ขณะนี้ก็ล่วงมาถึงวันคริสต์มาสกันจนได้ คาดว่าหลายๆท่านอาจจะพอสมหวังกับสภาพอากาศช่วงครึ่งแรกของหน้าหนาวปีนี้บ้าง รวมถึงคงมีอีกหลายท่านเช่นกัน ที่ยังไม่ค่อยสมหวังเท่าที่ควร (รวมไปถึงตัวผมเองด้วย โฮ) นอกจากนั้นหลายท่านอาจสงสัยกันด้วยว่า เอ แล้วครึ่งหลังมันจะออกมาหน้าไหน ? จะมีเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรได้บ้าง ? ฉะนั้นแล้ว ผมจะถือวิสาสะ ขออนุญาติคาดการณ์คร่าวๆดูก็แล้วกันนะครับ
ก่อนอื่น เราลองมา recap กันดูครับว่าที่ผ่านมาลักษณะอากาศครึ่งแรกของหน้าหนาวเป็นอย่างไรกันบ้าง เพื่อที่ว่าจะได้เห็นว่าจะได้เห็นสภาพทั่วไปคร่าวๆของลักษณะอากาศปีนี้กัน
เริ่มกันที่อุณหภูมิเฉลี่ยประเทศไทยตลอด 3 สัปดาห์แรกในเดือนนี้กัน
จะเห็นได้จาก 3 ภาพบนว่า สัปดาห์แรกที่มีลมหนาวแผ่ลงมาแรง ตอนบนของประเทศจะเย็นกว่าปรกติโดยทั่วกัน ส่วนสัปดาห์ที่ 2 ที่ 3 ตามมาก็มีบางที่ๆเย็นกว่าปรกติ บางที่ๆร้อนกว่า และบางที่ก็ตามค่าเฉลี่ย แต่ก็พอถัวๆให้ทั้งประเทศมีอุณหภูมิเฉลี่ยเป็นไปตามค่ามาตรฐาน ทำให้ภาพรวมฤดูหนาวครึ่งแรกจึงออกมาเย็นกว่าปรกติเล็กน้อยโดยทั่วกัน
ซูมกันออกไปไกลกว่านั้นเพื่อมาดูลักษณะอากาศของทั่วโลกเดือนธันวาคมที่ผ่านมากันบ้าง
ภาพบนคือค่าอุณหภูมิที่ต่างจากค่าเฉลี่ยตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม ถึง 21 ธันวาคมของปีนี้ จะสังเกตได้ว่าอากาศหนาวจัดถูกกักอยู่บริเวณขั้วโลก (เหนือเส้นอาร์คติกเซอร์เคิล) เสียส่วนใหญ่ แทบไม่มีเล็ดลอดลงมาเท่าที่ควร ซึ่งนั่นหมายความว่าอุณหภูมิต้นทางความหนาวของบ้านเรา (บริเวณแถบจีนตอนบน และมองโกเลีย)สูงอยู่ตลอดช่วงที่ผ่านมา จึงส่งผลให้เมื่อความกดอากาศสูงแผ่ลงมาถึงบ้านเราจะไม่ได้หนาวจัดวูบทีเดียว แต่จะเป็นแนวค่อยๆลงมาอย่างสม่ำเสมอ เรื่อยๆเสียมากกว่า
[อนึ่งหากสังเกตบริเวณอัฟฟริกาตอนเหนือดีๆ จะเห็นได้ว่าค่อนข้างเย็นกว่าปกติพอสมควร ซึ่งก็เป็นผลจากทางยุโรปเหนือที่ pattern อากาศหนาวมันมักไหลไปกองอยู่แถวนั้นบ่อยครั้ง อัฟฟริกาจึงได้รับลมหนาวแผ่ลงมาต่อเนื่องอยู่ตลอดช่วงที่ผ่านมา เป็นที่น่าเสียดายที่แพทเทิร์นความหนาวน่าจะเบ้มาทางจีนเสียหน่อย เพราะหากเป็นเช่นนั้นแล้ว ช่วงที่ผ่านมาบ้านเราก็น่าจะหนาวกว่านี้ได้อีกมาก]
ส่วนสาเหตุที่ความหนาวถูกกักเก็บไว้ได้นั้นก็มาจากด้วยความที่ polar jet stream หรือ แนวลมกรดขั้วโลก มันไหลแรงอยู่ตลอดช่วงที่ผ่านมานั่นเอง
