83 ปี ไพรัช สังวริบุตร
ปูชนียบุคคลของวงการละครและภาพยนตร์ไทย

“ไพรัช สังวริบุตร” เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2557 ที่ผ่านมา ฉลองอายุ 83 ย่าง 84 ปีของศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง พ.ศ. 2547 เขาคือ หัวเรือใหญ่ของบริษัทสามเศียร, ดาราวิดีโอ, ดีด้าฯ และจ๊ะทิงจา ผู้เป็นปูชนียบุคคลคนสำคัญในวงการละครโทรทัศน์ ซึ่งผลิตงานให้สถานีโทรทัศน์สีช่อง 7 มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510
ตลอด 66 ปีแห่งการเรียนรู้คือประสบการณ์ที่ประดุจดั่งตำราเล่มโตที่มีค่ายิ่งกว่าตำราทางวิชาการใดๆ
คติการทำงานที่ไพรัช สังวริบุตรยึดถือในการทำงานคือ “งานที่ดีต้องมาจากคน คนจะดีต้องมาจากการบริหาร”
แม้วันนี้…ไพรัช สังวริบุตรจะดำรงตำแหน่ง “ประธานกรรมการกลุ่มบริษัทดาราวิดีโอ” และการดำเนินงานทั้งหลายในอาณาจักรแห่งนี้จะอยู่ในมือของลูกชายทั้ง 2 คน อย่าง “สยาม-สยม สังวริบุตร”
วัยเด็กของ “หรั่ง” ไพรัช
ไพรัช สังวริบุตร หรือที่คนในวงการเรียกกันอย่างคุ้นเคยว่า “อาหรั่ง-พ่อหรั่ง” เป็นลูกของนายคุ้ม และนางจำรัส สังวริบุตร นอกจากพ่อจะมีอาชีพเป็นทนายความแล้ว ยังมีธุรกิจอื่นๆ อีก เช่น โรงงานอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ เจ้าของหนังเร่โดยทางเรือก่อนจะมาทำธุรกิจด้านภาพยนตร์ในนาม “บริษัทกรุงเทพภาพยนตร์” โดยทำภาพยนตร์เรื่องแรกคือ รอยไถ ของ ไม้เมืองเดิม ส่วนนางจำรัส ผู้เป็นแม่นั้นมีอาชีพขับร้องเพลงไทยเดิม “อาหรั่ง” ไพรัช มีพี่น้องร่วมพ่อแม่เดียวกันถึง 6 คน โดยเขาเป็นลูกในลำดับที่ 3 พี่ชายคนโตชื่อ คารม (พ่อของไพโรจน์ สังวริบุตรและจิรภา ปัญจศิลป์ เจ้าของคณะละครวิทยุชื่อดังมาก่อน) พี่สาวคนรองชื่อ คมคาย ส่วนน้องๆ ในลำดับ 4 -5-6 เรียงกันดังนี้ คือ ประชุม, ภุมรี (สังวริบุตร) กมลดิลก และดารา (อดีตดาราหนังจักรวงศ์)
อาหรั่ง สมรสกับผุสดี ยมาภัย (เสียชีวิต) มีลูกชายด้วยกัน 2 คนคือ “หลุยส์-สยาม” และ “ลอร์ด-สยม” สังวริบุตร
