การประกาศความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน (Equal Partnership) ระหว่างเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) กับกลุ่มเทเลนอร์ เพื่อเตรียมความพร้อมให้บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE และ บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ Dtac ร่วมกันจัดตั้งบริษัทใหม่และปรับโครงสร้างเป็นบริษัทเทคโนโลยี (Tech Company) ได้สร้างแรงกระเพื่อมให้กับวงการโทรคมนาคมและสังคมในวงกว้าง ซึ่งมีทั้งเห็นด้วย คัดค้าน และเป็นเพียงผู้ดู
ในขณะที่ฝั่งธุรกิจให้เหตุผลว่าต้องดิ้นหาทางเอาตัวรอดจากการถูกดิสรัปต์ ไปสู่แพลตฟอร์มเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น โดยได้มองข้ามช็อตของการแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศ ซึ่งต้องใช้เม็ดเงินลงทุนสูง ขณะที่ผลตอบแทนการลงทุนไม่คุ้มค่ามากนัก เพราะส่วนหนึ่งถูกแย่งส่วนแบ่งไปให้กับสิ่งที่เรียกว่า Over the Top (OTT) หรือบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต ทั้งแพลตฟอร์มที่มีค่าบริการและไม่มีค่าใช้จ่าย เช่น Facebook, YouTube, VIU, Netflix, Line TV ซึ่งการกระโดดเข้าสู่ธุรกิจดิจิทัลอย่างเต็มตัวจะมีการพัฒนาในหลากหลายมิติ ที่ส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าทั้งด้านประสิทธิภาพเครือข่าย นวัตกรรม ความแข็งแกร่งทางการลงทุน และยังให้อานิสงส์แก่ภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ของประเทศในอนาคต รวมไปถึงการทำงานร่วมกับ OTT ได้ดีขึ้นอีกด้วย
อีกด้านหนึ่งก็มีข้อโต้แย้งจากฝั่งนักวิชาการจาก TDRI หลายประเด็น ซึ่งเมื่อแกะออกมาแล้ว จะพบว่ามีแค่เพียงการเตะตัดขา ที่ปราศจากการเสนอทางออกต่อปัญหาที่ธุรกิจกำลังเผชิญอยู่ รวบรวมมาได้ว่า
1. ภาษาง่ายๆ คือ การควบรวมกิจการ
- ในทางปฏิบัติ ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดโอกาสให้ทำได้ เช่น ในรูปของการแลกหุ้น เพื่อดำเนินกิจการในบริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งทรูและดีแทคใช้วิธีนี้ ที่ไม่ใช่เป็นการควบรวมกิจการ โดยทางดีแทคได้ปฏิเสธย้ำว่า ไม่ได้จะทิ้งการลงทุนในประเทศไทย ยังคงดำเนินกิจการดีแทคต่อไป เพียงแต่หันไปเน้นพัฒนาแพลตฟอร์มด้านเทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อเปิดทางประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัล
2. รวมกันแล้วจะทำให้ตลาดผูกขาดมากถึงระดับอันตราย
- การใช้วาทกรรมผูกขาด คงไม่สามารถใช้กับธุรกิจโทรคมนาคมของไทยในปัจจุบันได้ ด้วยยังมีผู้เล่นหลายราย ซึ่งอย่าลืมนึกถึง NT ที่เกิดจากการควบรวมกิจการกันระหว่าง TOT และ CAT ซึ่งมีทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรอยู่ในมือครบถ้วน แถมเป็นสมบัติของรัฐ รวมถึงหน่วยงานของรัฐหลายรายก็ให้การสนับสนุน ทั้งโดยอำนาจหน้าที่และในรูปแบบของผู้ถือหุ้น
3️. ผู้ที่จะได้รับผลกระทบด้านบวก คือ ผู้ถือหุ้นของบริษัทมือถือทั้ง 3 ราย