รุปบนทางซ้าย ลมกรดไม่ค่อยแรง แล้ว มีการส่ายไปส่ายมา ความหนาวจากขั้วโลกจึงแผ่ลงมาถึงละติจูดที่ต่ำลงมาได้ (เรียกสภาวะนี้ว่า AO -)
รูปบนทางขวา ลมกรดแรง และสม่ำเสมอ ความหนาวจากขั้วโลกจึงถูกกักเอาไว้ (เรียกสภาวะนี้ว่า AO +)
ภาพบน คือ ค่าดัชนี AO (หรือที่เขียนไปก่อนหน้า คือ ดัชนีตัวบอกการกักอากาศหนาวขั้วโลก) จะเห็นได้ว่าครึ่งแรกเดือนธันวาคมมีค่าบวกสูงมาก (แทบไม่มีอากาศหนาวเล็ดลอดลงมาเลย) และเพิ่งจะมีค่าเป็นลบช่วงครึ่งเดือนหลังนี้เอง ส่วนหลังจากนั้นจะเป็นอย่างไรตอนนี้ยังคงคลุมเครืออยู่
เนื่องจากส่งผลต่อ pattern อากาศโดยรวมค่อนข้างมาก หากจะไม่พูดถึงคงจะวิเคราะหต่อจากนี้กันไม่ได้, ลองพิจารณาดูสภาวะของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลของทั้งโลกกันบ้างครับ
จะเห็นได้ว่าน้ำทะเลแถวกลางแปซิฟิกยังคงเย็นกว่าปกติค่อนข้างมาก (ลักษณะของ La Nina) ประกอบกับ ด้านทิศใต้ของอลาสกาก็เย็นกว่าปกติมากเช่นกัน (PDO negative) ลักษณะแบบนี้จึงส่งผลให้มีความกดอากาศสูงแผ่ลงมาได้อีกหลายครั้งตลอดช่วงที่ผ่านมา (แต่อาจยังไม่หนาวจัดเท่าไหร่เพราะผลของ AO +และ pattern อากาศไม่ค่อยเป็นใจ)
สรุปความกัน(เกิน)พอสมควรแล้ว ก็ถึงเวลามาพิจารณาปัจจัยโดยรวม เพื่อสำหรับการคาดการณ์ช่วงครึ่งหลังของหน้าหนาวกันบ้าง
ดังที่ได้เขียนไปก่อนหน้าแล้วว่า ขณะนี้เรากำลังอยู่ในสภาวะ La Nina และ PDO negative ซึ่งหมายถึง ความกดอากาศสูงจากจีนจะสามารถสะสมตัว และแผ่ลงมาได้บ่อยครั้ง
ตามปรกติแล้วทั้ง La Nina และ PDO จะพีคกันช่วงกลางฤดูหนาว เพราะงั้นจึงหมายความว่าลักษณะอากาศที่เหมาะสมแก่การสะสมตัวของความกดอากาศสูงที่จีน จะยังคงอยู่อย่างนี้ต่อไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ ปัจจัยแรกจึงสามารถกล่าวได้ง่ายๆ ว่า
1. ลมหนาวน่าจะยังมาได้อีกหลายระลอกหลังจากนี้
คำถามต่อมาจึงมาอยู่ที่ว่า แล้วถ้าลมหนาวมันลงมาแล้ว มันจะทำให้หนาวได้มากแค่ไหน ซึ่งจุดนี้ต้องยอมรับว่าคาดการณ์กันยาวๆได้ยากมากๆ แต่ลองมาดูกันคร่าวๆครับว่ามันจะมีตัวแปรอะไรที่สำคัญๆบ้าง
ตัวแปรที่น่าสนใจตัวแรกคือ MJO ซึ่งก็เป็นตัวเอาไว้บอกว่าตำแหน่งไหนของบริเวณเขตร้อนที่มีการยกตัวของอากาศมากกว่าปกติ หรือว่าง่ายๆก็คือส่งเสริมให้เกิดฝนมากกว่าปกตินั่นเอง (นิยามนี้อาจไม่ถูกต้องเท่าใดนัก แต่ลักษณะคร่าวๆของมันก็จะส่งผลประมาณนี้ออกมาจริงๆ) โดยเจ้า MJO นี้เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่จะมีการเลื่อนของตำแหน่งเริ่มต้นที่ อัฟฟริกา (เฟส 1) ไปสิ้นสุดแถวเส้นแบ่งเขตวัน (เฟส 8) แล้วจึงเริ่มต้นกันใหม่