ชีวิตการศึกษาของอาหรั่ง เริ่มต้นชั้นประถมต้นที่โรงเรียนดำเนินศึกษา และมาจบประถมปลายที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ ในช่วงเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ 5ที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลมีคำสั่งประกาศให้นักเรียนที่เรียนในปีนั้นจบการศึกษายกชั้นทั่วประเทศ โดยไม่ต้องสอบประจำภาคปีการศึกษา หลังสงครามยุติ ไพรัช สังวริบุตรตัดสินใจไม่ศึกษาต่อ โดยเริ่มทำงานกับบริษัทของพ่อคุ้ม เริ่มงานครั้งแรกในตำแหน่ง “ฝ่ายงานสร้าง” ของโรงงานแบตเตอรี่ซึ่งตั้งอยู่ที่บางบัวทอง ปากคลองสามวัง จ. นนทบุรี หลังเลิกงานและในช่วงวันหยุดจะผันตัวเองมาคลุกคลีช่วยทำงานในบริษัทกรุงเทพภาพยนตร์ ซึ่งเป็นธุรกิจของพ่ออีกอย่างหนึ่ง ทำหน้าที่จิปาถะ ตั้งแต่ช่วยงานช่างภาพ และพากย์หนัง จนต่อมาพ่อให้มารับหน้าที่เป็น “ช่างภาพภาพยนตร์”
สู่วงการภาพยนตร์และโทรทัศน์
ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ไพรัช สังวริบุตรถ่ายภาพเองคือ รอยไถ ซึ่งเป็นภาพยนตร์ในระบบ 16 มม. ความชำนาญส่วนหนึ่งมาจากการแนะนำของ สดศรี บูรพารมย์ (อาของฉลอง ภักดีวิจิตร), เนรมิต (อำนวย กลัสนิมิ), วิจิตร คุณาวุฒิ
ปี พ.ศ. 2505 ไพรัช สังวริบุตร เข้ารับพระราชทานรางวัลตุ๊กตาทองจากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รางวัลผู้ถ่ายภาพยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง “แสงสูรย์”
ต่อมาได้ร่วมทุนกับ “มิตร ชัยบัญชา” พระเอกยอดนิยมสมัยนั้น ตั้งบริษัทภาพยนตร์ชื่อ “วชิรณ” โดยในระยะแรกถ่ายทำหนังด้วยฟิล์มขาว-ดำ ต่อมาเปลี่ยนเป็น “สี” ภาพยนตร์ของบริษัทนี้มีชื่อเสียงอยู่หลายเรื่อง เช่น อินทรีแดง, ทับสมิงคลา, วิญญาณรักของแม่นาค, วิญญาณคะนอง เป็นต้น
“ผมเคยร่วมทุนกันอยู่ ทำหนังเรื่อง “อินทรีแดง” ทั้งๆที่เราใกล้ชิดสนิทสนม เราก็ไม่ได้คิว ไม่ได้คิวมากมายอะไร ผมก็มาคิดดูว่า การทำภาคบันเทิงมันต้องประกอบด้วยความสามารถของดารากับพวกผู้สร้างต่างๆ ประกอบกับเมื่อเราเห็นว่าคิวน้อย ผมก็เลยคิดอำลาวงการภาพยนตร์เพื่อเข้าสู่วงการทีวี”
ผู้ชักนำไพรัช สังวริบุตรเข้าสู่วงการโทรทัศน์เมื่อปี พ.ศ. 2507 คือ สุวรรณา มุกดาประกร และถาวร สุวรรณ โดยสร้างทีมผลิตภาพยนตร์โทรทัศน์ด้วยการเช่าเวลาจากสถานีฯ ในการแพร่ภาพ
ปลาบู่ทอง ละครเรื่องแรก
พ.ศ. 2510 ไพรัช สังวริบุตรก่อตั้งบริษัท “ดาราฟิล์ม” ด้วยทุน 8 หมื่นบาท ผลิตภาพยนตร์เรื่องแรกคือ “ปลาบู่ทอง” (พัลลภ พรพิษณุ กับ เยาวเรศ นิสากร) การทำละครพื้นบ้านโบราณก็เพื่อมาอุดช่องว่างกับหนังญี่ปุ่นที่ฮิตมากในหมู่เยาวชนในสมัยนั้น
