อธิบายจากหัวข้อกระทู้ด้านบนเล็กน้อย คำว่า จังหวัดใหญ่ หมายถึง ใหญ่ในหลายๆด้าน เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความพัฒนาทั้งการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ
เนื่องจากจังหวัดชัยภูมิเป็นจังหวัดที่ไม่ใหญ่มาก เงียบสงบ และเป็นบ้านเกิดของผมเอง บางคนอาจจะคิดว่าจังหวัดชัยภูมิอยู่ภาคเหนือหรือบางคนอาจจะไม่รู้เลยว่าจังหวัดนี้ตั้งอยู่ที่ไหน ผมจึงขอเรียนเชิญทุกท่านเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาจังหวัด ให้ยิ่งใหญ่ติด 1 ใน 10 ของเทศ มาลองกันดูว่าท่านจะเปลี่ยนจังหวัดเล็กๆบ้านเกิดของผมให้เป็นจังหวัดที่ใหญ่ได้มากน้อยเพียงใด
***เพิ่มเติมเล็กน้อยเนื่องจากมีบางคนสงสัย : กระทู้ที่ผมตั้งไม่เกี่ยวข้องกับการบ้านหรืองานอะไรทั้งสิ้น ผมเรียนนิติศาสตร์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อยู่แล้วครับ ที่ตั้งกระทู้ก็เพราะอยากทราบความคิดเห็นของทุกๆท่าน และตัวผมเองเป็นคนจังหวัดชัยภูมิครับ ถ้าไม่เชื่อผมก็ขอหลักฐานจากผมได้ครับไม่มีปัญหาในเรื่องนี้อยู่แล้ว
เงื่อนไขในการบริหารจังหวัด
1.ถือเอางบประมาณในปัจจุบันที่ประเทศไทยมีอยู่เป็นหลัก
2.ท่านมีอำนาจสามารถขอให้สร้างสถานที่ราชการได้ทุกหน่วยงาน รวมทั้งถนน ทางรถไฟ สนามบิน
3.ท่านมีอำนาจในการกำหนดเทศบัญญัติหรือกฎหมายอื่นๆที่บังคับใช้เฉพาะภายในจังหวัดได้ เช่น ออกกฎหมายงดเว้นภาษีบางอย่าง
4.ให้สมมุติว่าท่านเป็นรัฐมนตรีกระทรวงอะไรก็ได้
5.ท่านมีอำนาจในการกำหนดนโยบายสำหรับพัฒนาจังหวัดตัวเองได้ โดยไม่มีข้อจำกัด แต่ต้องยึดอยู่หลักความเป็นจริงเท่านั้น
6.ท่านสามารถแทรกแซงอำนาจของ กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ ได้เท่าที่สมควรจะทำได้
7.ท่านมีอำนาจในการยินยอมให้เอกชนเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนอะไรก็ได้ที่ท่านต้องการ แต่ต้องยึดอยู่ในหลักความเป็นจริงเท่านั้น เช่น ทีมฟุตบอลของจังหวัดที่ต้องการผู้สนับสนุน
8.ท่านมีอำนาจในการยินยอมให้เอกชนเข้ามาตั้งธุรกิจขนาดใหญ่ได้ แต่ถ้าหากประชาชนคัดค้าน ท่านจะแก้ไขปัญหาด้วยการวางนโยบายอะไรบ้าง เช่น ยินยอมให้เอกชนเข้ามาสร้างห้างสรรพสินค้า แต่ประชาชนคัดค้าน
เมื่อท่านอ่านเงื่อนไขในการบริหารทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้วก็มาดูข้อมูลหลักๆของจังหวัดที่ท่านกำลังจะบริหารกันเถอะครับ
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 12,778.287 ตร.กม. [ใหญ่เป็นอันดับ 7 ของประเทศไทย]
ประชากร 1,133,034 คน [2555] [อันดับ 17 ของประเทศไทย]
ความหนาแน่น 88.67 คน/ตร.กม. [อันดับที่ 53]
เส้นทางการคมนาคม เมืองสำคัญต่างๆ
การลงทุนอุตสาหกรรมในจังหวัดชัยภูมิ
