สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 12
ผมว่าไม่เป็นปัญหาอะไรครับ ครูก็เป็นแค่คนๆนึงที่ทำงานแลกเงิน เหมือนอีกหลายๆอาชีพ
ไม่จำเป็นต้องยกยออะไรขนาดนั้น จากประสบการณ์ ถ้าเราทำตัวให้น่าเคารพ เด็กมันก็อยากเคารพเองแหละ
จะไปบังคับให้ต้องเคารพ ทั้งที่ตัวเองไม่ได้ทำตัวน่าเคารพก็ยังไงๆอยู่
พ่อแม่เค้าก็ เสียตัง ส่งลูกมาเรียน ไม่ได้เรียนฟรีๆ ซะเมื่อไหร่
จะให้เสียตังส่งลูกมาถูกกด ให้ต้องเคารพคนที่ไมาน่าเคารพก็ใช่เรื่อง
ไม่จำเป็นต้องยกยออะไรขนาดนั้น จากประสบการณ์ ถ้าเราทำตัวให้น่าเคารพ เด็กมันก็อยากเคารพเองแหละ
จะไปบังคับให้ต้องเคารพ ทั้งที่ตัวเองไม่ได้ทำตัวน่าเคารพก็ยังไงๆอยู่
พ่อแม่เค้าก็ เสียตัง ส่งลูกมาเรียน ไม่ได้เรียนฟรีๆ ซะเมื่อไหร่
จะให้เสียตังส่งลูกมาถูกกด ให้ต้องเคารพคนที่ไมาน่าเคารพก็ใช่เรื่อง
ความคิดเห็นที่ 23
ความคิดนี้และที่คล้าย ๆ กันเป็นความคิดแบบตะวันตก การที่ จขกท. จะเข้าใจพวกมัน จขกท. ต้องมองมันผ่านแนวคิดของตะวันตกที่เน้นความเท่าเทียมกันของสถานะในความสัมพันธ์ระหว่างครู - เด็ก หรือ เด็ก - ผู้ปกครอง หากมองมันผ่านเลนส์ของตะวันออกมันจะดูค่อนข้างก้าวร้าวและ 'เนรคุณ'
ส่วนตัวมองว่าแนวคิดแบบนี้ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการใช้อำนาจที่เกิดจากตำแหน่งแบบผิด ๆ และหันมาใช้อำนาจที่เกิดจากตัวบุคคลเอง ต้องยอมรับนะครับว่าสังคมไทยชอบพวกอำนาจอันเกิดจากตำแหน่งหรืออาชีพมากกว่าตัวตนหรือความรู้มาก ๆ เช่น ที่เจอกันปล่อย ๆ ก็พวกหน่วยราชการที่ชอบอวดเบ่งใส่ประชาชนหรือตำรวจก็ดี พวกนี้หากออกมาจากตำแหน่งที่ตัวเองอยู่มักจะไม่มีอำนาจใด ๆ แต่กลับมีอำนาจทันทีที่ตัวเองสวมหัวโขนและมักจะนำมาซึงการใช้อำนาจที่ผิด ๆ
สำหรับตำแหน่งครูนั้น ให้เอาพวกนี้มาคูณ 2 ครับ ครูนั้นเพียงลำพังเป็นแค่อาชีพ ๆ นึง คุณครูก็คือคนทั่วไปไม่ต่างจากพนักงานบริษัท แต่วัฒนธรรมการเคารพครูมันทำให้คน ๆ นึงมีอำนาจเมื่อสวมหัวโขนของอาชีพครูทันที เมื่อคนมีอำนาจในรูปแบบนี้ หากไม่มีจรรยาบรรกำกับ มักจะใช้อำนาจนั้นอย่างไม่ยั่งคิดหรือแบบเต็มที่เพื่อชดเชยความรู้สึกไร้อำนาจของตนในสังคมภายนอก นำมาซึ่งข่าวต่าง ๆ เกี่ยวกับครูลงโทษนักเรียนเกินเหตุอะไนแบบนี้อยู่เนื่อง ๆ ดังนั้นคำสอนที่ จขกท. ได้ยินคือการเปลี่ยนจากการเคารพในตำแหน่งมาเป็นการเคารพในตัวตนของคุณครูแทนเพื่อทำลายหรือป้องกันการใช้อำนาจในทางที่ผิดนั้นเอง
