นักซ่อมหนังสือผู้แฝงตัวอยู่ในเมืองเก่าสงขลา
ณ เมืองเก่า ของจังหวัดสงขลา เมืองที่ถูกห้อมล้อมไว้ด้วยงานสถาปัตยกรรมแบบโบราณ ที่มีตัวอาคารทรงไชนีสโปตุกรีส หรือการสร้างเมืองแบบผสมผสานระหว่างฝรั่งกับจีน เมืองที่มีบ้านไม้เก่าแก่หลายหลังที่มองผ่านจากภายนอกก็พอเข้าใจได้ว่าเคยเป็นบ้านของคนไทยเชื่อสายจีนมาก่อน และอาคารเก่าแก่ที่มีทรงหลังคาเป็นกระเบื้องดินเผาแบบจีนโบราณ ที่มองเฉพาะโครงหลังคาแล้วคล้ายกับหลังคาเก๋งจีนตามวัดต่าง ๆ เมืองเก่าสงขลาแห่งนี้กำลังกลับมาทรงพลังในด้านการท่องเที่ยว ซึ่งถ้าสถานการณ์บ้านเมืองปกติคงมีนักท่องเที่ยวสะพายกล้องถ่ายรูปเดินอยู่เต็มทุกถนนแน่ ๆ
แต่ใครจะรู้บ้างว่า ในใจกลางย่านเมืองเก่าสงขลาที่สงบเงียบไปด้วยบ้านเรือนพักอาศัยนั้น บริเวณถนนนางงามตัดแยกถนนยะลา ในห้องแถวโบราณเล็ก ๆ คูหาหนึ่ง มีชายหนุ่มคนหนึ่งที่ซ่อนตัวอยู่เงียบ ๆ โดยเขานั่งประดิษฐ์งานฝีมือที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง คือการทำสมุดทำมือที่มีขั้นตอนการทำด้วยมือเกือบทั้งหมด นอกจากนั้นเขายังเป็นนักซ่อมหนังสือที่มีฝีมือเก่งกาจ ผู้ที่ค้นพบทางเดินด้ายในการเย็บกี่ด้วยตัวของเขาเอง ชายผู้นี้ใช้ชื่อเปิดเผยต่อสาธารณะชนว่า “บาย หินสีครีม”
ไปทำความรู้จักกับชายผู้นี้ผ่านผลงานของเขากันดีกว่า เรื่องราวทั้งหมดผมถ่ายทำมานำเสนอเป็นคลิปวีดีโอให้แก่ผู้ที่สนใจได้ชมกันครับ
วรรณกรรมเธียร์เตอร์ : นักซ่อมหนังสือผู้แฝงตัวอยู่ในเมืองเก่าสงขลา
@@@@@@@@@
(บางส่วนจากเนื้อหาในคลิปวีดีโอ)
ถามว่าการเย็บกี่หรือการทำสมุดทำมือนั้นทำยากหรือไม่?
“การเย็บหนังสือหรือสมุดทำมือต้องด้วยความเคยชินเป็นหลัก ต้องรู้จังหวะของกระดาษว่า จะเย็บอย่างไรที่ไม่ทำให้กระดาษย้วยหรือพับ แล้ววิธีการเย็บจะใช้ด้ายเพียงเส้นเดียว ต้องดึงให้ตึงและต้องระวังไม่ให้ด้ายพันกัน คือในเวลาที่กำลังเย็บสมุดทำมือจำเป็นต้องมีสมาธิ โดยไม่สามารถคิดเรื่องอื่นได้เลย ไม่อย่างนั้นด้ายจะพันกันหรือไม่ก็โดนเข็มตำมือ ดังนั้นจึงถือว่าการเย็บหนังสือเป็นการฝึกสมาธิและฝึกความอดทนของผู้ทำด้วย”
“การเย็บสมุดทำมือนั้น ถ้าภายในของผู้ทำไม่นิ่งก็จะไม่สามารถเย็บได้ จิตใจก็จะยุบยวบไปตามยกกระดาษที่เลื่อนเคลื่อนไปด้วย ถ้าด้ายไม่พันกันกระดาษก็จะขาดบ้าง จะเจอทั้งปัญหาและอุปสรรคตลอด ดังนั้นการที่ใครจะสามารถมาทำหนังสือทำมืออย่างนี้ได้ ต้องเป็นคนที่มีความตั้งใจและความอดทนอยู่ในตัวเอง ไม่ใช่ว่าใคร ๆ ก็สามารถมาทำได้ อย่างที่บอก ใครจะทำสมุดทำมือได้ในใจเขาต้องนิ่งด้วย”
ถามว่าระหว่างการซ่อมหนังสือกับการทำสมุดทำมือนั้น ชอบทำอะไรมากกว่ากัน?
