คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 15
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน 2564
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/456526192632377
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. - 29 พ.ย. 2564)
รวม 92,658,390 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564
ยอดฉีดทั่วประเทศ 297,973 โดส
เข็มที่ 1 : 110,870 ราย
เข็มที่ 2 : 157,133 ราย
เข็มที่ 3 : 29,970 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 48,074,050 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 41,210,777 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 3,373,563 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/456524715965858
การปรับมาตรการป้องกันควบคุมโรคสำหรับผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักรจากทวีปแอฟริกา
ที่มา: กรมควบคุมโรค
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/456498222635174
คนไทยใน 8 ประเทศแอฟริกา ประสงค์กลับไทย ลงทะเบียนรับ COE ที่ QR CODE
สอบถามรายละเอียดที่ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาปูโต
ตามที่องค์การอนามัยโลกได้ตรวจพบไวรัสโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่ OMICRON ในแอฟริกา และสายการบินหลายสายการบินได้หยุดให้บริการรับผู้เดินทางจาก 8 ประเทศแอฟริกา ได้แก่ บอตสวานา เอสวาตินี เลโซโท มาลาวี โมซัมบิก นามิเบีย แอฟริกาใต้ และซิมบับเว เป็นการชั่วคราว นั้น
ขอให้คนไทยที่พำนักอยู่ใน 8 ประเทศนี้ โดยเฉพาะโมซัมบิกและแอฟริกาใต้และประสงค์จะเดินทางกลับไทย สายการบิน Ethiopian Airlines จะให้บริการเที่ยวบิน ET608 เข้า ประเทศไทยทุกวันพุธ (วันที่ 1, 8, 15, 22 และ 29 ธันวาคม 2564) โดยออกจากกรุงแอดดิสอาบาบา เอธิโอเปียเวลา 00.10 น. (เวลาเอธิโอเปีย) และจะถึงกรุงเทพ ฯ เวลา 13.10 น.(เวลาประเทศไทย) ในวันเดียวกัน ทั้งนี้ผู้เดินทางทุกคนในกรณีนี้ต้องเข้ารับการกักตัว 14 วัน
ผู้เดินทางสามารถลงทะเบียนขอรับ COE ผ่าน https://coethailand.mfa.go.th/regis/newvirus
กรณีเร่งด่วนสามารถติดต่อสายด่วน สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ที่
1. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย (ดูแลบอตสวานา เอสวาตินี เลโซโท มาลาวี นามิเบีย แอฟริกาใต้ ซิมบับเว)
โทร. +27(0)829236179
2. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาปูโต (ดูแลโมซัมบิก)
โทร. +258 87 788 9902
ที่มา: กระทรวงการต่างประเทศ (https://www.facebook.com/153641954675821/posts/6810091679030782/)
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/456526672632329
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ โพสต์เฟสบุ๊กเรื่องการฉีดวัคซีนแบบลูกผสมของไทย กับการสร้างภูมิต้านทานต่อไวรัสโควิดกลายพันธุ์ ระบุว่า "ไวรัสตัวนี้กลายพันธุ์ไปถึง 50 ตำแหน่ง และบริเวณหนามแหลมสไปท์ มีการเปลี่ยนแปลงไปมากถึง 30 ตำแหน่ง ฟังดูแล้วน่าตกใจ จริงๆแล้วการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในกลุ่มRNAไวรัส สำคัญที่ว่าตำแหน่งที่เปลี่ยนแปลงนั้น ทำหน้าที่อะไรมีความสำคัญแค่ไหน มากกว่าจำนวนที่เปลี่ยนแปลง