“ถ้าเราเสนอสิ่งของโบราณ ของไทยๆ ออกไปได้สัก 10 เปอร์เซ็นต์ก็น่าจะพอใจแล้ว ผมก็เลยเริ่มเรื่องนิยายชาวบ้าน “ปลาบู่ทอง” ในช่วงนั้นกระแสการส่งของช่อง 7 สียังไม่แรง ก็ต้องต่อสู้กับอุปสรรคเยอะ จนกระทั่งในที่สุดก็ติด ได้สปอนเซอร์มาหมด นี่เป็นความตั้งใจของบริษัทเรา เราจึงทำต่อเนื่องมาเรื่อยๆ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็จะพยายามรักษาตรงนั้นไว้ เพื่อให้เยาวชนได้รู้ว่าเรื่องต่างๆของไทยก็มีสิ่งที่น่าดูเหมือนกัน”
นี่เป็นเหตุผลที่ไพรัช สังวริบุตรยืนพื้นละครประเภทนี้มานานถึง 44 ปีจวบจนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนหนึ่งของละครเหล่านี้นำมาจาก “นิยายวัดเกาะ” …
นิยายวัดเกาะนี้มาจากหนังสือนิยายเล่มเล็กๆ กว่า 300 เรื่อง ที่ถูกนำมาเย็บรวมเป็นเล่มใหญ่ โดยเสด็จพระองค์ชายเล็ก (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ) ส่วนที่เพิ่มเติมคำว่า เทพ จนกลายเป็น เทพนิยายวัดเกาะ นั้น เป็นเพราะผู้แต่งนิยายวัดเกาะแต่ละท่านล้วนแต่ล่วงลับไปเป็นเทพบนสวรรค์หมดแล้ว “อาหรั่ง” จึงเรียกผลงานชั้นครูเหล่านี้ได้ว่าเป็น “เทพนิยาย” เพราะงานเหล่านี้ควรจะได้รับการดูแลไว้ไม่ให้สูญหาย
“เสด็จพระองค์ชายเล็กก่อนที่ท่านจะสิ้น ท่านได้มอบให้ผมไว้ ท่านบอกว่า เราจะได้อนุรักษ์ต่อไป แล้วตอนนี้ผมก็มอบให้กับลูกผมคือ “ลอร์ด-สยม สังวริบุตร” ต่อไป เรามีตรงนี้ เทพนิยายวัดเกาะเป็นนิยายสมัยเดิมจริงๆแล้ว เสด็จพระองค์ชายเล็กท่านเย็บเป็นเล่มไว้ เก็บวางอย่างดีในตู้ในห้องบรรทม ห้องบรรทมของท่านไม่มีใครได้ขึ้นไปได้เลย มีผมขึ้นไปได้เพราะว่ารับใช้ท่านมาตั้งแต่เด็กๆ ท่านก็กรุณายกมาให้”
เมื่อแรกบริษัท “ดาราฟิล์ม” จะหนักทางการสร้างภาพยนตร์โทรทัศน์ประเภทนิทานพื้นบ้านจักรๆ วงศ์ๆ และในระยะต่อมาได้เปลี่ยนจาก “ดาราฟิล์ม” มาเป็น “สยามฟิล์ม” ซึ่งยังเป็นภาพยนตร์โทรทัศน์ที่ใช้เสียงพากย์ และถ่ายทำแบบภาพยนตร์ 16 มม. และเมื่อการถ่ายทำเปลี่ยนจากระบบฟิล์มมาเป็นวิดีโอเทป การแสดงเปลี่ยนจากการบอกบทมาเป็นการท่องบท ก็มีการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งหนึ่งเป็น “ดาราวิดีโอ”
ปัจจุบัน ละครพื้นบ้านดูแลการผลิตโดย “บริษัทสามเศียร” ส่วนที่เป็นแอนิเมชันนั้น ดำเนินการภายใต้บริษัท “จ๊ะทิงจา” ส่วนละครสมัยใหม่นั้น อยู่ภายใต้การผลิตของ “ดาราวิดีโอ และดีด้า”
