สารานุกรมปืนตอนที่ 1001 STEN SMG Submachine Gun

"ขอขอบคุณเพจ ป ปืนอย่างสูงครับ"
 
https://www.facebook.com/Porpeunbybaster/

ในทันที ที่สงครามโลกครั้งที่1ได้จบลงกองทัพ สหราชอาณาจักร ก็ไม่ได้รอช้าในการเร่งพัฒนา อาวุธระยะใกล้ที่มีอำนาจการยิงแบบกวาดล้าง คือ ปืนกลมือ Submachine gun หลังจากที่กองทัพเยอรมันได้นำ MP18 ไปใช้ในช่วงท้ายๆของสงคราม
ด้วยความต้องการของกองทัพ จึงได้มีการนำ MP 28 ที่ผลิตโดย Haenel ภายใต้การกำกับดูแลของ Hugo Schmeisser โดย อังกฤษได้ให้ George H. Lanchester. กำกับดูแลในการผลิต จึงมักจะเรียกว่า Lanchester submachine gun(Lanchester SMG) ซึ่งมีการเพิ่มแท่นยึดมีดดาบปลายปืนของปืน Lee-Enfield field ตัวช่องใส่ซองกระสุนเป็นทองเหลืองและสามารถใช้ซองกระสุนร่วมกับ MP28 ได้ โดย Lanchester SMG นำมาใช้ใน ราชนาวีอังกฤษ Royal Navy.
แต่การปรากฏตัวของปืนกลมือแบบใหม่ของเยอรมันคือ MP38 submachine gun series ขนาด 9x19mm Parabellum ในปี 1939 ที่มีประสิทธิภาพสูงและมีการผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก(MP38 มีชิ้นส่วนซับซ้อนและต้นทุนแพงจึงในไปสูงการพัฒนา MP 40 ) ซึ่งทำให้ฝ่ายเยอรมันมีความได้เปรียบอย่างรวดเร็วในสงครามโลกครั้งที่2 และอังกฤษเองซึ่งเป็นคู่พิพาดอยู่แล้วจึงต้อง เร่งพัฒนาเพื่อให้ไม่สูญเสียความได้เปรียบในสงคราม
หน้าเป็นของนักออกแบบสองคนคือ Major Reginald V. Shepherd และ Harold J. Turpin ซึ่งได้ทำการศึกษาปืน MP38 ของเยอรมัน เปรียบเทียบจุดเด่นจุดด้อยและนำไปสู่การพัฒนาปืนของตัวเอง ต้นแบบถูกนำไปทดสอบในเดือนมกราคมปี 1941 คือ Sten MK I หมายเลข 1 T40 Prototype (“T” มาจาก Turpin) ปืนใหม่นี้ได้นี้ได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็ว และ มีการผลิตต่อๆมา จาก Enfield Lock ไปยัง Royal Ordnance และผู้ผลิตอีก10กว่าเจ้า
โครงปืนผลิตจากโลหะแผ่น pressed steel metal และประกอบชิ้นส่วนต่างๆ โดยการเชื่อม Spot welding กลไกปืนออกแบบอย่างง่ายๆและชิ้นส่วนน้อยชิ้น