ไวรัสตัวนี้มีพันธุกรรมทั้งสิ้น รวมหมดเกือบ 30,000 นิวคลีโอไทด์ ถ้าเปลี่ยนแปลงไป 50 หรือ 100 ต่อ 30,000 ก็มีความเป็นไปได้ เพราะผ่านมา 2 ปี
แต่ที่สำคัญเวลาพูดถึงหนามแหลมสไปท์ จะมีประมาณ 4,000 นิวคลีโอไทด์ และเป็นกรดอะมิโนประมาณ 1,270 กรดอะมิโน การเปลี่ยนแปลงไป 30 ใน 1,270 ถ้าบอกว่า 30 ดูว่าเยอะก็ได้ เป็นเรื่องธรรมดาก็ได้ แต่สำคัญขึ้นอยู่กับว่าเปลี่ยนแปลงตำแหน่งไหนมากกว่า
การเปลี่ยนแปลง 30 ใน 1,270 รูปร่างโครงสร้างของหนามแหลมสไปท์ ก็ยังคงรูปร่างเดิม แต่ทำให้เกิดความหลากหลายมากขึ้น เหมือนเช่น มนุษย์เรา ก็ยังคงเป็นมนุษย์ แต่หน้าตา ถ้ามีการแต่งเติมเปลี่ยนแปลง ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง หล่อขึ้น หรือขี้เหร่ ก็มีความเป็นไปได้ เมื่อมองจากภายนอก ก็ยังคงเป็นมนุษย์อยู่นั่นเอง ความจำ ถ้าเจอหน้าเจอตาที่มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ก็ยังจำได้ว่าเป็นใคร ไม่ได้เปลี่ยนแปลงจนรูปร่างไม่เหมือนเดิม หาเป็นเช่นนั้นไม่
ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในหนามแหลมสไปท์ ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นในส่วนนี้ อาจจะลดลงไปบ้าง ไม่ใช่หายหมดอย่างสิ้นเชิง เช่นถ้าเรามีภูมิต้านทานสูงเราป้องกันได้ 90% เจอสายพันธุ์ใหม่ก็อาจจะลดลง เหลือ 80 เปอร์เซ็นต์ และถ้าภูมิต้านทานต่ำลงเปอร์เซ็นต์ก็จะต่ำลงตามอัตราส่วนลงมา อย่างในอดีต สายพันธุ์อู่ฮั่นที่ใช้ทำวัคซีนก็ยังสามารถป้องกันสายพันธุ์เดลต้าได้ ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลง แต่ต้องการระดับภูมิต้านทานที่สูงขึ้น
ทำนองเดียวกันสายพันธุ์ใหม่ ทำให้ภูมิต้านทานป้องกันลดลง ก็อาจจะจำเป็นที่ต้องมีภูมิต้านทานสูงไว้ก่อน หรือถ้าลดลงมาก ตัววัคซีนเองก็ต้องเปลี่ยนสายพันธุ์ไปเลย ต้องใช้สายพันธุ์ตัวใหม่ Omicron รอการศึกษา
การป้องกันในระบบภูมิต้านทาน คงไม่ได้ใช้ระบบภูมิต้านทานต่อหนามแหลมสไปท์ เท่านั้น
ในไวรัสทั้งตัว มีโปรตีนชิ้นส่วนต่างๆ ทั้งโครงสร้างและไม่ใช่โครงสร้าง มากถึง 25 ชิ้น หนามสไปรท์เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่อยู่ยื่นออกมา ไว้เกาะ กับเซลล์มนุษย์ วัคซีนมีจุดมุ่งหมายสร้างภูมิต้านทาน มาขัดขวาง แต่ความเป็นจริงระบบภูมิต้านทาน อาจจะจำเป็นที่จะต้องใช้ต่อส่วนอื่นของตัวไวรัส เช่น ส่วนเปลือก envelope ส่วน nucleocapsid และจะมีอื่นๆที่เราไม่รู้ ทำไมระบบภูมิต้านทานที่เกิดจากการติดเชื้อ จะปกป้อง ได้ดีกว่าภูมิต้านทานที่เกิดจากวัคซีนที่ทำมาจากส่วนสไปท์เท่านั้น เพราะมีภูมิต้านทานต่อไวรัสทั้งตัวไม่ใช่มีแค่หนามแหลมสไปท์
การติดเชื้อ สร้างภูมิต้านทานขึ้นมา ถ้าร่วมกับ ภูมิต้านทานจากวัคซีน จะมีระดับภูมิต้านทานที่สูงมาก ที่เรียกว่าเป็นภูมิต้านทานแบบลูกผสม Hybrid Immunity และสามารถป้องกันได้ดีกว่า
ในทำนองเดียวกันการให้วัคซีนเชื้อตาย เป็นการจำลองการติดเชื้อ มีภูมิต้านทานต่อทั้งตัวไวรัส รวมหนามแหลมด้วย และเมื่อร่วมให้กับวัคซีนอื่น ที่เป็นหนามแหลมสไปรท์ ก็น่าจะอนุมานได้ว่าทำไมภูมิต้านทานจึงสูงขึ้นมาก และน่าจะเป็นแบบภูมิต้านทานลูกผสม Hybrid Immunity