“ส่วนตัวแล้วผมชอบซ่อมหนังสือ เพราะว่าการซ่อมหนังสือมันมีความหลากหลายมากกว่าเย็บสมุดทำมือ ซึ่งความหลากหลายนั้นก็คือ กว่าที่หนังสือแต่ละเล่มจะมาถึงมือผม มันมาจากนักอ่านที่มักจะเป็นหนังสือเก่าและค่อนข้างหายาก และแน่นอนว่าผมไม่เคยอ่านเล่มนั้นมาก่อน ดังนั้นพอหนังสือมาถึงมือผมนอกจากผมจะซ่อมแล้ว ผมยังได้เปิดอ่านหนังสือเล่มนั้น ๆ ด้วย”
“หนังสือแต่ละเล่มที่ส่งมาถึงมือผม ส่วนใหญ่อาการป่วยของหนังสือจะแตกต่างกัน เหมือนกับคนป่วยเวลาที่ไปหาหมอจะเป็นกันคนละโรค คุณหมอต้องทำการวินิจฉัยและรักษาแต่ละคนก็แตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นอาการของหนังสือชำรุดจึงมีหลากหลายที่ให้ได้จับให้ได้ซ่อมมากกว่า”
ถามว่า เวลาที่เปิดร้านแล้วมีผู้หญิงเข้าในร้านแล้วเธอเห็นว่ากำลังจับด้าย หรือกำลังเย็บด้ายอยู่ เรารู้สึกอย่างไรบ้าง?
“ผมคิดว่าถ้าจับเข็มมานั่งปักผ้าสาว ๆ เขาคงมองผมอีกแบบแน่ ๆ แต่ว่าพอเขาเห็นว่าผมเย็บกระดาษแบบนี้มันเป็นงานของผู้ชายอยู่แล้ว ส่วนใหญ่คนที่ทำอย่างผมมักจะเป็นผู้ชายส่วนใหญ่ แต่จริง ๆ แล้วตัวผมก็ชอบงานปักเหมือนกัน แต่ว่ายังไม่กล้าลองเพราะกลัวว่าเวลาที่คนอื่นมาเห็นแล้วเขาจะรู้สึกแปลก ๆ ก็ได้”
ถามว่า จิตวิญญาณของสมุดทำมือมันแตกต่างจากสมุดที่เราไปหาซื้อแบบสำเร็จรูปตามร้านทั่วไปอย่างไร?
