สวัสดีครับพบกับผมอีกเช่นเคย ครั้งนี้จะไปเที่ยวเมือง
ละโว้ ลพบุรี กระทู้นี้เป็นกระทู้เก่ามารวบรวมใหม่ เพื่อนให้เพื่อนได้ดู อ่านกันอย่างจุใจเลยทีเดียว เพื่อไม่ให้เสียเวลา
ผมออกจากบ้านไปขึ้นรถเมล์ฝั่งตรงกันข้ามหน้าหมู่บ้าน เพื่อไปขึ้นรถเมล์ ๑๓๔ ลงที่บางเขน จากนั้นผมเดินไปซื้อตั๋วรถไฟที่สถานีบางเขน เพื่อที่จะไปลพบุรี เมื่อรถไฟมาจอดถึงสถานีบางเขน (นั่งรถไฟธรรมดา) จากนั้นผมก็ขึ้นรถไฟทันที เพื่อไปยังสถานีลพบุรีทันที เมื่อรถไฟมาถึงที่สถานีลพบุรีแล้ว ผมก็ลงจากรถไฟ จากนั้นผมก็เดินไปกินผัดไทที่ร้านนายยอดอยู่ตรงถนน พระยากำจัด ร้านนี้ขายถูกมาก จานละ 20 บาท +ซื้อใส่ห่อเอานั่งกินที่สถานีรถไฟ อีก 1 ห่อ ตอนรอรถไฟขากลับเข้ากรุงเทพฯ
กินจนอิ่มแล้ว ผมก็เดินตรงไปที่พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ระหว่างทางเจอลูกลิงมีไม่กี่ตัว ผมเองก็กลัว
เลยต้องเดินแบบใจเย็น ตอนนั้นผมถือถุงผ้าไปเลยรอดไป แต่ถ้าใครถือหรือหิ้วถุงพลาสติกไปก็จะคว้าเอาไปอย่างรวดเร็ว
จากนั้นผมก็เดินเข้าไปซื้อบัตรเข้าชม พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ราคา 30 บาท ถือว่าคุ้มมาก ดูได้ทุกโซน จนถึงพระที่นั่งพิมานมงกุฏ
โบราณสถาน พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี
พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นพระราชวังที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดให้สร้างขึ้น ณ เมืองลพบุรี เมื่อประมาณ พ.ศ.2208-2209 มีข้อสันนิษฐาน
ที่สำคัญ คือ ใน พ.ศ. 2207 เกิดกรณีพิพาทระหว่างฮอลันดากับไทย ฮอลันดาได้นำเรือมาปิดปากอ่าวไทยและบังคับให้ไทยทำสนธิสัญญาเสียเปรียบทางการค้า
และเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต สมเด็จพระนารายณ์ทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ติดริมแม่น้ำใหญ่ ไม่ห่างจากทะเล และด้วยเหตุผลทางการเมืองภายใน
ประเทศ พระองค์โปรดให้สร้างพระราชวังที่เมืองลพบุรี ใช้เป็นราชธานีที่สอง ด้วยสภาพภูมิประเทศที่ตั้งอยู่ไกลจากแม่น้ำใหญ่ มีป่า ภูเขา สัตว์ป่าชุกชุมทำให้
ต้องอัธยาศัยในการเสด็จเข้าป่าล่าสัตว์ล้อมจับช้างในบริเวณป่าใกล้เมืองลพบุรี พระองค์จึงรู้สึกปลอดภัยเมื่อประทับอยู่ที่เมืองลพบุรี
ข้อมูลทั่วไป
พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์มีพื้นที่ประมาณ 43 ไร่ ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบไทยผสมตะวันตก สมเด็จพระ นารายณ์ทรงโปรดประทับ ณ เมืองลพบุรีเกือบตลอดปี เฉพาะฤดูฝนเท่านั้น จึงเสด็จไปประทับอยู่ ณ กรุงศรีอยุธยา เมืองลพบุรีจึงเป็นศูนย์กลางความเจริญตลอดรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2231 พระราชวังถูกทิ้งร้างจนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 4 โปรด ฯ ให้ซ่อมแซมพระราชวังเดิมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ.2399 โปรดให้สร้างพระที่นั่งเพิ่มขึ้น และพระราชทานชื่อพระราชวังนี้ว่า "พระนารายณ์ราชนิเวศน์"
พระราชวังหันเข้าหาตัวเมือง ด้านหลังติดแม่น้ำลพบุรี กำแพงพระราชวังก่ออิฐถือปูน กำแพงชั้นนอกสูงใหญ่โดยรอบ มีใบเสมาเรียงรายบนสันกำแพงตลอดตรงกึ่งกลางกำแพงมีป้อมปืนอยู่ 7 ป้อม ตรงฐานของป้อมปืนแต่ละป้อมเจาะเป็นช่องกลมเพื่อเสียบปืนใหญ่ กำแพงด้านในเจาะเป็นช่องสำหรับตามประทีป มีประตูทางเข้า 7 ประตู มีลักษณะโค้งแหลม ปัจจุบันเปิดให้เข้าได้เฉพาะประตูด้านหน้า ทางทิศตะวันออกเท่านั้น
ที่มา
https://www.lopburi.org/wangpranarai ขอขอบคุณมากครับ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
เปิดบริการ วันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.
