ธุรกิจท่องเที่ยว-โรงแรมกระอัก ต่างชาติยกเลิกห้องพัก-ส่งออกสูญ 4 หมื่นล้าน
https://www.prachachat.net/politics/news-826408
รัฐบาลยกระดับคุม “โอไมครอน” ปิดประเทศ-ปิดลงทะเบียน Thailand Pass ตั้งแต่ 21 ธ.ค.นี้ พร้อมยกเลิกระบบ test and go จนถึง 4 ม.ค. 65 เปลี่ยนใช้ระบบกักตัว 7 วัน-ภูเก็ตแซนด์บอกซ์ สมาคมโรงแรมเผยกระทบธุรกิจท่องเที่ยว-โรงแรมสาหัสกว่าเดิม เผยนักท่องเที่ยวต่างชาติทยอย “ยกเลิก” ห้องพัก-ตั๋วเครื่องบิน ขณะที่ ม.หอการค้าฯกางผลศึกษา กรณีโอไมครอนระบาดยืดเยื้อปีหน้าจะกระทบตลาดส่งออกสำคัญ ฉุดยอดส่งออกกลับมาติดลบ ด้านยักษ์ธุรกิจ “ซีพี ออลล์-อินทัช” สั่งพนักงานเฝ้าระวังห้ามเดินทางพื้นที่เสี่ยง
ศบค.สั่งปิดประเทศ
วันที่ 21 ธันวาคม 2564 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ว่า ขณะนี้มีคนที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย 1.1 แสนคนผ่านช่องทาง sandbox และ test and go (ไม่ต้องกักตัว) จากที่มีที่ขออนุมัติเข้าประเทศไว้แล้วทั้งหมด 2 แสนคน จึงเหลือคนที่จะเข้ามาอีก 9 หมื่นคน ในส่วนนี้จึงมีความจำเป็นที่ต้องดูแลติดตาม
ทั้งนี้จะไม่ให้มีการลงทะเบียน Thailand Pass เพิ่มอีกแล้ว จนกว่าจะมีการพิจารณาสถานการณ์ในวันที่ 4 ม.ค. 2565 อีกครั้งหนึ่ง ขณะเดียวกันก็ต้องสอบถามว่าวันนี้เรามีความพร้อมที่จะรับมือ ถ้ามีการติดเชื้อจากคนที่เข้ามาแล้ว กับคนใหม่ที่อยู่ในกล่องที่ขออนุญาตมาแล้ว เราสามารถจะรองรับได้ไหม สาธารณสุขยืนยันว่ารองรับได้
“ไม่รับแล้วคนใหม่ นอกจาก 2 แสนคนที่ลงทะเบียนไว้”
ไม่งดเทศกาลปีใหม่
ส่วนจะมีการเพิ่มมาตรการในการเดินทางเข้าประเทศหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่มีอะไร เพียงแต่ต้องติดตามคนเหล่านี้ที่เข้ามาทางช่องทางต่าง ๆ แต่จะไม่มีการอนุมัติหรืออนุญาตอีก สำหรับการเดินทางเข้ามาของคนไทยก็เช่นเดียวกันที่มีการยื่นเรื่องไว้แล้ว เว้นแต่ว่าหลังจากวันนี้ไปแล้วก็ต้องเข้ามาในระบบใหม่ คือกลับมากักตัว 7 วัน
สำหรับในส่วนของการจัดกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะช่วงปีใหม่ พล.อ.