- การที่หุ้นของบริษัทโทรคมดีดขึ้นหลายวันติดต่อกัน ส่วนหนึ่งย่อมหมายถึงการตอบรับต่อกระแสการปรับโครงสร้าง ด้วยเห็นถึงผลดีที่จะเกิดขึ้นต่อผู้บริโภคโดยรวม ทำไมนักวิชาการจึงดึงแต่ประเด็นด้านลบออกมา
4️. ผู้ที่จะได้ผลกระทบด้านลบ : ผู้บริโภค, คู่ค้า, รัฐบาลและผู้เสียภาษี
- ปัจจุบันเบอร์หนึ่งในธุรกิจโทรคมครองส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดรายเดียวอย่างต่อเนื่องมาเป็นสิบปี โดยที่เบอร์สองตามไม่ทัน สมมุติว่ามีการรวมตัวกันและส่วนแบ่งของเบอร์สองสามารถพลิกเกมขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งแทนรายเดิมได้ ในขณะที่การแข่งขันยังคงอยู่ จะไม่ดีกว่าปล่อยให้รายเดิมผูกขาดการครองตลาดตลอดกาลกระนั้นหรือ ซึ่งเมื่อเกิดการสลับตำแหน่งกัน จะยิ่งทำให้การแข่งขันเข้มข้นขึ้น นั่นหมายถึงผู้บริโภคได้ประโยชน์ไปเต็ม ๆ ส่วนคู่ค้ายิ่งได้อานิสงส์ไปด้วย
- ในด้านของรายได้รัฐที่มองว่าจะลดลงจากการประมูลคลื่นได้น้อยลงนั้น ขอถามกลับว่า ที่ผ่านมารัฐขูดรีดรายได้ในการประมูลจากเอกชนด้วยราคาที่สูงปรี๊ด จนทำให้วันนี้เอกชนมีหนี้ท่วมตัว ต้องถึงทางตัน แล้วทำไมรัฐไม่ช่วยหาทางผ่อนปรน เมื่อเป็นแช่นนี้ ไม่มีเอกชนที่ไหนไม่ว่าในหรือต่างประเทศอยากเข้ามาลงทุนเพิ่มอีก เพราะต้องแบกรับต้นทุนมหาศาล แม้แต่ต่างชาติอย่างเทมาเส็กกับเทเลเนอร์ ยังต้องถอดใจขายหุ้นออก หาผู้ร่วมทุนใหม่ และชะลอการลงทุนในไทย แล้วยังกล้าเรียกร้องให้ใครที่ไหนมาลงทุนอีก จะทำให้ตลาดเกิดการแข่งขันมากขึ้นได้อย่างไร กับต้นทุนสูงสาหัสเช่นนี้ วานนักวิชาการช่วยหาทางออกให้ด้วย ไม่ใช่คอยไล่บี้เตะตัดขาเอกชนอย่างเดียว
5. เป็นการยากที่เศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล
- เอกชนกำลังพยายามหาทางออกและทางรอดให้กับทั้งธุรกิจเองและประเทศเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลที่ว่านั่นอย่างเต็มตัว แต่กำลังถูกขัดแข้งขัดขาจากนักวิชาการอยู่แบบนี้ ประเทศจะไปต่อกันยังไง ลำพังเฉพาะรัฐเองไม่สามารถทำอะไรได้ ถ้าไม่มีเอกชนที่มีศักยภาพช่วยบุกเบิกไปก่อน ดูง่าย ๆ แค่ทรัพยากรที่มีอยู่ในมืออย่าง NT ยังไม่ทำให้ใช้ศักยภาพได้เต็มที่
6. กสทช. มีหน้าที่ต้องเพิ่มการแข่งขันในตลาด และลดการผูกขาด รวมถึงเร่งให้ออกกำหมายลูกห้ามการรวมกิจการ
- กสทช. มีหน้าที่ตามตัวบทกฎหมายอยู่แล้ว ถ้าจะให้เพิ่มการแข่งขันในตลาด เพื่อลดการผูกขาด ทำไมไม่ให้กสทช. ลดราคาประมูลให้สมเหตุสมผล เพื่อเพิ่มความน่าลงทุนให้มากขึ้น รวมถึงไปกระตุ้นให้ธุรกิจของรัฐอย่าง NT ลุกขึ้นมาใช้ศักยภาพที่มีให้เต็มที่กว่านี้ เพื่อเร่งภาวะการแข่งขันในตลาดให้คึกคักขึ้น ดีกว่านั่งกินรายได้ไปวัน ๆ โดยไม่พัฒนาอะไรขึ้นมา ส่วนการให้ออกกฎหมายลูกตอนที่ธุรกิจเสนอทางออกจากทางตัน จะไม่เป็นการผิดที่ผิดเวลา สร้างความไม่ชอบธรรมในการดำเนินธุรกิจของเอกชน และไม่คำนึงถึงธรรมชาติในการแข่งขันของผู้ให้บริการเกินไปหรือ
