ค่ำคืนของวันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2533 ถนนทุกสายในกรุงเทพฯ ล้วนเงียบสงัด เพราะเกือบทุกคนต่างรีบกลับบ้าน เพื่อรอชมฉากสุดท้ายของโศกนาฏกรรมความรักระหว่างทหารญี่ปุ่นกับสาวไทย ในละคร ‘คู่กรรม’
แม้ผู้ชมส่วนใหญ่จะทราบดีว่า สุดท้ายเรื่องราวจะเป็นอย่างไร หากแต่เสียงร่ำไห้และคำสัญญาที่อังศุมาลินมอบให้โกโบริว่าจะรักตลอดไป ขณะโอบกอดร่างไร้วิญญาณ ก็ทำเอาหลายคนกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่
ด้วยความสมจริงและเข้าถึงบทบาทของตัวละครนี่เอง ส่งผลให้ คู่กรรม ฝังแน่นในความทรงจำของใครหลายคน ไม่ต่างจากละครอีกหลายเรื่องที่ ‘ดาราวิดีโอ’ ค่ายละครสุดคลาสสิกแห่งช่อง 7 สี รังสรรค์ขึ้น ตลอดระยะเวลากว่าครึ่งศตวรรษ ทั้ง ดาวพระศุกร์, บ้านทรายทอง, สายโลหิต, มนต์รักลูกทุ่ง, ทัดดาวบุษยา, ทวิภพ, นางทาส, น้ำใสใจจริง, คือหัตถาครองพิภพ หรือ เบญจา คีตา ความรัก รวมไปถึงละครจักรๆ วงศ์ๆ อย่าง สี่ยอดกุมาร, พิกุลทอง, ปลาบู่ทอง สิงหไกรภพ ขวานฟ้าหน้าดำ และ สังข์ทอง ซึ่งแต่ละเรื่องล้วนกวาดเรตติ้งถล่มทลาย จนหลายคนยกให้เป็นเบอร์ 1 ของวงการ
เพื่อไขเคล็ดลับว่าอะไรที่ทำให้ค่ายละครแห่งนี้สามารถกุมหัวใจของแฟนละครมาได้ถึงปัจจุบัน ยอดมนุษย์..คนธรรมดา จึงชักชวนผู้ก่อตั้ง
อาหรั่ง-ไพรัช สังวริบุตร และทายาททั้งสองคน
หลุยส์-สยาม และ
ลอร์ด-สยม มาร่วมพูดคุยถึงจุดเริ่มต้น เบื้องหลังการทำงาน รวมถึงก้าวต่อไปของอาณาจักรละครของครอบครัวสังวริบุตร ทั้ง ดาราวิดีโอ, ดีด้า วิดีโอ โปรดักชั่น และสามเศียร ในวันที่วงการโทรทัศน์ไทยไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
จากจอเงินสู่จอแก้ว
เส้นทางชีวิตของอาหรั่ง ต้องเรียกว่าเติบโตมาพร้อมโลกมายาอย่างแท้จริง
เพราะตั้งแต่จำความได้ก็คลุกคลีกับสิ่งเหล่านี้มาตลอด
จำรัส สังวริบุตร คุณแม่ของเขาก็เป็นนักร้องส่งในวงเครื่องสายของสถานีวิทยุศาลาแดง กรมไปรษณีย์โทรเลข ส่วนคุณพ่อ
คุ้ม สังวริบุตร แม้จะเป็นทนายความ แต่ก็ชอบเล่นเครื่องดนตรี ต่อมาพอย้ายไปอยู่อ่างทอง ก็ไปเปิดโรงหนังชื่อเฉลิมถิ่น ก่อนจะร่วมกับ
สด ศรีบูรพารมย์ อาของ
ฉลอง ภักดีวิจิตร เปิดกรุงเทพภาพยนตร์ ทำหนังเรื่อง พระร่วง
“ก่อนหน้านี้หนังไทยทำง่ายนะ จำได้ว่ากองถ่ายของคุณพ่อใหญ่มาก เกณฑ์คนมาเยอะ ชงกาแฟทีหลายๆ โอ่ง ตอนนั้นก็มีคนทักว่า อย่าทำเลยเรื่องพระร่วง พระลอ อะไรเหล่านี้คนเขาห้าม แต่คุณพ่อก็บอกว่าจะทำพระร่วงก่อน แล้วจะทำพระลอตาม แต่ก็ไม่ได้ทำหรอก เจ๊งเสียก่อน ช่วงนั้นผมเด็กมาก ก็ได้แต่ดูเขาทำ ไม่ได้ไปช่วยอะไรหรอกนะ”
พอถึงยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 คุณพ่อของเขาก็หันมาทำกองหนังเร่ ยกทีมไปฉายหนังตามเมืองต่างๆ เมืองละ 3 – 5 วัน อาหรั่งเองก็ติดสอยห้อยตาม ไปช่วยทำนู่นทำนี่ ไปพากย์หนังบ้าง ส่วนใหญ่เป็นบทตัวตลก แม้จะเป็นหน้าที่เล็กๆ แต่ก็ทำให้เขาได้เรียนรู้ว่า เรื่องราวหรือมุกแบบไหนถึงจะได้ใจผู้ชม และค่อยๆ รู้สึกหลงรักวงการภาพยนตร์โดยไม่รู้ตัว