ในอนาคตชื่อว่าการศึกษาภูมิต้านทานแบบลูกผสม น่าจะช่วยในการสนับสนุน ป้องกันการกลายพันธุ์ของไวรัส เพราะระบบภูมิต้านทานในการต่อสู้กับไวรัส ไม่มีเฉพาะแค่หนามแหลมสไปท์อย่างเดียวเท่านั้น
บ้านเรามีวัคซีนหลากหลายมาก การใช้วัคซีนแบบลูกผสม อาจจะดีต่อไวรัสกลายพันธุ์ก็ได้"
ที่มา: FB Yong Poovorawan
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/456599842625012
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน 2564 จำนวน 37 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/456526699298993
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ศูนย์ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 กรุงเทพมหานคร
ใครที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนเข็มแรก หรือครบกำหนดแล้วแต่ยังไม่ได้รับเข็มสองหรือเข็มกระตุ้น ตอนนี้ กทม.เปิดจุดฉีดวัคซีน COVID-19 เพิ่มเติมสำหรับทุกคน ทุกสัญชาติ ในทุกรูปแบบ เพื่อให้ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
เริ่มบริการ 1 ธ.ค. 64 ณ ศูนย์ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 กรุงเทพมหานคร อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) และ 11 โรงพยาบาลในสังกัด กทม. ซึ่งสามารถจองคิวล่วงหน้าได้ที่แอปพลิเคชัน QueQ
เริ่มลงทะเบียน 30 พ.ย. 64 เป็นต้นไป
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/456633162621680
นายกฯ ยืนยัน ยังคงการตรวจหาเชื้อแบบ RT-PCR ไว้เช่นเดิม ป้องกันสายพันธุ์โอไมครอน
วันนี้ (30 พฤศจิกายน 2564) เวลา 13.20 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตอบคำถามสื่อมวลชนถึงกรณี ศบค. มีมติเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 64 เตรียมปรับวิธีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สำหรับนักเดินทางชาวไทยและชาวต่างชาติที่มาจากประเทศที่เข้าข่ายยกเว้นการกักตัว 63 ประเทศ/พื้นที่ หรือนักท่องเที่ยวรูปแบบ Test & Go จาก RT-PCR เป็นการตรวจแบบ ATK แทน
โดยนายกรัฐมนตรียืนยันว่าจะยังคงใช้วิธีการตรวจหาเชื้อแบบ RT-PCR ไว้เช่นเดิม ตามข้อเสนอของกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีการหารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งจะมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/456662262618770
โควิดสายพันธุ์ล่าสุด! โอไมครอน Omicron
อาการ : รู้สึกเพลีย ปวดเมื่อยตัว ปวดกล้ามเนื้อ ส่วนใหญ่ 2-3 วัน อาการจะดีขึ้น ไม่ไอ ไม่มีผลกระทบเรื่องได้กลิ่นหรือรับรส
วิธีป้องกัน : สวมหน้ากากเวลาพูดคุย
หมั่นล้างมือ เลี่ยงการอยู่ในพื้นที่แออัด
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1822418517944359&id=470988516420706
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน 2564
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/456526192632377
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. - 29 พ.ย. 2564)
รวม 92,658,390 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564
ยอดฉีดทั่วประเทศ 297,973 โดส
เข็มที่ 1 : 110,870 ราย
เข็มที่ 2 : 157,133 ราย