รูปบนแสดงลักษณะทั่วไปของ MJO ที่เริ่มต้นแถวอัฟฟริกา แล้วจึงเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเรื่อยๆ ไปสิ้นสุดแถวเส้นแบ่งเขตวัน
รูปนี้แสดงตำแหน่งของจุดที่มีการยกตัวของอากาศมากกว่าปกติ (มีฝนมากกว่าปกติ) โดยในที่นี้จะเรียกตำแหน่งนั้นๆว่า เฟสของ MJO (MJO phase)
รูปบน คือ อุณหภูมิเฉลี่ยช่วงฤดูหนาวในแต่ phase ของ MJO โดยจุดดำจะหมายถึงอุณหภูมิแตกต่างจากปกติอย่างค่อนข้างแน่นอน จะเห็นได้ว่า phase ที่ส่งเสริมอากาศหนาวบ้านเราได้มากที่สุดคงไม่พ้นเฟส 5 และ 6 รองๆลงมาอาจเป็นเฟส 3 และ 4
หากพิจารณาตามดูแล้วก็จะไม่ค่อยน่าแปลกใจเท่าไหร่ที่สถิติได้ออกมาเช่นนี้ เนื่องด้วยหาก MJO มาอยู่แถวๆ Phase ที่ 3 - 6 (เพอร์เฟคที่สุดคือ เฟส 5 เกือบ 6) จะทำให้เกิดความกดอากาศต่ำบริเวณนั้น ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวบังลมร้อนจากแปซิฟิกไม่ให้มาตัดลมหนาวได้ดีที่สุด นอกจากนั้นยังอาจดึงความหนาวลงมาได้พอสมควร บังคับให้ลมหนาวแผ่ลงมาทางบ้านเราได้ถนัดยิ่งขึ้นไปอีก หรือเกิดแนวปะทะอากาศ จึงทำให้อากาศน่าจะหนาวเย็นกว่าปกติได้โดยง่าย
รายละเอียดเกี่ยวกับ MJO โปรดอ่านต่อที่คห.ที่ 15
ตัวแปรถัดไปที่น่าสนใจจึงเป็นตัวความกดอากาศสูงกำลังแรงว่าจะมีมาบ้างหรือไม่ ข้อนี้ยังคงคาดการณ์กันยาวๆได้ยากมาก แต่อย่างน้อยในตอนนี้ก็เริ่มเห็นเค้าลางที่ว่าอากาศหนาวจากขั้วโลกได้เริ่มเล็ดลอดออกมาแถวจีนตอนบนได้บ้างแล้ว (AO ค่าลบ) เพราะฉะนั้นหาก pattern อากาศมันชิฟท์มาทางฝั่งเอเชียตะวันออกหนาวกว่าปกติได้บ้าง ลมหนาวกำลังแรงก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะมาแผ่มาถึงบ้านเรา
เวฟฟลักซ์ที่เป็นตัวบอกถึงการต่อยไปที่ polar vortex ให้กระจายความหนาวลงมาบ้าง แสดงให้เห็นว่าเริ่มกลับมา active และส่งผลต่อสภาพอากาศชั้นล่างกันมากขึ้น ส่วนตัวแล้วคาดว่าช่วงเดือนมกราคมน่ายังคง active อย่างนี้ต่อไป จึงทำให้ลมหนาวกำลังแรง (ความกดอากาศสูงมากๆ) น่าจะมีมาให้เห็นมากขึ้นในเดือนหน้า
2. ลมหนาวกำลังแรงน่าจะมีมาให้เห็นมากขึ้นกว่าเดือนที่แล้ว
(เดือนแล้วมาเรื่อยๆแต่ไม่ค่อยแรง)
คำถามถัดมา จึงมาอยู่ที่ว่า แล้วลมหนาวมาถึงแล้วจะโดนตัดทำให้ไม่หนาวเท่าที่ควรหรือเปล่า ?
