Eocene Grass Spikelet : หญ้าดึกดำบรรพ์ชนิดแรกในอำพันบอลติก




มุมมองด้านข้างของ Eograminis balticus / Cr. Poinar & Soreng, doi: 10.1086/716781.


การวิจัยเรื่องอำพันโดยวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอเรกอน (Oregon State University College of Science) ได้จัดทำการระบุชนิดของหญ้าในเรซินต้นไม้ที่เป็นซากดึกดำบรรพ์เป็นครั้งแรก จากภูมิภาคบอลติก ซึ่งเป็นแหล่งสะสมอำพันที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก

จากตัวอย่างที่ศึกษาโดย George Poinar Jr. จาก Oregon State University และ Dr.Roberg Soren จากสถาบัน Smithsonian ระบุว่าซากดึกดำบรรพ์ชื่อ Eograminis balticus เป็นตัวแทนของหญ้าชนิดแรกและสมาชิกฟอสซิลตัวแรกของ Arundinoideae ซึ่งเป็นวงศ์ย่อยของตระกูล Poaceae ที่แพร่หลาย รวมถึงหญ้า ธัญพืช ไผ่ และอีกหลายชนิดที่พบในสนามหญ้าและทุ่งหญ้าตามธรรมชาติ โดยขณะนี้ผลการวิจัยอยู่ในแบบพิมพ์ล่วงหน้าที่จะได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Plant Sciences
 
ศาสตราจารย์ Poinar กล่าวว่า การค้นพบนี้ไม่เพียงเพิ่มกลุ่มพืชใหม่ให้กับพืชพรรณที่กว้างขวางซึ่งอธิบายไว้ก่อนหน้านี้จากอำพันบอลติกเท่านั้น แต่ยัง
ให้ข้อมูลเชิงลึกใหม่เกี่ยวกับนิเวศวิทยาของที่อยู่อาศัยในป่าที่ได้อำพันมา ซึ่งเป็นหัวข้อที่ถกเถียงกันในด้านการศึกษานี้ ในการใช้รูปแบบชีวิตของพืชและสัตว์ที่เก็บรักษาไว้ในอำพัน เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับชีววิทยาและนิเวศวิทยาของอดีตอันไกลโพ้น

อย่างไรก็ตาม ซากดึกดำบรรพ์เป็นหลักฐานแรกที่แน่ชัดว่ามีหญ้าอยู่ท่ามกลางพืชหลายชนิดในป่าอำพันบอลติก ที่เป็นไปได้ว่าเมื่อประมาณ40 - 50 ล้าน
ปีก่อน (ยุค Eocene) หญ้าอาจปลิวไปกระแทกกับต้นไม้ที่ผลิตเรซิน จนสูญเสียหนึ่งในช่อดอกย่อย (spikelets) ของมันพร้อมด้วยแมลงที่กำลังกินมัน

ซากดึกดำบรรพ์ได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดีและมีดอกย่อยหลายชุด ในอำพันประกอบด้วยฟองอากาศและเศษซากอื่นๆ จำนวนมาก
amber/article_70de1250-279d-11ec-9d14-53bc35cc4525.html
วิธีการสังเกตชิ้นส่วนอำพันที่บรรจุซากฟอสซิลนั้น อำพันจะถูกเปลี่ยนรูปร่างด้วยใบเลื่อยเจียระไนเพชร เครื่องขัด และการขัดเงา จนกระทั่งสามารถมองเห็นก้านหญ้าจากทุกมุมได้ และเนื่องจากการเก็บรักษาก้านดอกไว้อย่างดีเยี่ยม การสังเกต ช่อใบย่อย (glumes), กาบบนขนาดเล็กที่แทรกอยู่ในดอกหญ้า (paleae) และกาบล่าง (lemmas) สามารถทำได้ภายใต้แสงโดยตรงด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบสามมิติและแบบผสม
 