เข็มที่ 3 : 29,970 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 48,074,050 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 41,210,777 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 3,373,563 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/456524715965858
การปรับมาตรการป้องกันควบคุมโรคสำหรับผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักรจากทวีปแอฟริกา
ที่มา: กรมควบคุมโรค
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/456498222635174
คนไทยใน 8 ประเทศแอฟริกา ประสงค์กลับไทย ลงทะเบียนรับ COE ที่ QR CODE
สอบถามรายละเอียดที่ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาปูโต
ตามที่องค์การอนามัยโลกได้ตรวจพบไวรัสโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่ OMICRON ในแอฟริกา และสายการบินหลายสายการบินได้หยุดให้บริการรับผู้เดินทางจาก 8 ประเทศแอฟริกา ได้แก่ บอตสวานา เอสวาตินี เลโซโท มาลาวี โมซัมบิก นามิเบีย แอฟริกาใต้ และซิมบับเว เป็นการชั่วคราว นั้น
ขอให้คนไทยที่พำนักอยู่ใน 8 ประเทศนี้ โดยเฉพาะโมซัมบิกและแอฟริกาใต้และประสงค์จะเดินทางกลับไทย สายการบิน Ethiopian Airlines จะให้บริการเที่ยวบิน ET608 เข้า ประเทศไทยทุกวันพุธ (วันที่ 1, 8, 15, 22 และ 29 ธันวาคม 2564) โดยออกจากกรุงแอดดิสอาบาบา เอธิโอเปียเวลา 00.10 น. (เวลาเอธิโอเปีย) และจะถึงกรุงเทพ ฯ เวลา 13.10 น.(เวลาประเทศไทย) ในวันเดียวกัน ทั้งนี้ผู้เดินทางทุกคนในกรณีนี้ต้องเข้ารับการกักตัว 14 วัน
ผู้เดินทางสามารถลงทะเบียนขอรับ COE ผ่าน https://coethailand.mfa.go.th/regis/newvirus
กรณีเร่งด่วนสามารถติดต่อสายด่วน สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ที่
1. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย (ดูแลบอตสวานา เอสวาตินี เลโซโท มาลาวี นามิเบีย แอฟริกาใต้ ซิมบับเว)
โทร. +27(0)829236179
2. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาปูโต (ดูแลโมซัมบิก)
โทร. +258 87 788 9902
ที่มา: กระทรวงการต่างประเทศ (https://www.facebook.com/153641954675821/posts/6810091679030782/)
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/456526672632329
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ โพสต์เฟสบุ๊กเรื่องการฉีดวัคซีนแบบลูกผสมของไทย กับการสร้างภูมิต้านทานต่อไวรัสโควิดกลายพันธุ์ ระบุว่า "ไวรัสตัวนี้กลายพันธุ์ไปถึง 50 ตำแหน่ง และบริเวณหนามแหลมสไปท์ มีการเปลี่ยนแปลงไปมากถึง 30 ตำแหน่ง ฟังดูแล้วน่าตกใจ จริงๆแล้วการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในกลุ่มRNAไวรัส สำคัญที่ว่าตำแหน่งที่เปลี่ยนแปลงนั้น ทำหน้าที่อะไรมีความสำคัญแค่ไหน มากกว่าจำนวนที่เปลี่ยนแปลง
ไวรัสตัวนี้มีพันธุกรรมทั้งสิ้น รวมหมดเกือบ 30,000 นิวคลีโอไทด์ ถ้าเปลี่ยนแปลงไป 50 หรือ 100 ต่อ 30,000 ก็มีความเป็นไปได้ เพราะผ่านมา 2 ปี
แต่ที่สำคัญเวลาพูดถึงหนามแหลมสไปท์ จะมีประมาณ 4,000 นิวคลีโอไทด์ และเป็นกรดอะมิโนประมาณ 1,270 กรดอะมิโน การเปลี่ยนแปลงไป 30 ใน 1,270 ถ้าบอกว่า 30 ดูว่าเยอะก็ได้ เป็นเรื่องธรรมดาก็ได้ แต่สำคัญขึ้นอยู่กับว่าเปลี่ยนแปลงตำแหน่งไหนมากกว่า
