สิงคโปร์ครองแชมป์ 3 สมัยเมืองอัจฉริยะ ไทยรั้งที่ 76 จาก 118 เมืองทั่วโลก
https://ch3plus.com/news/program/264484
สิงคโปร์ครองแชมป์เมืองอัจฉริยะที่สุดในโลกติดต่อกันเป็นปีที่สาม ในการจัดอันดับเมืองอัจฉริยะประจำปี 2021
การจัดอันดับดัชนีเมืองอัจฉริยะระบุว่า สิงคโปร์ยังคงเป็นเมืองอัจฉริยะอันดับ 1 ของโลกเป็นปีที่สามติดต่อกัน ตามมาด้วยนครซูริกของสวิตเซอร์แลนด์ในอันดับสอง กรุงออสโลของนอร์เวย์ในอันดับสาม ไทเปของไต้หวันในอันดับสี่ และนครโลซานน์ของสวิตเซอร์แลนด์ในอันดับห้า ขณะที่กรุงเทพมหานครของไทยอยู่ในอันดับ 76 ร่วงจากอันดับ 71 ในปีที่แล้ว ส่วนนครรีโอเดจาเนโรของบราซิลรั้งอันดับ 118 ซึ่งเป็นอันดับท้ายสุดและร่วงจากอันดับ 102 เมื่อปีก่อน
การจัดอันดับเมืองอัจฉริยะ พิจารณาข้อมูลจากประชาชนในเมืองต่างๆ เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีในเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของพวกเขา มีการสำรวจข้อมูลจากผู้อยู่อาศัยประมาณ 120 คนจากแต่ละเมืองในเดือนกรกฎาคมปีนี้
ดร.บรูโน ลานวิน ประธานสำนักสังเกตการณ์เรื่องเมืองอัจฉริยะของสถาบันการพัฒนาการจัดการ หรือไอเอ็มดี กล่าวกับ The Straits Times ว่าความสำเร็จของสิงคโปร์ส่วนใหญ่มาจากนโยบายที่ดำเนินการทั้งในระดับเมืองและระดับประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านบริการของรัฐบาลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ การศึกษา และการใช้ยุทธศาสตร์เมืองที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ดร.ลานวิน ตั้งข้อสังเกตว่าสิงคโปร์ได้ผ่านวิกฤตการณ์การระบาดของโรคซาร์สมาได้ และมีความพร้อมที่จะเผชิญกับการระบาดใหญ่ของ Covid-19 ในปัจจุบันได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ ทั่วโลก
หมอสุภัทร ชำแหละ “จับสลากแพทย์ปี’65 ความปั่นป่วนใหม่ของระบบสุขภาพ”
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3025400
วันที่ 4 พ.ย. นพ.
สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จ.สงขลา และประธานชมรมแพทย์ชนบท โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก
“จับสลากแพทย์ปี 65 ความปั่นป่วนใหม่ของระบบสุขภาพ” โดยมีรายละเอียด ดังนี้
แม้ว่าการให้สิทธิทุกคนมาจับสลากโดยเท่าเทียมจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด แต่ก็เป็นวิธีที่ใช่ที่สุดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
การคัดเลือกแพทย์เข้าบรรจุใช้ทุนปี 2565 ที่ปั่นป่วนมาก มีความจริงที่ซ่อนอยู่หลายประการ กล่าวคือ
1. กระทรวงสาธารณสุขไม่มีตำแหน่งข้าราชการสำหรับบรรจุแพทย์จบใหม่ทุกคนเช่นในอดีต ไปควักล้วงทุกกระเป๋ารวบรวมได้มาเพียง 425 ตำแหน่ง จึงประกาศว่านี่คือรอบ 1 ส่วนรอบสองจะมีตำแหน่งแค่ไหน ยังไม่มีใครรู้ แต่น่าจะได้น้อยลง ซึ่งแปลว่า หลวงมีงบจำกัดในการบรรจุแพทย์มาทำงานโรงพยาบาลของรัฐแล้วนะ
2. พอมีตำแหน่งน้อย ก็ต้องหาเกณฑ์มาเลือก คิดไปคิดมาก็เลยไปเอาคะแนนสอบ NL หรือ National License หรือสอบใบประกอบโรคศิลป์ มาใช้เป็นเกณฑ์ เอาคนที่ได้คะแนนสูง 425 คนแรกมาจับสลากเลือกที่ใช้ทุน แทนที่จะเปิดโอกาสให้ทุกคนได้จับสลากเช่นในอดีต วิธีนี้ก็ถูกวิจารณ์กว้างขวาง
3. สถานการณ์การขาดแคลนแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลห่างไกลจะกลับมาอีกครั้งอย่างแน่นอน เพราะทุกปีมีน้องแพทย์ใช้ทุนไปเรียนต่อหลายพันคน แต่หากบรรจุแค่หลักร้อยคน จะบอกว่าไม่ขาดแคลน ใครจะเชื่อ
นี่คือการเปลี่ยนแปลงที่ยังไม่มีความรอบคอบ ยังไม่มีการระดมความเห็นที่กว้างขวาง ก้าวนี้ของ สธ.ก้าวพลาดแน่นอน ควรต้องถอยไปตั้งหลักใหม่ เปิดโอกาสและเปิดเวทีการรับฟังให้มาก ให้มีส่วนร่วมทั้งนักศึกษาแพทย์ด้วย เพื่อให้พบทางออกที่ดีที่สุด
แม้งานนี้จะเป็นเรื่องข้าราชการประจำ แต่รัฐมนตรีอนุทินก็ย่อมหนีความรับผิดชอบไม่พ้น คงต้องลงมาร่วมแก้ปัญหาและมองภาพใหญ่ หรือแม้แต่การเจรจากับ กพ.