ประยุทธ์กล่าวว่า
“ก็ยังไม่ได้งดอะไร ส่วนจะมีการพิจารณาเป็นวันต่อวันหรือไม่ เป็นเรื่องของกระทรวงสาธารณสุขพิจารณา”
ศบค.ปิดระบบ Thailand Pass
สำหรับผลการประชุม ศบค.ได้มีมติให้ยกเลิกมาตรการเข้าประเทศแบบ test and go ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอจำนวน 14 วัน แล้วกลับไปใช้วิธีการกักตัว 7 วัน
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมมีคำสั่งให้ปิดการลงทะเบียน Thailand Pass ตั้งแต่วันนี้เป็นการชั่วคราว ส่วนคนลงทะเบียนไว้ถึงวันที่ 10 มกราคม 2565 ยังให้เข้าประเทศได้ สามารถใช้แบบ test and go ได้ตามเดิม
ส่วนนักท่องเที่ยวใหม่ที่ยังไม่เข้าระบบ Thailand Pass สามารถเดินทางเข้าประเทศได้ 2 ช่องทาง คือ 1.ผ่านภูเก็ตแซนด์บอกซ์จังหวัดเดียวเท่านั้น
2. ผ่านระบบ state quarantine คนที่เข้ามาจะต้องใช้ระบบ RT-PCR จากนั้นจะเรียกมาตรวจ RT-PCR อีกครั้งใน 7 วัน โดยรัฐออกค่าใช้จ่ายให้ และจะประเมินอีกครั้งในวันที่ 4 มกราคม 2565
ททท.สะท้อนปัญหาแล้ว
นาย
ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ประเด็นดังกล่าวภาคเอกชนมีการสะท้อนความคิดเห็นว่าการกลับไปใช้วิธีกักตัวน่าจะมีผลกระทบเชิงลบต่อธุรกิจ และการท่องเที่ยว โดย ททท.ได้สะท้อนมุมมองของผู้ประกอบการไปยังรัฐบาลแล้ว
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนเป็น sandbox ในบางพื้นที่นั้นอาจส่งผลกระทบต่อชาวไทยบ้าง แต่เชื่อว่านักท่องเที่ยวต่างชาตินั้นยังคงมีความต้องการเข้าประเทศไทย เนื่องจากบางส่วนต้องการพำนักระยะยาว
“เชื่อว่าเอกชนไม่อยากกลับไปปิดประเทศอีกรอบ เนื่องจากที่ผ่านมาหลายธุรกิจเริ่มกลับมาประกอบกิจการ แต่ถ้ามีมาตรการควบคุมการเดินทางที่รัดกุมขึ้น ย่อมส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวแน่นอน” นาย
ยุทธศักดิ์กล่าว
ทั้งนี้ ประเด็นที่น่าจับตาคือนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทยตอนนี้ ส่วนใหญ่เดินทางมาจากเยอรมนี สหราชอาณาจักรสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ซึ่งมียอดผู้ติดเชื้อในประเทศสูงขึ้นเรื่อย ๆ นักท่องเที่ยวอาจต้องเผชิญกับมาตรการกักตัวเมื่อเดินทางกลับประเทศต้นทาง ซึ่งอาจส่งผลให้นักท่องเที่ยวชะลอการเดินทางเข้ามาประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยอาจเผชิญกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงในช่วงปลายปีนี้
ต่างชาติยกเลิกจองห้องพัก
นาง
มาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย และรองประธานกรรมการบริหาร กลุ่มโรงแรมในเครือสุโกศล กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากนโยบายยกเลิกแนวทางการเข้าประเทศแบบไม่กักตัว (test & go) ไปเป็นการกักตัวในห้องพัก (alternative quarantine)
คาดว่าจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่วางแผนเดินทางมาเที่ยวประเทศไทย หรือที่ทำการจองตั๋วโดยสารเครื่องบินและห้องพักล่วงหน้ามาแล้วทำการยกเลิกทั้งหมดทั้งส่วนที่ลงทะเบียนแล้วและที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนเข้าระบบ
โดยตั้งแต่ 20 ธ.ค.ที่ผ่านมา ที่กระทรวงสาธารณสุขออกมาให้ข่าวถึงแผนการยกเลิกระบบ test & go สมาคมก็ได้รับแจ้งจากสมาชิกว่ามีนักท่องเที่ยวต่างชาติแจ้งยกเลิกบุ๊กกิ้งห้องพักแล้วคิดเป็นมูลค่าหลายสิบล้านบาท