โบราณสถานพระนารายณ์ราชนิเวศน์
เปิดบริการวันจันทร์ – วันอาทิตย์ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๓๐ น.
หากต้องการ เข้าชมเป็นหมู่คณะ พร้อมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญบรรยาย
ติดต่อ 0868103413
เพื่อไม่ให้เสียเวลาก็ไปกันเลย
ถังเก็บน้ำ
ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ชาวฝรั่งเศสและชาวอิตาลีได้ช่วยกันสร้างระบบระบายน้ำ ด้วยท่อดินเผาเพื่อลำเลียงน้ำจากห้วยซับเหล็ก ซึ่งเป็น
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองลพบุรี มาใช้ในพระราชวังและในเมืองลพบุรี ถังเก็บน้ำในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ คงทำไว้เพื่อกักน้ำไว้จ่ายในพระที่นั่งและตึกต่าง ๆ ในพระราชวัง
สิบสองท้องพระคลัง (พระคลังศุภรัตน์ )
เป็นอาคารชั้นเดียวที่ตั้งอยู่ระหว่างถังเก็บน้ำประปาและตึกเลี้ยงรับแขกเมือง สร้างขึ้นเป็นเรือนยาวสองแถวเรียง ชิดติดกันอย่างมีระเบียบ เครื่องบนเป็นไม้มุงกระเบื้องกาบ ประตูและหน้าต่างเป็นแบโค้งแหลม อาคารข่อนค้างทึบ มีถนนผ่ากลางจำนวน 12 ห้องเข้าใจว่าเป็น คลังเก็บสินค้าเก็บสิ่งของเพื่อใช้ในราชการ
ตึกพระเจ้าเหา
ตึกหลังนี้แสดงให้เห็นลักษณะสถาปัตยกรรม สมัยสมเด็จพระนารายณ์ชัดเจนมาก ภายในตึกมีฐานชุกชีปรากฏให้เห็นอยู่บันทึกของชาว
ฝรั่งเศสระบุว่าเป็นวัด ตึกหลังนี้อาจเป็นหอพระประจำพระราชวังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปชื่อว่า "พระเจ้าเหา" ประตูหน้าต่างทำเป็นซุ้มเรือนแก้วฐานสิงห์ ผนังด้านสกัดสูงยันอกไก่ ตรงจั่วเจาะเป็นช่องโค้งแหลม มีกำแพงแก้วเจาะเป็นช่องสำหรับวางตะเกียงล้อมรอบตึก
พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท
เป็นพระที่นั่งท้องพระโรงทรงสูง มียอดแหลมทรงมณฑป
ตรงกลางท้องพระโรงมีสีหบัญชรเป็นที่เสด็จออกเพื่อทรงมีพระราชปฏิสันถาร
กับผู้เข้าเฝ้า ฝาผนังประดับด้วยกระจกเงาซึ่งนำมาจากประเทศฝรั่งเศส
ประตูและหน้าต่างท้องพระโรงซึ่งอยู่ทางด้านหน้าทำเป็นโค้งแหลม
ส่วนตัวมณฑปที่อยู่ด้านหลังทำประตูหน้าต่างเป็นซุ้มแบบไทย
คือซุ้มเรือนแก้วฐานสิงห์ ผนังพระด้านนอกพระที่นั่งตรงมณฑปชั้นล่าง
เจาะเป็นช่องโค้งแหลมไว้สำหรับตามประทีป
ในเวลากลางคืน
[CR] กระทู้เก่ารวบรวมใหม่เที่ยวพระนารายณ์ราชนิเวศน์ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี (25 ตุลาคม 63)
ผมออกจากบ้านไปขึ้นรถเมล์ฝั่งตรงกันข้ามหน้าหมู่บ้าน เพื่อไปขึ้นรถเมล์ ๑๓๔ ลงที่บางเขน จากนั้นผมเดินไปซื้อตั๋วรถไฟที่สถานีบางเขน เพื่อที่จะไปลพบุรี เมื่อรถไฟมาจอดถึงสถานีบางเขน (นั่งรถไฟธรรมดา) จากนั้นผมก็ขึ้นรถไฟทันที เพื่อไปยังสถานีลพบุรีทันที เมื่อรถไฟมาถึงที่สถานีลพบุรีแล้ว ผมก็ลงจากรถไฟ จากนั้นผมก็เดินไปกินผัดไทที่ร้านนายยอดอยู่ตรงถนน พระยากำจัด ร้านนี้ขายถูกมาก จานละ 20 บาท +ซื้อใส่ห่อเอานั่งกินที่สถานีรถไฟ อีก 1 ห่อ ตอนรอรถไฟขากลับเข้ากรุงเทพฯ