การจ้างงานมีจำนวนคนงานทั้งสิ้น 23,623 คน อำเภอที่มีการจ้างงานมากที่สุดคือ อำเภอจัตุรัส 7,801 คน รองลงมาคือ อำเภอเมืองชัยภูมิ 4,269 คน อำเภอแก้งคร้อ 3,704 คน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ 2,274 คน อำเภอภูเขียว 1,557 คน ตามลำดับ ประเภทอุตสาหกรรมที่จ้างงานมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมสิ่งทอ มีข้อมูลในทำเนียบโรงงานทั้งสิ้น 32 โรงงงาน มีการจ้างงานทั้งสิ้น 17,917 คน คิดเป็นร้อยละ 75.84 ของแรงงานทั้งหมด
สำหรับแหล่งที่ตั้งสำคัญของโรงงานอุตสาหกรรม พิจารณาจากความหนาแน่นของโรงงาน ขนาดเงินลงทุน และจำนวนการจ้างงาน ได้แก่
(1) อำเภอเมือง เป็นพื้นที่ที่มีโรงงานตั้งอยู่หนาแน่นมากเป็นอันดับ 1 และมีจำนวนการจ้างงานสูงเป็นอันดับ 2 ของจังหวัดชัยภูมิ
(2) อำเภอจัตุรัส มีจำนวนโรงงานตั้งอยู่หนาแน่นเป็นอันดับ 2 มีจำนวนการจ้างแรงงานสูงเป็นอันดับ 1 ของจังหวัด และมีเงินทุนภาคอุตสาหกรรมสูงเป็นอันดับที่ 2 ของจังหวัดชัยภูมิ การจ้างแรงงานที่สูงเป็นอันดับ 1 ของจังหวัดเป็นการจ้างงานในประเภทอุตสาหกรรมสิ่งทอ
(3) อำเภอแก้งคร้อ เป็นแหล่งที่ตั้งสำคัญของกลุ่มอุตสาหกรรมถักทอ การตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นพื้นที่ที่มีการจ้างแรงงานสูงเป็นอันดับ 3 ของจังหวัดชัยภูมิ
(4) อำเภอภูเขียว เป็นแหล่งที่ตั้งสำคัญของอุตสาหกรรมเกษตร (น้ำตาลทราย) ผลิตเอทานอล การผลิตกระแสไฟฟ้า และการผลิต PARTICLE BOARD มีเงินทุนภาคอุตสาหกรรมสูงเป็นอันดับที่ 1 ของจังหวัดชัยภูมิ
(5) อำเภอบำเหน็จณรงค์และอำเภอหนองบัวระเหว เป็นแหล่งที่ตั้งสำคัญของอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง อำเภอบำเหน็จณรงค์ เป็นแหล่งที่ตั้งเหมืองโปแตชของโครงการอาเซียน
ส่วนในพื้นที่ของอำเภอที่เหลือ คือ คอนสวรรค์ บ้านเขว้า เกษตรสมบูรณ์ หนองบัวแดง เทพสถิต บ้านแท่น คอนสาร ภักดีชุมพล เนินสง่า และอำเภอซับใหญ่ แม้สถานภาพปัจจุบันจะบ่งชี้ว่ามีธุรกรรมอุตสาหกรรมตั้งอยู่เบาบาง แต่มีหลายพื้นที่ที่มีศักยภาพในการส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่เข้มข้น เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าไหม สิ่งถักทอ ในอำเภอคอนสวรรค์ บ้านเขว้า เนินสง่า เทพสถิต
ที่มา : สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดชัยภูมิ
ประวัติความเป็นมาของเมือง
ต้นไม้ประจำจังหวัด ขี้เหล็ก
ดอกไม้ประจำจังหวัด กระเจียว
สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองชัยภูมิปรากฏในทำเนียบแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชว่าเป็นเมืองขึ้นกับเมืองนครราชสีมา แต่ต่อมาผู้คนได้อพยพออกไปตั้งหลักแหล่งทำมาหากินที่อื่น และเมื่อปี พ.ศ. 2360 "นายแล" ข้าราชการสำนักเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ได้อพยพครอบครัวและบริวารเดินทางข้ามลำน้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านหนองน้ำขุ่น (หนองอีจาน) ซึ่งอยู่ในบริเวณท้องที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2362 เมื่อมีคนอพยพเข้ามาอยู่มาก นายแลก็ได้ย้ายชุมชนมาตั้งใหม่ที่บ้านโนนน้ำอ้อม บ้านชีลอง ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ 6 กิโลเมตร นายแลได้เก็บส่วยผ้าขาวส่งไปบรรณาการเจ้าอนุวงศ์จนได้รับบำเหน็จความชอบแต่งตั้งเป็น "ขุนภักดีชุมพล" ในปี พ.ศ. 2365 นายแลได้ย้ายชุมชนอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากที่เดิมกันดารน้ำ มาตั้งใหม่ที่บริเวณบ้านหลวงซึ่งตั้งอยู่ระหว่างหนองปลาเฒ่ากับหนองหลอด (เขตอำเภอเมืองชัยภูมิปัจจุบัน) และได้หันมาขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา และส่งส่วยทองคำถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ยอมขึ้นต่อเจ้าอนุวงศ์อีกต่อไป พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้ายกบ้านหลวงขึ้นเป็น เมืองชัยภูมิ และแต่งตั้งขุนภักดีชุมพล (แล) เป็น "พระยาภักดีชุมพล" เจ้าเมืองคนแรก
ต่อมาเจ้าอนุวงศ์ได้ก่อการกบฏ ยกทัพเข้ามาหมายจะตีกรุงเทพมหานคร โดยหลอกหัวเมืองต่าง ๆ ที่เดินทัพมาว่าจะมาช่วยกรุงเทพมหานครรบกับอังกฤษ จนกระทั่งเจ้าอนุวงศ์สามารถยึดเมืองนครราชสีมาได้เมื่อปี พ.ศ. 2369 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นต่อมาเมื่อความแตก เจ้าอนุวงศ์ได้กวาดต้อนชาวเมืองนครราชสีมาเพื่อนำไปยังเมืองเวียงจันทน์
เมื่อไปถึงทุ่งสัมฤทธิ์ หญิงชายชาวเมืองที่ถูกจับโดยการนำของคุณหญิงโม ภรรยาเจ้าเมืองนครราชสีมา ได้ลุกฮือขึ้นต่อสู้ พระยาภักดีชุมพล (แล) เจ้าเมืองชัยภูมิ พร้อมด้วยเจ้าเมืองใกล้เคียงได้ยกทัพออกไปสมทบกับคุณหญิงโม ตีกระหนาบทัพเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์จนแตกพ่ายไป ฝ่ายกองทัพลาวส่วนหนึ่งล่าถอยจากเมืองนครราชสีมาเข้ายึดเมืองชัยภูมิไว้และเกลี้ยกล่อมให้พระยาภักดีชุมพลเข้าร่วมเป็นกบฏด้วย แต่พระยาภักดีชุมพลไม่ยอม เจ้าอนุวงศ์เกิดความแค้นจึงจับตัวพระยาภักดีชุมพลมาประหารชีวิตที่บริเวณใต้ต้นมะขามใหญ่ริมหนองปลาเฒ่า ซึ่งต่อมาชาวชัยภูมิได้ระลึกถึงคุณความดีที่ท่านมีความซื่อสัตย์และเสียสละต่อแผ่นดิน จึงได้พร้อมใจกันสร้างศาลขึ้น ณ บริเวณนั้น ปัจจุบันทางราชการได้สร้างศาลขึ้นใหม่เป็นศาลาทรงไทยชื่อว่า "ศาลาพระยาภักดีชุมพล (แล)" มีรูปหล่อของท่านอยู่ภายใน เป็นที่เคารพกราบไหว้และถือเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของจังหวัด ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดชัยภูมิประมาณ 3 กิโลเมตร