การเปลี่ยนแปลง 30 ใน 1,270 รูปร่างโครงสร้างของหนามแหลมสไปท์ ก็ยังคงรูปร่างเดิม แต่ทำให้เกิดความหลากหลายมากขึ้น เหมือนเช่น มนุษย์เรา ก็ยังคงเป็นมนุษย์ แต่หน้าตา ถ้ามีการแต่งเติมเปลี่ยนแปลง ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง หล่อขึ้น หรือขี้เหร่ ก็มีความเป็นไปได้ เมื่อมองจากภายนอก ก็ยังคงเป็นมนุษย์อยู่นั่นเอง ความจำ ถ้าเจอหน้าเจอตาที่มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ก็ยังจำได้ว่าเป็นใคร ไม่ได้เปลี่ยนแปลงจนรูปร่างไม่เหมือนเดิม หาเป็นเช่นนั้นไม่
ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในหนามแหลมสไปท์ ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นในส่วนนี้ อาจจะลดลงไปบ้าง ไม่ใช่หายหมดอย่างสิ้นเชิง เช่นถ้าเรามีภูมิต้านทานสูงเราป้องกันได้ 90% เจอสายพันธุ์ใหม่ก็อาจจะลดลง เหลือ 80 เปอร์เซ็นต์ และถ้าภูมิต้านทานต่ำลงเปอร์เซ็นต์ก็จะต่ำลงตามอัตราส่วนลงมา อย่างในอดีต สายพันธุ์อู่ฮั่นที่ใช้ทำวัคซีนก็ยังสามารถป้องกันสายพันธุ์เดลต้าได้ ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลง แต่ต้องการระดับภูมิต้านทานที่สูงขึ้น
ทำนองเดียวกันสายพันธุ์ใหม่ ทำให้ภูมิต้านทานป้องกันลดลง ก็อาจจะจำเป็นที่ต้องมีภูมิต้านทานสูงไว้ก่อน หรือถ้าลดลงมาก ตัววัคซีนเองก็ต้องเปลี่ยนสายพันธุ์ไปเลย ต้องใช้สายพันธุ์ตัวใหม่ Omicron รอการศึกษา
การป้องกันในระบบภูมิต้านทาน คงไม่ได้ใช้ระบบภูมิต้านทานต่อหนามแหลมสไปท์ เท่านั้น
ในไวรัสทั้งตัว มีโปรตีนชิ้นส่วนต่างๆ ทั้งโครงสร้างและไม่ใช่โครงสร้าง มากถึง 25 ชิ้น หนามสไปรท์เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่อยู่ยื่นออกมา ไว้เกาะ กับเซลล์มนุษย์ วัคซีนมีจุดมุ่งหมายสร้างภูมิต้านทาน มาขัดขวาง แต่ความเป็นจริงระบบภูมิต้านทาน อาจจะจำเป็นที่จะต้องใช้ต่อส่วนอื่นของตัวไวรัส เช่น ส่วนเปลือก envelope ส่วน nucleocapsid และจะมีอื่นๆที่เราไม่รู้ ทำไมระบบภูมิต้านทานที่เกิดจากการติดเชื้อ จะปกป้อง ได้ดีกว่าภูมิต้านทานที่เกิดจากวัคซีนที่ทำมาจากส่วนสไปท์เท่านั้น เพราะมีภูมิต้านทานต่อไวรัสทั้งตัวไม่ใช่มีแค่หนามแหลมสไปท์
การติดเชื้อ สร้างภูมิต้านทานขึ้นมา ถ้าร่วมกับ ภูมิต้านทานจากวัคซีน จะมีระดับภูมิต้านทานที่สูงมาก ที่เรียกว่าเป็นภูมิต้านทานแบบลูกผสม Hybrid Immunity และสามารถป้องกันได้ดีกว่า
ในทำนองเดียวกันการให้วัคซีนเชื้อตาย เป็นการจำลองการติดเชื้อ มีภูมิต้านทานต่อทั้งตัวไวรัส รวมหนามแหลมด้วย และเมื่อร่วมให้กับวัคซีนอื่น ที่เป็นหนามแหลมสไปรท์ ก็น่าจะอนุมานได้ว่าทำไมภูมิต้านทานจึงสูงขึ้นมาก และน่าจะเป็นแบบภูมิต้านทานลูกผสม Hybrid Immunity
ในอนาคตชื่อว่าการศึกษาภูมิต้านทานแบบลูกผสม น่าจะช่วยในการสนับสนุน ป้องกันการกลายพันธุ์ของไวรัส เพราะระบบภูมิต้านทานในการต่อสู้กับไวรัส ไม่มีเฉพาะแค่หนามแหลมสไปท์อย่างเดียวเท่านั้น
บ้านเรามีวัคซีนหลากหลายมาก การใช้วัคซีนแบบลูกผสม อาจจะดีต่อไวรัสกลายพันธุ์ก็ได้"
ที่มา: FB Yong Poovorawan
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/456599842625012
