วันนี้ จขกท. จะขอแสดงความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุที่ภาพยนตร์และละครแนวประวัติศาสตร์ไทยพม่าไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่ากับสมัยก่อนครับ แม้ว่าเรื่องโปรดัคชั่น ข้อมูล และองค์ประกอบต่างๆในยุคนี้นั้นดีไม่แพ้สมัยก่อน บางส่วนก็ดีกว่า ทว่าก็ต้องยอมรับว่าเรื่องราวแนวประวัติศาสตร์ไทยพม่านั้นไม่เป็นที่นิยมเท่ากับสมัยก่อน ซึ่ง จขกท. มองว่าเหตุผลมีดังต่อไปนี้
1.ความจำเจ - เหตุผลง่ายที่สุดครับ แนวประวัติศาสตร์ไทยพม่านั้นได้ถูกนำเสนอมาหลายครั้งจนผู้ชมรู้สึกเบื่อเพราะมองว่าซ้ำซากจำเจ ทำให้ประวัติศาสตร์ช่วงอื่นๆ เช่น การศึกระหว่างสยามกับญวนหรืออานามสยามยุทธในสมัยรัชกาลที่สาม การทูตสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นที่นิยมขึ้นมา
2.ความแพร่หลายของประวัติศาสตร์กระแสรอง - เนื่องจากประวัติศาสตร์ไทยพม่านั้นมักยึดโยงกับตำราประวัติศาสตร์กระแสหลัก ในขณะที่ประวัติศาสตร์กระแสรองนั้นเริ่มแพร่หลายมากขึ้น ทำให้ผู้ชมจำนวนมากเริ่มสนใจกระแสรองมากขึ้น เพราะมักทำให้รู้ข้อมูลบางชุดหรือบางแง่มุมที่ไม่เคยรู้มาก่อนในประวัติศาสตร์กระแสหลัก
ในส่วนนี้มองว่า หากจะสร้างแนวประวัติศาสตร์ไทยพม่าอีก ก็อาจลองสร้างในเรื่องที่ยังไม่ค่อยมีคนเล่า หรือจากมุมมองต่างๆ เช่น เรื่องราวของมชาวโยเดียในราชวงศ์พม่า การเสียกรุงศรีอยุธยาจากมุมมองของชาวต่างชาติในอยุธยาเวลานั้น ยุคสมัยที่อยุธยากับอังวะเป็นมิตร หรือถ้าเป็นแนว Alternate History ประมาณ What if? ก็จะทำให้น่าสนใจมากขึ้นได้
3.บริบทของสังคมและการเมือง - ในช่วงที่ละครแนวประวัติศาสตร์ไทยพม่าได้รับความนิยมสูงสุด คือช่วงทศวรรษที่ 1990 ถึงต้นทศวรรษที่ 2000 นั้นกล่าวได้ว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากบริบทของสังคมและการเมืองในสมัยนั้น กล่าวคือ ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่ความสัมพันธ์ไทย พม่านั้นอยู่ในช่วงที่ตึงเครียดมากที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ จากการที่รัฐบาลไทยหลังเหตุการณ์พฤษภา 35 ค่อนข้างชูอุดมการณ์และแนวคิดประชาธิปไตย ทำให้มีการแสดงออกถึงการต่อต้านรัฐบาลทหารของพม่า ซึ่งเพิ่งมีข้อครหาจากการปราบปรามผู้ประท้วงในเหตุการณ์ 8888 อย่างค่อนข้างเปิดเผย รวมทั้งมีการสนับสนุนนางอองซานซูจี กลุ่มนักศึกษาผู้ลี้ภัยทางการเมือง และชนกลุ่มน้อย แม้ว่าไทยจะเป็นหนึ่งในประเทศที่ชูนโยบายการเกี่ยวพันอย่างสร้างสรรค์ หรือ Constructive Engagement ที่พยายามจะมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับพม่า รวมไปถึงการให้พม่าเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน ทว่านโยบายของไทยในเวลานั้นก็สร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลทหารพม่า ประกอบกับการที่ยังมีเขตพรมแดนที่ยังปักปันไม่แล้วเสร็จอยู่หลายจุด ทำให้เกิดการปะทะกันที่ชายแดนอยู่บ่อยครั้ง ประกอบกับภาพความทารุณโหดร้ายของกองทัพพม่าที่นำเสนอในข่าว และผลจากประวัติศาสตร์กระแสหลักที่ยังมีอิทธิพลอยู่มาก ทำให้ความรู้สึกรักชาติฮึกเหิมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในสังคมไทย ทำให้ "อิน" กับเรื่องราวแนวไทยพม่า หรือแนวที่ให้กำลังใจหรือสนับสนุนชนกลุ่มน้อยได้รับความนิยม ต่อมาความขัดแย้งได้ซาลงไปเพราะรัฐบาลชุดใหม่พยายามมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและลงทุนในพม่าจำนวนมา