83 ปี ไพรัช สังวริบุตร ปูชนียบุคคลของวงการละครและภาพยนตร์ไทย
ปูชนียบุคคลของวงการละครและภาพยนตร์ไทย
“ไพรัช สังวริบุตร” เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2557 ที่ผ่านมา ฉลองอายุ 83 ย่าง 84 ปีของศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง พ.ศ. 2547 เขาคือ หัวเรือใหญ่ของบริษัทสามเศียร, ดาราวิดีโอ, ดีด้าฯ และจ๊ะทิงจา ผู้เป็นปูชนียบุคคลคนสำคัญในวงการละครโทรทัศน์ ซึ่งผลิตงานให้สถานีโทรทัศน์สีช่อง 7 มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510
ตลอด 66 ปีแห่งการเรียนรู้คือประสบการณ์ที่ประดุจดั่งตำราเล่มโตที่มีค่ายิ่งกว่าตำราทางวิชาการใดๆ
คติการทำงานที่ไพรัช สังวริบุตรยึดถือในการทำงานคือ “งานที่ดีต้องมาจากคน คนจะดีต้องมาจากการบริหาร”
แม้วันนี้…ไพรัช สังวริบุตรจะดำรงตำแหน่ง “ประธานกรรมการกลุ่มบริษัทดาราวิดีโอ” และการดำเนินงานทั้งหลายในอาณาจักรแห่งนี้จะอยู่ในมือของลูกชายทั้ง 2 คน อย่าง “สยาม-สยม สังวริบุตร”
วัยเด็กของ “หรั่ง” ไพรัช
ไพรัช สังวริบุตร หรือที่คนในวงการเรียกกันอย่างคุ้นเคยว่า “อาหรั่ง-พ่อหรั่ง” เป็นลูกของนายคุ้ม และนางจำรัส สังวริบุตร นอกจากพ่อจะมีอาชีพเป็นทนายความแล้ว ยังมีธุรกิจอื่นๆ อีก เช่น โรงงานอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ เจ้าของหนังเร่โดยทางเรือก่อนจะมาทำธุรกิจด้านภาพยนตร์ในนาม “บริษัทกรุงเทพภาพยนตร์” โดยทำภาพยนตร์เรื่องแรกคือ รอยไถ ของ ไม้เมืองเดิม ส่วนนางจำรัส ผู้เป็นแม่นั้นมีอาชีพขับร้องเพลงไทยเดิม “อาหรั่ง” ไพรัช มีพี่น้องร่วมพ่อแม่เดียวกันถึง 6 คน โดยเขาเป็นลูกในลำดับที่ 3 พี่ชายคนโตชื่อ คารม (พ่อของไพโรจน์ สังวริบุตรและจิรภา ปัญจศิลป์ เจ้าของคณะละครวิทยุชื่อดังมาก่อน) พี่สาวคนรองชื่อ คมคาย ส่วนน้องๆ ในลำดับ 4 -5-6 เรียงกันดังนี้ คือ ประชุม, ภุมรี (สังวริบุตร) กมลดิลก และดารา (อดีตดาราหนังจักรวงศ์)
อาหรั่ง สมรสกับผุสดี ยมาภัย (เสียชีวิต) มีลูกชายด้วยกัน 2 คนคือ “หลุยส์-สยาม” และ “ลอร์ด-สยม” สังวริบุตร