กระทั่ง พ.ศ. 2493 เขาก็เข้ามาพัวพันในโลกจอเงินเต็มตัว ด้วยการเป็นตากล้องจำเป็น หลังคุณพ่อกลับมาทำหนังเรื่อง รอยไถ ซึ่งมี
คำรณ สัมบุญณานนท์ ศิลปินลูกทุ่งคนดังแสดงนำ
“ตอนแรกใครไม่รู้เป็นตากล้อง แต่ถ่ายแล้วมันเสีย ถ่ายไปสักสิบกว่าม้วน ผมสงสารคุณพ่อ เลยถามท่านว่าให้ผมทำไหม คุณพ่อก็ถามว่าทำได้หรือ สุดท้ายก็ให้ผมลองดู สมัยนั้นมันมีกล้องที่พวกนักหนังสือพิมพ์ใช้กันเยอะ ชื่อว่ากล้องมามียา ซึ่งญี่ปุ่นส่งเข้ามา ผมถ่ายรูปไปสามม้วนทั้งที่ไม่เคยแตะมาก่อน แล้วเอาไปนอนวิจัยสามสี่คืนว่า อันนี้มันเป็นอย่างนี้ พอทำได้ผมถึงได้ลงมือถ่ายทำ ถ่ายออกมาแล้ว ปรากฏว่ามันดี ผมก็เลยถ่ายเอง เป็นคนจัดแสง เปิดหน้ากล้อง ซึ่งสมัยนั้นลำบาก เครื่องมือเครื่องไม้ไม่ทันสมัย เปิดแสงผิดนิดหน่อยก็ไม่ได้ พัง ต้องใช้ความละเอียดอ่อนมาก”
รอยไถ ประสบความสำเร็จอย่างสูง เข้าโรงที่ไหนคนก็แห่ไปชมกันเต็มไปหมด แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าคือ หนังเรื่องนี้ยังให้วิชากับเขามากมาย ครั้งหนึ่งอาหรั่งเคยเล่าว่า วันหนึ่งคำรณจะเอาหนังไปฉาย จึงขับเรือนำม้วนฟิล์มไปส่งมอบให้โรงภาพยนตร์ แต่คงเพราะรีบไปหน่อย เรือจึงคว่ำ ฟิล์มตกน้ำ งมหาอย่างไรก็ไม่เจอ สุดท้ายเขาต้องรีบกลับมาถ่ายทำใหม่ พร้อมรับบทเป็นผู้กำกับเองด้วย ใช้เวลา 20 กว่าวันจึงเสร็จเรียบร้อย และรีบเอาไปฉายต่อทันทีเลย
นับแต่นั้นมา เขาก็กลายเป็นตากล้องมือดีที่ใครหลายคนต้องการร่วมงาน โดยระหว่างนั้นก็พยายามศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ จากต่างประเทศ ทั้งจีน ฝรั่งเศส อิตาลี และสหรัฐอเมริกา จนกลายเป็นเบอร์ต้นๆ ของวงการ ยืนยันจากการคว้ารางวัลตุ๊กตาทอง จากภาพยนตร์เรื่อง แสงสูรย์ มาครอบครองได้ เมื่อ พ.ศ. 2505
ต่อมาอาหรั่งรวมตัวกับเพื่อนสนิท ทั้งนักแสดงและผู้กำกับ อย่าง
มิตร ชัยบัญชา,
วิน วันชัย,
อนุชา รัตนมาลย์ และ
ทานทัต วิภาตะโยธิน เปิดบริษัททำหนังชื่อ วชิรนทร์ภาพยนตร์ ส่วนใหญ่ทำหนังบู๊เป็นหลัก โดยเขารับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสร้าง มีผลงานสำคัญอย่าง
อินทรีแดง ซึ่งได้คู่ขวัญ มิตร-เพชรา มาแสดงนำ
ทว่าท่ามกลางเส้นทางที่ดูสดใส แต่เขากลับรู้สึกเบื่อหน่ายวงการหนังไทย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัญหาทางธุรกิจ หนังดังแต่ไม่ค่อยได้เงิน อีกส่วนเป็นเพราะดารามีจำกัด หนังจะขายได้ก็ต้องอาศัยนักแสดงดังๆ เท่านั้น เพราะฉะนั้น การทำงานจึงต้องหมุนไปตามคิวของนักแสดง โอกาสที่จะสร้างผลงานได้ตามใจจึงมีน้อยมาก
“บางครั้งเราต้องมีการขอคิวเขา ได้สักสิบนาทีผมก็เอา จัดทุกอย่างไว้พร้อมแล้ว เขาแค่วิ่งลงจากรถมาถ่าย เสร็จแล้วก็กลับได้ ซึ่งผมเห็นว่า ถ้าเราทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ คนสร้างจะไม่มีโอกาสได้แสดงความสามารถเลย”