4.ความแพร่หลายของโซเชียลมีเดีย - โซเชียลมีเดียที่แพร่หลายมากขึ้น ทำให้มีการนำเสนอภาพลักษณ์และมุมมองใหม่ๆที่มีต่อพม่ามากขึ้น ทำให้ความเป็นพม่าถูกมองในแง่บวกมากยิ่งขึ้น
5.กระแสประขาคมอาเซียน - ช่วงที่กระแสประขาคมอาเซียนได้ถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในช่วงปี 2015 ทำให้มีการส่งเสริมการเรียนรู้แง่มุมต่างๆเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน รวมทั้งพม่ามากยิ่งขึ้น ทำให้ภาพลักษณ์หรือมุมมองเกี่ยวกับประเทศพม่าเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย โดยส่วนตัวสิ่งที่ จขกท. ชอบคือ หนังสือที่เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านในแง่มุมต่างๆสามารถหาได้ง่ายมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
ทั้งหมดนี้เป็นมุมมองของ จขกท. ครับ ใครคิดเห็นกันอย่างไรลองแสดงความเห็นมาดูครับ ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบครับ
และเนื่องจากข้อมูลบางส่วนมาจากการอ่านและสังเกตจากข่าวต่างๆ หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ
หมายเหตุ: กระทู้นี้ตั้งขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นทางประวัติศาสตร์ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์อื่นใดทั้งสิ้น
สาเหตุที่ภาพยนตร์และละครแนวประวัติศาสตร์ไทยพม่าไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่ากับสมัยก่อน
1.ความจำเจ - เหตุผลง่ายที่สุดครับ แนวประวัติศาสตร์ไทยพม่านั้นได้ถูกนำเสนอมาหลายครั้งจนผู้ชมรู้สึกเบื่อเพราะมองว่าซ้ำซากจำเจ ทำให้ประวัติศาสตร์ช่วงอื่นๆ เช่น การศึกระหว่างสยามกับญวนหรืออานามสยามยุทธในสมัยรัชกาลที่สาม การทูตสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นที่นิยมขึ้นมา
2.ความแพร่หลายของประวัติศาสตร์กระแสรอง - เนื่องจากประวัติศาสตร์ไทยพม่านั้นมักยึดโยงกับตำราประวัติศาสตร์กระแสหลัก ในขณะที่ประวัติศาสตร์กระแสรองนั้นเริ่มแพร่หลายมากขึ้น ทำให้ผู้ชมจำนวนมากเริ่มสนใจกระแสรองมากขึ้น เพราะมักทำให้รู้ข้อมูลบางชุดหรือบางแง่มุมที่ไม่เคยรู้มาก่อนในประวัติศาสตร์กระแสหลัก
ในส่วนนี้มองว่า หากจะสร้างแนวประวัติศาสตร์ไทยพม่าอีก ก็อาจลองสร้างในเรื่องที่ยังไม่ค่อยมีคนเล่า หรือจากมุมมองต่างๆ เช่น เรื่องราวของมชาวโยเดียในราชวงศ์พม่า การเสียกรุงศรีอยุธยาจากมุมมองของชาวต่างชาติในอยุธยาเวลานั้น ยุคสมัยที่อยุธยากับอังวะเป็นมิตร หรือถ้าเป็นแนว Alternate History ประมาณ What if? ก็จะทำให้น่าสนใจมากขึ้นได้