บน Spikelet ยังพบแมลงตัวน้อยกลุ่ม Orthoptera ที่คล้ายตั๊กแตน สปอร์ของเชื้อราเป็นจุดๆ ที่ใบ และเศษไม้โอ๊คจำนวนมาก สิ่งเหล่านี้สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยขนาดเล็กของหญ้าฟอสซิล แม้ Spikelet จะเป็นลักษณะโครงสร้างและการพัฒนาที่มีอยู่ในต้นหญ้า Cenozoic ในยุคแรกๆ แต่มันได้สร้างจุดสอบเทียบมาตรฐานที่สำคัญสำหรับการศึกษาในเวลาต่อมา เกี่ยวกับต้นกำเนิดและการแยกสกุลในสายพันธุ์ย่อย (subtribe)
 
หลังจากการสังเกต ศาสตราจารย์ Poinar บอกว่า เป็นเรื่องยากที่จะจัด Eograminis balticus กับสกุลสมัยใหม่ใดๆ เนื่องจากขาดการเข้าถึง ใบ เกสรตัวเมีย และเกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์ แต่ช่อ spikelet กลับมีคุณสมบัติบางอย่างเหมือนสมาชิกของสกุล Molinia ซึ่งเป็นสกุลของสายพันธุ์ย่อยในพื้นที่ชุ่มน้ำที่ยังหลงเหลืออยู่โดยกระจุกตัวอยู่รอบทะเลบอลติก

สำหรับ Molinia หรือที่รู้จักกันอย่างไม่เป็นทางการว่า Moor Grass เป็นพืชในสกุลพื้นที่ชุ่มน้ำ นอกจากภูมิภาคบอลติกแล้ว ยังพบได้ในทรายในแหล่งที่อยู่อาศัยตั้งแต่ชายฝั่งไปจนถึงส่วนของพื้นที่เฉพาะ (subalpine) เช่น ในที่ลุ่มชายเลน บึงมอส(sphagnum bogs) ในป่า และพื้นที่ชุ่มน้ำที่สะสมพรุซึ่งได้รับอาหารจากน้ำผิวดินหรือน้ำบาดาลที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ
 


 
ทั้งนี้ ประเภทของป่าไม้ที่มีดอกหญ้าสีเหลืองอำพันบอลติกเติบโตที่กำลังถกเถียงกันอยู่นี้ นักวิทยาศาสตร์บางคนเสนอว่า อำพันฟอสซิลมาจากภูมิภาคบอลติก ที่ก่อตัวขึ้นในป่าเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตอนเหนือ ส่วนคนอื่น ๆ บอกว่ามันมาจากป่าชื้นที่หลากหลาย แต่หญ้าชนิดใหม่ชี้ให้เห็นว่าอย่างน้อยก็มีช่วงหนึ่งที่ที่อยู่อาศัยมีอากาศอบอุ่นเหมือนในป่าเบญจพรรณและป่าสนปัจจุบัน
 
โดยตัวอย่าง Eograminis balticus spikelet มีต้นกำเนิดจากคาบสมุทร Samland ในเขต Kalinin ของสหพันธรัฐรัสเซีย (ชื่อสกุลมาจากคำภาษาละตินคือ aeon - ช่วงเวลาที่ยาวนานไม่สิ้นสุด และ graminis - หญ้า) ได้มาจากงานแสดงอัญมณี หิน และแร่ในเมืองReno รัฐเนวาดาในปี 1993 และนำไปไว้ในคอลเล็กชันประเภทธรณีวิทยาของ California Academy of Sciences ในเมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย
 
ในอดีต อำพันบอลติก (Baltic amber) เป็นอำพันที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก การศึกษาอัญมณีชิ้นนี้เริ่มต้นโดยผู้เฒ่าพลินี (Pliny the Elder - Gaius Plinius Secundus) ในศตวรรษที่หนึ่ง พลินีอธิบายว่าอำพันบอลติกยังมีชื่อว่า succinite เพราะเป็นที่ชื่นชอบของนักทำเครื่องประดับ เนื่องจากมีสีสวยและไม่มีข้อเสียใดๆ จึงเป็นที่ต้องการของงานแกะสลัก ลูกปัด และเครื่องประดับหลากหลายประเภทก่อนที่จะตระหนักถึงคุณค่าทางวิทยาศาสตร์