การเปิดรับแพทย์ 425 ตำแหน่ง และการใช้คะแนน NL มาตัดสิน ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องแน่นอน
หากจำเรื่องที่ผมเขียนในเพจเมื่อวานนี้เรื่อง “โซะ” หนีจากโรงพยาบาลสนามได้ ผมในฐานะหมอคิดได้เพียงจะฉีดยากดประสาทให้โซะไม่หนี แต่ครูใบสิมีหนทางที่ดีกว่า เรื่องการจับสลากแพทย์นี้ก็เช่นเดียวกัน เปิดช่องให้คนอื่นร่วมคิด ย่อมมีคำตอบที่ดีกว่าแน่
และอย่าลืมว่า คำตอบจะเป็นอย่างไร ต้องไม่ทำให้โรงพยาบาลชุมชนขาดแคลนแพทย์ด้วยนะครับท่านรัฐมนตรีอนุทิน พวกผมแพทย์ชนบทและชาวโรงพยาบาลชุมชน รวมทั้งชาวชนบททั่วประเทศเฝ้าดูอยู่ครับ
https://www.facebook.com/supathasuwannakit/posts/1086916141847179
WHO อนุมัติวัคซีน “โควาซิน” ของอินเดียในกรณีฉุกเฉิน
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/95571/
WHO อนุมัติใช้วัคซีนโควิด โควาซิน (Covaxin) ชนิดเชื้อตายของสัญชาติอินเดีย สำหรับการใช้งานในกรณีฉุกเฉินแล้ว
วันนี้( 4 พ.ย.64) องค์การอนามัยโลก (WHO) อนุมัติวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 โควาซิน (Covaxin) ชนิดเชื้อตายซึ่งพัฒนาโดยบริษัท ภารัต ไบโอเทค (Bharat Biotech) ผู้ผลิตยารายใหญ่ของประเทศอินเดีย สำหรับการใช้งานในกรณีฉุกเฉินแล้ว
ทั้งนี้ โควาซินนับเป็นวัคซีนต้านโควิด-19 ตัวที่ 8 ที่ได้รับการอนุมัติเพื่อใช้งานเป็นกรณีฉุกเฉินจาก WHO ต่อจาก แอสตราเซเนก้า/ออกซฟอร์ด , ไฟเซอร์/ไบโอเอ็นเทค , โควิชิลด์ , จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน , โมเดอร์นา , ซิโนฟาร์ม และ ซิโนแวค
รู้จักวัคซีน “โควาซิน”
- วัคซีนโควาซิน (Covaxin) พัฒนาโดย บริษัท ภารัต ไบโอเทค ร่วมกับสถาบันไวรัสวิทยาแห่งชาติอินเดีย หรือ NIV และสภาวิจัยทางการแพทย์แห่งประเทศอินเดีย หรือ ICMR
- ใช้เทคนิคเชื้อตาย (Inactivated vaccines) ซึ่งผลิตมาจากไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) ที่ถูกทำให้ตายแล้วด้วยสารเคมีหรือความร้อน เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกายจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส
-วัคซีนโควิดโควาซีนต้องฉีดจำนวน 2 เข็ม ห่างกัน 28 วัน (4 สัปดาห์)
คำแนะนำทั่วไปให้ฉีดในผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
- ห้ามฉีดในผู้หญิงที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์
- ห้ามฉีดในผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิดชนิดอื่นๆ ไปก่อนหน้า
- วัคซีนโควาซินมีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด-19 ได้ประมาณร้อยละ 78 (%)
-วัคซีนโควิดโควาซิน มีอาการไม่พึงประสงค์ หรือผลข้างเคียงคล้ายวัคซีนเจ้าอื่น
