⦁ รัฐบาลรายได้หด-ก่อหนี้เพิ่ม
ด้านกระทรวงการคลัง หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการดูแลเรื่องรายได้ส่วนใหญ่ของประเทศ คือรายได้ภาษี จากทั้งสามหน่วยงานหลัก คือ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากรนั้น จากรายงานข่าวของกระทรวงการคลัง พบว่าผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิปีงบประมาณ 2564 (ตุลาคม 2563-กันยายน 2564) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ จำนวน 2.36 ล้านล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3.07 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นลดลง 11.5%
แบ่งเป็นการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากร ต่ำกว่าประมาณการ 2.1 แสนล้านบาท คิดเป็น 10.1% กรมสรรพสามิต ต่ำกว่าประมาณการ 1.02 แสนล้านบาท คิดเป็น 16.2% และส่วนราชการอื่น ต่ำกว่าประมาณการ 1.2 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 7.5% ซึ่งได้ระบุว่าสาเหตุจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในของไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลง ประกอบกับมีการดำเนินนโยบายการคลังและภาษีเพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องและบรรเทาภาระแก่ประชาชน และผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่องจึงส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลต่ำกว่าที่ประมาณการไว้
ในทางกลับกัน มาตรการเยียวยาและช่วยเหลือนั้น ก็จำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเช่นกัน แม้ในปี 2563 จะออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน 1 ล้านล้าน ไปแล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ในปี 2564 ก็ได้ออก พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มเติม 5 แสนล้านบาท อีก รวมเป็นเงินกู้ 1.5 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายจับตามอง คือความกังวลเรื่องจำนวนเงินจะไม่เพียงพอ หรือกังวลว่าจะมีผลให้หนี้สาธารณะของไทยเพิ่ม จนเป็นภาระของประเทศในอนาคต
⦁ แก้ กม.ขยับเพดานหนี้
เมื่อฐานรายได้ของรัฐบาล หรือจีดีพีไม่ขยายตามที่คาดไว้ รายจ่ายของรัฐบาลก็เพิ่มขึ้นจำนวนมาก คณะกรรมการวินัยการเงินการคลังของรัฐ ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จึงต้องตัดสินใจที่จะขยายกรอบเพดานสัดส่วนหนี้สาธารณะชั่วคราว เป็น 70% จากเดิม 60% เพื่อเพิ่มช่องว่างทางการคลัง ซึ่งล่าสุดสัดส่วนหนี้สาธารณะไทย ระดับ 58.8% ต่อจีดีพีแล้ว โดยรัฐบาลคาดว่าเมื่อถึงสิ้นปีงบประมาณ จะอยู่ที่ 62% ซึ่งยังไม่เกินเพดาน
หลังจากนั้นไม่นาน ก็พบปัญหาทางการคลังอีกครั้ง เมื่อมีการค้างจ่ายเงินในโครงการประกันรายได้เกษตรกร เนื่องจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไม่อนุมัติงบประมาณกว่า 8.93 หมื่นล้านบาท ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อนำไปโอนให้เกษตรกร เมื่อย้อนหาสาเหตุที่ไม่อนุมัติก็เนื่องจากพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วินัยการเงินการคลังมาตรา 28 ได้ปริ่มเพดานแล้ว
