ด้านมืดของพลังงานสะอาด อีกมุมหนึ่ง ที่หลายคนไม่เคยคิด...

ในช่วงกระแสรถไฟฟ้า ราคาถูก พลังงานสะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอะไรพวกนี้ กำลังมาแรง

เคยดูสารดีเรื่องนี้ "ด้านมืดพลังงานสะอาด "  ในช่อง TRUE SCI
เห็นว่ามีเนื้อหาที่น่าสนใจดี จึงพยายามรวบรวม เรียบเรียง และหาข้อมูลจากแหล่งอื่น มาสรุปเพิ่มให้ฟังฮะ ผิดพลาดประการใดก็ขออภัย เม่าหอยทาก

ด้านมืดพลังงานสะอาด

รถไฟฟ้าไม่ใช่สัญลักษณ์ของพลังงานสะอาด ไม่ได้ช่วยสิ่งแวดล้อม การช่วยสิ่งแวดล้อมคือต้องลดปริมาณการใช้ ไม่ใช่ปรับเปลี่ยน

พลังงานสะอาดไม่มีอยู่จริงเราแสร้งทำเป็นสะอาดแต่จริงๆแล้วเราก็สกปรกเหมือนเดิม อาจจะสะอาดในอีกพื้นที่ 1 แต่ก็สร้างผลกระทบอย่างใหญ่หลวงให้กับอีกพื้นที่หนึ่งอยู่ดี 

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

เหมืองแร่ส่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมมาก และใช้น้ำปริมาณมหาศาล
และในหลายประเทศ ขยะอิเล็กทรอนิกซ์ และแบตเตอรี่ก็ยังไม่มีระบบจัดการที่ดี 
แม้ว่าแร่ธาตุเหล่านี้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่กระบวนการที่ยุ่งยากนี้ยังไม่สามารถนำไปใช้ได้จริงในเชิงเศรษฐกิจ

“การรีไซเคิลนี้มีมานานหลายทศวรรษ แต่ความจริงก็คือในปี 2020 น้อยกว่า 1% ถูกรีไซเคิลสิบปีที่ผ่านมาถ้าเราพิจารณาความเป็นไปได้ของการรีไซเคิลประมาณ 50% ของวัสดุเช่นการรีไซเคิล ซึ่งแทบจะไม่มีประโยชน์เลย

พลังงานถูก ก็ไม่มีจริงเช่นกัน ที่มันเห็นว่าถูก เพราะมีคนคุมราคา ควักเนื้อ หรือสนับสนุนอยู่มันจึงยังไม่ใช่ต้นทุนที่แท้จริงอยู่ดี

รถไฟฟ้าใช้ทองแดงมากกว่ารถยนต์ปัจจุบันถึง 4 เท่า และทองแดงก็หายากขึ้นทุกวันและมีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ
คาดว่าในอีก 30 ปีข้างหน้าปริมาณของแร่โลหะที่เราต้องขุดจะเกินจำนวนที่มนุษย์ได้ขุดใน 70,000 ปีเลยทีเดียว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

และทรัพยากรแร่หายากต่างๆ จีนครอบครองไว้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ วิสัยทัศน์ของจีน เขาไม่ได้ต้องการเป็นแค่ผู้ส่งออกรายใหญ่เท่านั้น แต่เขาต้องการเป็นผู้ควบคุมการผลิตและกำหนดราคาได้เองทั้งหมด

และเหล่าบรรดาประเทศผู้ส่งออกวัตถุดิบต่างๆ แร่หายากต่างๆเพื่อป้อนให้กับอุตสาหกรรมรถไฟฟ้า ส่วนใหญ่ยังเป็นประเทศกำลังพัฒนาพัฒนา แต่ประเทศเหล่านี้ก็ต้องการเติบโตพัฒนาเป็นประเทศเจ้าตลาด เป็นผู้กำหนดราคาด้วยเช่นกัน ซึ่งก็มีจุดเริ่มต้นไม่ต่างกับเหล่าบรรดาประเทศที่เป็นเจ้าของบ่อน้ำมันเมื่อครั้งอดีตเลย...

เมื่อปี 2017 การบริโภคลิเทียมในตลาดโลกอยู่ที่ประมาณ 40,000 ตันต่อปี แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 10 ในทุกๆปี นับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา ขณะเดียวกัน ระหว่างปี 2015 ถึง 2018 ราคาลิเทียมขยับสูงขึ้นเกือบสามเท่าตัว นอกจากนี้ ความต้องการที่ว่านั้นมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นอีก เมื่อรถยนต์ไฟฟ้ากลายเป็นที่นิยมมากขึ้น

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

เพราะฉะนั้น การปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี จากน้ำมัน เป็นแบตเตอรี่และพลังงานไฟฟ้า จึงไม่ได้มีแต่ภาพที่สวยหรูงดงามเป็นมิตรต่องสิ่งแวดล้อมอย่างเห็น
การสงวนทรัพยากรทีมีอยู่อย่างจำกัดไว้ให้กับโลก และใช้เท่าที่จำเป็นจริงๆ...นั่นต่างหากที่สำคัญเพี้ยนแคปเจอร์

เครดิต  เยี่ยม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่