ชีวิตการศึกษาของอาหรั่ง เริ่มต้นชั้นประถมต้นที่โรงเรียนดำเนินศึกษา และมาจบประถมปลายที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ ในช่วงเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ 5ที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลมีคำสั่งประกาศให้นักเรียนที่เรียนในปีนั้นจบการศึกษายกชั้นทั่วประเทศ โดยไม่ต้องสอบประจำภาคปีการศึกษา หลังสงครามยุติ ไพรัช สังวริบุตรตัดสินใจไม่ศึกษาต่อ โดยเริ่มทำงานกับบริษัทของพ่อคุ้ม เริ่มงานครั้งแรกในตำแหน่ง “ฝ่ายงานสร้าง” ของโรงงานแบตเตอรี่ซึ่งตั้งอยู่ที่บางบัวทอง ปากคลองสามวัง จ. นนทบุรี หลังเลิกงานและในช่วงวันหยุดจะผันตัวเองมาคลุกคลีช่วยทำงานในบริษัทกรุงเทพภาพยนตร์ ซึ่งเป็นธุรกิจของพ่ออีกอย่างหนึ่ง ทำหน้าที่จิปาถะ ตั้งแต่ช่วยงานช่างภาพ และพากย์หนัง จนต่อมาพ่อให้มารับหน้าที่เป็น “ช่างภาพภาพยนตร์”
สู่วงการภาพยนตร์และโทรทัศน์
ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ไพรัช สังวริบุตรถ่ายภาพเองคือ รอยไถ ซึ่งเป็นภาพยนตร์ในระบบ 16 มม. ความชำนาญส่วนหนึ่งมาจากการแนะนำของ สดศรี บูรพารมย์ (อาของฉลอง ภักดีวิจิตร), เนรมิต (อำนวย กลัสนิมิ), วิจิตร คุณาวุฒิ
ปี พ.ศ. 2505 ไพรัช สังวริบุตร เข้ารับพระราชทานรางวัลตุ๊กตาทองจากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รางวัลผู้ถ่ายภาพยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง “แสงสูรย์”
ต่อมาได้ร่วมทุนกับ “มิตร ชัยบัญชา” พระเอกยอดนิยมสมัยนั้น ตั้งบริษัทภาพยนตร์ชื่อ “วชิรณ” โดยในระยะแรกถ่ายทำหนังด้วยฟิล์มขาว-ดำ ต่อมาเปลี่ยนเป็น “สี” ภาพยนตร์ของบริษัทนี้มีชื่อเสียงอยู่หลายเรื่อง เช่น อินทรีแดง, ทับสมิงคลา, วิญญาณรักของแม่นาค, วิญญาณคะนอง เป็นต้น
“ผมเคยร่วมทุนกันอยู่ ทำหนังเรื่อง “อินทรีแดง” ทั้งๆที่เราใกล้ชิดสนิทสนม เราก็ไม่ได้คิว ไม่ได้คิวมากมายอะไร ผมก็มาคิดดูว่า การทำภาคบันเทิงมันต้องประกอบด้วยความสามารถของดารากับพวกผู้สร้างต่างๆ ประกอบกับเมื่อเราเห็นว่าคิวน้อย ผมก็เลยคิดอำลาวงการภาพยนตร์เพื่อเข้าสู่วงการทีวี”
ผู้ชักนำไพรัช สังวริบุตรเข้าสู่วงการโทรทัศน์เมื่อปี พ.ศ. 2507 คือ สุวรรณา มุกดาประกร และถาวร สุวรรณ โดยสร้างทีมผลิตภาพยนตร์โทรทัศน์ด้วยการเช่าเวลาจากสถานีฯ ในการแพร่ภาพ
ปลาบู่ทอง ละครเรื่องแรก
พ.ศ. 2510 ไพรัช สังวริบุตรก่อตั้งบริษัท “ดาราฟิล์ม” ด้วยทุน 8 หมื่นบาท ผลิตภาพยนตร์เรื่องแรกคือ “ปลาบู่ทอง” (พัลลภ พรพิษณุ กับ เยาวเรศ นิสากร) การทำละครพื้นบ้านโบราณก็เพื่อมาอุดช่องว่างกับหนังญี่ปุ่นที่ฮิตมากในหมู่เยาวชนในสมัยนั้น