โควาซินเป็นความหวัง และโอกาสของอินเดีย คือการควบคุมสถานการณ์การระบาดของไวรัสในประเทศ และเป็นหนทางที่อินเดียส่งออกวัคซีนในยุคที่โควิดกำลังระบาด
ทั้งนี้ อินเดียเป็นประเทศผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ที่สุดในโลก ได้รับความคาดหวังว่าจะเป็นผู้ส่งออกวัคซีนโควิดราคาถูกให้แก่ประเทศรายได้ต่ำและปานกลางทั่วโลก ผ่านโครงการวัคซีนโคแวกซ์
แต่หลังจากที่ส่งออกวัคซีนไปราว 66 ล้านโดสให้แก่ 100 ประเทศ รัฐบาลอินเดียได้ประกาศระงับการส่งออกเมื่อเดือนเมษายน เพื่อนำวัคซีนไปฉีดให้กับประชาชนในประเทศก่อน สืบเนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อในอินเดียที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะนั้น ส่งผลกระทบต่อหลายประเทศที่รอวัคซีนโควิดจากอินเดีย
นอกเหนือจาก "โควาซิน" แล้ว อินเดียยังผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่มีชื่อว่า Covishield ของบริษัท แอสตราเซเนก้า (AstraZeneca) ผ่านสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย (Serum Institute of India) หรือ SII หนึ่งในผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ของโลก และสามารถผลิตวัคซีนได้มากกว่า 60 ล้านโดสต่อเดือน
ผลการทดสอบทางคลินิกระหว่างประเทศล่าสุด พบว่า วัคซีนของบริษัทแอสตราเซเนก้าชนิดนี้ มีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับโควิด-19 ได้ถึง 90% ในกรณีที่ฉีดเข็มแรกครึ่งโดส และฉีดเข็มที่สองเต็มโดส อย่างไรก็ดี ข้อมูลดังกล่าวยังคงต้องมีการวิจัยที่ลงลึกในรายละเอียด และมีความชัดเจนให้มากขึ้นในอนาคต
JJNY : เมืองอัจฉริยะ ไทยรั้งที่76│หมอสุภัทรชำแหละจับสลากแพทย์ปี’65│WHO อนุมัติ “โควาซิน”│พ่อค้า-แม่ค้าโคราชโอดผักแพง
https://ch3plus.com/news/program/264484
การจัดอันดับดัชนีเมืองอัจฉริยะระบุว่า สิงคโปร์ยังคงเป็นเมืองอัจฉริยะอันดับ 1 ของโลกเป็นปีที่สามติดต่อกัน ตามมาด้วยนครซูริกของสวิตเซอร์แลนด์ในอันดับสอง กรุงออสโลของนอร์เวย์ในอันดับสาม ไทเปของไต้หวันในอันดับสี่ และนครโลซานน์ของสวิตเซอร์แลนด์ในอันดับห้า ขณะที่กรุงเทพมหานครของไทยอยู่ในอันดับ 76 ร่วงจากอันดับ 71 ในปีที่แล้ว ส่วนนครรีโอเดจาเนโรของบราซิลรั้งอันดับ 118 ซึ่งเป็นอันดับท้ายสุดและร่วงจากอันดับ 102 เมื่อปีก่อน
การจัดอันดับเมืองอัจฉริยะ พิจารณาข้อมูลจากประชาชนในเมืองต่างๆ เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีในเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของพวกเขา มีการสำรวจข้อมูลจากผู้อยู่อาศัยประมาณ 120 คนจากแต่ละเมืองในเดือนกรกฎาคมปีนี้