จุดนี้จำเป็นต้องวิเคราะห์อุณหภูมิผิวทะเลแถวแปซิฟิกตะวันตกซึ่งแสดงดังภาพล่าง
จากภาพบนเห็นได้ว่า ด้านทิศใต้ของญี่ปุ่นน้ำทะเลค่อนข้างเย็นโดยทั่วกัน ในขณะที่ทะเลจีนใต้แถวไต้หวัน รวมถึงเหนือฟิลิปปินส์ค่อนข้างร้อนกว่าปกติ ลักษณะแบบนี้ คิดว่าความกดอากาศสูงน่าจะแผ่ลงมาได้ลึก ซึ่งจะทำให้ภาคเหนือตอนบน และภาคอีสานตอนบนเย็นได้โดยง่าย แต่ในส่วนของภาคกลางตอนล่างอาจมีผลของลมที่ผ่านทะเลที่ร้อนกว่าปกติทำให้อุณหภูมิมวลอากาศเย็นอาจสูงกว่าที่ควร ชาวภาคกลางตอนล่างและกทม.คงต้องลุ้นให้เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำแถวฟิลิปปินส์ หรือไม่ก็ลมหนาวกำลังแรงจัดๆ จึงจะหนาวได้
ปล.อย่างไรก็ตามหากมีลมหนาวแผ่ลงมาได้แรงๆเยอะๆ บริเวณทะเลจีนตอนใต้ก็จะเย็นลงไปเอง และสุดท้ายคิดว่าอย่างน้อยภายในกลางเดือนหน้าน่าจะมีช่วงที่อากาศหนาวกันจัดระดับเลขตัวเดียงแถวเหนือตอนบน และอีสาน รวมถึงกทม.สิบกว่าๆ คล้ายๆกับปีที่แล้วได้ไม่ยากคงต้องมาลุ้นกันครับว่าจะเป็นจริงหรือไม่
สรุปปัจจัยที่ 3.
เขียนกระทู้นี้มายืดยาวขนาดนี้ถ้าไม่เลิกอ่านกันไปก่อน หรือไม่ก็ข้ามมาอ่านตรงนี้เลย ก็ขออนุญาตย้ำสรุปให้ได้ใจความสั้นๆไว้ตรงนี้ละกันนะครับว่า
1. ลมหนาวน่าจะยังมาได้อีกหลายระลอกหลังจากนี้
2. ลมหนาวกำลังแรงน่าจะมีมาให้เห็นมากขึ้นกว่าเดือนที่แล้ว
3. ภาคเหนือ และอีสานน่าจะหนาวได้ไม่ยาก แต่ภาคกลางตอนล่างอาจต้องลุ้นกันอยู่บ้างว่าจะหนาวได้มากน้อยแค่ไหน
3. ภาคเหนือ น่าจะหนาวได้ไม่ยาก แต่ภาคกลาง และอีสานน่าจะหนาวน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
ผลออกมาจะเป็นอย่างไรคงต้องติดตามการพยากรณ์อากาศระยะสั้นกันต่อไป
อย่างไรก็วันนี้ Merry Christmas กันนะครับทุกท่าน
*ผม จขกท.ต้องขออภัยทุกท่านที่เคยมาอ่านกระทู้นี้เป็นอย่างสูงด้วยนะครับ พอดีมานั่งพิจารณาใหม่อีกรอบแล้วเกิดนึกขึ้นได้ว่าน่าจะวิเคราะห์เรื่อง MJO ผิดพลาดไป (แถมเป็นจุดที่สำคัญอีกเสียด้วย) ตอนนี้ข้อความในกระทู้เกิน 10000 อักษรไปแล้วจึงขอได้ไปอ่านรายละเอียดที่ได้แก้ไขในความเห็นที่ 15 เอานะครับ
สรุปลักษณะอากาศครึ่งแรกของฤดูหนาว และการคาดการณ์อากาศครึ่งฤดูกาลหลัง
ก่อนอื่น เราลองมา recap กันดูครับว่าที่ผ่านมาลักษณะอากาศครึ่งแรกของหน้าหนาวเป็นอย่างไรกันบ้าง เพื่อที่ว่าจะได้เห็นว่าจะได้เห็นสภาพทั่วไปคร่าวๆของลักษณะอากาศปีนี้กัน
เริ่มกันที่อุณหภูมิเฉลี่ยประเทศไทยตลอด 3 สัปดาห์แรกในเดือนนี้กัน
3. ภาคเหนือ และอีสานน่าจะหนาวได้ไม่ยาก แต่ภาคกลางตอนล่างอาจต้องลุ้นกันอยู่บ้างว่าจะหนาวได้มากน้อยแค่ไหน