เคยรับราชการเป็นพี่เลี้ยงราชบุตรในเจ้าอนุวงศ์แห่งอาณาจักรล้านช้าง (ขณะนั้นเป็นประเทศราชของไทย) ในสมัยรัชกาลที่ 2 พ.ศ. 2360 นายแลได้อพยพไพร่พลข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งบ้านเรือนที่บ้านน้ำขุ่นหนองอีจาน (อยู่ในเขตอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา) ต่อมาได้ย้ายไปตั้งใหม่ที่บ้านโนนน้ำอ้อม บ้านชีลอง (อยู่ในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิ) และได้ทำราชการส่งส่วยต่อเจ้าอนุวงศ์ เจ้าอนุวงศ์จึงตั้งให้นายแลเป็นที่ขุนภักดีชุมพลนายกองนอก ในสมัยรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์ก่อการกบฏต่อกรุงเทพเพื่อแยกตัวเป็นเอกราช โดยยกทัพเข้าตีเมืองนครราชสีมา แต่เห็นว่าจะทำการต่อไปได้ไม่ตลอด จึงเผาเมืองนครราชสีมาทิ้งและถอนทัพกลับไปตั้งรับที่เวียงจันทน์ ระหว่างทางกองทัพเจ้าอนุวงศ์เกิดความปั่นป่วนจากการลุกฮือของครัวเรือนที่กวาดต้อนไปเวียงจันทน์ ขณะพักทัพอยู่ที่ทุ่งสำริด พระยาภักดีชุมพล ได้ยกทัพไปสมทบกับคุณหญิงโมและครัวเรือนชาวเมืองนครราชสีมา ทำการตีกระหนาบกองทัพของเจ้าอนุวงศ์จนแตกพ่าย เจ้าอนุวงศ์เกิดความแค้นที่พระยาภักดีชุมพลไม่ยอมให้ความร่วมมือกับฝ่ายลาว ซ้ำยังยกทัพมาช่วยฝ่ายไทยตีกระหนาบทัพลาวอีกด้วย จึงย้อนกลับมาเมืองชัยภูมิ จับตัวพระยาภักดีชุมพล ประหารชีวิต ที่บริเวณใต้ต้นมะขามริมหนองปลาเฒ่า การเสียชีวิตของพระยาภักดีชุมพล
ในครั้งนั้น เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ชาวเมืองชัยภูมิจดจำตลอดมา และระลึกถึงว่าเป็นวีรกรรมครั้งสำคัญของท่าน ต่อมาชาวเมืองชัยภูมิจึงเรียกขานท่านด้วยความเคารพว่า "เจ้าพ่อพญาแล" และได้มีการสร้างศาลไว้ตรงสถานที่ที่พระยาภักดีชุมพล ถูกประหารชีวิต ที่บ้านหนองปลาเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 (ชัยภูมิ-บ้านเขว้า) ต่อมาใน พ.ศ. 2511 ทางราชการได้สร้างศาลขึ้นใหม่ ให้ชื่อว่า "ศาลพระยาภักดีชุมพล (แล)" และจัดให้มีงานสักการะเจ้าพ่อพญาแลทุกปี โดยเริ่มจากวันพุธ แรกของเดือน 6 เป็นเวลา 7 วัน เรียกว่า "งานเทศกาลบุญเดือนหก ระลึกถึงความดีของ เจ้าพ่อพญาแล" ถือเป็นงานใหญ่ประจำปีของชาวชัยภูมิ และใน พ.ศ. 2518 ทางราชการร่วมกับพ่อค้าและประชาชนชาวชัยภูมิ สร้างอนุสาวรีย์ของพระยาภักดีชุมพล ประดิษฐานอยู่ตรงวงเวียนศูนย์ราชการ ปากทางเข้าสู่ตัวเมืองชัยภูมิ
ผู้สืบต่อตำแหน่งเจ้าเมืองชัยภูมิคนต่อๆ มา ล้วนได้รับยศบรรดาศักดิ์เป็นที่ “พระยาภักดีชุมพล” ทุกคน รวมทั้งสิ้น ๕ คน ดังนี้
