ไม่ต้องทนกับคนที่ทำร้ายเรา มาดูกฎหมายที่ สามารถ​ฟ้องหย่า หรือเอาผิดคนที่ล่วงเกินคู่สมรสของเรา

ความรักไม่ใช่แค่ดูจาก รูปร่าง​ ฐานะ และคำพูด แต่ต้องดูนิสัยของอีกฝ่ายด้วยว่าไปด้วยกันได้รึเปล่า

หลายคนพออยู่ด้วยกัน เกิดความขัดแย้งต่างๆ ถ้าจดทะเบียน​สมรส​ สามารถเรียกค่าทดแทนได้ในกรณีที่​มีคนมาล่วงเกินสามีภรรยา​ของตน เช่น จูบ กอด และสามารถ​ฟ้องอย่าได้ถ้ามีความสัมพันธ์​ลึกซึ้ง​ การจดทะเบียนสมรส​จึงถือว่าคุ้มครอง​คู่รักในระดับหนึ่ง เพราะถ้าหาก อยู่ด้วยกันโดยไม่จดทะเบียนสมรส​ ถ้าหากแฟน นอกใจจะไม่สามารถ​เรียก​ร้องอะไรได้เลย

อัตราการหย่าร้างในประเทศไทยเพิ่มขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาจาก 27 เปอร์เซ็นต์ในปีพ.ศ. 2549 เป็น 39 เปอร์เซ็นต์ในปีพ.ศ. 2559 มากกว่าหนึ่งในสามของคู่รักชาวไทยที่จดทะเบียนสมรสในปีพ.ศ. 2559 ได้ยื่นฟ้องหย่าในประเทศไทยในปีเดียวกันนั้น

เหตุแห่งการหย่าในประเทศไทย
กรณีที่สามีและภริยาไม่สามารถตกลงกันได้ในข้อกำหนดและเงื่อนไขการหย่าที่คู่สรมอีกฝ่ายหนึ่งต้องการ คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งสามารถยื่นคำฟ้องขอหย่าได้ โดยมีเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต่อศาลที่เกี่ยวข้องตาม ตามมาตรา 1516 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เหตุแห่งการหย่ามีดังนี้

สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบอีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
 
สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือนร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้​กฎ
สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
แก้กฏหมายการหย่า ถ้าไม่รักกันแล้วก็ไม่ต้องไปต่อทะเบียนสมรส หากมีปัญหาเรื่องสินสมรสให้ฟ้องศาลเป็นอีกกรณีไป ไม่งั้นอีกฝ่ายตีมึน ศาลไม่ให้หย่าสุดท้ายฆ่ากันตายอีก  กฏหมายเกี่ยวกับการหย่าในปัจจุบันไม่ได้ทำให้บ้านเมืองสงบสุขอย่างแท้จริง เพราะมีอีกหลายเคสที่คงจะกำลังฆ่ากันตายเพราะอีกฝ่ายตีมึนไม่หย่าให้  ดังนั้นควรทำแบบต่อภาษีคือ  3 หรือ 5 ปีไปต่อใหม่ ถ้าไม่ไป ก็ถือว่าสิทธิ์ทางทะเบียนขาด แต่ต้องไปเซ็นต์ทั้งสองฝ่ายนะ หากจะฟ้องร้องเรื่องสินสมรสกันก็ดูเลยทะเบียนเก่าสิ้นสุดวันไหน ไม่อย่างงั้นจะเอาเรื่องทรัพย์สินเป็นหลักใหญ่แล้วเอาชีวิตเสรีภาพคนทั้งคนมาเป็นตัวประกันเหรอ บ้าไปแล้วมั้ง เช่น คดีนวลฉวี คดีหมอวิสุทธิ์ และอื่นๆอีกมากมาย ใน 1 ปี เกิน 100 เคสจากสถิติที่เก็บมา  คนที่จดแล้วไม่ต้องกังวลคุณรักกันคุณจูงมือกันไปต่อเลยคะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่