“ผมทำมันกับมือ ผมคิดว่ามันมีพลังงานบางอย่าง ทุกหน้า ทุกยก ผมสัมผัสมันทั้งหมด แต่ละหน้าแต่ละยกกว่าทีจะกลายเป็นเล่มมันผ่านมือผมทั้งหมด ดังนั้นสิ่งที่ผมถ่ายทอดออกมาจากข้างในมันถูกส่งผ่านไปยังแต่ละหน้าแต่ละยกและแต่ละเล่มได้เหมือนกัน เวลาที่มันทำเสร็จเป็นเล่มแล้ว พอมีคนมาหาซื้อมาหยิบจับมาสัมผัส ผมคิดว่าเขาได้รับพลังงานนั้นไปด้วย ซึ่งเป็นพลังงานที่เราใส่ลงไปในสมุดทำมือแต่ละเล่ม”
“บางครั้งที่มีนักท่องเที่ยวมาซื้อไปเพื่อเอาไปเป็นของฝากให้คนอื่น พอผู้รับได้รับได้จับหรือได้สัมผัสแล้วเขาคงรู้สึกได้ว่ามันเป็นของแฮนด์เมดที่ทรงคุณค่า พอมีผู้ที่ได้รับสมุดทำมือไปแล้วเขารู้สึกอย่างนั้น ผมก็ดีใจที่เขาเห็นคุณค่าของมันอย่างที่ผมตั้งใจไว้จริง ๆ”
ถามว่า อะไรที่ยึดคุณไว้ให้ทุกวันนี้ยังทำสมุดทำมือและซ่อมหนังสืออยู่
“งานวรรณกรรม งานหนังสือ การเขียนหนังสือ ทำให้ผมทำทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับมันได้หมด เพื่อที่จะเคลื่อนมันไปข้างหน้า ทุกวันนี้สิ่งที่ผมทำยังอยู่ในเส้นทางของงานวรรณกรรมที่ผมชื่นชอบ คือจริง ๆ แล้วผมเป็นนักเขียน พอเขียนหนังสือแล้วผมก็อยากจะทำมันให้ออกมาเป็นเล่ม แต่ว่ากระบวนต่าง ๆ ในวงการหนังสือ ในเรื่องการจัดพิมพ์ต่าง ๆ ในช่วงนี้ก็ประสบปัญหาต่าง ๆ มากมาย ดังนั้นถ้าผมไปซ้ำทางแบบนั้นอีกมันก็ไม่ใช่ทางของเรา ผมจึงฉีกออกมาหาทางเลือกที่ทำให้ผมยังสามารถเคลื่อนความฝันของตัวเองได้ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วย โดยไม่บาดเจ็บมากจนเกินไป ด้วยการทำทีละน้อยแต่เราก็ได้ทำ ได้เคลื่อนมันไปเรื่อย ๆ”
ช่างซ่อมหนังสือเก่า
เขา เป็นช่างซ่อมหนังสือเก่า
ที่ราฝุ่นจับเงาอยู่คละคลุ้ง
กลิ่นฉุนระหว่างหมึกฝุ่นกระดาษปรุง
เสมือนทุ่งบ่มอักษรมาร้อยปี
เขาเป็นช่างซ่อมหนังสือเก่า
อยู่กับเงาของคืนค่ำอันหม่นสี
แต่ละเล่มนั้นเก่าคร่ำดั่งคัมภีร์
เพ่งพินิจ ย้อนวิถี คืนสมัย
เขาเป็นช่างซ่อมหนังสือเก่า
ผู้แรเงาแห่งอดีตมาฉายใหม่
คงรูปคงรอยแต่เดิมใช้
คงไว้ในคำถ้อยอักษรเดิม
เขาเป็นช่างซ่อมหนังสือเก่า
ผู้ดื่มด่ำความเหงามาแต่เริ่ม
หลงอยู่ในยุค ... พระเจ้าองค์เดิม
เคลิบเคลิ้มอยู่บนดาวสีน้ำเงิน
เขาเป็นช่างซ่อมหนังสือเก่า
แม้โลกเขลาหมุนคว้างอย่างคว้างเพลิน
รอยเท้าแต่ละรอยยังย่ำเดิน
ทยอยทยอยเผชิญรอยร่องโลกาวิถี
เขาเป็นช่างซ่อมหนังสือเก่า-โบราณ
อยู่กับงานของคืนวันอันหม่นสี
ละเล่มนั้นเก่าคร่ำดั่งคัมภีร์
เพ่งพินิจ ย้อนวิถี คืนสมัย
11 กุมภาพันธ์ 2553
กวีนิพนธ์ประพันธ์โดย “บาย หินสีครีม”
สำหรับท่านใดที่สนใจผลงานสมุดทำมือของ บาย หินสีครีม อยากจะหาซื้อก็ลองเข้าไปเยี่ยมชมเฟซบุ๊กของเขาได้ที่
FB : บาย หินสีครีม