คำว่า "STEN" มาจากชื่อของผู้ออกแบบ Shepherd และ Turpin ("S" และ "T") สองตัวท้ายคือ"EN" มาจาก Enfield Lock
การออกแบบ
Sten ใช้ระบบบริหารลูกเลื่อนแบบ blowback-operated พร้อมยิงจากสถานลูกเลื่อนเปิด open bolt เข็มแทงชนวนแบบ fixed firing pin ติดตั้งอยู่ที่หน้าลูกเลื่อน ตัวปืนที่ท้ายโครงปืนจะมีร่องแขวนลูกเลื่อน เมื่อดึงลูกเลื่อนไปข้างหลังจะถูกรั้งไว้
เมื่อทำการเหนี่ยวไกกลไกจะปล่อยลูกเลื่อน เคลื่อนที่ไปด้านหน้าและบรรจุกระสุนเข้าสู่รังเพลิงและเข็มแทงชนวนจะกระแทกจอกกระทบแตก
ปืนไม่มีกลไกในการขัดกลอนใดๆ การปิดลูกเลื่อนอาศัยแรงของแหนบสปริงและน้ำหนักของลูกเลื่อน และการปลดกลอนก็อาศัยแรงดันจากการรีคอล์ย เพื่อเริ่มต้นการทำงานอีกเป็นวงรอบๆ ซึ่งก็เป็นหลักการทำงานพื้นฐานของปืนกลมือทั่วไปในช่วงเวลาเดียวกันเช่น German MP40, Russian PPSh-41 และ US M3 ซึ่งปืนกลมือในกลุ่มนี้มีหลักการำงานง่ายๆ ต้นทุนถูก ถึงแม้ว่าจะมีระยะยิงต่อสู้ใกล้ short-range combat. ไม่เกิน100เมตร แต่ คือการเพิ่มอำนาจการยิงในระยะประชิดเนื่องจาก ปืลเล็กยาวส่วนใหญ่ที่เป็น Bolt Action มีอัตราการยิงไม่มาพอที่จะทำการยิงแบบกวาดล้าง
แต่ก็มีปัญหาในการใช้งานคือถ้าไม่มีการบำรุงรักษาอย่างเพียงพอและเมื่อทำการยิงไปนานๆคราบเขม่าดินปืนและสิ่งสกปรก จะสะสมและเกิดปัญหาในการทำงานของตัวปืนได้ การจัดปืนยิงโดยการจับที่ซองกระสุนก็เป็นปัญหาเช่นกัน เพราะอาจจะทำให้มุมในการบรรจุเปลี่ยนและมีปัญหาต่อการยิง โดยกระสุนต้องทำมุม 8 องศา เท่านั้น (ท่าที่ถูกต้องคือการยิงแบบไรเฟิล ในรูปที่ Winston Churchill ยิง ) ซองกระสุนก็ยังเป็นปัญหาอยู่มาดเนื่องจากเป็นแบบ แถวคู่เดียวปลาย (double column, single feed) ซึ่งนอกจากมุมในการป้อนต้องแน่นอนเป๊ะๆแล้วสิ่งสกปรกก็มีผล ซึ่งไม่ค่อยมีผลก็ปืนแบบปืนกลมือ M1 Thompson ที่ใช้วองกระสุนแบบ แถวคู่สลับปลายคู่ (double-column, double feed) ซึ่งมีความคล่องตัวกว่า
ร่องด้านข้างที่ทำไว้เพื่อบังคับเส้นทางเดินลูกเลื่อนออกแบบมาเพื่อให้มีต้นทุนที่ถูกและสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องหล่อลื่น ซึ่งก็เป็นผลดีเพราะน้ำมันหล่อลื่นจะดูดทรายติดเอาไว้ในระบบ การออกแบบถึงแม้จะมีคันห้ามไก แบบกดแต่ถ้าไม่ได้แขวนลูกเลื่อนไว้ในร่องก็มีโอกาสที่เมื่อทีแรงกระแทกแรงๆอาจจะทำให้ปืนลั่นแบบไม่ได้ตั้งใจ แต่ถึงแบบนั้นมันก็ถูกผลิตถึง 4.5 ล้านกระบอก
ปืนกลมือ STEN ทุกรุ่น ใช้กระสุนขนาด 9×19mm Parabellum ซองกระสุนแบบ detachable box magazine บรรจุ 32 นัด