การที่รัฐบาลถอยกลับไปใช้รูปแบบ AQ นั้นถือเป็นการทำลายอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างแรง ธุรกิจท่องเที่ยวทุกเซ็กเตอร์รวมถึงโรงแรมบาดเจ็บและสาหัสหนักกว่าระลอก 1-3 ที่ผ่านมาและอาจถึงขั้นตายสนิท
หวั่นปี 2565 ท่องเที่ยวไม่ฟื้น
นาย
ธเนศ ศุภรสหัสรังสี รักษาการแทนประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวชลบุรี กล่าวว่า ประเมินว่า มาตรการดังกล่าวจะส่งผลกระทบอย่างหนักต่อภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แม้ว่าผู้ที่ลงทะเบียนในระบบมาแล้วจะสามารถเดินทางเข้ามาโดยไม่ต้องกักตัว แต่สำหรับยอดจองห้องพักในช่วงต้นปีหน้าอาจจะถูกยกเลิกไปทั้งหมด และคงไม่มียอดจองเข้ามาเพิ่ม เพราะสถานการณ์ยังไม่ชัดเจน
“ในช่วงเดือน พ.ย. ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นระบบ test & go พัทยาได้นักท่องเที่ยวเข้ามาเฉลี่ยวันละ 200-400 คน ปัจจุบันเข้ามาประมาณวันละ 500-700 คน หากกลับไปใช้มาตรการ AQ คาดว่าจำนวนนี้จะหายไปทั้งหมด แต่หากถอยไปใช้รูปแบบ sandbox น่าจะส่งผลกระทบประมาณ 20-30% ซึ่งเป็นอัตราที่ยังพอรับได้” นาย
ธเนศกล่าว
เช่นเดียวกับ นาย
กรด โรจนเสถียร นายกสมาคมสปาไทย ในฐานะประธานขับเคลื่อน “หัวหิน รีชาร์จ” กล่าวว่า ขณะนี้ตัวเลขการจองห้องพักของนักท่องเที่ยวในเดือน ม.ค. 2565 กำลังอยู่ในแนวโน้มที่ดีขึ้น หากถอยกลับไปสู่รูปแบบ AQ จะทำให้ภาคธุรกิจถอยหลังและส่งผลกระทบด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในปี 2565 แน่นอน และน่าจะยากในการกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง
ภูเก็ตแซนด์บอกซ์ ขานรับ
นาย
ภูมิกิตติ์ รักแต่งาม นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า สำหรับจังหวัดภูเก็ตมีความมั่นใจอย่างมากในการควบคุมดูแลด้านมาตรการความปลอดภัย และพร้อมเดินหน้าเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในรูปแบบ test & go ต่อไป
“วันนี้คนไทยได้รับการฉีดวัคซีนในสัดส่วนที่สูง สามารถรับมือและอยู่ร่วมกับโควิดได้ระดับหนึ่งแล้ว ไม่อยากให้รัฐบาลวิตกกังวลจนเกินไป หรือหากอยากเข้มงวดขึ้นก็ควรถอยมาเป็นรูปแบบ sandbox ก็น่าจะเพียงพอ และจะไม่ทำให้ภูเก็ตได้รับผลกระทบมากนัก
ที่สำคัญ รัฐไม่ควรจะใช้มาตรการเดียวกันทั่วประเทศ ควรพิจารณาจากศักยภาพในการบริหารจัดการของแต่ละพื้นที่เป็นหลัก”
หนุนท่องเที่ยวในประเทศแทน
ด้าน นาย
ชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศ (สทท.) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กรณีรัฐมีความจำเป็นต้องถอยไปใช้รูปแบบ AQ ก็ควรหันมาโฟกัสและเพิ่มน้ำหนักกับการทำตลาดที่กระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศให้มากขึ้น เพื่อให้ธุรกิจในซัพพลายเชนด้านท่องเที่ยวยังสามารถประคับประคองอยู่ได้บ้างในช่วง 1-2 ปีนี้
“ช่วง 5-6 เดือนที่ผ่านมา เราทยอยเปิดประเทศในรูปแบบต่าง ๆ กระทั่งถึงการไม่กักตัว ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวบางส่วนเริ่มฟื้นตัวได้บ้าง และเริ่มเห็นทิศทางการจองตั๋วเครื่องบินและห้องพักล่วงหน้าในปริมาณที่เพิ่มขึ้นทุกเดือน แม้ว่าจะยังมีจำนวนไม่มากพอที่จะทำให้ธุรกิจกลับมาได้ทั้งหมด แต่ก็เป็นสัญญาณที่ดี หากถอยไปใช้รูปแบบ AQ อีกครั้ง นักท่องเที่ยวยกเลิกการเดินทางหมดแน่นอน” นาย
ชำนาญกล่าว
เอฟเฟ็กต์ส่งออกไทย
รศ.ดร.
อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโอไมครอนเป็นปัจจัยหลักที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยทั้งในภาคการส่งออกและการท่องเที่ยว โดยศูนย์ได้ทำประเมินสถานการณ์ผลกระทบ 2 กรณี คือ
1) ขั้นรุนแรงกรณีที่เชื้อโอไมครอนระบาดยืดเยื้อตลอดทั้งปี 2565 จะส่งผลกระทบต่อตลาดส่งออกสำคัญของไทยโดยเฉพาะสหภาพยุโรป และสหรัฐ ซึ่งจะทำให้ยอดส่งออกปี 2565 หดตัว -1.3% ถึง -1.6% ทำให้มูลค่าส่งออกอยู่ที่ระดับ 259,050-266,822 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเฉลี่ยทั้งปีขยายตัว 0.2% ด้วยมูลค่า 262,991 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งซีนาริโอนี้มีโอกาสจะเกิดขึ้นประมาณ 30%
กรณีที่ 2) หากฤทธิ์โอไมครอนมีการระบาดประมาณ 2-3 เดือนแรกของปี 2565 จะทำให้ภาพรวมการส่งออกไทยสามารถขยายตัว 3.2-6.3% ด้วยมูลค่าส่งออก 270,952-279,822 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเฉลี่ยทั้งปี 4.8% คิดเป็นมูลค่า 275,074 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งในกรณีนี้มีโอกาสเกิดขึ้นประมาณ 70%
“ตอนนี้โอไมครอนระบาดไปแล้ว 90 ประเทศ โดยเฉพาะตลาดหลักส่งออกของไทยอย่างสหภาพยุโรป สหรัฐได้รับผลกระทบ ซึ่งประเมินว่าการส่งออกโดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 1-2 ปีหน้าจะขยายตัวเพียง 1-2% หรือคิดเป็นมูลค่าความเสียหายจากโอไมครอนประมาณ 20,000-40,000 ล้านบาท แต่หลังจากนั้นต้องประเมินอีกครั้งว่าเชื้อจะขยายความรุนแรงเพิ่มขึ้นหรือไม่ ในช่วง ก.พ.-เม.ย.”
ทั้งนี้ ภาคส่งออกไทยก็มีปัจจัยลบอื่นรวม 6 ปัจจัย ได้แก่ การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ 1.5 แสนตู้, ปัญหาราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกทรงตัวที่ระดับ 70 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากปัจจุบัน 64 เหรียญสหรัฐ, ปัญหาเงินเฟ้อในประเทศต่าง ๆ
และปัญหาการสะดุดของห่วงโซ่อุปทานการผลิตของโลก ซึ่งจะรุนแรงต่อเนื่อง และผลกระทบจากการขาดดุลการค้าหลังรถไฟลาว-จีน หากนับรวมผลจาก 6 ปัจจัยดังกล่าวประเมินว่าจะกระทบต่อการส่งออกไทยสูญกว่า 1-2 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 2.3%
ธุรกิจหวั่นล็อกดาวน์ทุบเศรษฐกิจ
ด้าน นาย
สนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ผลจากการพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่โอไมครอนในประเทศ ทำให้ต้องประเมินสถานการณ์ใหม่
ส่วนการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือโอไมครอนก็คือการต้องเร่งฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 เพิ่มเติม เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน พร้อมกับเร่งให้คนที่ยังไม่ได้ฉีดมาฉีดเพิ่มขึ้น ส่วนกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะมีในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ก็ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของทางสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดการระบาดอีกรอบ
“สำหรับการล็อกดาวน์และการปิดประเทศนั้น เราได้บทเรียนจากที่ผ่านมาแล้ว ภาคเอกชนเชื่อว่าการคุมการระบาดอย่างเป็นขั้นตอน และการเร่งฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 และมีมาตรการ COVID free setting นี่ถูกต้องแล้ว เพื่อไม่ให้กระทบเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวอยู่ขณะนี้”