มาถึงบรรทัดนี้อยากบอกว่าเข้าใจการทำหน้าที่ของนักวิชาการอย่าง TDRI แต่ขอให้พัฒนา mindset ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และกรุณาอย่าทำตัวเป็นเพียงนักเตะที่คอยขัดขาอย่างเดียว แต่ช่วยเสนอทางออก แม้เพียงชี้ซอกเล็ก ๆ ให้กับธุรกิจที่กำลังเผชิญทางตันได้มีทางรอดด้วย
แกะประเด็นข้อโต้แย้ง TDRI พร้อมถามกลับ เตะตัดขาธุรกิจเทเลคอมทำไม อะไรคือทางออก
ในขณะที่ฝั่งธุรกิจให้เหตุผลว่าต้องดิ้นหาทางเอาตัวรอดจากการถูกดิสรัปต์ ไปสู่แพลตฟอร์มเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น โดยได้มองข้ามช็อตของการแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศ ซึ่งต้องใช้เม็ดเงินลงทุนสูง ขณะที่ผลตอบแทนการลงทุนไม่คุ้มค่ามากนัก เพราะส่วนหนึ่งถูกแย่งส่วนแบ่งไปให้กับสิ่งที่เรียกว่า Over the Top (OTT) หรือบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต ทั้งแพลตฟอร์มที่มีค่าบริการและไม่มีค่าใช้จ่าย เช่น Facebook, YouTube, VIU, Netflix, Line TV ซึ่งการกระโดดเข้าสู่ธุรกิจดิจิทัลอย่างเต็มตัวจะมีการพัฒนาในหลากหลายมิติ ที่ส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าทั้งด้านประสิทธิภาพเครือข่าย นวัตกรรม ความแข็งแกร่งทางการลงทุน และยังให้อานิสงส์แก่ภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ของประเทศในอนาคต รวมไปถึงการทำงานร่วมกับ OTT ได้ดีขึ้นอีกด้วย
อีกด้านหนึ่งก็มีข้อโต้แย้งจากฝั่งนักวิชาการจาก TDRI หลายประเด็น ซึ่งเมื่อแกะออกมาแล้ว จะพบว่ามีแค่เพียงการเตะตัดขา ที่ปราศจากการเสนอทางออกต่อปัญหาที่ธุรกิจกำลังเผชิญอยู่ รวบรวมมาได้ว่า
1. ภาษาง่ายๆ คือ การควบรวมกิจการ
- ในทางปฏิบัติ ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดโอกาสให้ทำได้ เช่น ในรูปของการแลกหุ้น เพื่อดำเนินกิจการในบริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งทรูและดีแทคใช้วิธีนี้ ที่ไม่ใช่เป็นการควบรวมกิจการ โดยทางดีแทคได้ปฏิเสธย้ำว่า ไม่ได้จะทิ้งการลงทุนในประเทศไทย ยังคงดำเนินกิจการดีแทคต่อไป เพียงแต่หันไปเน้นพัฒนาแพลตฟอร์มด้านเทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อเปิดทางประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัล
2. รวมกันแล้วจะทำให้ตลาดผูกขาดมากถึงระดับอันตราย
- การใช้วาทกรรมผูกขาด คงไม่สามารถใช้กับธุรกิจโทรคมนาคมของไทยในปัจจุบันได้ ด้วยยังมีผู้เล่นหลายราย ซึ่งอย่าลืมนึกถึง NT ที่เกิดจากการควบรวมกิจการกันระหว่าง TOT และ CAT ซึ่งมีทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรอยู่ในมือครบถ้วน แถมเป็นสมบัติของรัฐ รวมถึงหน่วยงานของรัฐหลายรายก็ให้การสนับสนุน ทั้งโดยอำนาจหน้าที่และในรูปแบบของผู้ถือหุ้น
3️. ผู้ที่จะได้รับผลกระทบด้านบวก คือ ผู้ถือหุ้นของบริษัทมือถือทั้ง 3 ราย
- การที่หุ้นของบริษัทโทรคมดีดขึ้นหลายวันติดต่อกัน ส่วนหนึ่งย่อมหมายถึงการตอบรับต่อกระแสการปรับโครงสร้าง ด้วยเห็นถึงผลดีที่จะเกิดขึ้นต่อผู้บริโภคโดยรวม ทำไมนักวิชาการจึงดึงแต่ประเด็นด้านลบออกมา