ดร.บรูโน ลานวิน ประธานสำนักสังเกตการณ์เรื่องเมืองอัจฉริยะของสถาบันการพัฒนาการจัดการ หรือไอเอ็มดี กล่าวกับ The Straits Times ว่าความสำเร็จของสิงคโปร์ส่วนใหญ่มาจากนโยบายที่ดำเนินการทั้งในระดับเมืองและระดับประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านบริการของรัฐบาลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ การศึกษา และการใช้ยุทธศาสตร์เมืองที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ดร.ลานวิน ตั้งข้อสังเกตว่าสิงคโปร์ได้ผ่านวิกฤตการณ์การระบาดของโรคซาร์สมาได้ และมีความพร้อมที่จะเผชิญกับการระบาดใหญ่ของ Covid-19 ในปัจจุบันได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ ทั่วโลก
หมอสุภัทร ชำแหละ “จับสลากแพทย์ปี’65 ความปั่นป่วนใหม่ของระบบสุขภาพ”
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3025400
วันที่ 4 พ.ย. นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จ.สงขลา และประธานชมรมแพทย์ชนบท โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “จับสลากแพทย์ปี 65 ความปั่นป่วนใหม่ของระบบสุขภาพ” โดยมีรายละเอียด ดังนี้
แม้ว่าการให้สิทธิทุกคนมาจับสลากโดยเท่าเทียมจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด แต่ก็เป็นวิธีที่ใช่ที่สุดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
การคัดเลือกแพทย์เข้าบรรจุใช้ทุนปี 2565 ที่ปั่นป่วนมาก มีความจริงที่ซ่อนอยู่หลายประการ กล่าวคือ
1. กระทรวงสาธารณสุขไม่มีตำแหน่งข้าราชการสำหรับบรรจุแพทย์จบใหม่ทุกคนเช่นในอดีต ไปควักล้วงทุกกระเป๋ารวบรวมได้มาเพียง 425 ตำแหน่ง จึงประกาศว่านี่คือรอบ 1 ส่วนรอบสองจะมีตำแหน่งแค่ไหน ยังไม่มีใครรู้ แต่น่าจะได้น้อยลง ซึ่งแปลว่า หลวงมีงบจำกัดในการบรรจุแพทย์มาทำงานโรงพยาบาลของรัฐแล้วนะ
2. พอมีตำแหน่งน้อย ก็ต้องหาเกณฑ์มาเลือก คิดไปคิดมาก็เลยไปเอาคะแนนสอบ NL หรือ National License หรือสอบใบประกอบโรคศิลป์ มาใช้เป็นเกณฑ์ เอาคนที่ได้คะแนนสูง 425 คนแรกมาจับสลากเลือกที่ใช้ทุน แทนที่จะเปิดโอกาสให้ทุกคนได้จับสลากเช่นในอดีต วิธีนี้ก็ถูกวิจารณ์กว้างขวาง
3. สถานการณ์การขาดแคลนแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลห่างไกลจะกลับมาอีกครั้งอย่างแน่นอน เพราะทุกปีมีน้องแพทย์ใช้ทุนไปเรียนต่อหลายพันคน แต่หากบรรจุแค่หลักร้อยคน จะบอกว่าไม่ขาดแคลน ใครจะเชื่อ
นี่คือการเปลี่ยนแปลงที่ยังไม่มีความรอบคอบ ยังไม่มีการระดมความเห็นที่กว้างขวาง ก้าวนี้ของ สธ.ก้าวพลาดแน่นอน ควรต้องถอยไปตั้งหลักใหม่ เปิดโอกาสและเปิดเวทีการรับฟังให้มาก ให้มีส่วนร่วมทั้งนักศึกษาแพทย์ด้วย เพื่อให้พบทางออกที่ดีที่สุด
แม้งานนี้จะเป็นเรื่องข้าราชการประจำ แต่รัฐมนตรีอนุทินก็ย่อมหนีความรับผิดชอบไม่พ้น คงต้องลงมาร่วมแก้ปัญหาและมองภาพใหญ่ หรือแม้แต่การเจรจากับ กพ.