กินจนอิ่มแล้ว ผมก็เดินตรงไปที่พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ระหว่างทางเจอลูกลิงมีไม่กี่ตัว ผมเองก็กลัว เลยต้องเดินแบบใจเย็น ตอนนั้นผมถือถุงผ้าไปเลยรอดไป แต่ถ้าใครถือหรือหิ้วถุงพลาสติกไปก็จะคว้าเอาไปอย่างรวดเร็ว
จากนั้นผมก็เดินเข้าไปซื้อบัตรเข้าชม พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ราคา 30 บาท ถือว่าคุ้มมาก ดูได้ทุกโซน จนถึงพระที่นั่งพิมานมงกุฏ
โบราณสถาน พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี
พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นพระราชวังที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดให้สร้างขึ้น ณ เมืองลพบุรี เมื่อประมาณ พ.ศ.2208-2209 มีข้อสันนิษฐาน
ที่สำคัญ คือ ใน พ.ศ. 2207 เกิดกรณีพิพาทระหว่างฮอลันดากับไทย ฮอลันดาได้นำเรือมาปิดปากอ่าวไทยและบังคับให้ไทยทำสนธิสัญญาเสียเปรียบทางการค้า
และเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต สมเด็จพระนารายณ์ทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ติดริมแม่น้ำใหญ่ ไม่ห่างจากทะเล และด้วยเหตุผลทางการเมืองภายใน
ประเทศ พระองค์โปรดให้สร้างพระราชวังที่เมืองลพบุรี ใช้เป็นราชธานีที่สอง ด้วยสภาพภูมิประเทศที่ตั้งอยู่ไกลจากแม่น้ำใหญ่ มีป่า ภูเขา สัตว์ป่าชุกชุมทำให้
ต้องอัธยาศัยในการเสด็จเข้าป่าล่าสัตว์ล้อมจับช้างในบริเวณป่าใกล้เมืองลพบุรี พระองค์จึงรู้สึกปลอดภัยเมื่อประทับอยู่ที่เมืองลพบุรี
ข้อมูลทั่วไป
พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์มีพื้นที่ประมาณ 43 ไร่ ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบไทยผสมตะวันตก สมเด็จพระ นารายณ์ทรงโปรดประทับ ณ เมืองลพบุรีเกือบตลอดปี เฉพาะฤดูฝนเท่านั้น จึงเสด็จไปประทับอยู่ ณ กรุงศรีอยุธยา เมืองลพบุรีจึงเป็นศูนย์กลางความเจริญตลอดรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2231 พระราชวังถูกทิ้งร้างจนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 4 โปรด ฯ ให้ซ่อมแซมพระราชวังเดิมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ.2399 โปรดให้สร้างพระที่นั่งเพิ่มขึ้น และพระราชทานชื่อพระราชวังนี้ว่า "พระนารายณ์ราชนิเวศน์"
พระราชวังหันเข้าหาตัวเมือง ด้านหลังติดแม่น้ำลพบุรี กำแพงพระราชวังก่ออิฐถือปูน กำแพงชั้นนอกสูงใหญ่โดยรอบ มีใบเสมาเรียงรายบนสันกำแพงตลอดตรงกึ่งกลางกำแพงมีป้อมปืนอยู่ 7 ป้อม ตรงฐานของป้อมปืนแต่ละป้อมเจาะเป็นช่องกลมเพื่อเสียบปืนใหญ่ กำแพงด้านในเจาะเป็นช่องสำหรับตามประทีป มีประตูทางเข้า 7 ประตู มีลักษณะโค้งแหลม ปัจจุบันเปิดให้เข้าได้เฉพาะประตูด้านหน้า ทางทิศตะวันออกเท่านั้น
ที่มา https://www.lopburi.org/wangpranarai ขอขอบคุณมากครับ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
เปิดบริการ วันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.
