ทีมนักวิทยาศาสตร์จากสหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ เชื่อว่าได้ค้นพบ "ตัวกระตุ้น" ที่นำไปสู่การเกิดลิ่มเลือด ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ยาก หลังจากการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดและบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า(Oxford-Astrazeneca)
ผลการศึกษาพบว่า โปรตีนในเลือดสามารถดึงดูดเข้ากับส่วนประกอบสำคัญในวัคซีนราวกับแม่เหล็กต่างขั้ว แล้วกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบภูมิคุ้มกัน จนนำไปสู่ภาวะลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นได้ยากแต่เป็นอันตรายยิ่ง
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์ ในเวลส์ และมหาวิทยาลัยรัฐแอริโซนา ในสหรัฐฯ ร่วมด้วยนักวิทยาศาสตร์จากบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ได้ศึกษาเรื่องนี้โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนฉุกเฉินจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร
วัคซีนต้านโควิดที่ใช้ในสหราชอาณาจักรทั้งหมดเป็นการพยายามส่งสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 เข้าสู่ร่างกายคนเราเพื่อฝึกฝนระบบภูมิคุ้มกันให้สามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสชนิดนี้
ในกรณีของวัคซีนอ็อกซ์ฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้านั้น ใช้ไวรัสอะดีโน (adenovirus) เป็นตัวนำสารพันธุกรรมของไวรัสโควิดเข้าสู่เซลล์ของคนเรา
ทีมนักวิจัยเชื่อว่า ไวรัสอะดีโนอาจมีความเชื่อมโยงกับภาวะลิ่มเลือดในผู้ได้รับวัคซีนบางคน แล้วใช้เทคนิคที่เรียกว่ากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบแช่แข็ง (cryo-electron microscopy) เพื่อถ่ายภาพของไวรัสอะดีโนที่เผยให้เห็นรายละเอียดในระดับโมเลกุล
โดยผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science Advances เผยให้เห็นว่า พื้นผิวด้านนอกของไวรัสอะดีโนสามารถดึงดูดเข้าหาโปรตีนในเลือดที่เรียกว่า platelet factor 4 (PF4) ได้ราวกับแม่เหล็กต่างขั้ว
ทีมนักวิจัยคิดว่า นี่อาจกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ในระบบภูมิคุ้มกันของคนเรา แต่ชี้ว่านี่เป็นข้อสันนิษฐานที่จะต้องได้รับการยืนยันในการศึกษาขั้นต่อไป
พวกเขาเชื่อว่า ร่างกายจะเริ่มโจมตี PF4 ซึ่งติดอยู่กับไวรัสอะดีโน เพราะเข้าใจผิดคิดว่ามันคือไวรัสที่แปลกปลอม ดังนั้นจึงมีการปล่อยสารภูมิต้านทาน หรือแอนติบอดีเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งกระตุ้นให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำจากวัคซีน (Vaccine-Induced immune Thrombotic Thrombocytopenia หรือ VITT)
อย่างไรก็ตาม กรณีนี้เกิดขึ้นได้ยากมาก จึงทำให้พบผู้มีภาวะลิ่มเลือดได้น้อยมาก โดยในสหราชอาณาจักรพบการเสียชีวิตที่เชื่อมโยงกับภาวะ VITT จำนวน 73 ราย จากการให้วัคซีนอ็อกซ์ฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า เกือบ 50 ล้านโดส
บริษัทแอสตร้าเซนเนก้าเชื่อว่า วัคซีนของตนช่วยรักษาชีวิตของคนทั่วโลกได้กว่า 1 ล้านคน และช่วยป้องกันไม่ให้ติดโควิดได้ 50 ล้านราย
โฆษกแอสตร้าเซนเนก้าเน้นย้ำว่า อัตราการเกิดภาวะลิ่มเลือดจากการติดเชื้อโรคโควิดมีสูงกว่าการเกิดลิ่มเลือดที่เป็นผลข้างเคียงจากวัคซีนมาก
อย่างไรก็ตามชี้ว่า แม้งานวิจัยชิ้นนี้จะยังไม่ใช่ผลสรุปขั้นสุดท้าย แต่ก็เผยให้เห็นถึงข้อมูลที่น่าสนใจ และบริษัทกำลังหาทางใช้ประโยชน์จากการค้นพบนี้ เพื่อขจัดผลข้างเคียงจากวัคซีนที่เกิดขึ้นได้ยากมากให้หมดไป
ขณะที่ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์หวังว่า การค้นพบครั้งนี้อาจนำไปใช้ในการปรับปรุงวัคซีนที่ใช้ไวรัสอะดีโนในอนาคตเพื่อลดความเสี่ยงเกิดผลข้างเคียงจากวัคซีน
ที่มา :
https://www.bbc.com/thai/international-59507234?at_medium=custom7&at_custom4=3DDC5E62-53D9-11EC-B4DE-5F16933C408C&at_custom3=BBC+Thai&at_campaign=64&at_custom2=facebook_page&at_custom1=%5Bpost+type%5D&fbclid=IwAR1GVOKQ_3pQOkK6HT5gpkTL_NG4-8hT0PXAdB9COgstkp8fvn-lpjGuzWg
ทีมนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าได้ค้นพบ "ตัวกระตุ้น" ที่นำไปสู่การเกิดลิ่มเลือด VITT จากวัคซีน AstraZeneca
ผลการศึกษาพบว่า โปรตีนในเลือดสามารถดึงดูดเข้ากับส่วนประกอบสำคัญในวัคซีนราวกับแม่เหล็กต่างขั้ว แล้วกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบภูมิคุ้มกัน จนนำไปสู่ภาวะลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นได้ยากแต่เป็นอันตรายยิ่ง
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์ ในเวลส์ และมหาวิทยาลัยรัฐแอริโซนา ในสหรัฐฯ ร่วมด้วยนักวิทยาศาสตร์จากบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ได้ศึกษาเรื่องนี้โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนฉุกเฉินจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร
วัคซีนต้านโควิดที่ใช้ในสหราชอาณาจักรทั้งหมดเป็นการพยายามส่งสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 เข้าสู่ร่างกายคนเราเพื่อฝึกฝนระบบภูมิคุ้มกันให้สามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสชนิดนี้
ในกรณีของวัคซีนอ็อกซ์ฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้านั้น ใช้ไวรัสอะดีโน (adenovirus) เป็นตัวนำสารพันธุกรรมของไวรัสโควิดเข้าสู่เซลล์ของคนเรา
ทีมนักวิจัยเชื่อว่า ไวรัสอะดีโนอาจมีความเชื่อมโยงกับภาวะลิ่มเลือดในผู้ได้รับวัคซีนบางคน แล้วใช้เทคนิคที่เรียกว่ากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบแช่แข็ง (cryo-electron microscopy) เพื่อถ่ายภาพของไวรัสอะดีโนที่เผยให้เห็นรายละเอียดในระดับโมเลกุล
โดยผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science Advances เผยให้เห็นว่า พื้นผิวด้านนอกของไวรัสอะดีโนสามารถดึงดูดเข้าหาโปรตีนในเลือดที่เรียกว่า platelet factor 4 (PF4) ได้ราวกับแม่เหล็กต่างขั้ว
ทีมนักวิจัยคิดว่า นี่อาจกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ในระบบภูมิคุ้มกันของคนเรา แต่ชี้ว่านี่เป็นข้อสันนิษฐานที่จะต้องได้รับการยืนยันในการศึกษาขั้นต่อไป
พวกเขาเชื่อว่า ร่างกายจะเริ่มโจมตี PF4 ซึ่งติดอยู่กับไวรัสอะดีโน เพราะเข้าใจผิดคิดว่ามันคือไวรัสที่แปลกปลอม ดังนั้นจึงมีการปล่อยสารภูมิต้านทาน หรือแอนติบอดีเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งกระตุ้นให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำจากวัคซีน (Vaccine-Induced immune Thrombotic Thrombocytopenia หรือ VITT)
อย่างไรก็ตาม กรณีนี้เกิดขึ้นได้ยากมาก จึงทำให้พบผู้มีภาวะลิ่มเลือดได้น้อยมาก โดยในสหราชอาณาจักรพบการเสียชีวิตที่เชื่อมโยงกับภาวะ VITT จำนวน 73 ราย จากการให้วัคซีนอ็อกซ์ฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า เกือบ 50 ล้านโดส
บริษัทแอสตร้าเซนเนก้าเชื่อว่า วัคซีนของตนช่วยรักษาชีวิตของคนทั่วโลกได้กว่า 1 ล้านคน และช่วยป้องกันไม่ให้ติดโควิดได้ 50 ล้านราย
โฆษกแอสตร้าเซนเนก้าเน้นย้ำว่า อัตราการเกิดภาวะลิ่มเลือดจากการติดเชื้อโรคโควิดมีสูงกว่าการเกิดลิ่มเลือดที่เป็นผลข้างเคียงจากวัคซีนมาก
อย่างไรก็ตามชี้ว่า แม้งานวิจัยชิ้นนี้จะยังไม่ใช่ผลสรุปขั้นสุดท้าย แต่ก็เผยให้เห็นถึงข้อมูลที่น่าสนใจ และบริษัทกำลังหาทางใช้ประโยชน์จากการค้นพบนี้ เพื่อขจัดผลข้างเคียงจากวัคซีนที่เกิดขึ้นได้ยากมากให้หมดไป
ขณะที่ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์หวังว่า การค้นพบครั้งนี้อาจนำไปใช้ในการปรับปรุงวัคซีนที่ใช้ไวรัสอะดีโนในอนาคตเพื่อลดความเสี่ยงเกิดผลข้างเคียงจากวัคซีน
ที่มา : https://www.bbc.com/thai/international-59507234?at_medium=custom7&at_custom4=3DDC5E62-53D9-11EC-B4DE-5F16933C408C&at_custom3=BBC+Thai&at_campaign=64&at_custom2=facebook_page&at_custom1=%5Bpost+type%5D&fbclid=IwAR1GVOKQ_3pQOkK6HT5gpkTL_NG4-8hT0PXAdB9COgstkp8fvn-lpjGuzWg