จังหวะนั้นเองที่มีข้อเสนอซึ่งเปลี่ยนชีวิตของชายผู้นี้ตลอดกาล เมื่อบริษัทกรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ของ
เรวดี เทียนประภาส เจ้าของนิตยสาร สตรีสาร ได้รับสัมปทานสถานีโทรทัศน์แห่งใหม่จากกองทัพบก แล้วเผอิญว่าหนึ่งในผู้บุกเบิกสถานี คือ
ถาวร สุวรรณ นักเขียนและนักหนังสือพิมพ์คนดังซึ่งคุ้นเคยกับอาหรั่งมานาน จึงชักชวนให้เขามาร่วมงานที่ช่อง 7 สีด้วยกัน ไพรัชเห็นว่าเป็นโอกาสดีจึงตอบตกลง
และนั่นเองคือจุดเริ่มต้นของค่ายละครสำคัญที่อยู่คู่วงการโทรทัศน์มานาน ตั้งแต่ พ.ศ. 2511 จนถึงปัจจุบัน
เปิดโลกหนังจักร์ๆวงศ์ๆ
เส้นทางบนโลกจอแก้วของอาหรั่งเริ่มต้นด้วย ‘ปลาบู่ทอง’ ตามคำแนะนำของถาวร
ครั้งนั้นเขาเปิดบริษัทใหม่ชื่อ สยามฟิล์ม เนื่องจากแต่เดิมยังไม่มีวิดีโอ ต้องถ่ายทำด้วยฟิล์มขนาด 16 มม. และใช้วิธีพากย์เสียงนักแสดงทับลงไป คนยุคก่อนจึงเรียกรายการประเภทนี้ว่า หนังทีวี
อาหรั่งเล่าถึงสาเหตุที่หยิบเรื่องพื้นบ้านมานำเสนอ เพราะชอบอ่านพวกโคลงกลอนตั้งแต่เด็ก ซึ่งอาจเป็นอิทธิพลมาจากคุณแม่ที่เคยเป็นนักร้องมาก่อน และส่วนตัวแล้วก็ชอบดูลิเกลำตัดมาก บางเรื่องดูติดต่อกัน 20 – 30 วัน ไม่มีเบื่อเลย แถมยุคนั้นยังไม่มีใครทำสักเท่าไหร่ ไม่ต้องลงทุนสูง โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับหนังบู๊ที่เคยทำ
เขาตัดสินใจวางเดิมพันด้วยการนำบ้านไปจำนอง ได้เงินมาหมุน 70,000 บาท โดยไม่มีผู้สนับสนุนสักราย อาหรั่งเคยอธิบายเรื่องนี้เมื่อสิบกว่าปีก่อนพร้อมเสียงหัวเราะว่า เป็นเพราะตัวนางร้ายใส่เสื้อสีแดง ส่วนนางเอกสวมชุดสีฟ้า พอไปขอสปอนเซอร์แบรนด์หนึ่งที่ใช้สีแดงเป็นสัญลักษณ์ ก็เลยไม่ได้รับอนุมัติ
แถมการทำงานก็ทุลักทุเลมาก อย่างวันแรกที่ไปบวงสรวงแถวมีนบุรี ปรากฏว่ามีลูกวัววิ่งเข้ามาแล้วถูกรถชน จนกำนันจะเอาเรื่อง หรือพอถ่ายเสร็จ ล้างฟิล์มออกมาแล้วเสีย บางทีก็ฝนตกถ่ายทำไม่ได้ ต้องค่อยๆ แก้สถานการณ์กันไป
ตอนนั้นเขาต้องถ่ายเอง กำกับเอง ทำงานสารพัดอย่าง โดยวางงบประมาณไว้ตอนละหมื่นกว่าบาท ตั้งใจว่าจะทำสัก 5 ตอน หากสปอนเซอร์ยังไม่เข้าก็คงต้องเลิก แต่ด้วยประสบการณ์สมัยเดินสายหนังเร่ จึงเข้าใจว่าผู้ชมต้องการอะไร ปลาบู่ทอง จึงฮิตติดลมบน มีผู้สนับสนุนหลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของผลงานหนังพื้นบ้านเรื่องถัดๆ มา ทั้ง ยอพระกลิ่น, ลักษณวงศ์, พิกุลทอง, นางสิบสอง, พระทิณวงศ์ และ อุทัยเทวี รวมทั้งมีการเปลี่ยนชื่อบริษัทจากสยามฟิล์ม เป็นดาราฟิล์ม เมื่อ พ.ศ. 2513
หากแต่เรื่องที่ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญคือ
ขุนแผนผจญภัย ซึ่งได้รับประทานบทจาก
เสด็จพระองค์ชายเล็ก-พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ เจ้าของละโว้ฟิล์ม เนื่องจากตอนแรกทรงตั้งใจให้
ท่านมุ้ย-หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล พระโอรสนำไปสร้าง แต่ท่านมุ้ยไม่ยอมทำ