3.บริบทของสังคมและการเมือง - ในช่วงที่ละครแนวประวัติศาสตร์ไทยพม่าได้รับความนิยมสูงสุด คือช่วงทศวรรษที่ 1990 ถึงต้นทศวรรษที่ 2000 นั้นกล่าวได้ว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากบริบทของสังคมและการเมืองในสมัยนั้น กล่าวคือ ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่ความสัมพันธ์ไทย พม่านั้นอยู่ในช่วงที่ตึงเครียดมากที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ จากการที่รัฐบาลไทยหลังเหตุการณ์พฤษภา 35 ค่อนข้างชูอุดมการณ์และแนวคิดประชาธิปไตย ทำให้มีการแสดงออกถึงการต่อต้านรัฐบาลทหารของพม่า ซึ่งเพิ่งมีข้อครหาจากการปราบปรามผู้ประท้วงในเหตุการณ์ 8888 อย่างค่อนข้างเปิดเผย รวมทั้งมีการสนับสนุนนางอองซานซูจี กลุ่มนักศึกษาผู้ลี้ภัยทางการเมือง และชนกลุ่มน้อย แม้ว่าไทยจะเป็นหนึ่งในประเทศที่ชูนโยบายการเกี่ยวพันอย่างสร้างสรรค์ หรือ Constructive Engagement ที่พยายามจะมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับพม่า รวมไปถึงการให้พม่าเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน ทว่านโยบายของไทยในเวลานั้นก็สร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลทหารพม่า ประกอบกับการที่ยังมีเขตพรมแดนที่ยังปักปันไม่แล้วเสร็จอยู่หลายจุด ทำให้เกิดการปะทะกันที่ชายแดนอยู่บ่อยครั้ง ประกอบกับภาพความทารุณโหดร้ายของกองทัพพม่าที่นำเสนอในข่าว และผลจากประวัติศาสตร์กระแสหลักที่ยังมีอิทธิพลอยู่มาก ทำให้ความรู้สึกรักชาติฮึกเหิมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในสังคมไทย ทำให้ "อิน" กับเรื่องราวแนวไทยพม่า หรือแนวที่ให้กำลังใจหรือสนับสนุนชนกลุ่มน้อยได้รับความนิยม ต่อมาความขัดแย้งได้ซาลงไปเพราะรัฐบาลชุดใหม่พยายามมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและลงทุนในพม่าจำนวนมา
4.ความแพร่หลายของโซเชียลมีเดีย - โซเชียลมีเดียที่แพร่หลายมากขึ้น ทำให้มีการนำเสนอภาพลักษณ์และมุมมองใหม่ๆที่มีต่อพม่ามากขึ้น ทำให้ความเป็นพม่าถูกมองในแง่บวกมากยิ่งขึ้น
5.กระแสประขาคมอาเซียน - ช่วงที่กระแสประขาคมอาเซียนได้ถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในช่วงปี 2015 ทำให้มีการส่งเสริมการเรียนรู้แง่มุมต่างๆเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน รวมทั้งพม่ามากยิ่งขึ้น ทำให้ภาพลักษณ์หรือมุมมองเกี่ยวกับประเทศพม่าเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย โดยส่วนตัวสิ่งที่ จขกท. ชอบคือ หนังสือที่เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านในแง่มุมต่างๆสามารถหาได้ง่ายมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
ทั้งหมดนี้เป็นมุมมองของ จขกท. ครับ ใครคิดเห็นกันอย่างไรลองแสดงความเห็นมาดูครับ ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบครับ
และเนื่องจากข้อมูลบางส่วนมาจากการอ่านและสังเกตจากข่าวต่างๆ หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ
หมายเหตุ: กระทู้นี้ตั้งขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นทางประวัติศาสตร์ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์อื่นใดทั้งสิ้น