การเปิดรับแพทย์ 425 ตำแหน่ง และการใช้คะแนน NL มาตัดสิน ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องแน่นอน
หากจำเรื่องที่ผมเขียนในเพจเมื่อวานนี้เรื่อง “โซะ” หนีจากโรงพยาบาลสนามได้ ผมในฐานะหมอคิดได้เพียงจะฉีดยากดประสาทให้โซะไม่หนี แต่ครูใบสิมีหนทางที่ดีกว่า เรื่องการจับสลากแพทย์นี้ก็เช่นเดียวกัน เปิดช่องให้คนอื่นร่วมคิด ย่อมมีคำตอบที่ดีกว่าแน่
และอย่าลืมว่า คำตอบจะเป็นอย่างไร ต้องไม่ทำให้โรงพยาบาลชุมชนขาดแคลนแพทย์ด้วยนะครับท่านรัฐมนตรีอนุทิน พวกผมแพทย์ชนบทและชาวโรงพยาบาลชุมชน รวมทั้งชาวชนบททั่วประเทศเฝ้าดูอยู่ครับ
https://www.facebook.com/supathasuwannakit/posts/1086916141847179
WHO อนุมัติวัคซีน “โควาซิน” ของอินเดียในกรณีฉุกเฉิน
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/95571/
WHO อนุมัติใช้วัคซีนโควิด โควาซิน (Covaxin) ชนิดเชื้อตายของสัญชาติอินเดีย สำหรับการใช้งานในกรณีฉุกเฉินแล้ว
วันนี้( 4 พ.ย.64) องค์การอนามัยโลก (WHO) อนุมัติวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 โควาซิน (Covaxin) ชนิดเชื้อตายซึ่งพัฒนาโดยบริษัท ภารัต ไบโอเทค (Bharat Biotech) ผู้ผลิตยารายใหญ่ของประเทศอินเดีย สำหรับการใช้งานในกรณีฉุกเฉินแล้ว
ทั้งนี้ โควาซินนับเป็นวัคซีนต้านโควิด-19 ตัวที่ 8 ที่ได้รับการอนุมัติเพื่อใช้งานเป็นกรณีฉุกเฉินจาก WHO ต่อจาก แอสตราเซเนก้า/ออกซฟอร์ด , ไฟเซอร์/ไบโอเอ็นเทค , โควิชิลด์ , จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน , โมเดอร์นา , ซิโนฟาร์ม และ ซิโนแวค
รู้จักวัคซีน “โควาซิน”
- วัคซีนโควาซิน (Covaxin) พัฒนาโดย บริษัท ภารัต ไบโอเทค ร่วมกับสถาบันไวรัสวิทยาแห่งชาติอินเดีย หรือ NIV และสภาวิจัยทางการแพทย์แห่งประเทศอินเดีย หรือ ICMR
- ใช้เทคนิคเชื้อตาย (Inactivated vaccines) ซึ่งผลิตมาจากไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) ที่ถูกทำให้ตายแล้วด้วยสารเคมีหรือความร้อน เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกายจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส
-วัคซีนโควิดโควาซีนต้องฉีดจำนวน 2 เข็ม ห่างกัน 28 วัน (4 สัปดาห์)
คำแนะนำทั่วไปให้ฉีดในผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
- ห้ามฉีดในผู้หญิงที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์
- ห้ามฉีดในผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิดชนิดอื่นๆ ไปก่อนหน้า
- วัคซีนโควาซินมีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด-19 ได้ประมาณร้อยละ 78 (%)
-วัคซีนโควิดโควาซิน มีอาการไม่พึงประสงค์ หรือผลข้างเคียงคล้ายวัคซีนเจ้าอื่น
โควาซินเป็นความหวัง และโอกาสของอินเดีย คือการควบคุมสถานการณ์การระบาดของไวรัสในประเทศ และเป็นหนทางที่อินเดียส่งออกวัคซีนในยุคที่โควิดกำลังระบาด
ทั้งนี้ อินเดียเป็นประเทศผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ที่สุดในโลก ได้รับความคาดหวังว่าจะเป็นผู้ส่งออกวัคซีนโควิดราคาถูกให้แก่ประเทศรายได้ต่ำและปานกลางทั่วโลก ผ่านโครงการวัคซีนโคแวกซ์
แต่หลังจากที่ส่งออกวัคซีนไปราว 66 ล้านโดสให้แก่ 100 ประเทศ รัฐบาลอินเดียได้ประกาศระงับการส่งออกเมื่อเดือนเมษายน เพื่อนำวัคซีนไปฉีดให้กับประชาชนในประเทศก่อน สืบเนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อในอินเดียที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะนั้น ส่งผลกระทบต่อหลายประเทศที่รอวัคซีนโควิดจากอินเดีย
นอกเหนือจาก "โควาซิน" แล้ว อินเดียยังผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่มีชื่อว่า Covishield ของบริษัท แอสตราเซเนก้า (AstraZeneca) ผ่านสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย (Serum Institute of India) หรือ SII หนึ่งในผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ของโลก และสามารถผลิตวัคซีนได้มากกว่า 60 ล้านโดสต่อเดือน
ผลการทดสอบทางคลินิกระหว่างประเทศล่าสุด พบว่า วัคซีนของบริษัทแอสตราเซเนก้าชนิดนี้ มีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับโควิด-19 ได้ถึง 90% ในกรณีที่ฉีดเข็มแรกครึ่งโดส และฉีดเข็มที่สองเต็มโดส อย่างไรก็ดี ข้อมูลดังกล่าวยังคงต้องมีการวิจัยที่ลงลึกในรายละเอียด และมีความชัดเจนให้มากขึ้นในอนาคต