ด้าน นาย
เกรียงไกร เธียรนุกูล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย
“ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ประเทศไทยเพิ่งจะเปิดประเทศเมื่อเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ธุรกิจท่องเที่ยว สายการบินต่าง ๆ เพิ่งกลับมาดำเนินการได้หลังจากที่หยุดมานาน หาก ศบค.กลับไปใช้มาตรการล็อกดาวน์ ปิดประเทศก็อาจจะทำให้ธุรกิจเหล่านี้เหมือนโดนทุบอีกรอบ
JJNY : ธุรกิจท่องเที่ยว-โรงแรมกระอัก│โอมิครอนในไทยล่าสุด104ราย│ขอนแก่นวุ่น! ปิด สนง.หนังสือเดินทาง│‘ก้าวไกล’ยอมถอยใช้MMM
https://www.prachachat.net/politics/news-826408
รัฐบาลยกระดับคุม “โอไมครอน” ปิดประเทศ-ปิดลงทะเบียน Thailand Pass ตั้งแต่ 21 ธ.ค.นี้ พร้อมยกเลิกระบบ test and go จนถึง 4 ม.ค. 65 เปลี่ยนใช้ระบบกักตัว 7 วัน-ภูเก็ตแซนด์บอกซ์ สมาคมโรงแรมเผยกระทบธุรกิจท่องเที่ยว-โรงแรมสาหัสกว่าเดิม เผยนักท่องเที่ยวต่างชาติทยอย “ยกเลิก” ห้องพัก-ตั๋วเครื่องบิน ขณะที่ ม.หอการค้าฯกางผลศึกษา กรณีโอไมครอนระบาดยืดเยื้อปีหน้าจะกระทบตลาดส่งออกสำคัญ ฉุดยอดส่งออกกลับมาติดลบ ด้านยักษ์ธุรกิจ “ซีพี ออลล์-อินทัช” สั่งพนักงานเฝ้าระวังห้ามเดินทางพื้นที่เสี่ยง
ศบค.สั่งปิดประเทศ
วันที่ 21 ธันวาคม 2564 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ว่า ขณะนี้มีคนที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย 1.1 แสนคนผ่านช่องทาง sandbox และ test and go (ไม่ต้องกักตัว) จากที่มีที่ขออนุมัติเข้าประเทศไว้แล้วทั้งหมด 2 แสนคน จึงเหลือคนที่จะเข้ามาอีก 9 หมื่นคน ในส่วนนี้จึงมีความจำเป็นที่ต้องดูแลติดตาม
ทั้งนี้จะไม่ให้มีการลงทะเบียน Thailand Pass เพิ่มอีกแล้ว จนกว่าจะมีการพิจารณาสถานการณ์ในวันที่ 4 ม.ค. 2565 อีกครั้งหนึ่ง ขณะเดียวกันก็ต้องสอบถามว่าวันนี้เรามีความพร้อมที่จะรับมือ ถ้ามีการติดเชื้อจากคนที่เข้ามาแล้ว กับคนใหม่ที่อยู่ในกล่องที่ขออนุญาตมาแล้ว เราสามารถจะรองรับได้ไหม สาธารณสุขยืนยันว่ารองรับได้
“ไม่รับแล้วคนใหม่ นอกจาก 2 แสนคนที่ลงทะเบียนไว้”
ไม่งดเทศกาลปีใหม่
ส่วนจะมีการเพิ่มมาตรการในการเดินทางเข้าประเทศหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่มีอะไร เพียงแต่ต้องติดตามคนเหล่านี้ที่เข้ามาทางช่องทางต่าง ๆ แต่จะไม่มีการอนุมัติหรืออนุญาตอีก สำหรับการเดินทางเข้ามาของคนไทยก็เช่นเดียวกันที่มีการยื่นเรื่องไว้แล้ว เว้นแต่ว่าหลังจากวันนี้ไปแล้วก็ต้องเข้ามาในระบบใหม่ คือกลับมากักตัว 7 วัน
สำหรับในส่วนของการจัดกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะช่วงปีใหม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า “ก็ยังไม่ได้งดอะไร ส่วนจะมีการพิจารณาเป็นวันต่อวันหรือไม่ เป็นเรื่องของกระทรวงสาธารณสุขพิจารณา”
ศบค.ปิดระบบ Thailand Pass
สำหรับผลการประชุม ศบค.ได้มีมติให้ยกเลิกมาตรการเข้าประเทศแบบ test and go ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอจำนวน 14 วัน แล้วกลับไปใช้วิธีการกักตัว 7 วัน
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมมีคำสั่งให้ปิดการลงทะเบียน Thailand Pass ตั้งแต่วันนี้เป็นการชั่วคราว ส่วนคนลงทะเบียนไว้ถึงวันที่ 10 มกราคม 2565 ยังให้เข้าประเทศได้ สามารถใช้แบบ test and go ได้ตามเดิม