• พระยาภักดีชุมพล (เกตุ) เดิมเป็นชาวพระนครศรีอยุธยา บ้านอยู่คลองสายบัวกรุงเก่า ตามประวัติเดิมว่าเคยเป็นพระนักเทศน์ รับราชการเป็นมหาดเล็กอยู่ในราชสำนัก
• พระยาภักดีชุมพล (เบี้ยว) เป็นญาติของพระยาภักดีชุมพล (เกตุ)
• พระยาภักดีชุมพล (ที) เป็นบุตรของพระยาภักดีชุมพล (แล)
• พระยาภักดีชุมพล (บุญจันทร์) เป็นบุตรของพระยาภักดีชุมพล (เกตุ)
• พระยาภักดีชุมพล (แสง) เป็นบุตรของหลวงขจรนพคุณ, หลานปู่ของพระยาภักดีชุมพล (เบี้ยว)
หลังจากที่พระยาภักดีชุมพล (แสง) เสียชีวิตเป็นต้นมา ยศบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองก็เปลี่ยนกลายเป็น “ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ” ในปัจจุบันนี้
พระยาภักดีชุมพล เดิมชื่อ "แล" เป็นชาวนครเวียงจันทน์
ในครั้งนั้น เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ชาวเมืองชัยภูมิจดจำตลอดมา และระลึกถึงว่าเป็นวีรกรรมครั้งสำคัญของท่าน ต่อมาชาวเมืองชัยภูมิจึงเรียกขานท่านด้วยความเคารพว่า "เจ้าพ่อพญาแล" และได้มีการสร้างศาลไว้ตรงสถานที่ที่พระยาภักดีชุมพล ถูกประหารชีวิต ที่บ้านหนองปลาเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 (ชัยภูมิ-บ้านเขว้า) ต่อมาใน พ.ศ. 2511 ทางราชการได้สร้างศาลขึ้นใหม่ ให้ชื่อว่า "ศาลพระยาภักดีชุมพล (แล)" และจัดให้มีงานสักการะเจ้าพ่อพญาแลทุกปี โดยเริ่มจากวันพุธ แรกของเดือน 6 เป็นเวลา 7 วัน เรียกว่า "งานเทศกาลบุญเดือนหก ระลึกถึงความดีของ เจ้าพ่อพญาแล" ถือเป็นงานใหญ่ประจำปีของชาวชัยภูมิ และใน พ.ศ. 2518 ทางราชการร่วมกับพ่อค้าและประชาชนชาวชัยภูมิ สร้างอนุสาวรีย์ของพระยาภักดีชุมพล ประดิษฐานอยู่ตรงวงเวียนศูนย์ราชการ ปากทางเข้าสู่ตัวเมืองชัยภูมิ
ผู้สืบต่อตำแหน่งเจ้าเมืองชัยภูมิคนต่อๆ มา ล้วนได้รับยศบรรดาศักดิ์เป็นที่ “พระยาภักดีชุมพล” ทุกคน รวมทั้งสิ้น ๕ คน ดังนี้
• พระยาภักดีชุมพล (เกตุ) เดิมเป็นชาวพระนครศรีอยุธยา บ้านอยู่คลองสายบัวกรุงเก่า ตามประวัติเดิมว่าเคยเป็นพระนักเทศน์ รับราชการเป็นมหาดเล็กอยู่ในราชสำนัก
• พระยาภักดีชุมพล (เบี้ยว) เป็นญาติของพระยาภักดีชุมพล (เกตุ)
• พระยาภักดีชุมพล (ที) เป็นบุตรของพระยาภักดีชุมพล (แล)
• พระยาภักดีชุมพล (บุญจันทร์) เป็นบุตรของพระยาภักดีชุมพล (เกตุ)
• พระยาภักดีชุมพล (แสง) เป็นบุตรของหลวงขจรนพคุณ, หลานปู่ของพระยาภักดีชุมพล (เบี้ยว)
หลังจากที่พระยาภักดีชุมพล (แสง) เสียชีวิตเป็นต้นมา ยศบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองก็เปลี่ยนกลายเป็น “ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ” ในปัจจุบันนี้