“ท่านบอกว่านายหรั่งเรื่องนี้สนุก คือตอนนั้นท่านกำลังโกรธท่านมุ้ย เพราะพูดอะไรก็ไม่ค่อยเชื่อ คนละหัว ท่านก็บอกว่า งั้นก็เอาเรื่องของฉันนี่แหละไปทำ ตอนที่ผมตกลงจะทำ หม่อม
(หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา) บอกผมว่า อย่าไปเชื่อเสด็จนะ แค่แปดตอนก็เลิกทำแล้ว ผมก็ถามว่าจะเป็นอย่างนั้นจริงหรือ หม่อมก็บอกคอยดูสิ ปรากฏว่าแปดตอนเลิกจริงๆ จากนั้นเราก็มาเขียนต่อเอง แต่ใช้เค้าโครงเรื่องเดิม”
ขุนแผนผจญภัย ออกอากาศตอนหัวค่ำ เล่าเรื่องของรักสามเส้าของขุนช้าง ขุนแผน และนางพิม โดยมีโหงพราย ผีสาวซึ่งตามหึงหวงพระเอก กับกุมารทอง คอยสร้างสีสัน หนังทีวีชุดนี้โด่งดังมาก โดยเฉพาะเพลงประกอบ “..เรื่องเก่านมนานปี เราท่านรู้ดี เรื่องขุนช้างขุนแผน..” ก็ติดหูและร้องกันได้เกือบทุกบ้าน แถมยังฉายต่อเนื่องกัน 5 – 6 ปี ออกอากาศมากกว่า 500 ตอน จนกุมารทองโตแล้ว และต้องเปลี่ยนโหงพรายไปหลายหน เนื่องจากกุมารทองตัวโตกว่านางพราย
นอกจากนี้ เสด็จพระองค์ชายเล็กยังประทานหนังสือนิทานจากโรงพิมพ์วัดเกาะ ซึ่งทรงรวบรวมเก็บไว้ในห้องโหร กว่า 300 เรื่อง อาทิ มาลัยทอง, โกมินทร์, แก้วหน้าม้า, โสนน้อยเรือนงาม, พระสุธน-มโนห์รา, อุทัยเทวี และ พิกุลทอง ตลอดจนอนุญาตให้เขากับ
ผุสดี ยมาภัย ภรรยาผู้ล่วงลับ ขึ้นไปคัดบทประพันธ์ในห้องบรรทมได้ ด้วยเห็นว่าทั้งคู่มีเจตนารมณ์ที่จะอนุรักษ์และถ่ายทอดภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมของไทยไปสู่วงกว้าง
อาหรั่งบอกเสมอว่า เขาอยากจะผลักดันหนังทีวีฝีมือไทยให้เข้าไปอยู่ในใจของผู้ชม เนื่องจากสมัยก่อนมีหนังต่างประเทศเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยเยอะมาก ทั้งหนังญี่ปุ่น หนังจีน หนังอินเดีย บางทีก็นำเสนอเรื่องอภินิหารหรืออิทธิฤทธิ์ต่างๆ เขาจึงเชื่อสุดใจว่า เทพนิยายแบบไทยๆ ก็น่าจะครองใจผู้ชมได้ ซึ่งสุดท้ายอาหรั่งก็พิสูจน์ให้เห็นได้หลายต่อหลายครั้งว่า การนำเสนอเรื่องพื้นบ้านหรือของโบราณก็ไม่ใช่สิ่งล้าสมัยเสมอไป
หากใครจำได้ในยุคที่การ์ตูนญี่ปุ่นครองเมือง อาหรั่งเชื่อว่า เด็กไทยก็ต้องดูหน้าเด็กไทยด้วยกันเอง จึงเข็นละครที่มีตัวเอกเป็นเด็กอย่าง ขวานฟ้าหน้าดำ, สิงหไกรภพ และ สี่ยอดกุมาร ออกฉาย ซึ่งในที่สุดฮีโร่เด็กก็ไม่ให้ทำผิดหวัง กลายเป็นหนังสุดฮิตขวัญใจผู้ชมทุกเพศทุกวัย และถูกสร้างใหม่อย่างสม่ำเสมอจนถึงปัจจุบัน
“เราพยายามทำให้ทันยุคทันสมัย และปรับเปลี่ยนให้เข้ากับผู้ชม เพราะเราเป็นเนื้อเรื่องสมัยเก่า จึงต้องทำให้ดูสมจริง เป็นธรรมชาติ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องสอดแทรกอะไรที่เป็นไทยๆ ลงไปด้วย”
ละครพื้นบ้านของดาราฟิล์มจึงผสมผสานทั้งคติความเชื่อในการดำเนินชีวิต บทกลอน คำพากย์ การขับเสภา ซึ่งเป็นศิลปะดั้งเดิมของเมืองไทย และลูกเล่นใหม่ๆ ที่น่าสนใจ อาทิ ฉากเหาะเหินเดินอากาศ ฉากแสดงอิทธิฤทธิ์ หรือแม้แต่ตัวละครที่ดึงดูดใจผู้ชม อาทิ น้าผี ซึ่งเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ดาราฟิล์มสร้างขึ้นมาเมื่อ 30 – 40 ปีก่อน