ข้อมูลจาก wikipedia
ถ้าท่านได้บริหารจังหวัดชัยภูมิ ท่านจะวางโครงสร้างการพัฒนาจังหวัดนี้อย่างไรบ้าง ให้เป็นจังหวัดใหญ่ติด1ใน10ของประเทศ
เนื่องจากจังหวัดชัยภูมิเป็นจังหวัดที่ไม่ใหญ่มาก เงียบสงบ และเป็นบ้านเกิดของผมเอง บางคนอาจจะคิดว่าจังหวัดชัยภูมิอยู่ภาคเหนือหรือบางคนอาจจะไม่รู้เลยว่าจังหวัดนี้ตั้งอยู่ที่ไหน ผมจึงขอเรียนเชิญทุกท่านเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาจังหวัด ให้ยิ่งใหญ่ติด 1 ใน 10 ของเทศ มาลองกันดูว่าท่านจะเปลี่ยนจังหวัดเล็กๆบ้านเกิดของผมให้เป็นจังหวัดที่ใหญ่ได้มากน้อยเพียงใด
***เพิ่มเติมเล็กน้อยเนื่องจากมีบางคนสงสัย : กระทู้ที่ผมตั้งไม่เกี่ยวข้องกับการบ้านหรืองานอะไรทั้งสิ้น ผมเรียนนิติศาสตร์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อยู่แล้วครับ ที่ตั้งกระทู้ก็เพราะอยากทราบความคิดเห็นของทุกๆท่าน และตัวผมเองเป็นคนจังหวัดชัยภูมิครับ ถ้าไม่เชื่อผมก็ขอหลักฐานจากผมได้ครับไม่มีปัญหาในเรื่องนี้อยู่แล้ว
เงื่อนไขในการบริหารจังหวัด
1.ถือเอางบประมาณในปัจจุบันที่ประเทศไทยมีอยู่เป็นหลัก
2.ท่านมีอำนาจสามารถขอให้สร้างสถานที่ราชการได้ทุกหน่วยงาน รวมทั้งถนน ทางรถไฟ สนามบิน
3.ท่านมีอำนาจในการกำหนดเทศบัญญัติหรือกฎหมายอื่นๆที่บังคับใช้เฉพาะภายในจังหวัดได้ เช่น ออกกฎหมายงดเว้นภาษีบางอย่าง
4.ให้สมมุติว่าท่านเป็นรัฐมนตรีกระทรวงอะไรก็ได้
5.ท่านมีอำนาจในการกำหนดนโยบายสำหรับพัฒนาจังหวัดตัวเองได้ โดยไม่มีข้อจำกัด แต่ต้องยึดอยู่หลักความเป็นจริงเท่านั้น
6.ท่านสามารถแทรกแซงอำนาจของ กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ ได้เท่าที่สมควรจะทำได้
7.ท่านมีอำนาจในการยินยอมให้เอกชนเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนอะไรก็ได้ที่ท่านต้องการ แต่ต้องยึดอยู่ในหลักความเป็นจริงเท่านั้น เช่น ทีมฟุตบอลของจังหวัดที่ต้องการผู้สนับสนุน
8.ท่านมีอำนาจในการยินยอมให้เอกชนเข้ามาตั้งธุรกิจขนาดใหญ่ได้ แต่ถ้าหากประชาชนคัดค้าน ท่านจะแก้ไขปัญหาด้วยการวางนโยบายอะไรบ้าง เช่น ยินยอมให้เอกชนเข้ามาสร้างห้างสรรพสินค้า แต่ประชาชนคัดค้าน
เมื่อท่านอ่านเงื่อนไขในการบริหารทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้วก็มาดูข้อมูลหลักๆของจังหวัดที่ท่านกำลังจะบริหารกันเถอะครับ
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 12,778.287 ตร.กม. [ใหญ่เป็นอันดับ 7 ของประเทศไทย]
ประชากร 1,133,034 คน [2555] [อันดับ 17 ของประเทศไทย]
ความหนาแน่น 88.67 คน/ตร.กม. [อันดับที่ 53]
เส้นทางการคมนาคม เมืองสำคัญต่างๆ
การลงทุนอุตสาหกรรมในจังหวัดชัยภูมิ