ส่วนนักท่องเที่ยวใหม่ที่ยังไม่เข้าระบบ Thailand Pass สามารถเดินทางเข้าประเทศได้ 2 ช่องทาง คือ 1.ผ่านภูเก็ตแซนด์บอกซ์จังหวัดเดียวเท่านั้น
2. ผ่านระบบ state quarantine คนที่เข้ามาจะต้องใช้ระบบ RT-PCR จากนั้นจะเรียกมาตรวจ RT-PCR อีกครั้งใน 7 วัน โดยรัฐออกค่าใช้จ่ายให้ และจะประเมินอีกครั้งในวันที่ 4 มกราคม 2565
ททท.สะท้อนปัญหาแล้ว
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ประเด็นดังกล่าวภาคเอกชนมีการสะท้อนความคิดเห็นว่าการกลับไปใช้วิธีกักตัวน่าจะมีผลกระทบเชิงลบต่อธุรกิจ และการท่องเที่ยว โดย ททท.ได้สะท้อนมุมมองของผู้ประกอบการไปยังรัฐบาลแล้ว
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนเป็น sandbox ในบางพื้นที่นั้นอาจส่งผลกระทบต่อชาวไทยบ้าง แต่เชื่อว่านักท่องเที่ยวต่างชาตินั้นยังคงมีความต้องการเข้าประเทศไทย เนื่องจากบางส่วนต้องการพำนักระยะยาว
“เชื่อว่าเอกชนไม่อยากกลับไปปิดประเทศอีกรอบ เนื่องจากที่ผ่านมาหลายธุรกิจเริ่มกลับมาประกอบกิจการ แต่ถ้ามีมาตรการควบคุมการเดินทางที่รัดกุมขึ้น ย่อมส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวแน่นอน” นายยุทธศักดิ์กล่าว
ทั้งนี้ ประเด็นที่น่าจับตาคือนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทยตอนนี้ ส่วนใหญ่เดินทางมาจากเยอรมนี สหราชอาณาจักรสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ซึ่งมียอดผู้ติดเชื้อในประเทศสูงขึ้นเรื่อย ๆ นักท่องเที่ยวอาจต้องเผชิญกับมาตรการกักตัวเมื่อเดินทางกลับประเทศต้นทาง ซึ่งอาจส่งผลให้นักท่องเที่ยวชะลอการเดินทางเข้ามาประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยอาจเผชิญกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงในช่วงปลายปีนี้
ต่างชาติยกเลิกจองห้องพัก
นางมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย และรองประธานกรรมการบริหาร กลุ่มโรงแรมในเครือสุโกศล กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากนโยบายยกเลิกแนวทางการเข้าประเทศแบบไม่กักตัว (test & go) ไปเป็นการกักตัวในห้องพัก (alternative quarantine)
คาดว่าจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่วางแผนเดินทางมาเที่ยวประเทศไทย หรือที่ทำการจองตั๋วโดยสารเครื่องบินและห้องพักล่วงหน้ามาแล้วทำการยกเลิกทั้งหมดทั้งส่วนที่ลงทะเบียนแล้วและที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนเข้าระบบ
โดยตั้งแต่ 20 ธ.ค.ที่ผ่านมา ที่กระทรวงสาธารณสุขออกมาให้ข่าวถึงแผนการยกเลิกระบบ test & go สมาคมก็ได้รับแจ้งจากสมาชิกว่ามีนักท่องเที่ยวต่างชาติแจ้งยกเลิกบุ๊กกิ้งห้องพักแล้วคิดเป็นมูลค่าหลายสิบล้านบาท
การที่รัฐบาลถอยกลับไปใช้รูปแบบ AQ นั้นถือเป็นการทำลายอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างแรง ธุรกิจท่องเที่ยวทุกเซ็กเตอร์รวมถึงโรงแรมบาดเจ็บและสาหัสหนักกว่าระลอก 1-3 ที่ผ่านมาและอาจถึงขั้นตายสนิท
หวั่นปี 2565 ท่องเที่ยวไม่ฟื้น
นายธเนศ ศุภรสหัสรังสี รักษาการแทนประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวชลบุรี กล่าวว่า ประเมินว่า มาตรการดังกล่าวจะส่งผลกระทบอย่างหนักต่อภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แม้ว่าผู้ที่ลงทะเบียนในระบบมาแล้วจะสามารถเดินทางเข้ามาโดยไม่ต้องกักตัว แต่สำหรับยอดจองห้องพักในช่วงต้นปีหน้าอาจจะถูกยกเลิกไปทั้งหมด และคงไม่มียอดจองเข้ามาเพิ่ม เพราะสถานการณ์ยังไม่ชัดเจน
