ไทยเริ่มมีการส่งนักเรียนไปศึกษาต่อวิชาปรัชญา, ศาสนาที่ต่างประเทศเมื่อใด

อยากทราบว่า ไทยเริ่มมีการส่งนักเรียนไปศึกษาต่อในวิชาปรัชญา, ศาสนาที่ต่างประเทศเมื่อใด โดยส่วนมากที่เราทราบกัน การส่งนักเรียนไปศึกษาต่อต่างประเทศของสยามนั้นมักจะเป็นในช่วงรัชกาลที่ ๔ - ๕ ในสาขาวิชาสมัยใหม่ที่ยุโรปเป็นหลัก ในส่วนของวิชาปรัชญาหรือศาสนานั้น เท่าที่ศึกษามายังไม่ทราบแน่ชัดว่าเริ่มเมื่อใด สำหรับพระพุทธศาสนานั้น จขกท. เดาว่าน่าจะมีการส่งพระภิกษุสงฆ์ไปศึกษาพระศาสนาที่ลังกาทวีปหรือศรีลังกามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่สำหรับการศึกษาในมหาวิทยาลัยแบบสมัยใหม่ในสาขาดังกล่าวของพระภิกษุไทยในบางประเทศเช่นอินเดียนั้นไม่ทราบว่าเริ่มเมื่อใด ในส่วนของศาสนาอิสลามนั้นเคยได้ยินเรื่องราวของนายแช่ม พรหมยงค์ หรือ "ลุงแช่ม" สมาชิกท่านหนึ่งของคณะราษฎร (ฉายาลุงแช่มเป็นคำที่คนในคณะราษฎรเรียกท่าน) จุฬาราชมนตรีจากนิกายสุหนี่ท่านแรกของไทย ที่ได้ไปศึกษาวิชาศาสนาอิสลามที่อียิปต์ในช่วงประมาณทศวรรษที่ 1920 ซึ่งตามประวัติของท่าน การได้เรียนรู้ถึงการปฏิวัติในตุรกีเป็นแรงบันดาลใจหนึ่งให้ท่านเข้าร่วมคณะราษฎร จุดนี้ทำให้พออนุมานได้ว่า น่าจะมีชาวไทยมุสลิมเดินทางไปศึกษาวิชาศาสนาที่ตะวันออกกลางตั้งแต่ก่อนทศวรรษที่ 1920 แล้ว ในส่วนของศาสนาคริสต์นั้นเท่าที่ทราบมามีคริสตชนสยามคนหนึ่ง (จำชื่อไม่ได้) ซึ่งเป็นลูกครึ่งสยาม - โปรตุเกส ได้ไปศึกษาวิชาศาสนาที่ยุโรป และได้เป็นบาทหลวงพื้นเมืองของสยามท่านแรก สำหรับยุคสมัยใหม่ก็มีพระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู (เดิมฮั่วเซี้ยง กิจบุญชู) และคุณพ่อยอแซฟ เอก ทับปิง ที่เคยไปศึกษาวิชาศาสนาที่ Propaganda Fide นครรัฐวาติกัน

รบกวนช่วยตอบด้วยครับ หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่