วรรณกรรมเธียร์เตอร์ : นักซ่อมหนังสือผู้แฝงตัวอยู่ในเมืองเก่าสงขลา
แต่ใครจะรู้บ้างว่า ในใจกลางย่านเมืองเก่าสงขลาที่สงบเงียบไปด้วยบ้านเรือนพักอาศัยนั้น บริเวณถนนนางงามตัดแยกถนนยะลา ในห้องแถวโบราณเล็ก ๆ คูหาหนึ่ง มีชายหนุ่มคนหนึ่งที่ซ่อนตัวอยู่เงียบ ๆ โดยเขานั่งประดิษฐ์งานฝีมือที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง คือการทำสมุดทำมือที่มีขั้นตอนการทำด้วยมือเกือบทั้งหมด นอกจากนั้นเขายังเป็นนักซ่อมหนังสือที่มีฝีมือเก่งกาจ ผู้ที่ค้นพบทางเดินด้ายในการเย็บกี่ด้วยตัวของเขาเอง ชายผู้นี้ใช้ชื่อเปิดเผยต่อสาธารณะชนว่า “บาย หินสีครีม”
ไปทำความรู้จักกับชายผู้นี้ผ่านผลงานของเขากันดีกว่า เรื่องราวทั้งหมดผมถ่ายทำมานำเสนอเป็นคลิปวีดีโอให้แก่ผู้ที่สนใจได้ชมกันครับ
ถามว่าการเย็บกี่หรือการทำสมุดทำมือนั้นทำยากหรือไม่?
“การเย็บหนังสือหรือสมุดทำมือต้องด้วยความเคยชินเป็นหลัก ต้องรู้จังหวะของกระดาษว่า จะเย็บอย่างไรที่ไม่ทำให้กระดาษย้วยหรือพับ แล้ววิธีการเย็บจะใช้ด้ายเพียงเส้นเดียว ต้องดึงให้ตึงและต้องระวังไม่ให้ด้ายพันกัน คือในเวลาที่กำลังเย็บสมุดทำมือจำเป็นต้องมีสมาธิ โดยไม่สามารถคิดเรื่องอื่นได้เลย ไม่อย่างนั้นด้ายจะพันกันหรือไม่ก็โดนเข็มตำมือ ดังนั้นจึงถือว่าการเย็บหนังสือเป็นการฝึกสมาธิและฝึกความอดทนของผู้ทำด้วย”
“การเย็บสมุดทำมือนั้น ถ้าภายในของผู้ทำไม่นิ่งก็จะไม่สามารถเย็บได้ จิตใจก็จะยุบยวบไปตามยกกระดาษที่เลื่อนเคลื่อนไปด้วย ถ้าด้ายไม่พันกันกระดาษก็จะขาดบ้าง จะเจอทั้งปัญหาและอุปสรรคตลอด ดังนั้นการที่ใครจะสามารถมาทำหนังสือทำมืออย่างนี้ได้ ต้องเป็นคนที่มีความตั้งใจและความอดทนอยู่ในตัวเอง ไม่ใช่ว่าใคร ๆ ก็สามารถมาทำได้ อย่างที่บอก ใครจะทำสมุดทำมือได้ในใจเขาต้องนิ่งด้วย”
“ส่วนตัวแล้วผมชอบซ่อมหนังสือ เพราะว่าการซ่อมหนังสือมันมีความหลากหลายมากกว่าเย็บสมุดทำมือ ซึ่งความหลากหลายนั้นก็คือ กว่าที่หนังสือแต่ละเล่มจะมาถึงมือผม มันมาจากนักอ่านที่มักจะเป็นหนังสือเก่าและค่อนข้างหายาก และแน่นอนว่าผมไม่เคยอ่านเล่มนั้นมาก่อน ดังนั้นพอหนังสือมาถึงมือผมนอกจากผมจะซ่อมแล้ว ผมยังได้เปิดอ่านหนังสือเล่มนั้น ๆ ด้วย”
“หนังสือแต่ละเล่มที่ส่งมาถึงมือผม ส่วนใหญ่อาการป่วยของหนังสือจะแตกต่างกัน เหมือนกับคนป่วยเวลาที่ไปหาหมอจะเป็นกันคนละโรค คุณหมอต้องทำการวินิจฉัยและรักษาแต่ละคนก็แตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นอาการของหนังสือชำรุดจึงมีหลากหลายที่ให้ได้จับให้ได้ซ่อมมากกว่า”
ถามว่า เวลาที่เปิดร้านแล้วมีผู้หญิงเข้าในร้านแล้วเธอเห็นว่ากำลังจับด้าย หรือกำลังเย็บด้ายอยู่ เรารู้สึกอย่างไรบ้าง?