ย้อนเส้นทางค่ายละครในตำนาน ดาราวิดีโอ-ดีด้า-สามเศียร
แม้ผู้ชมส่วนใหญ่จะทราบดีว่า สุดท้ายเรื่องราวจะเป็นอย่างไร หากแต่เสียงร่ำไห้และคำสัญญาที่อังศุมาลินมอบให้โกโบริว่าจะรักตลอดไป ขณะโอบกอดร่างไร้วิญญาณ ก็ทำเอาหลายคนกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่
ด้วยความสมจริงและเข้าถึงบทบาทของตัวละครนี่เอง ส่งผลให้ คู่กรรม ฝังแน่นในความทรงจำของใครหลายคน ไม่ต่างจากละครอีกหลายเรื่องที่ ‘ดาราวิดีโอ’ ค่ายละครสุดคลาสสิกแห่งช่อง 7 สี รังสรรค์ขึ้น ตลอดระยะเวลากว่าครึ่งศตวรรษ ทั้ง ดาวพระศุกร์, บ้านทรายทอง, สายโลหิต, มนต์รักลูกทุ่ง, ทัดดาวบุษยา, ทวิภพ, นางทาส, น้ำใสใจจริง, คือหัตถาครองพิภพ หรือ เบญจา คีตา ความรัก รวมไปถึงละครจักรๆ วงศ์ๆ อย่าง สี่ยอดกุมาร, พิกุลทอง, ปลาบู่ทอง สิงหไกรภพ ขวานฟ้าหน้าดำ และ สังข์ทอง ซึ่งแต่ละเรื่องล้วนกวาดเรตติ้งถล่มทลาย จนหลายคนยกให้เป็นเบอร์ 1 ของวงการ
เพื่อไขเคล็ดลับว่าอะไรที่ทำให้ค่ายละครแห่งนี้สามารถกุมหัวใจของแฟนละครมาได้ถึงปัจจุบัน ยอดมนุษย์..คนธรรมดา จึงชักชวนผู้ก่อตั้ง อาหรั่ง-ไพรัช สังวริบุตร และทายาททั้งสองคน หลุยส์-สยาม และ ลอร์ด-สยม มาร่วมพูดคุยถึงจุดเริ่มต้น เบื้องหลังการทำงาน รวมถึงก้าวต่อไปของอาณาจักรละครของครอบครัวสังวริบุตร ทั้ง ดาราวิดีโอ, ดีด้า วิดีโอ โปรดักชั่น และสามเศียร ในวันที่วงการโทรทัศน์ไทยไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
จากจอเงินสู่จอแก้ว
เส้นทางชีวิตของอาหรั่ง ต้องเรียกว่าเติบโตมาพร้อมโลกมายาอย่างแท้จริง
เพราะตั้งแต่จำความได้ก็คลุกคลีกับสิ่งเหล่านี้มาตลอด จำรัส สังวริบุตร คุณแม่ของเขาก็เป็นนักร้องส่งในวงเครื่องสายของสถานีวิทยุศาลาแดง กรมไปรษณีย์โทรเลข ส่วนคุณพ่อ คุ้ม สังวริบุตร แม้จะเป็นทนายความ แต่ก็ชอบเล่นเครื่องดนตรี ต่อมาพอย้ายไปอยู่อ่างทอง ก็ไปเปิดโรงหนังชื่อเฉลิมถิ่น ก่อนจะร่วมกับ สด ศรีบูรพารมย์ อาของ ฉลอง ภักดีวิจิตร เปิดกรุงเทพภาพยนตร์ ทำหนังเรื่อง พระร่วง
“ก่อนหน้านี้หนังไทยทำง่ายนะ จำได้ว่ากองถ่ายของคุณพ่อใหญ่มาก เกณฑ์คนมาเยอะ ชงกาแฟทีหลายๆ โอ่ง ตอนนั้นก็มีคนทักว่า อย่าทำเลยเรื่องพระร่วง พระลอ อะไรเหล่านี้คนเขาห้าม แต่คุณพ่อก็บอกว่าจะทำพระร่วงก่อน แล้วจะทำพระลอตาม แต่ก็ไม่ได้ทำหรอก เจ๊งเสียก่อน ช่วงนั้นผมเด็กมาก ก็ได้แต่ดูเขาทำ ไม่ได้ไปช่วยอะไรหรอกนะ”
พอถึงยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 คุณพ่อของเขาก็หันมาทำกองหนังเร่ ยกทีมไปฉายหนังตามเมืองต่างๆ เมืองละ 3 – 5 วัน อาหรั่งเองก็ติดสอยห้อยตาม ไปช่วยทำนู่นทำนี่ ไปพากย์หนังบ้าง ส่วนใหญ่เป็นบทตัวตลก แม้จะเป็นหน้าที่เล็กๆ แต่ก็ทำให้เขาได้เรียนรู้ว่า เรื่องราวหรือมุกแบบไหนถึงจะได้ใจผู้ชม และค่อยๆ รู้สึกหลงรักวงการภาพยนตร์โดยไม่รู้ตัว