ผู้ปกครองก็เหมือนกันครับ หากผู้ปกครองทำตัวให้น่าเคารพ พวกเขาก็จะถูกเคารพจากลูกของพวกเขา หากลูกของพวกเขาไม่เคารพเขา หน้าที่ของพวกเขาคือไปพูดคุยกัยลูกเพื่อพยายามหาว่าพวกเขาต้องทำตัวแบบไหนและแก้ไขอย่างไรให้ดีขึ้น >>> ซึ่งเป็นความคิดที่เป็นตะวันตกมาก ๆ อาจจะเข้าใจยากหน่อย
ส่วนตัวมองว่าแนวคิดแบบนี้ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการใช้อำนาจที่เกิดจากตำแหน่งแบบผิด ๆ และหันมาใช้อำนาจที่เกิดจากตัวบุคคลเอง ต้องยอมรับนะครับว่าสังคมไทยชอบพวกอำนาจอันเกิดจากตำแหน่งหรืออาชีพมากกว่าตัวตนหรือความรู้มาก ๆ เช่น ที่เจอกันปล่อย ๆ ก็พวกหน่วยราชการที่ชอบอวดเบ่งใส่ประชาชนหรือตำรวจก็ดี พวกนี้หากออกมาจากตำแหน่งที่ตัวเองอยู่มักจะไม่มีอำนาจใด ๆ แต่กลับมีอำนาจทันทีที่ตัวเองสวมหัวโขนและมักจะนำมาซึงการใช้อำนาจที่ผิด ๆ
สำหรับตำแหน่งครูนั้น ให้เอาพวกนี้มาคูณ 2 ครับ ครูนั้นเพียงลำพังเป็นแค่อาชีพ ๆ นึง คุณครูก็คือคนทั่วไปไม่ต่างจากพนักงานบริษัท แต่วัฒนธรรมการเคารพครูมันทำให้คน ๆ นึงมีอำนาจเมื่อสวมหัวโขนของอาชีพครูทันที เมื่อคนมีอำนาจในรูปแบบนี้ หากไม่มีจรรยาบรรกำกับ มักจะใช้อำนาจนั้นอย่างไม่ยั่งคิดหรือแบบเต็มที่เพื่อชดเชยความรู้สึกไร้อำนาจของตนในสังคมภายนอก นำมาซึ่งข่าวต่าง ๆ เกี่ยวกับครูลงโทษนักเรียนเกินเหตุอะไนแบบนี้อยู่เนื่อง ๆ ดังนั้นคำสอนที่ จขกท. ได้ยินคือการเปลี่ยนจากการเคารพในตำแหน่งมาเป็นการเคารพในตัวตนของคุณครูแทนเพื่อทำลายหรือป้องกันการใช้อำนาจในทางที่ผิดนั้นเอง
ผู้ปกครองก็เหมือนกันครับ หากผู้ปกครองทำตัวให้น่าเคารพ พวกเขาก็จะถูกเคารพจากลูกของพวกเขา หากลูกของพวกเขาไม่เคารพเขา หน้าที่ของพวกเขาคือไปพูดคุยกัยลูกเพื่อพยายามหาว่าพวกเขาต้องทำตัวแบบไหนและแก้ไขอย่างไรให้ดีขึ้น >>> ซึ่งเป็นความคิดที่เป็นตะวันตกมาก ๆ อาจจะเข้าใจยากหน่อย
แสดงความคิดเห็น
คิดอย่างไรกับการที่เด็กบอกว่าไม่ต้องเคารพครูครับ?
"แม่หนูบอกว่า ไม่ต้องเคารพครูก็ได้ ครูเป็นลูกจ้าง เราจ่ายเงินจ้างครูมาสอน"
ตอนได้ยินก็ตกใจเหมือนกันครับ ว่าเดี๋ยวนี้มีแม่ที่สอนลูกกันแบบนี้แล้วเหรอ
แต่ตอนผมเป็นเด็กครูของผมเคยสอนไว้ว่า
เหตุที่เราไหว้เราไม่ได้ไหว้ที่ตัวคนแต่
- ไหว้ที่ ศีล ของพระ
- ไหว้ที่ ความรู้ ของครู
- ไหว้ที่ ประสบการณ์ ของผู้ใหญ่
สำหรับผม ยังไงผมก็คงยังสอนลูกหลานว่ายังคงควรยกมือไหว้ครูอยู่นะครับ
ท่านอื่นอาจเห็นต่างก็ไม่ว่ากันครับ