การจ้างงานมีจำนวนคนงานทั้งสิ้น 23,623 คน อำเภอที่มีการจ้างงานมากที่สุดคือ อำเภอจัตุรัส 7,801 คน รองลงมาคือ อำเภอเมืองชัยภูมิ 4,269 คน อำเภอแก้งคร้อ 3,704 คน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ 2,274 คน อำเภอภูเขียว 1,557 คน ตามลำดับ ประเภทอุตสาหกรรมที่จ้างงานมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมสิ่งทอ มีข้อมูลในทำเนียบโรงงานทั้งสิ้น 32 โรงงงาน มีการจ้างงานทั้งสิ้น 17,917 คน คิดเป็นร้อยละ 75.84 ของแรงงานทั้งหมด
สำหรับแหล่งที่ตั้งสำคัญของโรงงานอุตสาหกรรม พิจารณาจากความหนาแน่นของโรงงาน ขนาดเงินลงทุน และจำนวนการจ้างงาน ได้แก่
(1) อำเภอเมือง เป็นพื้นที่ที่มีโรงงานตั้งอยู่หนาแน่นมากเป็นอันดับ 1 และมีจำนวนการจ้างงานสูงเป็นอันดับ 2 ของจังหวัดชัยภูมิ
(2) อำเภอจัตุรัส มีจำนวนโรงงานตั้งอยู่หนาแน่นเป็นอันดับ 2 มีจำนวนการจ้างแรงงานสูงเป็นอันดับ 1 ของจังหวัด และมีเงินทุนภาคอุตสาหกรรมสูงเป็นอันดับที่ 2 ของจังหวัดชัยภูมิ การจ้างแรงงานที่สูงเป็นอันดับ 1 ของจังหวัดเป็นการจ้างงานในประเภทอุตสาหกรรมสิ่งทอ
(3) อำเภอแก้งคร้อ เป็นแหล่งที่ตั้งสำคัญของกลุ่มอุตสาหกรรมถักทอ การตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นพื้นที่ที่มีการจ้างแรงงานสูงเป็นอันดับ 3 ของจังหวัดชัยภูมิ
(4) อำเภอภูเขียว เป็นแหล่งที่ตั้งสำคัญของอุตสาหกรรมเกษตร (น้ำตาลทราย) ผลิตเอทานอล การผลิตกระแสไฟฟ้า และการผลิต PARTICLE BOARD มีเงินทุนภาคอุตสาหกรรมสูงเป็นอันดับที่ 1 ของจังหวัดชัยภูมิ
(5) อำเภอบำเหน็จณรงค์และอำเภอหนองบัวระเหว เป็นแหล่งที่ตั้งสำคัญของอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง อำเภอบำเหน็จณรงค์ เป็นแหล่งที่ตั้งเหมืองโปแตชของโครงการอาเซียน
ส่วนในพื้นที่ของอำเภอที่เหลือ คือ คอนสวรรค์ บ้านเขว้า เกษตรสมบูรณ์ หนองบัวแดง เทพสถิต บ้านแท่น คอนสาร ภักดีชุมพล เนินสง่า และอำเภอซับใหญ่ แม้สถานภาพปัจจุบันจะบ่งชี้ว่ามีธุรกรรมอุตสาหกรรมตั้งอยู่เบาบาง แต่มีหลายพื้นที่ที่มีศักยภาพในการส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่เข้มข้น เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าไหม สิ่งถักทอ ในอำเภอคอนสวรรค์ บ้านเขว้า เนินสง่า เทพสถิต
ที่มา : สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดชัยภูมิ
ประวัติความเป็นมาของเมือง
ต้นไม้ประจำจังหวัด ขี้เหล็ก
ดอกไม้ประจำจังหวัด กระเจียว
สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองชัยภูมิปรากฏในทำเนียบแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชว่าเป็นเมืองขึ้นกับเมืองนครราชสีมา แต่ต่อมาผู้คนได้อพยพออกไปตั้งหลักแหล่งทำมาหากินที่อื่น และเมื่อปี พ.ศ. 2360 "นายแล" ข้าราชการสำนักเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ได้อพยพครอบครัวและบริวารเดินทางข้ามลำน้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านหนองน้ำขุ่น (หนองอีจาน) ซึ่งอยู่ในบริเวณท้องที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2362 เมื่อมีคนอพยพเข้ามาอยู่มาก นายแลก็ได้ย้ายชุมชนมาตั้งใหม่ที่บ้านโนนน้ำอ้อม บ้านชีลอง ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ 6 กิโลเมตร นายแลได้เก็บส่วยผ้าขาวส่งไปบรรณาการเจ้าอนุวงศ์จนได้รับบำเหน็จความชอบแต่งตั้งเป็น "ขุนภักดีชุมพล" ในปี พ.ศ. 2365 นายแลได้ย้ายชุมชนอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากที่เดิมกันดารน้ำ มาตั้งใหม่ที่บริเวณบ้านหลวงซึ่งตั้งอยู่ระหว่างหนองปลาเฒ่ากับหนองหลอด (เขตอำเภอเมืองชัยภูมิปัจจุบัน) และได้หันมาขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา และส่งส่วยทองคำถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ยอมขึ้นต่อเจ้าอนุวงศ์อีกต่อไป พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้ายกบ้านหลวงขึ้นเป็น เมืองชัยภูมิ และแต่งตั้งขุนภักดีชุมพล (แล) เป็น "พระยาภักดีชุมพล" เจ้าเมืองคนแรก
ต่อมาเจ้าอนุวงศ์ได้ก่อการกบฏ ยกทัพเข้ามาหมายจะตีกรุงเทพมหานคร โดยหลอกหัวเมืองต่าง ๆ ที่เดินทัพมาว่าจะมาช่วยกรุงเทพมหานครรบกับอังกฤษ จนกระทั่งเจ้าอนุวงศ์สามารถยึดเมืองนครราชสีมาได้เมื่อปี พ.ศ. 2369 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นต่อมาเมื่อความแตก เจ้าอนุวงศ์ได้กวาดต้อนชาวเมืองนครราชสีมาเพื่อนำไปยังเมืองเวียงจันทน์
เมื่อไปถึงทุ่งสัมฤทธิ์ หญิงชายชาวเมืองที่ถูกจับโดยการนำของคุณหญิงโม ภรรยาเจ้าเมืองนครราชสีมา ได้ลุกฮือขึ้นต่อสู้ พระยาภักดีชุมพล (แล) เจ้าเมืองชัยภูมิ พร้อมด้วยเจ้าเมืองใกล้เคียงได้ยกทัพออกไปสมทบกับคุณหญิงโม ตีกระหนาบทัพเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์จนแตกพ่ายไป ฝ่ายกองทัพลาวส่วนหนึ่งล่าถอยจากเมืองนครราชสีมาเข้ายึดเมืองชัยภูมิไว้และเกลี้ยกล่อมให้พระยาภักดีชุมพลเข้าร่วมเป็นกบฏด้วย แต่พระยาภักดีชุมพลไม่ยอม เจ้าอนุวงศ์เกิดความแค้นจึงจับตัวพระยาภักดีชุมพลมาประหารชีวิตที่บริเวณใต้ต้นมะขามใหญ่ริมหนองปลาเฒ่า ซึ่งต่อมาชาวชัยภูมิได้ระลึกถึงคุณความดีที่ท่านมีความซื่อสัตย์และเสียสละต่อแผ่นดิน จึงได้พร้อมใจกันสร้างศาลขึ้น ณ บริเวณนั้น ปัจจุบันทางราชการได้สร้างศาลขึ้นใหม่เป็นศาลาทรงไทยชื่อว่า "ศาลาพระยาภักดีชุมพล (แล)" มีรูปหล่อของท่านอยู่ภายใน เป็นที่เคารพกราบไหว้และถือเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของจังหวัด ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดชัยภูมิประมาณ 3 กิโลเมตร
ข้อมูลจาก wikipedia