กระทั่ง พ.ศ. 2493 เขาก็เข้ามาพัวพันในโลกจอเงินเต็มตัว ด้วยการเป็นตากล้องจำเป็น หลังคุณพ่อกลับมาทำหนังเรื่อง รอยไถ ซึ่งมี คำรณ สัมบุญณานนท์ ศิลปินลูกทุ่งคนดังแสดงนำ
“ตอนแรกใครไม่รู้เป็นตากล้อง แต่ถ่ายแล้วมันเสีย ถ่ายไปสักสิบกว่าม้วน ผมสงสารคุณพ่อ เลยถามท่านว่าให้ผมทำไหม คุณพ่อก็ถามว่าทำได้หรือ สุดท้ายก็ให้ผมลองดู สมัยนั้นมันมีกล้องที่พวกนักหนังสือพิมพ์ใช้กันเยอะ ชื่อว่ากล้องมามียา ซึ่งญี่ปุ่นส่งเข้ามา ผมถ่ายรูปไปสามม้วนทั้งที่ไม่เคยแตะมาก่อน แล้วเอาไปนอนวิจัยสามสี่คืนว่า อันนี้มันเป็นอย่างนี้ พอทำได้ผมถึงได้ลงมือถ่ายทำ ถ่ายออกมาแล้ว ปรากฏว่ามันดี ผมก็เลยถ่ายเอง เป็นคนจัดแสง เปิดหน้ากล้อง ซึ่งสมัยนั้นลำบาก เครื่องมือเครื่องไม้ไม่ทันสมัย เปิดแสงผิดนิดหน่อยก็ไม่ได้ พัง ต้องใช้ความละเอียดอ่อนมาก”
รอยไถ ประสบความสำเร็จอย่างสูง เข้าโรงที่ไหนคนก็แห่ไปชมกันเต็มไปหมด แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าคือ หนังเรื่องนี้ยังให้วิชากับเขามากมาย ครั้งหนึ่งอาหรั่งเคยเล่าว่า วันหนึ่งคำรณจะเอาหนังไปฉาย จึงขับเรือนำม้วนฟิล์มไปส่งมอบให้โรงภาพยนตร์ แต่คงเพราะรีบไปหน่อย เรือจึงคว่ำ ฟิล์มตกน้ำ งมหาอย่างไรก็ไม่เจอ สุดท้ายเขาต้องรีบกลับมาถ่ายทำใหม่ พร้อมรับบทเป็นผู้กำกับเองด้วย ใช้เวลา 20 กว่าวันจึงเสร็จเรียบร้อย และรีบเอาไปฉายต่อทันทีเลย
นับแต่นั้นมา เขาก็กลายเป็นตากล้องมือดีที่ใครหลายคนต้องการร่วมงาน โดยระหว่างนั้นก็พยายามศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ จากต่างประเทศ ทั้งจีน ฝรั่งเศส อิตาลี และสหรัฐอเมริกา จนกลายเป็นเบอร์ต้นๆ ของวงการ ยืนยันจากการคว้ารางวัลตุ๊กตาทอง จากภาพยนตร์เรื่อง แสงสูรย์ มาครอบครองได้ เมื่อ พ.ศ. 2505
ต่อมาอาหรั่งรวมตัวกับเพื่อนสนิท ทั้งนักแสดงและผู้กำกับ อย่าง มิตร ชัยบัญชา, วิน วันชัย, อนุชา รัตนมาลย์ และ ทานทัต วิภาตะโยธิน เปิดบริษัททำหนังชื่อ วชิรนทร์ภาพยนตร์ ส่วนใหญ่ทำหนังบู๊เป็นหลัก โดยเขารับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสร้าง มีผลงานสำคัญอย่าง อินทรีแดง ซึ่งได้คู่ขวัญ มิตร-เพชรา มาแสดงนำ
ทว่าท่ามกลางเส้นทางที่ดูสดใส แต่เขากลับรู้สึกเบื่อหน่ายวงการหนังไทย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัญหาทางธุรกิจ หนังดังแต่ไม่ค่อยได้เงิน อีกส่วนเป็นเพราะดารามีจำกัด หนังจะขายได้ก็ต้องอาศัยนักแสดงดังๆ เท่านั้น เพราะฉะนั้น การทำงานจึงต้องหมุนไปตามคิวของนักแสดง โอกาสที่จะสร้างผลงานได้ตามใจจึงมีน้อยมาก
“บางครั้งเราต้องมีการขอคิวเขา ได้สักสิบนาทีผมก็เอา จัดทุกอย่างไว้พร้อมแล้ว เขาแค่วิ่งลงจากรถมาถ่าย เสร็จแล้วก็กลับได้ ซึ่งผมเห็นว่า ถ้าเราทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ คนสร้างจะไม่มีโอกาสได้แสดงความสามารถเลย”