อำพันยังถูกนำมาใช้เป็นยามานานหลายศตวรรษเนื่องจากภูมิคุ้มกันส่งเสริม, การรักษาบาดแผลที่ยาแก้ปวดต้านการอักเสบ, ป้องกันการติดเชื้อเชื้อราและคุณสมบัติต้านมะเร็ง แม้จะมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในการแพทย์พื้นบ้าน แต่การศึกษาอย่างละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบออกฤทธิ์ทางชีวภาพของอำพันบอลติกยังไม่ได้ดำเนินการเพื่ออธิบายผลการรักษา
 
 
อำพันบอลติกเป็นชื่อที่กำหนดให้กับเรซินฟอสซิลธรรมชาติชนิดหนึ่ง ที่เป็นจุดสนใจของการค้าทางไกลระหว่างประเทศทั่วยุโรปและเอเชีย
ซึ่งเริ่มต้นอย่างน้อย 5,000 ปีก่อน มันถูกรวบรวมและใช้งานโดยมนุษย์เป็นครั้งแรกในยุคหิน Upper Paleolithic
อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาล่าสุดจากนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Minnesota (MN, USA) ที่นำเสนอในที่ประชุมของสมาคม American Chemical
(5-30 เมษายน 2021) สามารถแยกสารประกอบชุดหนึ่งออกจากอำพันที่มีคุณสมบัติออกฤทธิ์ทางชีวภาพได้ ซึ่งรวมถึงผลต่อยาปฏิชีวนะ โดยผลการวิจัยอาจมีนัยสำหรับการพัฒนายาปฏิชีวนะชนิดใหม่ เพื่อรักษาแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะซึ่งมีผู้เสียชีวิต 35,000 รายต่อปีในสหรัฐอเมริกา

สุดท้าย แม้จะมีแนวคิดแรกๆ เกี่ยวกับอำพันที่รักษา DNA โบราณ (aDNA) ในแมลงที่จับได้ (และนำไปสู่ภาพยนตร์ยอดนิยม เช่น ไตรภาคของ  Jurassic Park) แต่ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะการศึกษาล่าสุดชี้ให้เห็นว่า แม้ว่า DNA ที่หลงเหลืออยู่ อาจมีอยู่ในตัวอย่างอำพันที่มีอายุน้อยกว่า 100, 000 ปี แต่กระบวนการปัจจุบันที่ใช้ในการดึงกลับ จะทำลายตัวอย่างซึ่งอาจเรียก DNA สำเร็จหรือไม่ก็ได้ ในขณะที่แน่นอนที่สุดก็คืออำพันบอลติกนั้นเก่าเกินไปที่จะทำสิ่งนี้ได้
 
ปัจจุบัน ยังคงมีความเป็นไปได้ที่จะพบชิ้นส่วนของอำพันบอลติกซัดขึ้นบนชายหาดตามแนวทะเลเหนือหรือริมชายฝั่งทะเลบอลติก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเกิดพายุ เมื่อการกระทำของคลื่นทำให้อำพันหลุดออกจากชั้น blue earth ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 15-20 ฟุต รวมทั้งการทำเหมืองที่ตั้งอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลบอลติกเช่น ในบริเวณคาบสมุทร Samland และที่เหมืองอำพัน Yantarny Amber Quarry ใกล้เมือง Kaliningrad ซึ่งได้ให้อำพันจากทะเลบอลติกเป็นส่วนใหญ่
 

สารประกอบที่พบในอำพันบอลติกอาจมีนัยสำคัญต่อการพัฒนายาที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ
Cr.http://www.sci-news.com/paleontology/eograminis-balticus-10135.html / News Staff
Cr.https://www.journals.uchicago.edu/doi/10.1086/716781
Cr.https://www.thoughtco.com/baltic-amber-fossilized-resin-170071 / K. Kris Hirst

(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่