ถ้าซางยางไปเป็นคนสนิทของพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

อย่างที่ทุกคนทราบว่าซางยางเป็นสุดยอดของนักปฏิรูป เข้าใจเรื่องต่างๆไปจนถึงวิธีพัฒนาชาติ แต่ถึงนักปฏิรูปจะเก่งแค่ไหนแต่ถ้าเจ้านายไม่เล่นด้วยก็เปล่าประโยชน์และต่อให้เจ้านายเล่นด้วยก็ต้องรับมือกับพวกหัวต่อต้านการปฏิรูปอยู่ดี เพราะฉะนั้นการปฎิรูปต้องมีทั้งผู้นำดีผู้ตามดีและแผนดี  ผมเลยสงสัยว่าถ้าคนอย่างซางยางไปเป็นคนสนิทของพระนารายณ์ โดยที่ทั้งตัวซางยาง และพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราชต่างมีอุดมการณ์ที่จะเปลี่ยนประเทศให้ยิ่งใหญ่ 
โดยมีสถานการณ์ดังนี้ครับ
1.ซางยางไปเป็นคนสนิทของพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตั้งแต่ยังไม่มีได้เป็นเจ้า
2.ทั้งคู่ต่างร่วมมือพยายามปฎิรูปประเทศ
3.พระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสามารถขึ้นครองอำนาจได้สำเร็จ
4.ราชบัลลังค์มีความมั่นคงมาก
5.เพิ่มไอเท็ม กระดาษ หมึก และแท่นพิมพ์แบบกด เข้ามาในอยุธยา ชาติเดียวในแถบนี้
ทุกคนคิดว่าจะเป็นยังไงครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
ผลลัพธ์จากหัวกระทู้ ถ้าไม่เป็น 0 ก็ติด - คับ

เป็น 0 : สถานะความเป็นคนสนิทระหว่างซางยางกับสมเด็จพระนารายณ์ ไม่ได้มีผลอะไรต่อการพัฒนาประเทศเลย ตัวซางยางเองถ้าไม่ถูกลืม ก็ถูกฆ่าทิ้ง

ติด - : เกิดความขัดแย้งกันระหว่างทำงานเหมือนการเมืองในบ้านเราภายในกลุ่มพรรคร่วมรัฐบาล สมเด็จพระนารายณ์ดำเนินนโยบายแบบหนึ่ง ซางยางนำไปปฏิบัติอีกแบบหนึ่งตามแบบของตัวเอง แถมเป็นช่วงเปิดประเทศด้วย ชาวต่างชาติที่มาทำมาค้าขายก็สับสนงงไก่ตา-กันไปข้างหนึ่ง ชะตากรรมก็เหมือนข้างบน




คนประภทที่มีแนวคิดคล้ายซางยาง จะเป็นพวกที่มีนิสัยเข้มงวดในกฎเกณฑ์มากๆ ซึ่งตรงข้ามกับหลักการค้า การต่างประเทศของสมเด็จพระนารายณ์ที่ต้องอาศัยความยืดหยุ่น ต่อให้สนิทสนมราวกับเป็นพี่น้องร่วมสาบานก็ตาม หลักการ แนวคิดการปฏิบัติมันไปด้วยกันไม่ได้ ในคห.2 ผมหาจุดร่วมกันยังไม่เจอคับ

สิ่งที่การปฏิรูปซางยางต้องการมากกว่าผู้นำที่ดี มีวิสัยทัศน์ อุดมการณ์ และเข้ากันได้ (อ้างอิงจากเหตุกาณ์จริงในปวศ.)
- สถานภาพความเป็นรัฐที่อ่อนแอ่ โดนต่างรัฐกลั่นแกล้ง ทำสงครามตลอดเวลา ทำให้พวกขุนนางระดับสูง กลุ่มเชื้อพระวงศ์ทั้งหลาย ยอมให้ความร่วมมือเพื่อทำให้ตัวเองหลุดพ้นจากสถานภาพนี้ [ จขกท.ลองไปศึกษาปวศ.ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปในยุคสมัยอื่นๆมาดูเพิ่มเติม คนเหล่านี้เป็นตัวตั้งตัวตีในการต่อต้านการปฏิรูป อันเนื่องมาจากตัวเองเสียผลประโยชน์ ถ้าไม่ถูกฆ่ากวาดล้าง ก็ทำปฏิวัติ รัฐประหาร ]

อยุธยาในตอนนั้นใกล้เคียงกับสถานภาพแบบนี้ไหม ?

- ต้องการสงครามขนาดใหญ่ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นถึงผลลัพธ์ของการปฏิรูป

การสงครามในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ก็ไม่ได้ระบุข้อมูลอะไรมาก รู้แต่ตีเมืองนู้น ตีเมืองนี้มา ไม่ปรากฎยุทธการที่มีชื่อเสียง ส่วนตัวเท่าที่เคยศึกษามาก็ไม่มีแนวโน้มจะเกิดสงครามขนาดใหญ่ ในลักษณะแนวกู้ชาติหรือทำให้สิ้นชาติ



ตามคห.3แหละคับ ซางยางน่าจะเข้ากันได้กับพระนเรศวรมากกว่า ปัจจัยในย่อหน้าก่อนหน้ามันตอบโจทย์ของซางยางได้ดีกว่า ทั้งลักษณะผู้นำที่เน้นการปกครองกึ่งทหาร รัฐอ่อนแอจากสงครามเสียกรุงครั้งที่1 เป้าหมายในการกู้ชาติ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่