จังหวะนั้นเองที่มีข้อเสนอซึ่งเปลี่ยนชีวิตของชายผู้นี้ตลอดกาล เมื่อบริษัทกรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ของเรวดี เทียนประภาส เจ้าของนิตยสาร สตรีสาร ได้รับสัมปทานสถานีโทรทัศน์แห่งใหม่จากกองทัพบก แล้วเผอิญว่าหนึ่งในผู้บุกเบิกสถานี คือ ถาวร สุวรรณ นักเขียนและนักหนังสือพิมพ์คนดังซึ่งคุ้นเคยกับอาหรั่งมานาน จึงชักชวนให้เขามาร่วมงานที่ช่อง 7 สีด้วยกัน ไพรัชเห็นว่าเป็นโอกาสดีจึงตอบตกลง
และนั่นเองคือจุดเริ่มต้นของค่ายละครสำคัญที่อยู่คู่วงการโทรทัศน์มานาน ตั้งแต่ พ.ศ. 2511 จนถึงปัจจุบัน
เปิดโลกหนังจักร์ๆวงศ์ๆ
เส้นทางบนโลกจอแก้วของอาหรั่งเริ่มต้นด้วย ‘ปลาบู่ทอง’ ตามคำแนะนำของถาวร
ครั้งนั้นเขาเปิดบริษัทใหม่ชื่อ สยามฟิล์ม เนื่องจากแต่เดิมยังไม่มีวิดีโอ ต้องถ่ายทำด้วยฟิล์มขนาด 16 มม. และใช้วิธีพากย์เสียงนักแสดงทับลงไป คนยุคก่อนจึงเรียกรายการประเภทนี้ว่า หนังทีวี
อาหรั่งเล่าถึงสาเหตุที่หยิบเรื่องพื้นบ้านมานำเสนอ เพราะชอบอ่านพวกโคลงกลอนตั้งแต่เด็ก ซึ่งอาจเป็นอิทธิพลมาจากคุณแม่ที่เคยเป็นนักร้องมาก่อน และส่วนตัวแล้วก็ชอบดูลิเกลำตัดมาก บางเรื่องดูติดต่อกัน 20 – 30 วัน ไม่มีเบื่อเลย แถมยุคนั้นยังไม่มีใครทำสักเท่าไหร่ ไม่ต้องลงทุนสูง โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับหนังบู๊ที่เคยทำ
เขาตัดสินใจวางเดิมพันด้วยการนำบ้านไปจำนอง ได้เงินมาหมุน 70,000 บาท โดยไม่มีผู้สนับสนุนสักราย อาหรั่งเคยอธิบายเรื่องนี้เมื่อสิบกว่าปีก่อนพร้อมเสียงหัวเราะว่า เป็นเพราะตัวนางร้ายใส่เสื้อสีแดง ส่วนนางเอกสวมชุดสีฟ้า พอไปขอสปอนเซอร์แบรนด์หนึ่งที่ใช้สีแดงเป็นสัญลักษณ์ ก็เลยไม่ได้รับอนุมัติ
แถมการทำงานก็ทุลักทุเลมาก อย่างวันแรกที่ไปบวงสรวงแถวมีนบุรี ปรากฏว่ามีลูกวัววิ่งเข้ามาแล้วถูกรถชน จนกำนันจะเอาเรื่อง หรือพอถ่ายเสร็จ ล้างฟิล์มออกมาแล้วเสีย บางทีก็ฝนตกถ่ายทำไม่ได้ ต้องค่อยๆ แก้สถานการณ์กันไป
ตอนนั้นเขาต้องถ่ายเอง กำกับเอง ทำงานสารพัดอย่าง โดยวางงบประมาณไว้ตอนละหมื่นกว่าบาท ตั้งใจว่าจะทำสัก 5 ตอน หากสปอนเซอร์ยังไม่เข้าก็คงต้องเลิก แต่ด้วยประสบการณ์สมัยเดินสายหนังเร่ จึงเข้าใจว่าผู้ชมต้องการอะไร ปลาบู่ทอง จึงฮิตติดลมบน มีผู้สนับสนุนหลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของผลงานหนังพื้นบ้านเรื่องถัดๆ มา ทั้ง ยอพระกลิ่น, ลักษณวงศ์, พิกุลทอง, นางสิบสอง, พระทิณวงศ์ และ อุทัยเทวี รวมทั้งมีการเปลี่ยนชื่อบริษัทจากสยามฟิล์ม เป็นดาราฟิล์ม เมื่อ พ.ศ. 2513
หากแต่เรื่องที่ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญคือ ขุนแผนผจญภัย ซึ่งได้รับประทานบทจาก เสด็จพระองค์ชายเล็ก-พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ เจ้าของละโว้ฟิล์ม เนื่องจากตอนแรกทรงตั้งใจให้ ท่านมุ้ย-หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล พระโอรสนำไปสร้าง แต่ท่านมุ้ยไม่ยอมทำ