“ถ้าเราเสนอสิ่งของโบราณ ของไทยๆ ออกไปได้สัก 10 เปอร์เซ็นต์ก็น่าจะพอใจแล้ว ผมก็เลยเริ่มเรื่องนิยายชาวบ้าน “ปลาบู่ทอง” ในช่วงนั้นกระแสการส่งของช่อง 7 สียังไม่แรง ก็ต้องต่อสู้กับอุปสรรคเยอะ จนกระทั่งในที่สุดก็ติด ได้สปอนเซอร์มาหมด นี่เป็นความตั้งใจของบริษัทเรา เราจึงทำต่อเนื่องมาเรื่อยๆ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็จะพยายามรักษาตรงนั้นไว้ เพื่อให้เยาวชนได้รู้ว่าเรื่องต่างๆของไทยก็มีสิ่งที่น่าดูเหมือนกัน”
นี่เป็นเหตุผลที่ไพรัช สังวริบุตรยืนพื้นละครประเภทนี้มานานถึง 44 ปีจวบจนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนหนึ่งของละครเหล่านี้นำมาจาก “นิยายวัดเกาะ” …
นิยายวัดเกาะนี้มาจากหนังสือนิยายเล่มเล็กๆ กว่า 300 เรื่อง ที่ถูกนำมาเย็บรวมเป็นเล่มใหญ่ โดยเสด็จพระองค์ชายเล็ก (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ) ส่วนที่เพิ่มเติมคำว่า เทพ จนกลายเป็น เทพนิยายวัดเกาะ นั้น เป็นเพราะผู้แต่งนิยายวัดเกาะแต่ละท่านล้วนแต่ล่วงลับไปเป็นเทพบนสวรรค์หมดแล้ว “อาหรั่ง” จึงเรียกผลงานชั้นครูเหล่านี้ได้ว่าเป็น “เทพนิยาย” เพราะงานเหล่านี้ควรจะได้รับการดูแลไว้ไม่ให้สูญหาย
“เสด็จพระองค์ชายเล็กก่อนที่ท่านจะสิ้น ท่านได้มอบให้ผมไว้ ท่านบอกว่า เราจะได้อนุรักษ์ต่อไป แล้วตอนนี้ผมก็มอบให้กับลูกผมคือ “ลอร์ด-สยม สังวริบุตร” ต่อไป เรามีตรงนี้ เทพนิยายวัดเกาะเป็นนิยายสมัยเดิมจริงๆแล้ว เสด็จพระองค์ชายเล็กท่านเย็บเป็นเล่มไว้ เก็บวางอย่างดีในตู้ในห้องบรรทม ห้องบรรทมของท่านไม่มีใครได้ขึ้นไปได้เลย มีผมขึ้นไปได้เพราะว่ารับใช้ท่านมาตั้งแต่เด็กๆ ท่านก็กรุณายกมาให้”
เมื่อแรกบริษัท “ดาราฟิล์ม” จะหนักทางการสร้างภาพยนตร์โทรทัศน์ประเภทนิทานพื้นบ้านจักรๆ วงศ์ๆ และในระยะต่อมาได้เปลี่ยนจาก “ดาราฟิล์ม” มาเป็น “สยามฟิล์ม” ซึ่งยังเป็นภาพยนตร์โทรทัศน์ที่ใช้เสียงพากย์ และถ่ายทำแบบภาพยนตร์ 16 มม. และเมื่อการถ่ายทำเปลี่ยนจากระบบฟิล์มมาเป็นวิดีโอเทป การแสดงเปลี่ยนจากการบอกบทมาเป็นการท่องบท ก็มีการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งหนึ่งเป็น “ดาราวิดีโอ”
ปัจจุบัน ละครพื้นบ้านดูแลการผลิตโดย “บริษัทสามเศียร” ส่วนที่เป็นแอนิเมชันนั้น ดำเนินการภายใต้บริษัท “จ๊ะทิงจา” ส่วนละครสมัยใหม่นั้น อยู่ภายใต้การผลิตของ “ดาราวิดีโอ และดีด้า”