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน 2564 จำนวน 37 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/456526699298993
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ศูนย์ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 กรุงเทพมหานคร
ใครที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนเข็มแรก หรือครบกำหนดแล้วแต่ยังไม่ได้รับเข็มสองหรือเข็มกระตุ้น ตอนนี้ กทม.เปิดจุดฉีดวัคซีน COVID-19 เพิ่มเติมสำหรับทุกคน ทุกสัญชาติ ในทุกรูปแบบ เพื่อให้ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
เริ่มบริการ 1 ธ.ค. 64 ณ ศูนย์ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 กรุงเทพมหานคร อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) และ 11 โรงพยาบาลในสังกัด กทม. ซึ่งสามารถจองคิวล่วงหน้าได้ที่แอปพลิเคชัน QueQ
เริ่มลงทะเบียน 30 พ.ย. 64 เป็นต้นไป
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/456633162621680
นายกฯ ยืนยัน ยังคงการตรวจหาเชื้อแบบ RT-PCR ไว้เช่นเดิม ป้องกันสายพันธุ์โอไมครอน
วันนี้ (30 พฤศจิกายน 2564) เวลา 13.20 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตอบคำถามสื่อมวลชนถึงกรณี ศบค. มีมติเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 64 เตรียมปรับวิธีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สำหรับนักเดินทางชาวไทยและชาวต่างชาติที่มาจากประเทศที่เข้าข่ายยกเว้นการกักตัว 63 ประเทศ/พื้นที่ หรือนักท่องเที่ยวรูปแบบ Test & Go จาก RT-PCR เป็นการตรวจแบบ ATK แทน
โดยนายกรัฐมนตรียืนยันว่าจะยังคงใช้วิธีการตรวจหาเชื้อแบบ RT-PCR ไว้เช่นเดิม ตามข้อเสนอของกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีการหารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งจะมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/456662262618770
โควิดสายพันธุ์ล่าสุด! โอไมครอน Omicron
อาการ : รู้สึกเพลีย ปวดเมื่อยตัว ปวดกล้ามเนื้อ ส่วนใหญ่ 2-3 วัน อาการจะดีขึ้น ไม่ไอ ไม่มีผลกระทบเรื่องได้กลิ่นหรือรับรส
วิธีป้องกัน : สวมหน้ากากเวลาพูดคุย
หมั่นล้างมือ เลี่ยงการอยู่ในพื้นที่แออัด
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1822418517944359&id=470988516420706
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭มาลาริน💗30พ.ย. ไทยไม่ติดTop10โลก ป่วย4,306คน หายป่วย6,407คน ตาย37คน/โควิด76จว./วัคซีนฉีดไขว้ช่วยรับมือโคมิครอนได้ดี
https://www.sanook.com/news/8481626/
https://www.bangkokbiznews.com/news/974748
https://travel.trueid.net/detail/EpwDxDy0Jd17
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/97948/
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9640000118514
ติดตามข่าวโควิดกันนะคะ
วันนี้คนติดเชื้อยิ่งลดลงค่ะ คนหายป่วยเพิ่มมากขึ้น คนเสียชีวิตอยู่หลักสิบ ผู้รักษาในโรงพยาบาลน้อยลงๆ
ที่น่าสนใจคือความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เช่น ศ.นพ.ยง และศ.ดร.วสันต์ ที่มีความเห็นว่า...วัคซีนลูกผสมหรือสูตรไขว้ของไทยจะช่วยรับมือโคมิครอนได้ดีอย่างน่าทึ่งค่ะ
ไทยมาถูกทางในการรับมือโควิดค่ะ
.....💗💗💗