4️. ผู้ที่จะได้ผลกระทบด้านลบ : ผู้บริโภค, คู่ค้า, รัฐบาลและผู้เสียภาษี
- ปัจจุบันเบอร์หนึ่งในธุรกิจโทรคมครองส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดรายเดียวอย่างต่อเนื่องมาเป็นสิบปี โดยที่เบอร์สองตามไม่ทัน สมมุติว่ามีการรวมตัวกันและส่วนแบ่งของเบอร์สองสามารถพลิกเกมขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งแทนรายเดิมได้ ในขณะที่การแข่งขันยังคงอยู่ จะไม่ดีกว่าปล่อยให้รายเดิมผูกขาดการครองตลาดตลอดกาลกระนั้นหรือ ซึ่งเมื่อเกิดการสลับตำแหน่งกัน จะยิ่งทำให้การแข่งขันเข้มข้นขึ้น นั่นหมายถึงผู้บริโภคได้ประโยชน์ไปเต็ม ๆ ส่วนคู่ค้ายิ่งได้อานิสงส์ไปด้วย
- ในด้านของรายได้รัฐที่มองว่าจะลดลงจากการประมูลคลื่นได้น้อยลงนั้น ขอถามกลับว่า ที่ผ่านมารัฐขูดรีดรายได้ในการประมูลจากเอกชนด้วยราคาที่สูงปรี๊ด จนทำให้วันนี้เอกชนมีหนี้ท่วมตัว ต้องถึงทางตัน แล้วทำไมรัฐไม่ช่วยหาทางผ่อนปรน เมื่อเป็นแช่นนี้ ไม่มีเอกชนที่ไหนไม่ว่าในหรือต่างประเทศอยากเข้ามาลงทุนเพิ่มอีก เพราะต้องแบกรับต้นทุนมหาศาล แม้แต่ต่างชาติอย่างเทมาเส็กกับเทเลเนอร์ ยังต้องถอดใจขายหุ้นออก หาผู้ร่วมทุนใหม่ และชะลอการลงทุนในไทย แล้วยังกล้าเรียกร้องให้ใครที่ไหนมาลงทุนอีก จะทำให้ตลาดเกิดการแข่งขันมากขึ้นได้อย่างไร กับต้นทุนสูงสาหัสเช่นนี้ วานนักวิชาการช่วยหาทางออกให้ด้วย ไม่ใช่คอยไล่บี้เตะตัดขาเอกชนอย่างเดียว
5. เป็นการยากที่เศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล
- เอกชนกำลังพยายามหาทางออกและทางรอดให้กับทั้งธุรกิจเองและประเทศเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลที่ว่านั่นอย่างเต็มตัว แต่กำลังถูกขัดแข้งขัดขาจากนักวิชาการอยู่แบบนี้ ประเทศจะไปต่อกันยังไง ลำพังเฉพาะรัฐเองไม่สามารถทำอะไรได้ ถ้าไม่มีเอกชนที่มีศักยภาพช่วยบุกเบิกไปก่อน ดูง่าย ๆ แค่ทรัพยากรที่มีอยู่ในมืออย่าง NT ยังไม่ทำให้ใช้ศักยภาพได้เต็มที่
6. กสทช. มีหน้าที่ต้องเพิ่มการแข่งขันในตลาด และลดการผูกขาด รวมถึงเร่งให้ออกกำหมายลูกห้ามการรวมกิจการ
- กสทช. มีหน้าที่ตามตัวบทกฎหมายอยู่แล้ว ถ้าจะให้เพิ่มการแข่งขันในตลาด เพื่อลดการผูกขาด ทำไมไม่ให้กสทช. ลดราคาประมูลให้สมเหตุสมผล เพื่อเพิ่มความน่าลงทุนให้มากขึ้น รวมถึงไปกระตุ้นให้ธุรกิจของรัฐอย่าง NT ลุกขึ้นมาใช้ศักยภาพที่มีให้เต็มที่กว่านี้ เพื่อเร่งภาวะการแข่งขันในตลาดให้คึกคักขึ้น ดีกว่านั่งกินรายได้ไปวัน ๆ โดยไม่พัฒนาอะไรขึ้นมา ส่วนการให้ออกกฎหมายลูกตอนที่ธุรกิจเสนอทางออกจากทางตัน จะไม่เป็นการผิดที่ผิดเวลา สร้างความไม่ชอบธรรมในการดำเนินธุรกิจของเอกชน และไม่คำนึงถึงธรรมชาติในการแข่งขันของผู้ให้บริการเกินไปหรือ
มาถึงบรรทัดนี้อยากบอกว่าเข้าใจการทำหน้าที่ของนักวิชาการอย่าง TDRI แต่ขอให้พัฒนา mindset ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และกรุณาอย่าทำตัวเป็นเพียงนักเตะที่คอยขัดขาอย่างเดียว แต่ช่วยเสนอทางออก แม้เพียงชี้ซอกเล็ก ๆ ให้กับธุรกิจที่กำลังเผชิญทางตันได้มีทางรอดด้วย