ที่ผ่านมารัฐบาลมีการก่อหนี้ผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ และหน่วยงานอื่น จนมีหนี้สะสมใกล้เกินเพดานวินัยการเงินการคลัง ม.28 ที่กำหนดไว้ไม่เกิน 30% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือประมาณ 9.3 แสนล้านบาทนั้น โดยส่วนที่สร้างภาระมากที่สุด คือ โครงการอุดหนุนสินค้าเกษตร ที่มีหนี้สะสมถึง 6-7 แสนล้านบาทแล้ว โดยยังไม่รวมโครงการคู่ขนาน นอกจากนี้ ยังสะสมในสถาบันการเงินของรัฐแห่งอื่นๆ อีก 2-3 หมื่นล้าน และทางออกสุดท้าย เพื่อให้งบประมาณในการอุดหนุนสินค้าเกษตร ในปีการผลิต 2564/65 นั้นเพียงพอ ก็จำเป็นที่จะต้องขยายกรอบเพดานการใช้เงิน ม.28 จากไม่เกิน 30% เป็น 35% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มวงเงินกู้ชดเชยขาดดุล การกู้เงิน และการขยายกรอบเพดานหนี้ถึงสองตัวด้วยกัน ภายใต้ภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดี จนรายได้หดหายเช่นนี้ ย่อมเป็นสัญญาณว่ารัฐบาล โดยเฉพาะกระทรวงการคลัง ต้องแบกรับภาระทางการคลังที่หนักอึ้ง จนหลังแอ่นกันไปข้างหนึ่งเลยทีเดียว หลังจากนี้ กระทรวงการคลัง จึงต้องก้มหน้าก้มตาหารายได้มากลบหนี้ต่างๆ เป็นภารกิจที่สำคัญอีกด้านหนึ่งไปเสียแล้ว แต่การจะออกภาษีตัวใหม่ๆ ก็ยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม เพราะยิ่งเหมือนจะไปขูดรีดเอาเลือดเนื้อจากประชาชนจนเกินไป แนวคิดที่กระทรวงการคลังวางแผนไว้คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ภาษี และการขยายฐานภาษีนั่นเอง
⦁ คลังก้มหน้าหารายได้โปะ
ในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดภาษีนั้น เป็นแนวคิดที่ใช้กับทั้งภาษีและรายรับ รายจ่ายส่วนอื่นๆ โดยจะนำเทคโนโลยีดิจิทัล และแพลตฟอร์ม บล็อกเชน ต่างๆ มาช่วยตรวจสอบเพื่อลดการหลบเลี่ยงการจ่ายภาษีทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นภาษีของกรมสรรพสามิต และภาษีของกรมสรรพากร นอกจากนี้ กรมสรรพากรยังได้เพิ่มบริการทางแพลตฟอร์มออนไลน์ให้การยื่นแบบภาษี ทำได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ซึ่งหวังว่าจะเป็นอีกทางให้ผู้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมาใช้บริการ ไม่ต้องมีข้ออ้างเรื่องติดปัญหาเอกสารต่างๆ อีกต่อไป
ส่วนการขยายฐานภาษีนั้น กระทรวงการคลังจะเลือกจากกลุ่มที่มีผลกระทบด้านรายได้น้อยที่สุด อาทิ กรมสรรพากร ได้มีการออก พ.ร.บ.ภาษีอีเซอร์วิส โดยจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% กับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์จากต่างประเทศ ที่ไม่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในประเทศไทย ซึ่งกรมสรรพากรได้เผยว่า ในเดือนแรก (ณ วันที่ 23 ตุลาคม 2564) จัดเก็บภาษีได้มูลค่ารวม 686 ล้านบาท สูงกว่าเป้าที่คาดการณ์ไว้ถึง 65% ทำให้คาดว่าทั้งปีน่าจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้จากแพลตฟอร์มผู้ให้บริการต่างประเทศประมาณ 8 พัน-1 หมื่นล้านบาท สูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าทั้งปีจะได้ 5 พันล้านบาท
ยิ่งไปกว่านั้น กรมสรรพากรกำลังพิจารณาแผนเรียกเก็บภาษีจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ หรือภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการขายหุ้น ภาษีที่เคยได้รับการยกเว้นมากกว่า 30 ปีแล้ว ซึ่งกรมสรรพากรระบุว่า ต้องดูหลายปัจจัยประกอบ โดยเฉพาะเงื่อนไขเวลาที่เหมาะสม และยืนยันว่า การเรียกเก็บภาษีดังกล่าว ประชาชน 85% หรือนักลงทุนรายย่อยจะไม่ได้รับผลกระทบแน่นอน คาดว่าจะจัดเก็บรายได้ให้รัฐบาล 1-2 หมื่นล้านบาทต่อปี
หลังจากนี้ได้แต่หวังจะไม่มีวิกฤตลูกใหม่เข้ามาแทรกอีก เพื่อให้เศรษฐกิจไทยฟื้นอีกครั้ง และเพื่อไม่ให้คลังต้องแบกภาระจนหลังแอ่นไปนานกว่านี้!!