การลงลายมือในสัญญา หมายถึง การยืนยันหรือรับรองเนื้อหาหรือข้อความตามสัญญา กำหนดให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและลายมือชื่อคู่สัญญาไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดี เช่น การทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาเช่าซื้อ อย่างไรก็ตามในยุคที่ผู้คนจำเป็นจะต้องเว้นระยะห่างทางสังคมการทำสัญญาด้วยกระดาษอาจจะไม่สะดวกเหมือนเดิม แต่การทำผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (อีเมล) ลายเซ็นหรือการลงลายมือชื่อจะทำในลักษณะใดได้บ้าง สัญญาเหล่านั้นถึงจะสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ปัจจุบันจึงเกิดกฎหมายเพื่อรองรับการใช้งาน e-Signature หรือ “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์” ที่กำหนดไว้ในกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ อันหมายถึง การสร้างชุดข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ ตัวเลข อักษร เสียง หรือสัญลักษณ์อื่นใด เพื่อให้แสดงความสัมพันธ์กับบุคคลผู้เป็นเจ้าของชุดข้อมูลดังกล่าว โดยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็นรูปแบบได้ ดังนี้
(1) ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบทั่วไป (ตามมาตรา 9 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ) ให้ถือว่าลงลายมือชื่อแล้ว ต้องสามารถระบุ เจ้าของลายมือชื่อได้ มีลักษณะที่แสดงเจตนาของเจ้าของลายมือชื่อ และการใช้วิธีการที่เชื่อถือ
(2) ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์การให้บริการกันในกลุ่ม (ตามมาตรา 26 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ) ให้ถือว่าเป็นลายมือชื่อที่เชื่อถือได้ ตัวอย่างหนึ่งของลายมือชื่อประเภทนี้ คือ ลายมือชื่อดิจิทัลที่ให้บริการกันในกลุ่ม โดยเข้ารหัสลับ (Encrypt) ที่สามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของลายมือชื่อและข้อความอิเล็กทรอนิกส์ได้ขณะลงนามเจ้าของข้อมูลเป็นผู้ควบคุมการลงนามของตัวเอง โดยไม่โดนคนอื่นมาสวมรอย หรือบังคับให้ทา
(3) ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการโดยผู้ให้บริการออกใบรับรอง (ตามมาตรา 26 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ) คล้ายรูปแบบที่ 2 แต่เพิ่มเติมโดยมีใบรับรองที่ออกโดยผู้ให้บริการ ออกใบรับรอง เพื่อสนับสนุนลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น จึงสามารถตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงได้ โดยผู้ให้บริการที่เป็นตัวกลาง ตัวอย่างของลายมือชื่อประเภทนี้ คือ ลายมือชื่อดิจิทัลที่ให้บริการ โดยผู้ให้บริการออกใบรับรองนั่นเองในตอนนี้สามารถทำได้โดยการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นการเซ็นชื่อบนแท็บเล็ต สมาร์ทโฟน การพิมพ์ชื่อตอนท้ายของอีเมล การกดปุ่มยอมรับข้อตกลงหรือเงื่อนไขต่าง ๆ การใช้ Username-Password หรืออื่น ๆ ได้ทั้งหมด เพราะกฎหมายไม่ได้จำกัดกรอบหรือประเภท เทคโนโลยีไว้ แต่ได้ให้คุณสมบัติในการพิจารณาเอาไว้ ถ้าครบองค์ประกอบทั้ง 3 ข้อก็ถือเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ และอยู่ภายใต้มาตรา 9 ของ พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ
ทั้งนี้ หากผู้ที่ทำธุรกรรมหรือสัญญา จะต้องพึ่งระวังเสมอก่อนลงนามในสัญญา หรือการกดปุ่มยอมรับข้อตกลงหรือเงื่อนไขต่าง ๆ
e-Signature “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์”
ปัจจุบันจึงเกิดกฎหมายเพื่อรองรับการใช้งาน e-Signature หรือ “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์” ที่กำหนดไว้ในกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ อันหมายถึง การสร้างชุดข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ ตัวเลข อักษร เสียง หรือสัญลักษณ์อื่นใด เพื่อให้แสดงความสัมพันธ์กับบุคคลผู้เป็นเจ้าของชุดข้อมูลดังกล่าว โดยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็นรูปแบบได้ ดังนี้
(1) ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบทั่วไป (ตามมาตรา 9 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ) ให้ถือว่าลงลายมือชื่อแล้ว ต้องสามารถระบุ เจ้าของลายมือชื่อได้ มีลักษณะที่แสดงเจตนาของเจ้าของลายมือชื่อ และการใช้วิธีการที่เชื่อถือ
(2) ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์การให้บริการกันในกลุ่ม (ตามมาตรา 26 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ) ให้ถือว่าเป็นลายมือชื่อที่เชื่อถือได้ ตัวอย่างหนึ่งของลายมือชื่อประเภทนี้ คือ ลายมือชื่อดิจิทัลที่ให้บริการกันในกลุ่ม โดยเข้ารหัสลับ (Encrypt) ที่สามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของลายมือชื่อและข้อความอิเล็กทรอนิกส์ได้ขณะลงนามเจ้าของข้อมูลเป็นผู้ควบคุมการลงนามของตัวเอง โดยไม่โดนคนอื่นมาสวมรอย หรือบังคับให้ทา
(3) ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการโดยผู้ให้บริการออกใบรับรอง (ตามมาตรา 26 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ) คล้ายรูปแบบที่ 2 แต่เพิ่มเติมโดยมีใบรับรองที่ออกโดยผู้ให้บริการ ออกใบรับรอง เพื่อสนับสนุนลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น จึงสามารถตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงได้ โดยผู้ให้บริการที่เป็นตัวกลาง ตัวอย่างของลายมือชื่อประเภทนี้ คือ ลายมือชื่อดิจิทัลที่ให้บริการ โดยผู้ให้บริการออกใบรับรองนั่นเองในตอนนี้สามารถทำได้โดยการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นการเซ็นชื่อบนแท็บเล็ต สมาร์ทโฟน การพิมพ์ชื่อตอนท้ายของอีเมล การกดปุ่มยอมรับข้อตกลงหรือเงื่อนไขต่าง ๆ การใช้ Username-Password หรืออื่น ๆ ได้ทั้งหมด เพราะกฎหมายไม่ได้จำกัดกรอบหรือประเภท เทคโนโลยีไว้ แต่ได้ให้คุณสมบัติในการพิจารณาเอาไว้ ถ้าครบองค์ประกอบทั้ง 3 ข้อก็ถือเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ และอยู่ภายใต้มาตรา 9 ของ พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ
ทั้งนี้ หากผู้ที่ทำธุรกรรมหรือสัญญา จะต้องพึ่งระวังเสมอก่อนลงนามในสัญญา หรือการกดปุ่มยอมรับข้อตกลงหรือเงื่อนไขต่าง ๆ