“ผมคิดว่าถ้าจับเข็มมานั่งปักผ้าสาว ๆ เขาคงมองผมอีกแบบแน่ ๆ แต่ว่าพอเขาเห็นว่าผมเย็บกระดาษแบบนี้มันเป็นงานของผู้ชายอยู่แล้ว ส่วนใหญ่คนที่ทำอย่างผมมักจะเป็นผู้ชายส่วนใหญ่ แต่จริง ๆ แล้วตัวผมก็ชอบงานปักเหมือนกัน แต่ว่ายังไม่กล้าลองเพราะกลัวว่าเวลาที่คนอื่นมาเห็นแล้วเขาจะรู้สึกแปลก ๆ ก็ได้”
“ผมทำมันกับมือ ผมคิดว่ามันมีพลังงานบางอย่าง ทุกหน้า ทุกยก ผมสัมผัสมันทั้งหมด แต่ละหน้าแต่ละยกกว่าทีจะกลายเป็นเล่มมันผ่านมือผมทั้งหมด ดังนั้นสิ่งที่ผมถ่ายทอดออกมาจากข้างในมันถูกส่งผ่านไปยังแต่ละหน้าแต่ละยกและแต่ละเล่มได้เหมือนกัน เวลาที่มันทำเสร็จเป็นเล่มแล้ว พอมีคนมาหาซื้อมาหยิบจับมาสัมผัส ผมคิดว่าเขาได้รับพลังงานนั้นไปด้วย ซึ่งเป็นพลังงานที่เราใส่ลงไปในสมุดทำมือแต่ละเล่ม”
“บางครั้งที่มีนักท่องเที่ยวมาซื้อไปเพื่อเอาไปเป็นของฝากให้คนอื่น พอผู้รับได้รับได้จับหรือได้สัมผัสแล้วเขาคงรู้สึกได้ว่ามันเป็นของแฮนด์เมดที่ทรงคุณค่า พอมีผู้ที่ได้รับสมุดทำมือไปแล้วเขารู้สึกอย่างนั้น ผมก็ดีใจที่เขาเห็นคุณค่าของมันอย่างที่ผมตั้งใจไว้จริง ๆ”
ถามว่า อะไรที่ยึดคุณไว้ให้ทุกวันนี้ยังทำสมุดทำมือและซ่อมหนังสืออยู่
“งานวรรณกรรม งานหนังสือ การเขียนหนังสือ ทำให้ผมทำทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับมันได้หมด เพื่อที่จะเคลื่อนมันไปข้างหน้า ทุกวันนี้สิ่งที่ผมทำยังอยู่ในเส้นทางของงานวรรณกรรมที่ผมชื่นชอบ คือจริง ๆ แล้วผมเป็นนักเขียน พอเขียนหนังสือแล้วผมก็อยากจะทำมันให้ออกมาเป็นเล่ม แต่ว่ากระบวนต่าง ๆ ในวงการหนังสือ ในเรื่องการจัดพิมพ์ต่าง ๆ ในช่วงนี้ก็ประสบปัญหาต่าง ๆ มากมาย ดังนั้นถ้าผมไปซ้ำทางแบบนั้นอีกมันก็ไม่ใช่ทางของเรา ผมจึงฉีกออกมาหาทางเลือกที่ทำให้ผมยังสามารถเคลื่อนความฝันของตัวเองได้ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วย โดยไม่บาดเจ็บมากจนเกินไป ด้วยการทำทีละน้อยแต่เราก็ได้ทำ ได้เคลื่อนมันไปเรื่อย ๆ”