รุ่นต่างๆ
Mark I
Mk I Sten gun (number 'T-40/1' serial number "1") เป็นแบบแรกที่หลังการออกแบบโดย Turpin ที่ Philips Radio works ใน Perivale, Middlesex ในช่วงธันวาคมปี 1940 ถึง มกราคม ปี 1941. โดยปืนถูกจัดแสดงไว้ที่ British Army's Infantry and Small Arms School Corps ใน Warminster, Wiltshire รุ่นแรกจะมีส่วนประกอบไม้ที่เป็นรองใต้ลำกล้องและยังมีด้ามจับไม่ที่สามารถพับได้ ด้ามปืนใช้แก้มประกบทำจากไม้เช่นกับ มีพานท้ายเป็นโครงเหล็กและ ปลายลำกล้องเป็นแบบปากกรวย มีการผลิต100,000 กระบอก ที่เยอรมันครอบครองอยู่เรียกว่า MP 748(e) 'e' มาจาก englisch.
.Mark I*
เป็นเจนต่อมาของรุ่น Mk I. เพียงแต่มีการนำฟอร์นิเจอร์ไม้ออกเพื่อให้การผลิตง่ายขึ้น
Mark II
Mark II เป็นรุ่นที่มีเยอะที่สุดคือ2ล้านกระบอก แต่ฝีมือการผลิตจะยังหยาบกว่ารุ่น Mk I ด้ามจับแบบพับได้ถูกตัดออกไป แล้วแทนที่ด้วยครอบลำกล้องยาว3นิ้ว ลำกล้องยาว 7.8 นิ้ว ด้ามปืนและพานท้ายเป็นโครงเหล็กดัดขึ้นรูป ตัวช่องใส่ซองกระสุนสามารถหมุนทวนเข็มนาฬิกาได้ 90 องศา รุ่นที่ใส่ท่อเก็บเสียงเรียกว่า Mark IIS มีการนำไปใช้โดย Australian Special Air Service (SAS) ในสงครามเวียตนาม
Mark II (Canadian)
ช่วงสงครามโลกครั้งที่2 มีการผลิตที่ Long Branch Arsenal ใน Long Branch Ontario now part ใน Toronto, Ontario เหมือนกับรุ่น Mark II แต่แตกต่างกันที่พานท้าย แบบใช่ท่อเหล็ก1เส้น รองบ่าด้วยแผ่นเหล็ก ด้ามปืนเป้นเหล็กแผ่นมีรูไว้ร้อยสายสะพาน เรียกว่า 'skeleton'
Mark III
มีการออกแบบให้เรียบง่ายขึ้นและต่อเนื่องจากรุ่นMk.II ที่ผลิตกันทั้ง อังกฤษและเคนนาดา รุ่นนี้จะแตกต่างจากรุ่นก่อนหน้าคือ โครงปืนส่วนช่องคายปลอกกระสุนจะเป็นชิ้นเดียวกันกับโครงปืน,ครอบรองลำกล้องและเพิ่มความยาวออกไปเกือบสุดปลายลำกล้อง โดยช่องใส่ซองกระสุนจะนำมาเชื่อมติดไว้ แต่ไม่สามารถหมุนซองกระสุนได้แบบ รุ่น Mk.II
Mk.III ที่เยอรมันยึดมาจะเรียกว่า MP 750(e)
Mark VI
Mk.IV เป็นรุ่นทดลองไม่ได้มีการผลิตออกมาจริงๆ เพื่อนำไปใช้ในหน่วยพลร่ม Airborne troops.
Mark V
นำมาใช้งานในปี 1944 Mk V มีการผลิตที่ละเอียดและมีคุณภาพมากกว่ารุ่น Mk 2และ Mk3ใช้ด้ามจับแบบ vertical pistol grip ทำจากไม้ทั้งหน้าและหลัง พานท้ายไม้ มีแท่นติดตั้งมีดดาบปลายปืน ของ No4 Lee–Enfield foresight
Mk.VI (STEN Mark 6 silenced) ก็คือรุ่น Mark V ที่นำไปติดตั้งท่อเป็นเสียง

นี้คือปืนกลมือ STEN ที่มีการผลิตใช้งานในสงครามโลกครั้งที่2 ยังมีรุ่น ทดลองอีกจำนวนมาก Experimental models และ รุ่นสำเนา ซึ่งจะกล่าวในตอนที่2 และโพสต่อไป โพสนี้เอาเท่านี้ก่อนเดี๊ยวจะยาวไป

Cr.
https://en.wikipedia.org/wiki/MP_18
https://en.wikipedia.org/wiki/Sten
https://www.militaryfactory.com/smallarms/detail.asp...
http://modernfirearms.net/smg/brit/sten-e.html
http://www.machinegunboards.com/forums/index.php...
https://www.youtube.com/watch?v=oIe5YfEsMDY
#_Lanchester_submachine_gun #STEN_SMG_Submachine_Gun #ป.ปืน






สวัสดีครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่