ทำไมกระดูกคอถึงเสื่อมได้
หลายคนมักเข้าใจว่ากระดูกคอเสื่อมเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมตามวัยเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วพฤติกรรมการใช้งานคอผิดท่าต่อเนื่องเป็นเวลานานและทำเป็นประจำ อย่างเช่น การก้ม แหงน หรือสะบัดคอแรง ๆ บ่อย ๆ ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้กระดูกคอเสื่อมเร็วขึ้นได้ เพราะกระดูกคอต้องรับแรงกดทับจนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง จนหมอนรองกระดูกบริเวณนั้นยุบตัวลงและต้องแบกรับแรงกดทับมากกว่าเดิม หากปล่อยไว้จะเกิดหินปูนเกาะกระดูก พังผืดหนาตัวขึ้นหรือเกิดกระดูกงอก เสี่ยงต่อการเกิดกดทับเส้นประสาท
กระดูกคอเสื่อมแบ่งเป็น 3 ระดับ
• กระดูกคอเสื่อมแต่ไม่กดทับเส้นประสาทและไขสันหลัง จะมีอาการปวดเมื่อยบริเวณต้นคอ บ่าและไหล่
• กระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาทคอ จะปวดตามแนวเส้นประสาทร่วมกับอาการชาและอ่อนแรงบริเวณกล้ามเนื้อต้นแขนหรือมือ รวมทั้งปวดร้าวจากคอลงไปที่แขน
• กระดูกคอเสื่อมกดทับไขสันหลัง จะมีอาการปวดเกร็งบริเวณลำตัวตัว แขนและขา ก้าวขาได้สั้นลง การทรงและการใช้งานมือลำบาก
โรคกระดูกคอเสื่อมสามารถรักษาได้หลายวิธี
ตั้งแต่การกายภาพบำบัดร่วมกับการรับประทานยา แต่ถ้าไม่ดีขึ้นหรือมีอาการชา ปวดร้าวลงแขน ซึ่งเป็นสัญญาณของการกดทับเส้นประสาทแล้ว แพทย์จะพิจารณาให้รักษาด้วยการผ่าตัด โดยปัจจุบันแพทย์จะใช้เทคนิคผ่าตัดผ่านกล้องแบบแผลเล็ก ขนาดประมาณ 3 เซ็นติเมตร ทำให้ลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เสียเลือดน้อย และลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน จึงช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว นอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียง 1-2 คืน และสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติเร็วขึ้น
ข้อมูลโดย
นพ. เอกพล ลาภอำนวยผล ศัลยแพทย์กระดูกและข้อเฉพาะทางด้านโรคกระดูกสันหลัง
ทำไมกระดูกคอถึงเสื่อมได้
• กระดูกคอเสื่อมแต่ไม่กดทับเส้นประสาทและไขสันหลัง จะมีอาการปวดเมื่อยบริเวณต้นคอ บ่าและไหล่
• กระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาทคอ จะปวดตามแนวเส้นประสาทร่วมกับอาการชาและอ่อนแรงบริเวณกล้ามเนื้อต้นแขนหรือมือ รวมทั้งปวดร้าวจากคอลงไปที่แขน
• กระดูกคอเสื่อมกดทับไขสันหลัง จะมีอาการปวดเกร็งบริเวณลำตัวตัว แขนและขา ก้าวขาได้สั้นลง การทรงและการใช้งานมือลำบาก
โรคกระดูกคอเสื่อมสามารถรักษาได้หลายวิธี
ตั้งแต่การกายภาพบำบัดร่วมกับการรับประทานยา แต่ถ้าไม่ดีขึ้นหรือมีอาการชา ปวดร้าวลงแขน ซึ่งเป็นสัญญาณของการกดทับเส้นประสาทแล้ว แพทย์จะพิจารณาให้รักษาด้วยการผ่าตัด โดยปัจจุบันแพทย์จะใช้เทคนิคผ่าตัดผ่านกล้องแบบแผลเล็ก ขนาดประมาณ 3 เซ็นติเมตร ทำให้ลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เสียเลือดน้อย และลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน จึงช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว นอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียง 1-2 คืน และสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติเร็วขึ้น
ข้อมูลโดย นพ. เอกพล ลาภอำนวยผล ศัลยแพทย์กระดูกและข้อเฉพาะทางด้านโรคกระดูกสันหลัง