“ท่านบอกว่านายหรั่งเรื่องนี้สนุก คือตอนนั้นท่านกำลังโกรธท่านมุ้ย เพราะพูดอะไรก็ไม่ค่อยเชื่อ คนละหัว ท่านก็บอกว่า งั้นก็เอาเรื่องของฉันนี่แหละไปทำ ตอนที่ผมตกลงจะทำ หม่อม (หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา) บอกผมว่า อย่าไปเชื่อเสด็จนะ แค่แปดตอนก็เลิกทำแล้ว ผมก็ถามว่าจะเป็นอย่างนั้นจริงหรือ หม่อมก็บอกคอยดูสิ ปรากฏว่าแปดตอนเลิกจริงๆ จากนั้นเราก็มาเขียนต่อเอง แต่ใช้เค้าโครงเรื่องเดิม”
ขุนแผนผจญภัย ออกอากาศตอนหัวค่ำ เล่าเรื่องของรักสามเส้าของขุนช้าง ขุนแผน และนางพิม โดยมีโหงพราย ผีสาวซึ่งตามหึงหวงพระเอก กับกุมารทอง คอยสร้างสีสัน หนังทีวีชุดนี้โด่งดังมาก โดยเฉพาะเพลงประกอบ “..เรื่องเก่านมนานปี เราท่านรู้ดี เรื่องขุนช้างขุนแผน..” ก็ติดหูและร้องกันได้เกือบทุกบ้าน แถมยังฉายต่อเนื่องกัน 5 – 6 ปี ออกอากาศมากกว่า 500 ตอน จนกุมารทองโตแล้ว และต้องเปลี่ยนโหงพรายไปหลายหน เนื่องจากกุมารทองตัวโตกว่านางพราย
นอกจากนี้ เสด็จพระองค์ชายเล็กยังประทานหนังสือนิทานจากโรงพิมพ์วัดเกาะ ซึ่งทรงรวบรวมเก็บไว้ในห้องโหร กว่า 300 เรื่อง อาทิ มาลัยทอง, โกมินทร์, แก้วหน้าม้า, โสนน้อยเรือนงาม, พระสุธน-มโนห์รา, อุทัยเทวี และ พิกุลทอง ตลอดจนอนุญาตให้เขากับ ผุสดี ยมาภัย ภรรยาผู้ล่วงลับ ขึ้นไปคัดบทประพันธ์ในห้องบรรทมได้ ด้วยเห็นว่าทั้งคู่มีเจตนารมณ์ที่จะอนุรักษ์และถ่ายทอดภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมของไทยไปสู่วงกว้าง
อาหรั่งบอกเสมอว่า เขาอยากจะผลักดันหนังทีวีฝีมือไทยให้เข้าไปอยู่ในใจของผู้ชม เนื่องจากสมัยก่อนมีหนังต่างประเทศเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยเยอะมาก ทั้งหนังญี่ปุ่น หนังจีน หนังอินเดีย บางทีก็นำเสนอเรื่องอภินิหารหรืออิทธิฤทธิ์ต่างๆ เขาจึงเชื่อสุดใจว่า เทพนิยายแบบไทยๆ ก็น่าจะครองใจผู้ชมได้ ซึ่งสุดท้ายอาหรั่งก็พิสูจน์ให้เห็นได้หลายต่อหลายครั้งว่า การนำเสนอเรื่องพื้นบ้านหรือของโบราณก็ไม่ใช่สิ่งล้าสมัยเสมอไป
หากใครจำได้ในยุคที่การ์ตูนญี่ปุ่นครองเมือง อาหรั่งเชื่อว่า เด็กไทยก็ต้องดูหน้าเด็กไทยด้วยกันเอง จึงเข็นละครที่มีตัวเอกเป็นเด็กอย่าง ขวานฟ้าหน้าดำ, สิงหไกรภพ และ สี่ยอดกุมาร ออกฉาย ซึ่งในที่สุดฮีโร่เด็กก็ไม่ให้ทำผิดหวัง กลายเป็นหนังสุดฮิตขวัญใจผู้ชมทุกเพศทุกวัย และถูกสร้างใหม่อย่างสม่ำเสมอจนถึงปัจจุบัน
“เราพยายามทำให้ทันยุคทันสมัย และปรับเปลี่ยนให้เข้ากับผู้ชม เพราะเราเป็นเนื้อเรื่องสมัยเก่า จึงต้องทำให้ดูสมจริง เป็นธรรมชาติ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องสอดแทรกอะไรที่เป็นไทยๆ ลงไปด้วย”
ละครพื้นบ้านของดาราฟิล์มจึงผสมผสานทั้งคติความเชื่อในการดำเนินชีวิต บทกลอน คำพากย์ การขับเสภา ซึ่งเป็นศิลปะดั้งเดิมของเมืองไทย และลูกเล่นใหม่ๆ ที่น่าสนใจ อาทิ ฉากเหาะเหินเดินอากาศ ฉากแสดงอิทธิฤทธิ์ หรือแม้แต่ตัวละครที่ดึงดูดใจผู้ชม อาทิ น้าผี ซึ่งเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ดาราฟิล์มสร้างขึ้นมาเมื่อ 30 – 40 ปีก่อน