“ในช่วงเดือน พ.ย. ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นระบบ test & go พัทยาได้นักท่องเที่ยวเข้ามาเฉลี่ยวันละ 200-400 คน ปัจจุบันเข้ามาประมาณวันละ 500-700 คน หากกลับไปใช้มาตรการ AQ คาดว่าจำนวนนี้จะหายไปทั้งหมด แต่หากถอยไปใช้รูปแบบ sandbox น่าจะส่งผลกระทบประมาณ 20-30% ซึ่งเป็นอัตราที่ยังพอรับได้” นายธเนศกล่าว
เช่นเดียวกับ นายกรด โรจนเสถียร นายกสมาคมสปาไทย ในฐานะประธานขับเคลื่อน “หัวหิน รีชาร์จ” กล่าวว่า ขณะนี้ตัวเลขการจองห้องพักของนักท่องเที่ยวในเดือน ม.ค. 2565 กำลังอยู่ในแนวโน้มที่ดีขึ้น หากถอยกลับไปสู่รูปแบบ AQ จะทำให้ภาคธุรกิจถอยหลังและส่งผลกระทบด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในปี 2565 แน่นอน และน่าจะยากในการกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง
ภูเก็ตแซนด์บอกซ์ ขานรับ
นายภูมิกิตติ์ รักแต่งาม นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า สำหรับจังหวัดภูเก็ตมีความมั่นใจอย่างมากในการควบคุมดูแลด้านมาตรการความปลอดภัย และพร้อมเดินหน้าเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในรูปแบบ test & go ต่อไป
“วันนี้คนไทยได้รับการฉีดวัคซีนในสัดส่วนที่สูง สามารถรับมือและอยู่ร่วมกับโควิดได้ระดับหนึ่งแล้ว ไม่อยากให้รัฐบาลวิตกกังวลจนเกินไป หรือหากอยากเข้มงวดขึ้นก็ควรถอยมาเป็นรูปแบบ sandbox ก็น่าจะเพียงพอ และจะไม่ทำให้ภูเก็ตได้รับผลกระทบมากนัก
ที่สำคัญ รัฐไม่ควรจะใช้มาตรการเดียวกันทั่วประเทศ ควรพิจารณาจากศักยภาพในการบริหารจัดการของแต่ละพื้นที่เป็นหลัก”
หนุนท่องเที่ยวในประเทศแทน
ด้าน นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศ (สทท.) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กรณีรัฐมีความจำเป็นต้องถอยไปใช้รูปแบบ AQ ก็ควรหันมาโฟกัสและเพิ่มน้ำหนักกับการทำตลาดที่กระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศให้มากขึ้น เพื่อให้ธุรกิจในซัพพลายเชนด้านท่องเที่ยวยังสามารถประคับประคองอยู่ได้บ้างในช่วง 1-2 ปีนี้
“ช่วง 5-6 เดือนที่ผ่านมา เราทยอยเปิดประเทศในรูปแบบต่าง ๆ กระทั่งถึงการไม่กักตัว ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวบางส่วนเริ่มฟื้นตัวได้บ้าง และเริ่มเห็นทิศทางการจองตั๋วเครื่องบินและห้องพักล่วงหน้าในปริมาณที่เพิ่มขึ้นทุกเดือน แม้ว่าจะยังมีจำนวนไม่มากพอที่จะทำให้ธุรกิจกลับมาได้ทั้งหมด แต่ก็เป็นสัญญาณที่ดี หากถอยไปใช้รูปแบบ AQ อีกครั้ง นักท่องเที่ยวยกเลิกการเดินทางหมดแน่นอน” นายชำนาญกล่าว
เอฟเฟ็กต์ส่งออกไทย
รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโอไมครอนเป็นปัจจัยหลักที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยทั้งในภาคการส่งออกและการท่องเที่ยว โดยศูนย์ได้ทำประเมินสถานการณ์ผลกระทบ 2 กรณี คือ
1) ขั้นรุนแรงกรณีที่เชื้อโอไมครอนระบาดยืดเยื้อตลอดทั้งปี 2565 จะส่งผลกระทบต่อตลาดส่งออกสำคัญของไทยโดยเฉพาะสหภาพยุโรป และสหรัฐ ซึ่งจะทำให้ยอดส่งออกปี 2565 หดตัว -1.3% ถึง -1.6% ทำให้มูลค่าส่งออกอยู่ที่ระดับ 259,050-266,822 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเฉลี่ยทั้งปีขยายตัว 0.2% ด้วยมูลค่า 262,991 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งซีนาริโอนี้มีโอกาสจะเกิดขึ้นประมาณ 30%