โบราณสถานพระนารายณ์ราชนิเวศน์
เปิดบริการวันจันทร์ – วันอาทิตย์ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๓๐ น.
หากต้องการ เข้าชมเป็นหมู่คณะ พร้อมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญบรรยาย
ติดต่อ 0868103413
เพื่อไม่ให้เสียเวลาก็ไปกันเลย
ถังเก็บน้ำ
ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ชาวฝรั่งเศสและชาวอิตาลีได้ช่วยกันสร้างระบบระบายน้ำ ด้วยท่อดินเผาเพื่อลำเลียงน้ำจากห้วยซับเหล็ก ซึ่งเป็น
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองลพบุรี มาใช้ในพระราชวังและในเมืองลพบุรี ถังเก็บน้ำในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ คงทำไว้เพื่อกักน้ำไว้จ่ายในพระที่นั่งและตึกต่าง ๆ ในพระราชวัง
สิบสองท้องพระคลัง (พระคลังศุภรัตน์ )
เป็นอาคารชั้นเดียวที่ตั้งอยู่ระหว่างถังเก็บน้ำประปาและตึกเลี้ยงรับแขกเมือง สร้างขึ้นเป็นเรือนยาวสองแถวเรียง ชิดติดกันอย่างมีระเบียบ เครื่องบนเป็นไม้มุงกระเบื้องกาบ ประตูและหน้าต่างเป็นแบโค้งแหลม อาคารข่อนค้างทึบ มีถนนผ่ากลางจำนวน 12 ห้องเข้าใจว่าเป็น คลังเก็บสินค้าเก็บสิ่งของเพื่อใช้ในราชการ
ตึกพระเจ้าเหา
ตึกหลังนี้แสดงให้เห็นลักษณะสถาปัตยกรรม สมัยสมเด็จพระนารายณ์ชัดเจนมาก ภายในตึกมีฐานชุกชีปรากฏให้เห็นอยู่บันทึกของชาว
ฝรั่งเศสระบุว่าเป็นวัด ตึกหลังนี้อาจเป็นหอพระประจำพระราชวังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปชื่อว่า "พระเจ้าเหา" ประตูหน้าต่างทำเป็นซุ้มเรือนแก้วฐานสิงห์ ผนังด้านสกัดสูงยันอกไก่ ตรงจั่วเจาะเป็นช่องโค้งแหลม มีกำแพงแก้วเจาะเป็นช่องสำหรับวางตะเกียงล้อมรอบตึก
พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท
เป็นพระที่นั่งท้องพระโรงทรงสูง มียอดแหลมทรงมณฑป
ตรงกลางท้องพระโรงมีสีหบัญชรเป็นที่เสด็จออกเพื่อทรงมีพระราชปฏิสันถาร
กับผู้เข้าเฝ้า ฝาผนังประดับด้วยกระจกเงาซึ่งนำมาจากประเทศฝรั่งเศส
ประตูและหน้าต่างท้องพระโรงซึ่งอยู่ทางด้านหน้าทำเป็นโค้งแหลม
ส่วนตัวมณฑปที่อยู่ด้านหลังทำประตูหน้าต่างเป็นซุ้มแบบไทย
คือซุ้มเรือนแก้วฐานสิงห์ ผนังพระด้านนอกพระที่นั่งตรงมณฑปชั้นล่าง
เจาะเป็นช่องโค้งแหลมไว้สำหรับตามประทีป
ในเวลากลางคืน
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้