กรณีที่ 2) หากฤทธิ์โอไมครอนมีการระบาดประมาณ 2-3 เดือนแรกของปี 2565 จะทำให้ภาพรวมการส่งออกไทยสามารถขยายตัว 3.2-6.3% ด้วยมูลค่าส่งออก 270,952-279,822 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเฉลี่ยทั้งปี 4.8% คิดเป็นมูลค่า 275,074 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งในกรณีนี้มีโอกาสเกิดขึ้นประมาณ 70%
“ตอนนี้โอไมครอนระบาดไปแล้ว 90 ประเทศ โดยเฉพาะตลาดหลักส่งออกของไทยอย่างสหภาพยุโรป สหรัฐได้รับผลกระทบ ซึ่งประเมินว่าการส่งออกโดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 1-2 ปีหน้าจะขยายตัวเพียง 1-2% หรือคิดเป็นมูลค่าความเสียหายจากโอไมครอนประมาณ 20,000-40,000 ล้านบาท แต่หลังจากนั้นต้องประเมินอีกครั้งว่าเชื้อจะขยายความรุนแรงเพิ่มขึ้นหรือไม่ ในช่วง ก.พ.-เม.ย.”
ทั้งนี้ ภาคส่งออกไทยก็มีปัจจัยลบอื่นรวม 6 ปัจจัย ได้แก่ การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ 1.5 แสนตู้, ปัญหาราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกทรงตัวที่ระดับ 70 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากปัจจุบัน 64 เหรียญสหรัฐ, ปัญหาเงินเฟ้อในประเทศต่าง ๆ
และปัญหาการสะดุดของห่วงโซ่อุปทานการผลิตของโลก ซึ่งจะรุนแรงต่อเนื่อง และผลกระทบจากการขาดดุลการค้าหลังรถไฟลาว-จีน หากนับรวมผลจาก 6 ปัจจัยดังกล่าวประเมินว่าจะกระทบต่อการส่งออกไทยสูญกว่า 1-2 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 2.3%
ธุรกิจหวั่นล็อกดาวน์ทุบเศรษฐกิจ
ด้าน นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ผลจากการพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่โอไมครอนในประเทศ ทำให้ต้องประเมินสถานการณ์ใหม่
ส่วนการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือโอไมครอนก็คือการต้องเร่งฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 เพิ่มเติม เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน พร้อมกับเร่งให้คนที่ยังไม่ได้ฉีดมาฉีดเพิ่มขึ้น ส่วนกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะมีในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ก็ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของทางสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดการระบาดอีกรอบ
“สำหรับการล็อกดาวน์และการปิดประเทศนั้น เราได้บทเรียนจากที่ผ่านมาแล้ว ภาคเอกชนเชื่อว่าการคุมการระบาดอย่างเป็นขั้นตอน และการเร่งฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 และมีมาตรการ COVID free setting นี่ถูกต้องแล้ว เพื่อไม่ให้กระทบเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวอยู่ขณะนี้”
ด้าน นายเกรียงไกร เธียรนุกูล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ประเทศไทยเพิ่งจะเปิดประเทศเมื่อเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ธุรกิจท่องเที่ยว สายการบินต่าง ๆ เพิ่งกลับมาดำเนินการได้หลังจากที่หยุดมานาน หาก ศบค.กลับไปใช้มาตรการล็อกดาวน์ ปิดประเทศก็อาจจะทำให้ธุรกิจเหล่านี้เหมือนโดนทุบอีกรอบ